รายงานการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ


รายงานการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ

ชื่อเรื่อง  รายงานการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน   โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายกิตต์ประพัฒน์  พิรุณห์
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ  อำเภอลำปลายมาศ
   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต  1
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ  อำเภอลำปลายมาศ
   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต  1
ปีที่พิมพ์   2551

บทคัดย่อ

 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าเพื่อประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน  360  องศา ใน 2 ประเด็น คือ 1) ผลการดำเนินงานโครงการ
ห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านและ 2) กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่   ครูและคณะกรรมการโครงการจำนวน  6  คน  นักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์  เขต 1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  91 คน  รวมทั้งสิ้น  97  คน
 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี  3  ประเภท  ได้แก่ 1)  แบบสัมภาษณ์  ใช้สัมภาษณ์ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ได้แก่  ครู  คณะกรรมการ  2)   แบบสอบถาม  ใช้สอบถามนักเรียนและคณะกรรมการโครงการ ครู  3)  แบบสังเกต ใช้สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
  1.  ผลการดำเนินงานและผลการประเมินผลประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ  สภาพก่อนดำเนินการศึกษาค้นคว้าคือ นักเรียนไม่ค่อยได้อ่านหนังสือจากห้องสมุด  และนักเรียนไม่มีนิสัยรักการอ่าน  แต่หลังจากดำเนินการศึกษาค้นคว้า  มีผลเกิดขึ้นดังนี้  คือ
   1.1  นักเรียนและครูได้รับบริการหนังสือจากห้องสมุดได้อย่างทั่วถึง  นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน  และนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
   1.2  นักเรียนได้รับความสุขและความบันเทิงจากการร่วมห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านและเห็นความสำคัญของการอ่าน
   1.3  เมื่อพัฒนาการดำเนินการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่าน นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง  คือ  นักเรียนได้อ่านหนังสือและชอบอ่านหนังสือมากขึ้น  นักเรียนมีความสุขที่อ่านหนังสือได้โดยง่ายซึ่งมีให้อ่านในที่ต่างๆ ของโรงเรียน  หนังสือในห้องสมุดเดิมไม่ค่อยได้ใช้ก็มีการประโยชน์  เก็บไว้ในห้องสมุดและในตู้ถูกนำมาบริการให้นักเรียนได้อ่านอย่างคุ้มค่า  นักเรียนมีลักษณะนิสัยชอบหยิบจับหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้มาดู  มาอ่านยามว่าง  ทั้งที่ที่ครูไม่ได้บอกหรือสั่งให้ค้นคว้า  นอกจากนักเรียนจะมีพฤติกรรมการชอบอ่านหนังสือ  นักเรียนจึงมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น  กล้าพูดกล้าแสดงออกและมีความสุขและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านนำเสนอในกิจกรรม360 องศา น่ารู้ ในรายการต่างๆ  ทำให้บรรยากาศในโรงเรียนสดชื่น  มีเสียงเพลงที่ไพเราะ  มีเสียงอ่านข่าว  อ่านภาษาไทย  อ่านบทความ  หรือสาระน่ารู้  หรือรายการเสียงตามสายอื่นๆ  นอกจากนั้น  นักเรียนยังได้ร่วมกิจกรรมการอ่านวันละนิด ชีวิตแจ่มใส  ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงจากการที่ครูและนักเรียนได้ร่วมดำเนินการเพื่อพัฒนางานบางงานส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง  นักเรียนมีการพัฒนาการอ่านของตนเองมากขึ้น  และส่งผลให้การพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนประสบผลสำเร็จอย่างน่าพอใจ
  2.  นักเรียนมีส่วนร่วมใน กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ  ทั้ง 8 กิจกรรมโดยรวมมีส่วนร่วมอยู่ระดับมาก 
  3.  ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ด้งนี้ ด้านปัจจัย รองลงมาคือ ด้านผลผลิต  ด้านกระบวนการ และด้านบริบท
  4.  นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ด้งนี้   ด้านผลผลิต  รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยและด้านบริบท
  5.  นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟมีนิสัยรักการอ่านโดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยนักเรียนมีความสนใจในการอ่านหนังสือพิมพ์   ยืมหนังสือไปอ่านที่บ้าน  เข้าห้องสมุดค้นคว้าหาความรู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

หมายเลขบันทึก: 272907เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท