ไขว่คว้าหาวิธีการวิเคราะห์สถิติ Logistic Regression แบบนิสิต มมส. ไกลปืนเที่ยง


ต้องหาแนวทางการเรียนรู้ในแบบของตัวเองเพื่อความเข้าใจ

พี่หมออนามัย จาก ตำบลคำสร้างเที่ยง กิ่ง อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ เกือบสุดเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ติดกับเขต อ.วังสามหมอ อุดรธานี พี่เขามาเรียนปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ ที่ มมส.

ขับรถจากบ้านพักสถานีอนามัย ไปกลับ มมส. 240 กิโลเมตร.. พี่เขาไม่ค่อยได้พักค้างคืนที่มหาสารคาม เพราะต้องกลับไปดูแลลูกสาว 3 คนที่บ้านคำสร้างเที่ยง ขับรถไกลก็ต้องยอม

มาถึงช่วงโค้งสุดท้ายของการเรียนปริญญาโท กับการทำวิทยานิพนธ์ การหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้สถิติ Logistic Regression ในการวิเคราะห์หาปัจจัยดังกล่าว

พี่เขาเคยไปอบรมการใช้สถิติ Logistic ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น เคยจัดอบรมเมื่อปี 2548 ได้ความรู้มาพอสมควร ในตอนนั้น ได้หัดใช้โปรแกรม SAS ได้รับเอกสารประกอบการอบรมที่อธิบายได้ดีทีเดียว แต่เวลาที่ผ่านไป มีโอกาสได้ทบทวนน้อย เมื่อกลับมาอ่านเอกสารอีกครั้ง เกิดความสงสัยในหลายประเด็น

เพื่อนร่วมรุ่นที่ มมส. จะใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติ SPSS ถึงกับขนาด write CD แจกกันเลย เป็นแผ่น CD โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 9-12 ที่ต้องแจกจ่างเนื่องจาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มาเรียนปริญญาโทรุ่นเดียวกัน ไม่มีโปรแกรม SPSS เลย เพราะไม่ค่อยได้ทำวิจัยทางวิชาการ

เมื่อพี่หมออนามัยต้องทำวิทยานิพนธ์ จึงต้องไปค้นหาเอกสารงานวิจัยในแนวทางที่คล้ายๆกัน แล้วดูเปรียบเทียบวิธีการคิด - วิเคราะห์ ทำความเข้าใจด้วยตัวเอง เพราะอยู่ไกลจาก มมส. และอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ค่อยจะมีเวลาว่าง ทำให้นานๆครั้งถึงมีโอกาสได้เจอสักครั้งหนึ่ง หลายครั้งต้องไปรอที่บ้านพักของอาจารย์ในตอนเย็นๆ

เมื่อต้องศึกษาด้วยตัวเอง จึงต้องนำข้อมูลของคนอื่นมาลองวิเคราะห์ดูว่า จะได้ผลการวิเคราะห์ตรงกับที่รายงานออกมาหรือไม่ .. แน่นอน วิทยานิพนธ์ต้นแบบ ถ่ายเอกสารมาจาก ม.ขอนแก่น บางเรื่อง พอนำมาลองวิเคราะห์ กลับพบว่า ที่เค้าวิเคราะห์มานั้น ผิดอย่างเห็นๆ แค่รวมตัวเลขในตาราง ผลรวมในช่องสุดท้ายยังผิด คาดว่า คงเป็นเพราะการรีบเร่งแก้ไขวิทยานิพนธ์เพื่อให้ทันส่งตามกำหนด หรือขาดการตรวจสอบข้อมูล หรือนักศึกษา ไม่ค่อยได้ไปพบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ช่วยดู ช่วยตรวจสอบก่อนส่ง ทำให้วิทยานิพนธ์บางเล่ม ที่อยู่ในห้องสมุด มข. มีบางหน้า ที่ผลการคำนวณผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย

พี่หมออนามัย จึงต้องขวนขวายเรียนรู้ด้วยตัวเองต่อไป ลองวิเคราะห์ Logistic regression ด้วย SPSS เวอร์ชั่น 11 หาค่าสัมประสิทธิได้ตามการวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ต้นแบบ แต่ เอ๊ะ... ค่าคงที่ทีจะได้จาก สมการ regression ดูจากตรงไหนในผลการคำนวณจาก SPSS

ลองรันโปรแกรมวิเคราะห์ครั้งแล้วครั้งเล่า เข้าไปกำหนด option ก่อนคลิก OK เพื่อรันผลวิเคราะห์หลายแบบ ก็ยังหาค่าคงที่ ไม่เจอ ในที่สุดเมื่อนัดพบ อาจารย์ที่ปรึกษาได้ พี่เขาจึงต้องหอบ Notebook ไปนั่งวิเคราะห์สถิติให้อาจารย์ช่วยดู

หลังจากอาจารย์อธิบายให้เข้าใจ แล้วให้คำแนะนำว่า ให้ลอง search จาก google ดูด้วย จะได้เจอตัวอย่างการวิเคราะห์สถิติ Multiple regression ในรูปแบบต่างๆ ที่อธิบายได้อย่างละเอียดมากๆ เพียงแต่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งท่านอาจารย์ได้ save เวบนั้นไว้แล้ว ว่างๆจะเอามาแปล แล้วเขียนเป็นหนังสือออกมา ในเรื่องของ Multiple Regression ในงานวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์

เมื่อต้องอยู่ไกลมหาวิทยาลัย จึงต้องหาแนวทางการเรียนรู้ในแบบของตัวเองเพื่อความเข้าใจให้ได้.......

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#learning
หมายเลขบันทึก: 27200เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ลองไปหาหนังสือ ดร. กัลยา  วานิชบัญชา จาก จุฬาฯ นะคะ (ชื่อเหมือนกัน เลยจำได้ขึ้นใจเชียว)มาลองอ่านและทำตามหนังสือนะคะ เอาเล่มสีเขียว นะ รู้สึกจะเวอร์ชั่น 10 นะคะ

อ่านเข้าใจง่าย แล้วท่านจะเห็นทางออกนะคะ

หรือไม่มีก็มาซื้อที่ มข นะคะ

ทุกอย่างไม่ยากเกินไปนะคะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

     ในฐานะหมออนามัย เห็นคุณบอนเขียนถึงพี่หมออนามัย อยากฝากให้กำลังใจครับ สู้อย่าถอยเพื่อพัฒนาตน แล้วเอาไปพัฒนางาน ส่งผลไปยังพัฒนาคน หากมีอะไรให้ช่วยเท่าที่พอจะเอื้อหนุนพี่เขาได้ ก็ยินดีนะครับ
  • ขอเอาใจช่วยครับ ฝากดูแลพี่หมอด้วย
  • เราเรียนสถิติเป็นภาษาอังกฤษหน้งสือชื่อ SPSS Windows Made Simple ของ Paul R. Kinnear
  • แนะนำหนังสือชื่อ การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของ รศ ดร บุญเรียง ขจรศิลป์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ มีขายทุกสาขาครับ

ทำไมค่า Regression ออกมาถึงได้ค่าลบละคับ

ผมใช้โปรแกรมSPSS แต่ผลที่ออกมาเป็นค่าลบ

ซึ่งที่จริงน่าจะเป็น 0 ไม่ใช่หรอคับ

ขอคำอธิบายหน่อยคับ

 

เนื่องจากข้อมูลที่นำเข้าครับ เป็นข้อมูลดิบ และยังไม่ได้ตรวจสอบความครบถ้วน การกระจายของข้อมูล ฯลฯ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท