beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

คิดได้เมื่อไปเสวนา : เขียนเพื่อ Rating หรือ เพื่อแบ่งปันความรู้


ความรู้ในตัวที่เกิดจากประสบการณ์เป็น Tacit Knowledge เมื่อนำมาถ่ายทอดก็กลายเป็น Explicit Knowledge

   ตอนไปเสวนารวมพลคนเขียนบล็อก เมื่อวานนี้ (4 พ.ค.49) ผมได้คุยกับหลายท่าน เกิดความคิดแว๊บหนึ่งขึ้นมา (ไม่กล้าเรียกว่า ปิ๊งแวบ) เรื่องหนึ่ง (ยังไม่บอก) และได้กลับมามองตัวเอง (beeman) ในบางจุด และในบางครั้งผมก็ถูกเชิญให้พูด (โดยท่านอาจารย์วิบูลย์) เมื่อนำเรื่องทั้งหลายมาผนวกกันกับความรู้ที่มีอยู่เดิม (ความรู้ในตัวที่เกิดจากประสบการณ์เป็น Tacit Knowledge เมื่อนำมาถ่ายทอดก็กลายเป็น Explicit Knowledge) ดังนั้นจึงมีเรื่องมา Share กันดังนี้

  1. ในการสมัครเป็นสมาชิก Gotoknow 1 Account เมื่อเราสมัครได้เรียบร้อยแล้ว ทางผู้ควบคุมระบบก็จะตอบรับทาง e-mail ที่เราได้ให้ไว้
  2. ใน 1 Account ระบบเขาจะกันเนื้อที่ของระบบไว้ให้สมาชิก 30 ล้านไบท์ (จะมีกี่บล็อกก็ตาม) และ ไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ จะโหลดได้ไม่เกินครั้งละ 1 ล้านไบท์
  3. ในการสมัคร 1 Account เราจะสร้างบล็อกกี่บล็อกก็ได้ เช่น ผู้ใช้นามแฝงว่า beeman สร้างบล็อก 4 บล็อก ด้วยกัน คือ 
    • beemanNUKM เริ่มเขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2548 จุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่หลักการของ KM โดย Beeman (เป็นบล็อกแบบ General เขียนแบบครอบจักรวาล)
    • กฏแห่งกรรม Law of karma เริ่มเขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2548 จุดประสงค์ เพื่อเล่าเรื่องกฏแห่งกรรมและจัดการความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม (เป็นบล็อกเฉพาะทาง)
    • คุณอำนวย BM เริ่มเขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2549  จุดประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ เทคนิค ต่างๆ ในบทบาทของการเป็นคุณอำนวย (เป็นบล็อกเฉพาะทาง)
    • เติมเต็มความรู้ เริ่มเขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2548 จุดประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มความรู้ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและประสบการณ์ของผู้เขียน (เป็นบล็อกเฉพาะทาง)
  4. อาจจะมีคำถามว่า : เขียนเป็นบล็อกเฉพาะทาง กับ แบบทั่วไป แบบไหนดีกว่ากัน
  5. คำตอบที่เป็นไปได้ คือขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเขียน ถ้าต้องการเขียนเพื่อแบ่งปันความรู้ในเรื่องที่เราคิดว่าเราเก่ง/ชำนาญ (จากประสบการณ์) เราก็ควรเขียนบล็อกเฉพาะทาง
  6. การเขียนแบบข้อที่ผ่านมานี้ ในอัตราความเร็วที่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่น เดือนละ 1-4 ครั้ง เราก็ควรจะได้แฟนประจำ ตัวอย่างของบล็อกเฉพาะทาง เช่น ฅนรักกล้วยไม้ ของ ภูคา และ นกแอ่นกินรัง ของครูเล็ก เป็นต้น ทั้งสองบล็อกนี้มีแฟนประจำหนาแน่น เรียกได้ว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้เชียวครับ
  7. ส่วนตัวอย่างของบล็อกทั่วไป เช่น บล็อกของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ และ บล็อกของท่านอาจารย์ JJ เป็นต้น ทั้งสองบล็อกนี้เป็นตัวอย่างของบล็อกทั่วไปที่มีการเขียนอย่างสม่ำเสมอ ในอัตราที่เร็วมาก ๆ (ผมขอไม่เข้าไปคิดสถิตินะครับ) เหตุเพราะทำงานหลายหน้า/หลายด้าน ทำให้มีเรื่องราวให้บันทึกมาก
  8. แม้ว่าจะเป็นการเขียนบล็อกทั่วไป แต่เจ้าของบล็อกสามารถจัดหมวดหมู่บันทึกได้ โดยใช้คำ Keyword หรือ คำหลัก ที่เหมือนกันในทุกบันทึก เช่น ถ้าเราค้นหาคำว่า "วันละคำ" จาก คำสั่งค้นหาใน Gotoknow (ด้านบนสุดบนแผงควบคุม) เราจะพบ บันทึก series ชื่อว่า " KM ภาคปฏิบัติวันละคำ : 1. การฟัง" ซึ่งนับถึงปัจจุบันมี 59 บันทึกแล้ว คำหลักของบล็อกที่ปรากฏ ใช้คำว่า "เครื่องมือ KM" อยู่ในเมฆความรู้ในหน้าหลักของบล็อกครับ
  9. อีกวิธีหนึ่งในการจัดหมวดหมู่ของบันทึก ก็คือ การทำ Link ครับ ผมยกตัวอย่างการทำ Link บันทึกที่เป็น series สัก 2 series นะครับ คือ Who is Who ? ของ คุณโอ กับ กำเนิด NUKM blog ของท่านอาจารย์มาลินี นะครับ

        ทั้งหมดนี่ก็คือเรื่องราวของบล็อกที่ผมอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังครับ ในประเด็นแบ่งปันความรู้

        ต่อมาเป็นประเด็นเรื่อง Rating นะครับ ผมมีตัวอย่างบันทึกที่ผมทดลองเรื่อง Rating  คือ มีบันทึกเริ่มต้นบันทึกหนึ่งที่ถูกใจผม เขียนโดยคุณ "คนเขียนข่าว" ชื่อ บันทึกว่า "ลองดูสิคะ เค้าว่า 10 ท่า ท่าละ 20 ครั้ง ลดพุงคุณได้ จริงไม่จริงต้องไปลองทำ" เขียนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 ตอนที่ผมเข้าไปอ่านมียอดผู้เข้ามาอ่านแล้วประมาณ 58 ครั้ง (ขณะเขียนบันทึกมีผู้เข้าไปอ่านประมาณ 118 ครั้ง)

        ผมเลยอยากจะเอารูปมาใส่บันทึกของผมประการหนึ่ง (ขออนุญาตเจ้าของบันทึกแล้ว) และอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ขออนุญาตคือการทดลองเรื่อง Rating (แต่ในวันเสวนาก็ได้คุยกับเจ้าของบันทึกในประเด็นนี้แล้ว) ผมเลยเขียนบันทึกชื่อ ท่าออกกำลังกายลดพุงทางบล็อก เขียนเมื่อวันที่ 12 เม.ย.49 ตอนเริ่มเขียนใหม่ๆ Rating สู้คุณ คนเขียนข่าวไม่ได้ แต่พอทิ้งระยะเวลาให้เนิ่นนานไปหน่อย ปรากฏว่า Rating ตอนเขียนบันทึกนี้ มีผู้เข้าไปอ่านแล้วประมาณ 268 ครั้ง

       เหตุที่เป็นดังนี้ ผมวิเคราะห์ว่า เป็นเพราะว่าในบล็อก beemanNUKM นี้มีผู้เข้ามาอ่านวันละประมาณ 200 ครั้ง ทำให้บันทึกที่เกือบจะเหมือนๆ กัน แต่อยู่ในบล็อกที่ต่างกัน มีจำนวนผู้อ่านที่แตกต่างกัน

      ผมยกตัวอย่างอีกบันทึกหนึ่ง เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน (beeman) style การเขียนแบบเดียวกันแต่อยู่ต่างบล็อกกัน ซึ่งถ้าอยู้ในบล็อก beemanNUKM ควรจะมีผู้เข้ามาอ่านแล้วใกล้ๆ 100 ครั้งแล้ว เช่น บันทึกชื่อว่า "คุณเป็นคนมีจริตแบบไหน ?" ในบล็อก "เติมเต็มความรู้" (ขณะบันทึกมีผู้เข้ามาอ่าน 52 ครั้ง) เป็นต้น

     บันทึกเรื่อง เขียนเพื่อ Rating หรือ เพื่อแบ่งปันความรู้ ก็จบลงด้วยประการฉะนี้...

 

หมายเลขบันทึก: 26986เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอถามเพื่อขอเป็นความรู้หน่อยนะคะว่า

rating ผู้อ่านที่ขึ้นเป็นตัวเลขนี้ ระบบจะนับการคลิกเข้ามาของเจ้าของบล็อกด้วยรึเปล่าคะ

เพราะอย่างเช่นเมื่อมีผู้เข้ามาออกความเห็น เจ้าของบล็อกก็จะเข้ามาอ่านและตอบความเห็น  (คนอื่นๆก็เช่นกัน บางคนเคยอ่านบันทึกนั้นแล้ว แต่เมื่อเห็นบันทึกซึ่งตนเองเคยสนใจ หรือว่าเคยตอบไว้  บางครั้งก็อาจอยากจะรู้ว่า เจ้าของบล็อกหรือใครเข้ามาตอบ คห.ของตนรึเปล่า จึงคลิกเข้าไปอีกครั้ง

ดังนั้นจึงทำให้ จำนวนคลิกที่แสดงถึง rating อาจจะไม่ใช่จำนวนคนอ่านจริงๆก็ได้

^_________^

                                                                      Lanling

น่าสนใจมากมากเลยค่ะ  ดิฉันสมัครไว้เหมือนกัน เขียนได้ 2 ครั้ง ก็ยังนึกไม่ออกว่าเขียนยังไงจึงจะเป็นทางการดี  เขียนแล้วแก้ หลายครั้งมาก ก็เลยยังไม่บันทึกสักที คนที่เขาเขียนเยอะๆ นี่เก่งมากนะคะ  นับถือค่ะ

ตอบคุณหลานหลิงและคุณ JaJa 

    เรื่อง Rating ใน gotoknow ผนวกความรู้จากท่านอาจารย์จันทวรรณ (และท่านอาจารย์ธวัชชัยด้วย), ท่านชายขอบและ beeman ผมขอตอบดังนี้

  1. Rating ใน gotoknow จะใช้คำว่า "อ่านแล้วประมาณ" คือ เป็นค่าโดยประมาณ
  2. เริ่มนับเมื่อเราสั่งตีพิมพ์ ก็จะนับแล้ว 1 ครั้ง
  3. ขณะที่เราตีพิมพ์แล้วกลับเข้าไปแก้ ในระหว่างที่เราเข้าไปแก้นั้น หากมีคนอื่นเข้ามาอ่านเพียง 1 ท่าน เมื่อเราสั่งตีพิมพ์อีกครั้ง ก็จะกลายเป็น 3 ครั้ง สั่งตีพิมพ์อีกก็จะกลายเป็น 5 ครั้ง (ขึ้นทีละ 2 ครั้ง)
  4. อ่านข้อ 3 แล้วอาจจะงง คือ ผู้ออกแบบระบบเขาใช้การเปรียบเทียบ IP address ระหว่าง IP ก่อนหน้า กับ IPปัจจุบัน หากมีความแตกต่างกันก็จะนับ +1, ดังนั้นถ้าตีพิมพ์บันทึกและเราเปิดเข้าอ่านอยู่คนเดียว ระบบก็จะไม่นับเพิ่มให้ แต่ถ้ามีคนอ่านเข้ามาแทรกคือมี IP ที่แตกต่างกันเข้ามาระบบจะ +1 และเมื่อเราเข้าไปอ่านอีกครั้งโดยกดปุ่ม Refresh ระบบก็จะ +1 ดังนั้น ค่าจะเปลี่ยนจาก 1 เป็น 3 เป็น 5 (คือขึ้นครั้งละ 2 เมื่อเรากดปุ่ม refresh)
  5. จากข้อ 4 นี้ ผู้เขียนบันทึกที่รู้ Trick ก็อาจจะเพิ่ม reting ได้ดังเทคนิคที่กล่าวมา
  6. หากผู้บันทึกปิดเครื่องฯ ออกไป เมื่อกลับเข้ามาอ่านบันทึก rating ก็จะเพิ่มเป็น +1 หรือ ผู้ที่เคยเข้ามาอ่านแล้วปิดเครื่องฯ เมื่อกลับมาอ่านอีก rating ก็จะเพิ่ม +1 ดังนั้นความเข้าใจของคุณหลานหลิงว่า "rating ไม่ใช่จำนวนคนอ่านจริงๆ " นั้นถูกต้อง เพราะเขาใช้คำว่า "อ่านแล้วประมาณ...ครั้ง" คือ นับเป็นครั้ง ไม่ได้นับเป็นคน. ก็เพราะระบบนับโดยการเปรียบเทียบ IP ที่แตกต่างกันนั่นเอง
  7. ลองคิดเล่นๆ หากมีคน 3 คน ช่วยกันอ่านบันทึก 1 บันทึก ผลัดกัน refresh บ่อยๆ จำนวนครั้งของการอ่านบันทึกนั้นก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วครับ
  8. แต่ใครจะเล่นวิธีนี้ได้ทุกวันครับ เป็นการหลอกตัวเองมากเลย
  9. ดังนั้นระบบเขามี Counter ไว้ สำหรับแสดงแนวโน้มของการอ่านครับ
  10. เราอย่าไปเชื่อตัวเลขหรือสถิติทั้งหมดครับ  เราควรจะใช้ วิจารณญาณในการอ่านของเราครับ...ขอบคุณครับ

ขอขอบคุณ คุณ jaja ด้วยครับ ขอให้กำลังใจคุณ jaja ให้เขียนต่อไปครับ เขียนด้วยความอารมณ์ดี สบายใจ อยากแบ่งปันความรู้ ฝึกบ่อยๆ ก็เขียนได้เองครับ

ขอบคุณอาจารย์ Beeman คะ ที่ช่วยตอบคำถาม ต้องบอกว่า "ถูกต้องแล้วครับ :)"

ช่วงนี้ ดิฉันอาจจะตอบ comments ต่างๆ ไม่ทันใจไปหน่อยนะค่ะ เพราะว่า ต้องใช้พลังสมาธิในการพัฒนาเวอร์ชันสองกับอ.ธวัชชัย และจะเปิดให้ทดลองใช้ในเร็ววันนี้ และจะนำไปแนะนำให้กับทาง มน. เป็นที่แรกในวันที่ 23 ที่จะถึงนี้คะ

ขอบคุณมากคะ

ผมชอบประโยคนี้ของอาจารย์มากครับ

"เราอย่าไปเชื่อตัวเลขหรือสถิติทั้งหมดครับ  เราควรจะใช้ วิจารณญาณในการอ่านของเราครับ...ขอบคุณครับ"

ดังนั้นจะบอกว่า สถิติ นี่คือ "สิ่งหลอกลวง" ได้หรือเปล่าครับอาจารย์

ขอบคุณครับ

  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์จันทวรรณมากเลยครับ อาจารย์ไม่ค่อยมีเวลาตอบ comments  แต่ผมก็พยายามช่วยตอบ comments แทนอาจารย์ ให้กับผู้ที่เข้ามาถามเท่าที่เวลาจะอำนวนนะครับ และผมรอคอยการมาของอาจารย์และพยายามทำตัวให้ว่างในวันนั้นครับ เพื่อ F2F กันครับ และอยากถ่ายภาพร่วมกันที่ลานสมเด็จฯ ครับ อยากพบตัวจริงเสียงจริงอาจารย์ธวัชชัยด้วยครับ ยังไม่เคยพบตัวจริงเลย....
  • คุณจักรีสิทธิ์ ครับ เราต้องมองโลกในแง่ดีครับ จะว่าสถิตินี่เป็น"สิ่งหลอกลวง" คงพูดไม่ได้แบบนั้นหรอกครับ สถิตินี้คือ ค่าของความ "น่าจะเป็น" ครับ คือใช้ทำนายอะไรในอนาคตได้ (แต่อย่าไปเชื่อค่าสถิติมากนัก) มันบอกแนวโน้มได้ แต่ก็ไม่เป็นจริงเสมอไป ก็เพราะมันเป็นค่าของ "ความน่าจะเป็น" นั่นเอง
  • แต่อย่างไรก็ตามในเวทีของ gotoknow หรือ KM ก็ตาม เราเคารพการมี "อิสระในทางความคิด" และ เคารพใน "ความแตกต่าง" ครับ ความแตกต่างมันมีพลัง ในการ "ลปรร." หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท