แผนที่ทางเดินยุทธศาสตรร์


แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน บรรยายโดย นพ.อมร นนทสุต ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารยุทธศาสตร์ เมืองไทยแข็งแรง อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
บรรยายโดย นพ.อมร  นนทสุต
ที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารยุทธศาสตร์ เมืองไทยแข็งแรง
อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

26 มิย.2552 แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

บรรยาย โดย นพ.อมร  นนทสุต

โรงแรมมณเทียร ริเวอร์ไซด์ กทม.

ท่านบอกว่าเราเหมือนเป็นคนขับแท็กซี่ 
แผนที่ทั่วกรุงเทพอยู่ในหัวเรา ถนนทุกสายเรารู้จักหมด
แต่ต้องรอผู้โดยสาร ให้ว่าจ้่างเราก่อน ว่าจะไปที่ใหน
ถ้่ายังไม่มีใครมาว่าจ้าง ก็ยังไม่ไป

เมื่อยังไม่มีผู้โดยสารเรียก ก็ทำพัฒนาองค์กร PMQA ไปพลางๆก่อน
เช็ดรถให้สะอาดเอี่ยม แต่เช็ดแค่รถของเราเอง

มาขับรถส่วนตัวกันดีกว่า  ทำได้เลย ออกไปนอกโรงพยาบาลกันดีกว่า  

แต่ทรัพยากรเรามีจำกัด ใด้อย่างก็ต้องเสียอย่าง


เราเชื่อหรือยังว่า "ชาวบ้านทำได้"
เช่น อัมพวา สมุทรสงคราม ควบคุมไข้เลือดออก มีผักตบชวา มียุงเกาะ
ทำควบคุมสิ่งแวดล้อม หลายคนใช้วิธี "ปัดสวะ" ไปให้พ้นหน้าบ้าน
มาตรการทางสังคม ให้ชาวบ้านเก็บผักตบชวาให้ส่งขายโรงงานปุ๋ยได้
และชาวบ้านเป็นสมาชิกอยู่ด้วยจึงซื้อปุ๋ยได้ครึ่งราคา 

เรื่องต่อมาก็คือ วิทยุชุมชน

 

 

นพ.อมร  นนทสุต เล่าต่ออีกว่า  อันนี้ก็คือ Empower
ดีกว่าตอนที่ ทำ อสม.เยอะ

เรามี ตัวผู้แสดง เพิ่มขึ้นมา คือ เทศบาล อบต ท้องถิ่น ท้องที่ และอื่นๆ

เราจะร่วมมือกันอย่างไร เราจะยืนอยู่ตรงใหน เพื่อจะได้เดินไปถึงจุดหมายเดียวกัน
รัฐ ท้องถิ่น กับภาคประชาชน  (แบ่งกันให้ดี )  

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เช่น เรื่องแยงตูดไก่ ที่อัมพวา 
สาธารณสุข สั่งมาให้แยงตูดไก่
พรุ่งนี้ เกษตรมาอีกแล้วให้แยงตูดไก่ 
อีกวันมหาดไทยให้ไปแยงตูดไก่่อีกแล้ว

เพราะถ้าไม่มีแผนที่ ไม่รู้ว่า ใครทำอะไร อันนี้ก็ คือ ธรรมมาภิบาล
ช่วงนี้เอาแค่ ให้ได้งานก่อน
ได้งานแล้ว  หลังจากนั้น  เอามาทำ AVM การคิดต้นทุน Costing

ไม่ต้องสร้าง  ไม่เน้นที่สร้าง  (เช่น  Balanced Scorecard)
ให้เอาไปใช้  เน้นที่ใช้  เอา  แผนที่ทางเดิน ไปใช้ 
ตั้งต้นที่วิสัยทัศน์ อย่างยั่งยืน

 

นพ.อมร เล่าต่อ CSF = Critical Success Factors

เพราะตั้งใจ เต็มใจ หัวใจคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เชื่อว่าชาวบ้านทำได้

เราไม่ใช่อยู่ข้างล่าง เราไม่ใช่พื้นฐาน แต่จะอยู่ที่ ระดับภาคี

ท่านอาจารย์กล่าวว่า ต้องให้ถึงว่า
ประชาชนอยากออกกำลังกายเองเลย
ถ้าไม่ได้ออกกำลังกาย จะทนไม่ใหว จะทนไมได้

ท่านอาจารย์ตื่นเช้ามาก็จะ มองหาจานผักสลัด
ถ้าไม่มี หาไมเจอ ก็จะทนไมได้

"กรมอนามัย+กรมควบคุมโรค"  เซ็นสัญญารวมกันช่วยกันทำงานแล้ว
สร้าง แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
เราฝันอะไรไว้อีก 3 ปีเราอยากได้อะไร อีก 5 ปีอยากได้อะไร
รวมหลายๆ ความเห็นด้วย Mind Map

ประชาชนเห็นคุณค่า ประชาชนสามารถเฝ้าระวังได้เอง
ระดับภาคี อปท. มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ 

เช่น กรมอนามัย เรื่องไร้พุง แต่คนที่มาเต้นเป็นคนที่ไม่ได้ป่วย
คนเบาหวานความดัน ควรจะได้มาเต้น ก็ไม่ได้เต้น
เต้นกันทั่วประเทศเปลืองเงินไปมาก จัดเต้นปีละ 2 วัน

แล้วคนเปลี่ยนพฤติกรรม ไหมเล่า พูด เล่นๆ จริงๆ จริงบ้างเล่นบ้าง
เผลอๆ เรื่องจริงนะ
เอายาไปแจก เอาตำรวจไปจับ แล้วได้ผลไหม
ให้ใช้ มาตรการทางสังคม (หากใช้แต่วิธีรักษาจะสำเร็จยาก)

ออกจากรั้วโรงพยาบาล อย่าไปคิดทำเอง

 

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ Strategy Linked Model (SLM) ใช้เวลา 2 ปี

แผนปฏิบัติการ Mini SLM

Tips 
1)
อย่าเอาไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว "Don't put all your eggs in one basket"
เขียนโครงการมี 1 กิจกรรม 1 โครงงาน 1 เรื่อง ใช้ไม่ได้
ควรมีหลายกิจกรรม งานหลายๆงานรวมกัน = กิจกรรม
เช่น เก้าอี้ ควรมีอย่างน้อย 3 ขา
2) 
Road Map 
บางอันให้ผู้ใหญ่บ้าน บางอันให้ อสม.
บางที่ ท้องถิ่นกับท้องที่ไม่ถูกกัน ต้องระวัง Balance ให้ดี

3) บางพื้นที่ ผอก. Block งาน ท่านจะทำร้ายอนาคตของบ้่านเมืองโดยไม่รู้ตัว
ขอโทษนะถ้าพูดตรง เล่นบ้างจริงบ้าง แต่อันนี้สงสัยจริง ฝากช่วยไปดูกันด้วย

4) แผนที่มีช่องให้เดินตามไป ตามตาราง มี 11 ช่อง ท่านจะปรับเปลี่ยนก็ได้
เขาคิดมาเกือบเสร็จแล้ว เติมน้ำร้อนใส่บะหมี่ก็ใช่ได้เลย ให้ใช้เวทีประชาคม

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

วิทยากรท่านต่อไปคือ  รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์

ส่งเสริมสุขภาพเป็นทั้งเป้าหมายและเครืองมือ
ส่งเสริมสุขภาพสำหรับทุกคนทั้งยังไม่ป่วยและป่วยแล้ว
การวิจัยสาธารณสุข มีทั้ง ลึก กว้าง ยาว

Efficacy ได้ผลในห้องทดลอง ควบคุมปัจจัยอื่นๆได้เท่ากันทั้งกลุ่ม Exposed และ กลุ่ม Control
Effective ได้ผลในภาคสนาม (Field)
Efficiency คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุน
Equity เท่าเทียม

(เปิด PCU ทุกตำบล โดยที่ทรัพยากรไม่พอ จะได้ผลดีหรือไม่  ผลได้จะคุ้มค่าหรือไม่)

 

วิตามินซี ทำแพกเกจดีๆ จากเม็ดละไม่ถึงบาทเป็นเม็ดละ 40 บาท
คุ้มครองผู้บริโภค ประชาชนอาจชอบโรงพยาบาลที่เอาแต่โฆษณามากๆ
รู้หรือไม่ว่าโรงพยาบาลที่ดีๆ เป็นอย่างไร
สมุนไพร เป็นการรักษาหรือเป็นป้องกัน ไม่เสริฟกาแฟเพราะมีน้ำตาล
จึงเสริฟ น้ำสมุนไพรไทย น้ำตะไคร้ น้ำตาลเยอะกว่ากาแฟเสียอีก

 

อยากให้กล่มวิชาพยาบาลเปิดกว้างรับศาสตร์อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
พฤติกรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฏหมาย ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งหมด
บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

รถเก่า ควันดำ เครื่องยนต์เบรคไม่สมบูรณ์ พอแท็กซี่ประท้วง รัฐก็ยอมตามแท็กซี่
การต่อทะเบียนรถแท็กซี่ควรให้สังคมช่วยคิดด้วย ไม่ใช่ให้กลุ่มแท็กซี่คิด กลุ่มเดียว
  

Politic มักสนใจ โครงการในระยะสั้น 2 ปี 4 ปี
นักวิชาการ และ ประชาชน น่าจะจัดทำ นโยบายสุขภาพระยะยาว เสนอ Politic ให้ทำควบคู่กันไปด้วย

บันทึก จากการประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6
24-26 มิย.2552 โรงแรมมณเทียร ริเวอร์ไซด์ กทม.
โดย นภดล

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้ก็ ความเห็นของผมบ้าง

อันนี้เมื่อตอนที่ HA มาประเมิน Re Accreditation รพ.พุทธชินราช
นพ.นภดล ก็ได้เคยตอบท่านอาจารย์ที่มาประเมิน ว่า 
ไม่ใช่ "สร้างนำซ่อม" เท่านั้น
แต่ "ขณะที่กำลังซ่อมก็หาโอกาสสร้างสุขภาพ"  ได้ด้วย 
เช่น แพทยสภาก็เคยเสนอว่า แพทย์ควรถามถึงเรื่องการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยที่มาตรวจ

และข้อ 6 ของ Prof. John Murtagh ที่เคยได้คุยกันเมื่อ พ.ศ.2536

1) Tell patient the diagnosis
2) Establish patient’s knowledge
3) Establish patient’s attitude
4) Educate the patient
5) Develop a management plan for the presenting problem: 
    (immediate, long term & preventive)
6) Explore other preventive opportunities
7) Reinforce, involving the patient
8) Provide take away information
9) Evaluate the consultation
10) Arrange follow up

http://somed1.tripod.com/gp/gp.htm

 

เมื่อคราวที่ นพ.ปัญญา สอนคม ผู้มาประเมิน  HA ได้ถามว่า
การที่นำเเสนอว่าการตัดขาเบาหวานลดลง ซึ่งเป็น Tirtiary Prevention (Prevent Complication)
การไปตรวจหาโรค เมืออายุมากขึ้น ได้มาว่าเป็น Diabetes, Hypertension
เป็น Secondary Prevention (Early Diagnosis and Prompt Treatment)
อยากให้นำเสนอ Primary Prevention ด้วย

จำได้ว่าเมื่อตอนนั้น ผมได้ตอบไปว่า
โรคความดันโลหิตสูง การกินนมแม่อย่างเดียว
จะช่วยลดการชอบกินอาหารเค็มเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
จึงทำให้ โอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง
 
ซึ่งในนมผงที่ทำให้คล้ายนมแม่ Humanized Milk นั้นมีเกลือโซเดียมอยู่มาก
หรือการให้กินนมสำหรับนักเรียนจะช่วยป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ช่วยการเจริญเติบโต และยังมี แคลเซียมช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
ที่ ป้องกันกระดูกหักง่ายในวัยทอง วัยสูงอายุ

หรือเด็กคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากกว่าก็คือ
เด็กคลอดครบกำหนดจะเป็นเบาหวานน้อยกว่าเด็กคลอดก่อนกำหนด
การฝากครรภ์คุณภาพ ให้แม่น้ำหนักตัวขึ้นดี น้ำหนักเด็กแรกคลอดขึ้นดี
การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้ง แม่น้ำหนักเพิ่ม และเด็กน้ำหนักเพิ่ม
ทำให้เด็กแรกเกิดเป็นเด็กคลอดครบกำหนด และน้ำหนักแรกคลอดไม่น้อยเกินไป
จึงเป็น Primary Prevention คือเป็นการป้องกันโรคก่อนเกิดโรค


(นมผงสำหรีบเด็กผลิตโดยสกัดเอา Casein ในน้ำนมวัวทีเด็กแรกเกิดย่อยไม่ได้ออกไป)

Humanized Milk = นมทำให้คล้ายนมแม่ แต่ยังไงก็ยังไม่ใช่นมจากมนุษย์
Humanized Health Care
ก็คือบริการโดย Health Team ที่คล้ายมนุษย์ แต่ยังไงก็ยังไม่ใช่มนุษย์
(เรียกว่า Humanistic Health Care น่าจะดีกว่า)

 
ท่าน อดีตปล้ด นพ.ไพจิตร เคยปรารภว่า เอ หรือว่า
พระบรมราชชนกองค์บิดาการแพทย์การสาธารณสุขท่านเห็นว่าเราไม่ไช่มนุษย์
แล้วเราเป็นอะไรล่ะ หรือว่าเป็นเทวดา ?  "I don't want you to be only a doctor
but also want you to be a man" 
พวกเรามาเป็นมนุษย์กันดีกว่า

"งานสาธารณสุขนั้นจะทำให้บรรลุผลสำเร็จ
ต้องประกอบด้วย ศรัทธา  ความรู้  เงิน  และ ความร่วมมือ"
(พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย) 

มิติด้านสุขภาพ มีเชิงบวก เชิงลบ

ก่อนหน้านี้ตัวผมเองเคยได้ มีโอกาสฟัง Health Promotion 
จากอาจารย์หลายท่าน 
เช่น รศ.พญ.พรพันธุ์  บุณยรัตพันธุ์
นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ และ นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์

(Disability Adjusted Life Year =DALY)

Disability, DALY,
การป่วย, การตาย      <--------  Physical  ------->   ไม่ป่วย, อายุยืน, อายุขัยเฉลี่ย,
พฤติกรรมทำลายสุขภาพ <------------------------>   พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

โรคจิต, ฆ่าตัวตาย     <------------- Mental -------> IQ เชาว์ปัญญา, EQ, การควบคุมอารมณ์

ขัดแย้ง, ยกพวกตีกัน, อาชญากรรม <-- Social -->    สามัคคี, แก้ไขตามขัดแย้ง ประชาธิปไตย
ความยากจน ไม่เป็นธรรม <---------------------->     เท่าเทียม สมานฉันทฺ 
การป่วยตายจากส่งแวดล้อม <---
---------------->     นโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ

เห็นแก่ตัว      <---------------- Spiritual -------->    ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือผู้อื่น
   

   

 

 

http://somed1.tripod.com/gp/phc1.htm

http://somed1.tripod.com/gp/

 

พิษณุโลกเป็นจังหวัดแรกที่ ท้องถิ่น คือ เทศบาลนครพิษณุโลก
เป็นคู่สัญญาหลักกับ สปสช. เป็น Main Contrctor, 
Contracting Unit for Primary Care (CUP)
และ
นำงบประมาณของท้องถิ่นมาใช้สนับสนุนงานด้านสาธารณสุข
เทศบาลนครพิษณุโลก และกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช

http://gotoknow.org/blog/nopadol/199696

 

"น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ"
"งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข"
เริ่มด้วยเครื่องจักร ตกรุ่น ราคาถูก
ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ACGIH, NIOSH ของอเมริกา
ไม่ผ่านมาตรฐานค้มครองแรงงาน ILO, ไม่ผ่านมาตรฐานของยุโรป

ด้านสาธารณสุข ก็ไม่ได้พ่วงเรื่อง
โรคจากการทำงาน และโรคจากสิ่งแวดล้อม เข้าไปด้วย
ตอนที่คิดเรื่อง ค่ารักษาพยาบาล ให้มี
ค่าตรวจพิเคราะห์โรค
ด้านสาธารณสุขก็ไม่ได้เสนอแนะสังคม

น่าจะ มี Advocacy ต่อสังคม
ให้เพิ่มงบประมาณ สำหรับการป้องกันโรค
และส่งเสริมสุขภาพ
 ของคนทำงาน

นภดล 

 

หมายเลขบันทึก: 271179เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากภาพนี้จะเห็นว่าประเทศต่างๆใช้เงินสำหรับสุขภาพ

Health Care Cost 8% ถึง16% ของ GDP

http://en.wikipedia.org/wiki/Health_care_system

 

และเนื่องจากข้อมูลด้านสาธารณสุขในไทย ไม่เป็นปัจจุบัน (Out of date)

ประเทศไทย ใช้เงินสำหรับการแพทย์สาธารณสุข 4.4 % of GDP ใน พ.ศ.2548

UK อังกฤษ ประชากร 1,000 คนมีแพทย์ 2.5 คน
USA อเมริกา ประชากร 1,000 คนมีแพทย์ 2.4 คน
Thailand ประชากร 1,000 คนมีแพทย์ 0.3 คน 

แพทย์ไทยจึงต้องทำงานมากกว่า แพทย์ตางประเทศถึง 5-6 เท่า

Thailand

Main article: Health in Thailand

Data on health care are out of date, but in 1995 Thailand had 0.3 physicians and 1.9 hospital beds per 1,000 population. In 2002 annual spending on health care amounted to US$321 per person in purchasing power parity (PPP). Total expenditures represented about 4.4 percent of the gross domestic product (GDP); of this amount, 57.1 percent came from public sources and 42.9 percent from private sources. Some 85 percent of the population had access to potable water in 2002, and 99 percent had access to sanitation.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท