การใช้บัตร “ใจ” แทน “เงิน”ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน ที่โนนตากลาง


สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

เมื่อ “เงิน” เป็นปัญหา เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งการไม่มีเงินบาทเป็นอุปสรรคในการผลิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น ทั้ง ๆ ที่ในแต่ละชุมชนยังคงมีปัจจัยในการดำรงชีพและการผลิต เช่น วัตถุดิบตามธรรมชาติและแรงงาน จึงมีความพยายามสร้างระบบแลกเปลี่ยนย่อย ๆ ขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้ท้องถิ่น โดยจะทำให้เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนในท้องถิ่นเป็นการให้ข้อมูลความต้องการสินค้าในท้องถิ่น กระตุ้นการผลิตเพื่อการพึ่งตนเองในชุมชน และช่วยสมาชิกออมเงินบาท ภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนชุมชนสมาชิกสามารถกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามความสมัครใจของผู้ซื้อผู้ขาย การได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันในชุมชนช่วยรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในชุมชน ทำให้เกิดความอาทรเกื้อกูลกันเป็นพลังสู่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ของชุมชน

       ชาวบ้านกุดชุมได้เริ่มใช้ระบบนี้ในปี 2543 แต่ต้องระงับชั่วคราวจากการท้วงติงของรัฐบาลแต่ด้วยการสนับสนุนของ สกว. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ทำให้เกิดโครงการวิจัยระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งได้นำแนวคิดเรื่องระบบแลกเปลี่ยนชุมชนไปทดลองใช้ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีทั้งชุมชนที่ปฎิเสธและชุมชนที่ยอมรับแนวคิดนี้ นำไปทดลองใช้เกิดเป็นรูปแบบระบบแลกเปลี่ยนชุมชนที่แตกต่างหลากหลายไปตามความเหมาะสมของชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ และโครงการนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไปเป็นระยะที่สอง ที่มุ่ง (จนถึงปี 2550) เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการแลกเปลี่ยนในชุมชนและระหว่างชุมชนให้เข้มแข็ง

อ่านทั้งหมดได้จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000044277

หมายเลขบันทึก: 27237เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท