ท้องถิ่นคือกุญแจสำคัญในการปฏิวัติระบบสุขภาพยุคใหม่


นพ.อมร นนทสุต วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว Vol. 1 No. 1

วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว Vol. 1 No. 1

ท้องถิ่นคือกุญแจสำคัญในการปฏิวัติระบบสุขภาพยุคใหม่

สัมภาษณ์พิเศษ นพ.อมร  นนทสุต

โดย สุภาภรณ์  นิภานนท์

 

 

 

 

 

 

ที่มา : วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบตรัว 
ปีที่ 1 ฉบับที 1 หน้า 17-20

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ท้องถิ่นคือกุญแจสำคัญในการปฏิวัติระบบสุขภาพยุคใหม่

ในย่อหน้าสุดท้ายของหน้่า 17 ท่านอาจารย์ นพ.อมร ได้อธิบายว่า
การมีส่วนร่วมของชุมชน ขณะนี้อยู่ที่ระดับขั้นที่ 4
(คือประชาชนและเจ้าหน้าที่ร่วมตัดสินใจและช่วยกันทำ)
เมื่อถึงวันนี้ควรก้าวไปที่ระดับขั้นที่ 5 ได้แล้ว
(คือประชาชนจัดการระบบสุขภาพเองและรัฐสนับสนุน)

เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ตัดสินใจเอง จัดการเอง แก้ปัญหาเอง 
จะให้เราสนับสนุนอะไรด้านใหนก็บอกมา 

คำว่า "เรา" หมายถึงภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของกระทรวงสาธารณสุข 
โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือ แพทย์ พยาบาล เจ้่าหน้าที่ทั้งหลายนั่นเอง 

"ท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิวัติระบบสุขภาพยุคใหม่"

อยู่ที่ ย่อหน้าสุดท้าย หน้า 20

"ท้องถิ่นเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิวัติระบบสุขภาพยุคใหม่ แต่ปัจจุบันยังชักเย่อกันอยู่
ส่วนกลางยังไม่ยอมปล่อย"
  ท่านอาจารย์ นพ.อมร กล่าวว่า
"ไม่ใช่เวลาที่จะมาแย่งกัน จุดสำคัญคือการร่วมสร้างความสามารถของท้องถิ่น
ในการดูแลสุขภาพตนเอง เมื่อท้องถิ่นเข้มแข็งแล้ว ส่วนกลางจะมอบหรือไม่มอบ
ก็มีค่าเท่ากันเพราะงานไปอยู่ตรงพื้นที่หมดแล้ว"

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

Link to: 
นพ.อมร นนทสุต บรรยายในการประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 6
26 มิย. 2552 โรงแรมมณเทียร ริเวอร์ไซด์ กทม.
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
http://gotoknow.org/blog/nopadol/271179

 

คำสำคัญ (Tags): #ท้องถิ่น#นพ.อมร
หมายเลขบันทึก: 271701เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน ท่านอาจารย์หมอ นภดล เห็น ด้วยครับ ท้องถิ่น คือ กุญแจ ของหลายหลายอย่าง น่าเรียนรู้ ครับ

ผมว่าทุกภาคส่วนมีความสำคัญเท่าๆกัน

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ JJ 

หน้า 17 เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน 
Community Participation มีมากหรือมีน้อยคือ มี 6 ระดับ (0-5) 

0 ไม่มีส่วนร่วมเลย 
1 ชาวบ้าน ช่วยยกโต๊ะ ช่วยจดชื่อเด็ก ร่วมแรง 
2 ให้ข้อมูล หมู่บ้านของเราเป็นอย่างไร 
3 ร่วมตัดสินใจ (แต่การตัดสินใจสุดท้ายยังเป็นแพทย์หรือเจ้าหน้าที่)
4 ร่วมคิดและร่วมทำร่วมตัดสินใจกับเจ้าหน้าที่
5 ประชาชนจัดระบบเองและรัฐสนับสนุน

0%<--------------------->100% 
0----1----2----3----4----5



ส่วนรูป Radar Graph 6 ทิศทาง ในบทความของ 
นพ.นภดล เป็นวิธีการทำงานในด้านต่างๆ (6 กิจกรรม) 
ก็คืออาจจะวัดตามระยะเวลา เช่น ทุก 2-3 เดือน
หรือหลังจากกิจกรรมแต่ละครั้ง
After Action Review (AAR) ก็ได้ครับ เช่น 
ถ้าการประชุมอย่างเป็นทางการมีค่อนข้างน้อย  
คราวต่อไป ก็หาวิธีจัดประชุมเพื่มมากขึ้นเป็นต้นครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท