บูรณาการกับงานประจำ


เป็นหน้าที่ของ ซีอีโอ
บูรณาการกับงานประจำ
“KM ที่ดีต้องบูรณาการอยู่กับงานประจำ”    นี่คือทฤษฎี      แต่เวลาปฏิบัติ บางหน่วยราชการที่มาสัมผัสกับ สคส. คิดไม่ออก ว่าจะเอา KM ไปโยงกับงานประจำของตนอย่างไร
“เพราะว่าในงบประมาณปี ๔๙ เขากำหนดเป้าหมาย และกิจกรรมไว้หมดแล้ว”  นี่คือคำบอกเล่าที่เราตีความ
ผมก็ตีความต่อทันทีว่าคนที่พูดอย่างนี้ มองกิจกรรม KM เป็นอีกงานหนึ่งที่แยกออกจากงานตามในเป้าหมายงบประมาณ ปี ๔๙     ซึ่งผิด
ผมมีความเห็นว่าซีอีโอของหน่วยงานนั้น ต้องเอาแผนงานปี ๔๙ มาช่วยกันดู     พิจารณาว่าผลงานที่ต้องการให้เป็นชิ้นโบว์แดงขององค์กรในปี ๔๙ คืออะไร     แล้ววางแผนใช้ KM เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น     ย้ำว่าเป็นหน้าที่ของ ซีอีโอนะครับ     เพราะนี่คือขั้นตอน KV – Knowledge Vision หรือ “หัวปลา”
ซีอีโอที่ศรัทธา KM จริงๆ ไม่ใช่ ศรัทธาแบบ lip service ต้องเข้ามาแสดง commitment ครับ     ทาง สคส. เราจะพิจารณาประเด็นนี้ในการสัมพันธ์กับหน่วยงาน     ถ้าพบว่ามีแต่ commitment ลวง/ปลอม     เราก็จะถอย  
ถ้าจะทำ KM จริงๆ ในหน่วยงาน     บทเรียนแรกคือวิธีทำให้ KM เป็น “เนื้อใน” ของงานสำคัญทุกเป้าหมายหลักขององค์กร     การทำ KM แบบเอาจริงคือการ “ไม่ทำ KM” ครับ     แต่ “ทำงานหลัก”     เอา KM มาใช้เพื่อการบรรลุเป้าหมายของงานหลัก     ดังนั้นคำว่า “ไม่มีงบประมาณในการทำ KM” จึงต้องไม่มี
วิจารณ์ พานิช
๒๑ สค. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 2738เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2005 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดิฉันมีความเห็นว่า CEO ต้องนำในการกำหนดหัวปลา และต้องมียุทธศาสตร์ในการที่จะทำให้เกิด KM ในเนื้องานจริงๆ ไม่เพียงแต่บอกว่าให้ทำ KM

CEO ต้องเข้าใจปรัชญาและแนวคิดของ KM ถ้าไม่แจ่มแจ้งในเรื่องนี้ ก็อาจนำไปผิดทาง และที่สำคัญคือต้องเลิกวัฒนธรรมการใช้อำนาจบังคับ

เรียนถามอาจารย์ว่า การกำหนดนโยบายในแต่ละด้านของท้องถิ่น (อปท.) เราจะเรียกว่าเป็นหัวปลาได้หรือไม่ เช่น นโยบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกับอปท.(เคียงบ่าเคียงไหล่)ขับเคลื่อนกิจกรรมในเรื่องต่าง ๆ จะเรียกว่าตัวปลา หรือหางปลาได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ เช่น การลดปริมาณขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้  การทำปุ๋ยหมัก  น้ำหมักชีวภาพ  การรักษาความสะอาดในชุมชนของตนเอง  ฯลฯ 

 

คนท้องถิ่นที่อยากเรียนรู้(กะเขาบ้าง)

ที่คนท้องถิ่นระบุมา เป็น "หัวปลา" ที่ดีทั้งสิ้น   คือชัดเจนและพุ่งเป้าดี   น่าจะเป็นกลุ่มหัวปลาเล็ก ภายใต้หัวปลาใหญ่คือให้ท้องถิ่นน่าอยู่   

 "ตัวปลา" คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบรรลุ "หัวปลา"   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ระหว่าง อบต. ก กับ อบต. ข    ลปรร. ระหว่างชาวบ้านภายในพื้นที่ อบต. นั้น   ลปรร. ระหว่าง สมาชิก อบต. - ชาวบ้าน - นักวิชาการ ฯลฯ0

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท