อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับย่อ)


อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


          ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียโดยได้ผสมผสานอารยธรรมดั่งเดิมที่มีอยู่แล้ว สามารถศึกษาถึงความสัมพันธ์กันของสองอารยธรรมได้ดังนี้
          ๑. การแลกเปลี่ยนมีมาตั่งแต่ช่วงวัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานที่พบคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี แพร่กระจายไปดินแดนหนึ่งในอินดีย กับ ชนเผ่าในอินโดนีเชีย และพวกจาม
          ๒. คำภีร์มหาวงศ์ที่เขียนขึ้นในพ.ศ.ว.ที่ ๑๑ – ๑๒ กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ในช่วงพ.ศ.ว.ที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดน “สุวรรณภูมิ”
          ๓. ชาดก มิลินทปัญหา มหานิเทศ และมหากาพย์รามยณะ มักจะกล่าวถึงพ่อค้าที่ชอบเล่นเรือมาค้าขายในแถบตะวันออกที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณประทีป”

การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ดังนี้
          ๑. มีการติดต่อค้าขายทองคำจากอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแต่เดิม อินเดียซื้อจากอาณาจักรโรมัน
          ๒. การต่อเรือของชาวอินเดียพัฒนาขึ้น มีการเพิ่มจำนวนเรือในการเดินทางมาซื้อขายมากขึ้น นอกจากพ่อค้าแล้ว ยังมีนักบวชของลัทธิต่าง ๆ ช่างฝีมือรวมถึงเหล่าบรรดานักปราชญ์ได้ร่วมเดินทางเข้ามาด้วย ซึ่งนำอารยธรรมอินเดียเข้ามาเผยแพร่ตามเมืองท่าต่าง ๆ ที่ตนตั้งเป็นอาณานิคม
          ๓. ชาวอินเดียรู้จักวิถีของลมมรสุมที่พัดพาเรือมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัดกลับสู่อินเดียดีจึงเพิ่มจำนวนเที่ยวในการเดินทาง
          ๔. สมมุติฐานพราหมณ์หรือพระ ในช่วงที่ศาสนาพุทธได้รับความนิยมในอินเดีย ทำให้พราหมณ์เสียผลประโยชน์ อีกทั้งพราหมณ์ที่เคยมีบทบาทในราชสำนักก็ถูกลดบทบาทลง ทำให้พราหมณ์บางกลุ่มต้องออกเดินทางหาที่พักพิงแห่งใหม่

เหตุผลที่รับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามา
          ๑. ชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น ต้องการความควบคุมให้ได้อย่างทั่วถึง
          ๒. ต้องการวิทยาการชั้นสูงจากอินเดียและคำแนะนำจากผู้รู้ เพื่อแผ่ขยายอำนาจ พวกพราหมณ์จึงได้เข้ามามีบทบาทเช่น ยกระดับให้ผู้นำให้เป็นสมมุติเทพ การปกครองระบบศักดินา จตุสดมภ์ การปกครองหัวเมืองตามแบบอินเดียมาใช้ ในด้านกฎหมายก็ใช้กฎหมายพระธรรมศาสตร์ การสร้างเมืองใช้อุดมคติแบบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
          ๓. ตำนานการก่อตั่งราชวงศ์ของอินเดีย ช่วยสนับสนุนอำนาจของผู้นำ ให้เป็นผู้นำโดยถูกต้อง และชอบธรรม เพื่อรักษาดินแดนไว้ให้เผ่าของตน และลูกหลานของตน

รัฐโบราณแรกรับอารยธรรมอินเดียคือ อาณาจักรฟูนัน (คริสศตวรรษที่ ๑ – ๖)
          อาณาจักรฟูนันตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง ปกครองในระบบกษัตริย์และรับระบบศักดินามาจากอินเดีย ชนชั้นปกครองนับถือศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย ส่วนชาวพื้นเมืองมีทั้งนับถือศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธนิกายหินยานที่ใช้คัมภีร์สันสกฤต ฟูนันเป็นอาณาจักรแรกในเอเชียตะวันออกที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาราชการ
          รัฐโบราณที่รับอารยธรรมอินเดียต่อมาคือ จามปา เจนละ ทวารวดี ศรีวิชัย ขอม เป็นตน

วัฒนธรรมสำคัญที่อินเดียนำมาเผยแพร่ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
          - ระบบการปกครอง ระบบกษัตริย์ หลักเทวราชาเพื่อเสริมอำนาจให้กับกษัตริย์ ลักษณะการปกครองแบบนี้เด่นชัดที่สุดในเขมรและในประเทศไทย
          - การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย คติการสร้างเมืองในคติศูนย์กลางของจักรวาล
          - กฎหมายจากอินเดียพระมนูธรรมศาสตร์เพื่อมาเป็นแม่บทของกฎหมายเดิมที่มีอยู่
          - การใช้ตราประทับที่เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา เอกชนหรือหมู่คณะเพื่อผลทางการเมือง
          - งานวรรณกรรม เช่น รามเกียรติ์ ภควัตคีตา ซึ่งมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด ของคนในภูมิภาคนี้
          - ศาสนาพราหมณ์ และพุทธ หลักความเชื่อต่าง ๆ การนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ การนับถือยอดเขา
          - รูปแบบการสร้างพระพุทธรูป และเทวรูป งานสถาปัตยกรรม ปราสาท เทวสถาน
          - ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในราชการ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท
          - เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนกีฬาบางประเภท ซึ่งชาวพื้นเมืองได้นำมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง

นอกจากอารยธรรมอินเดียแล้ว SEA ยังได้รับวัฒนธรรมจีนด้วย เนื่องจากที่ต้องติดต่อค้าขายกับจีน จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องยอมรับเงื่อนไขของจีน ต้องการส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีนตามที่จีนกำหนด อีกทั้งยังให้จีนยอมรับความเป็นเอกราชของรัฐต่าง ๆ ทำให้จีนมีอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจต่อประเทศ SEA
          อย่างไรก็ตามจีนได้เข้ามามีอิทธิพลในเวียดนาม ในฐานะที่เวียดนามเป็นประเทศราช จึงทำให้เวียดนามได้รับวัฒนธรรมมากกว่าชาติอื่น ๆ ใน SEA
          วัฒนธรรมจีนที่เวียดนามรับเข้ามาเช่น
          - การปกครองแบบโอรสสวรรค์
          - การสอบเข้าราชการ โดยการสอบไล่ยึดตามตำราคราสสิกของขงจื้อ
          - ยึดถือระบบครอบครัวและหลักปฏิบัติการอยู่ในสังคมตามคตินิยมของขงจื้อ
          - ศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบจีน
          - งานวรรณคดี และอักษรศาสตร์
          อารยธรรมทั้งสองได้ถูกหลอมลวมกันอย่างกลมกลืนจนทำให้ประชาชนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สร้างชาติ สร้างบ้านเมือง สร้างคนให้จนเจริญรุ่งเรือง มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและความคิดของผู้คนในภูมิภาคนี้อย่างฝังรากลึกอยู่ในสายเลือด และยังได้สอดแทรกอยู่ในประเพณีของแต่ละประเทศได้อย่างเหมาะสม ลงตัว พอดี สืบต่อเรื่อยมาหลายร้อยหลายพันปีและอยู่คู่กับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สืบต่อไปอีกยาวนาน

 


อธิบายคำเพิ่มเติม
พระมนูธรรมศาสตร์
          ตามตำนานกล่าวว่า พระ มะโนสารฤษี หรือมนูสารเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากเท้ามหาพรหม ท่านได้ตัวบทกฎหมายมาจากกำแพงจักรวาลในสมัยที่อายุของมนุษย์ได้ “อสงไขยหนึ่ง” พระมะโนสารฤๅษีได้จดจำตัวบทนั้นมาอย่างครบถ้วน และกลับลงมาจากสวรรค์แล้วนำมาเขียนไว้เป็นคำภีร์ธรรมศาสตร์ไว้เป็นหลักให้ผู้ปกครองไว้ใช้ในการปกครองประเทศ
          เนื่องจากสังคมใน SEA มีการร่วมตัวกันใหญ่มากขึ้น มีสังคมซับซ้อนขึ้น มีการปกครองโดยหัวหน้าชุมชน จึงจำเป็นต้องมีตัวบทกฎหมายขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ให้ประชาชนได้ดำเนินแนวทางในแบบเดียวกัน และเพื่อให้เกิดความสุขในชุมชน เนื่องสังคมได้พัฒนามากขึ้นมีการติดต่อค้าขายระหว่างรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะชาวอินเดียกับชาว SEA ในการมาค้าขายแต่ละครั้งของชาวอินเดียนั้นได้นำผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามด้วย จำนวนมากเช่นพวกพราหมณ์ หนึ่งในนั้นมีผู้นำคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์เข้ามาเผยแพร่ใน SEA ผู้ปกครองใน SEA กฎหมายฉบับนี้มาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเทวราชาซึ่งนอกเหนือจากการเสริมอำนาจของผู้นำแล้ว ยังมุ่งให้ความยุติธรรมแก่สังคมด้วย ซึ่งกำหมายพระมนูธรรมศาสตร์นี้จะเป็นแม่บทของกฎหมายแต่ละชุมชน

อาณัติสวรรค์
           คือคตินิยมความชอบธรรมตามแบบอารยธรรมจีนที่มีหลักการว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจที่สวรรค์มอบหมายประทานมาให้แก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติชอบธรรมตามคติของขงจื๊อ ผู้ที่รับมอบหมายอาณัติจากสวรรค์จะถือว่าเป็นคตินิยมที่มีคุณค่าแก่ตน ถือว่าตนเป็นผู้อภิบาลประชาชน แผ่นดิน เรือกสวนไร่นา ต้นไม้ ภูเขา สายน้ำ เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในแผ่นดิน ปราบคนชั่ว แก้ไขความทุกข์ยากของราษฎร์ ผู้ได้รับอาณัติจากสวรรค์จะมีความชอบธรรมในการปกครองแผ่นดิน ผู้ปกครองทุกคนจะต้องปฏิบัติอาณัติสวรรค์อย่างถึงพร้อม แต่เมื่อใดที่ไร้ความสามารถ แต่เมื่อใดที่ไร้ความสามารถ ปล่อยปละละเลยทำให้เกิดความทุกข์ร้อนขึ้นในแผ่นดิน สวรรค์จะเรียกอาณัตินั้นคืน และส่งมอบให้กับบุคคลที่มีความสามารถคนต่อไป ผู้ที่รับอาณัติจากสวรรค์เรียกว่า โอรสสวรรค์

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 271218เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

วันอาทิตย์จะสอบเรื่องนี้พอดี อ่านแล้วได้ข้อเขียนเพิ่ม

เติมจากหนังสือเยอะเลย ขอบคุณคะ

ไม่ได้อะไรเลยไม่มีรูปภาพ ฮ่าย

^

^

อ่านหนังสือเอาสิครับ เขาเขียนสรุปมาให้ก็ดีแล้ว

ในโลกนี้ไม่มีอะไรง่าย ๆ นอกจากคนที่มีนิสัยมักง่ายนะครับ

ครูให้ทำรายงานเรื่องนี้พอดีเลยขอบคุณมากค่ะ คุณ วาทิน ศานติ์ สันติ

ขอบคุณมากๆค่ะ เข้าใจขึ้นมากเลค่ะ

ดีมากค่ะกำลังสอนเรื่องนี้อยู่พอดีได้ความรู้มากเลยย

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

หาตั้งนาน

^^

น่าจะมีรูปภาพด้วยนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ ได้เอาความรู้นี้ไปตอบในการสอบ Final ด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลย

สอบพรุ่งนี้แล้ว ๆ

ขอบคุนครับที่ให้ข้อมูล พอดีต้องออกไปรายงานหน้าห้องเรื่องนี้พอดีเลย

ขอบคุนคร๊าฟฟฟ....

ขอบคุณมากๆ ผมชอบมากที่มีเวทีทางวิชาการแบบนี้ ...ผ่อนคลาย ได้ความรู้ ไม่น่าเบื่อ เป็นบันเทิงคดีได้เลย....พอดีกำลังสอนเรื่องนี้อยู่พอดีเลยอ่ะ..^^...ขออนุญาตเชิญชวนให้นักศึกษาของผมเข้ามาร่วมแจมด้วยน่ะครับ...(โฆษณาให้ฟรีครับ เหอๆๆ)....

ซาวเพลงพี่ทำหนูตกใจ

สรุปได้กระชับมากเลย ขอบคุณมากนะคะ ;))

ที่พูดมาน่ะล้อเล่นสรุปได้ดีมากเลยค่ะขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ช่วยเรียบเรียงข้อมูลในหัวให้เป็นระเบียบขึ้นเยอะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท