บันทึกการปฏิบัติงานของ "สี่ดรุณี"...(1)


วัตถุประสงค์...เพื่อฝึกให้มีการบันทึกไว้ ไม่ให้หลงลืมเรื่องราวสำคัญในบางเรื่อง...
ไม่ใช่สี่ดรุณีในวรรณกรรมอมตะของโลก ที่เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของพี่น้องสี่คน นะคะ!
แต่เป็นสี่ดรุณีแห่งฮีมาโต ที่พี่เม่ยหมายถึงกลุ่มนักเทคนิคการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยโลหิตวิทยาจำนวน 4 ท่านพอดี ประกอบด้วย พี่อุรา พี่เม่ย น้องหรู และน้องนุก  ที่หมุนเวียนปฏิบัติงานกันตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 4 จุดปฏิบัติงานด้วยกัน (จุดM1- จุดM4)
เราหมุนเวียนกันปฏิบัติงานจุดละ 2 เดือนค่ะ ก่อนหน้านี้ (หลายปีที่แล้ว...ฉะนั้นบันทึกนี้จึงควรใช้ past tense..)เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจุดปฏิบัติงานกันที คนเก่าก็ต้องทำหน้าที่ตามมาบอกฝากงานให้คนใหม่รับทราบ เช่นมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบ ก็ต้องบอกให้คนใหม่ดำเนินการต่อได้ (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่า “เพื่อนช่วยเพื่อน” นั่นเองค่ะ....)  คนใหม่ก็ต้องจดจำเอาไว้ให้หมดตามวิธีการส่วนบุคคล..
ทำงานกันไปก็เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง เมื่อหลงลืมการส่งต่องานบางเรื่อง... 
.....จะตามหาคนเก่าเพื่อสอบถาม อ้าว!ตามตัวไม่พบเสียอีก
.....บางครั้งคนเก่าปรับปรุงวิธีทดสอบไว้แล้วคนใหม่ก็ไม่รู้เรื่อง
.....บางครั้งน้ำยาขาดสต็อค ไม่รู้ว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ก็ต้องวิ่งถามคนเก่า
ถามตอบกันหลายๆรอบ ก็ทำให้หงุดหงิดกันได้เหมือนกันค่ะ กว่าจะได้รู้เรื่อง....
ในตอนนั้น พี่เม่ยจึงเสนอแนวคิด การใช้สมุดบันทึกการปฏิบัติงาน สำหรับทั้ง 4 ท่านในการหมุนเวียนปฏิบัติงานขึ้นมา  เพื่อให้ทุกคนบันทึกรายละเอียดทุกอย่างที่คิดว่ามีความสำคัญ ต้องบอกต่อ ต้องบอกฝาก ให้เขียนลงในสมุด ในระหว่างปฏิบัติงานเมื่อพบเทคนิคใหม่ๆ หรือมีการปรึกษาแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันก็ให้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้  พอใกล้จะเปลี่ยนจุดปฏิบัติงานก็ทบทวนสต็อคน้ำยาบันทึกไว้ และส่งฝากงานต่อให้คนถัดไป
ดรุณีทั้งสี่ก็เห็นพ้องต้องกันว่า ควรใช้สมุดบันทึก  เราจึงเริ่มจัดทำสมุดจำนวน 4 เล่มสำหรับ 4 จุดปฏิบัติงาน โดยให้คนที่รับผิดชอบงานจุดใดก็เริ่มต้นทำสมุดของจุดนั้นๆ.....
โดยมีกติกาว่า...
  • ทุกวันแรกของการเปลี่ยนจุดปฏิบัติงาน ทุกคนต้องส่งมอบสมุดให้คนต่อไป
  • ผู้รับมอบสมุดก็ต้องทบทวนบันทึกในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งหมด 
  • บันทึกได้ที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วก็ให้ขีดฆ่าออก เซ็นชื่อกำกับพร้อมวันเวลาไว้ด้วย  และที่สำคัญก็คือ คนเก่าก็ยังต้องทำหน้าที่แนะนำคนใหม่ในฐานะ เพื่อนช่วยเพื่อนต่อไป....
หลังจากการใช้สมุดบันทึกฯ พบว่าปัญหาต่างๆก็ลดลงไปได้มากค่ะ  พวกเราทั้งสี่สามารถทำงานต่อเนื่องกันได้อย่างราบรื่น ....บางครั้งเมื่อดรุณีน้อยๆมาปรึกษางานกับพี่เม่ย หลังพูดคุยกันเรียบร้อยพี่เม่ยก็จะไม่ลืมที่จะเตือนว่า อย่าลืมไปเขียนลงในสมุดด้วยนะ...
     เราปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาตลอดเวลาหลายปี…จนเกิดความคุ้นเคยในการที่ต้องบันทึกทุกอย่างลงในสมุด เพื่อไม่ให้หลงลืมในบางเรื่อง
...แล้ววันหนึ่ง...พี่เม่ยนำสมุดบันทึกฯกลับมานั่งทบทวน...ก็พบว่า!.......
หมายเลขบันทึก: 27092เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
แหม...พี่เม่ยนี่เป็นเจ้าแม่แห่งเทคนิคเลยนะคะ ทั้งเทคนิคการทำงาน เทคนิคการฝึกหัดคน แล้วยังเทคนิคการเล่าเรื่องอีกด้วย มีการ...ให้เรารออ่านต่อซะด้วย คิดได้ไงเนี่ย!?!

ที่ห้อง ๆ ทุก ๆ จุดหมุนเวียนงานกันแค่ สัปดาห์เดียวค่ะ มีจุด A, B, C, D, E, F และ G ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ และพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ค่ะ เมื่อมีปัญหาก็จะคุยกันตลอดค่ะ รวมทั้งมีการบันทึกและแก้ไขอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยค่ะ แต่เราจะเน้นการพูดคุยบอกต่อปัญหากันตลอด แม้ในเวลาทานข้าวก็ยังคุยกัน ทำให้ตามงานได้ง่ายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท