โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด


โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือการจัดองค์กรของ อบจ. แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ฝ่ายบริหารหรือคณะบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด

โครงสร้างของ อบจ. 
               โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือการจัดองค์กรของ อบจ. แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และ ฝ่ายบริหารหรือคณะบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ฝ่ายนิติบัญญัติ

              ฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง สภาองค์การบริหารส่วน จังหวัด (สภา อบจ.) ราษฎรในจังหวัดเป็นผู้เลือกตั้งเข้ามาตามจำนวนที่ พ.ร.บ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541บัญญัติไว้การพิจารณาจำนวนของสมาชิกสภา อบจ. ของแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับจำนวนหรือขนาดของประชากรในทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้ 

ตารางแสดง ขนาดของประชากรในจังหวัด เป็นเกณฑ์กำหนดจำนวนสมาชิกสภา อบจ.

จำนวนราษฎรทั้งจังหวัด

จำนวนสมาชิกสภา อบจ.

ไม่เกิน 500,000 คน

24 คน

500,001 –1,000,000 คน

30 คน

1,000,001-1,500,000 คน

36 คน

1,500,001-2,000,000 คน

42 คน

2,000,001 เป็นต้นไป

48 คน

           สมาชิกสภา อบจ. มีวาระปฏิบัติหน้าที่คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง การเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภา อบจ. ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกทุกคนต้องปฎิญญาณตนในที่ประชุมของสภา ว่า

จะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน

           สมาชิกสภา อบจ. เลือกสมาชิกด้วยกันเอง ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภา อบจ. 1 คนและรองประธาน อบจ. 2 คน เพื่อดำเนินการประชุมสภาให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาของอบจ. และเลือก ผู้บริหารองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดในปีหนึ่งๆให้มีสมัยประชุมสามัญ สองสมัย          โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาอบจ. ได้มาประชุมครั้งแรกภายใน 15 วันนับแต่วันเลือกตั้ง การประชุมสามัญแต่ละสมัยกำหนด 45 วัน แต่ถ้ามีความจำเป็น
ต้องยืดเวลาการประชุม ก็ขยายการประชุมต่อไปได้ครั้งละไม่เกิน 15 วัน     การปิดประชุมสมัยสามัญก่อนครบ 45 วัน จะกระทำมิได้
         
            การประชุมสามัญสมัยแรก สมาชิกสภา อบจ. เลือกสมาชิกด้วยกันเอง ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภา อบจ. 1 คน และรองประธาน อบจ. 2 คน            เพื่อดำเนินการประชุมสภาให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาของอบจ. และเลือกสมาชิกสภา อบจ. คนหนึ่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

            เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภา อบจ. ว่างลง ให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภา อบจ. ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่ง
สมาชิกสภา อบจ. ว่างลง (เว้นแต่อายุของสภา เหลือไม่ถึง 180 วัน จะไม่ดำเนินการเลือกตั้งขึ้นแทนที่ตำแหน่งที่ว่างก็ได้)

การพ้นตำแหน่งจากการเป็นสมาชิกสภา อบจ.

1.     ดำรงตำแหน่งครบตามกำหนด คือ 4 ปี         (แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่านายกอบจ.ซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่เข้ารับทำหน้าที่)
2.      ตาย
3.     ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภา อบจ.
4.    ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนแล้วสั่งออก เมื่อปรากฎว่าขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.
5.   รัฐมนตรีมหาดไทยสั่งให้ออกเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งสอบสวนแล้ว ปรากฎว่าผู้บริหาร อบจ. มีส่วนได้เสียในสัญญาสัมปทานที่ทำกับ อบจ.
6.   สภาอบจ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนสมาชิก อบจ. โดยเห็นว่าประพฤติเสื่อมเสีย หรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภา

 

อำนาจหน้าที่ของสภา อบจ.

อำนาจหน้าที่ของสภา อบจ. มีลักษณะคล้ายกับหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร คือมีอำนาจหน้าที่ เสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อพิจารณา และมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติของฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยเฉพาะร่างข้อบัญญัติงบประมาณร่างจ่ายประจำปี หรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายเพิ่มเติม การลงมติของสภา อบจ. จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้ ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับมติสภา

สภา อบจ มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการเลือก ผู้บริหาร อบจ. คือนายก อบจ. และรองนายก อบจ. ในกรณีที่นายก อบจ. ต้องพ้นตำแหน่งเพราะ ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ตกไป สภา อบจ. ต้องเลือกนายก อบจ คนใหม่เข้ามารับตำแหน่งแทนคนเก่า ภายในเวลา 15 วัน


ตารางแสดงการพิจารณาของสภาอบจ. สัมพันธ์กับการพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัด
เรื่องข้อบัญญัติรายจ่ายงบประมาณประจำปี หรือข้อบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม

ความเห็นของ

สภาอบจ.

ความเห็นของ

ผู้ว่าราชการจังหวัด

ผล ที่มีต่อข้อบัญญัติ

เห็นชอบด้วย

เห็นชอบด้วย

นำไปประกาศ ณที่ทำการ อบจ. และกรมการปกครอง

ไม่เห็นชอบด้วย

ไม่เห็นชอบด้วย

ตกไป (ผู้บริหาร อบจ. ต้องพ้นจากตำแหน่ง)

ไม่เห็นชอบด้วย

เห็นชอบด้วย

สภา อบจ. พิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน ต้องยืนยันในมติเดิม ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ร่างฯ จึงตกไป

เห็นชอบด้วย

ไม่เห็นชอบด้วย

       

                 การปกครองตนเองขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบ อบจ. ก็ยังมีผู้ว่าราชการเป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุม แต่ไม่มีอำนาจเด็ดขาด ในกรณีที่สภามีความเห็นขัดแย้ง     ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่ราชการส่วนกลางส่งมาคอยช่วยเหลือ ดูแล ประสานงานกับราชการส่วนกลาง

 

หมายเลขบันทึก: 273413เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดยอดมากกกกระบบการปกครองเคยแล้วแต่งงเป็นไก่ตาแตก( มึนตึบ )

เด็กน่ารัก มักใจง่าย

น่านดิ( งงเหมือนกันเคยอ่านจากที่อื่นโคตรงง )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท