เชื่อเถอะ! การเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) โดยวิธี TGT และ Numbered Heads together สนุกแน่ๆ


ตั้งแต่เปิดภาคเรียนใหม่มานี้ ผมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาทั้ง 3 ระดับชั้น อย่างหลากหลายวิธี โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรและพ.ร.บ.การศึกษา แทรกด้วยการบรรยายเนื้อหาสำคัญเพิ่มเติม แบบครูเป็นสำคัญ ตามความเชื่อของตนเองว่า อย่างไรเสีย ครูก็ต้องอธิบายให้นักเรียนฟังในบางเรื่อง บางประเด็น 


การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่ผมจัดแบบร่วมมือ(Cooperative learning) เพราะทำให้นักเรียนที่ปกติไม่ค่อยสนใจเรียน ต้องหันมาเอาใจใส่และรับผิดชอบการเรียนมากขึ้น มิเช่นนั้นแล้ว อาจส่งผลเสียถึงกลุ่มได้ สำหรับนักเรียนที่เอาใจใส่การเรียนดีอยู่แล้ว จะเอาใจใส่มากขึ้น ด้วยบทบาทผู้นำกลุ่มที่ได้มาโดยอัตโนมัติ 


เท่าที่จำได้ นักวิทยาศาสตร์ศึกษาบอกว่า มีวิธีสอน 2 วิธี ที่ใช้ด้วยกันแล้ว จะช่วยให้ทฤษฎีสร้างองค์ความรู้(Constructivism)ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ได้แก่ การเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery learning) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative learning) 


การเรียนรู้แบบร่วมมือมีรูปแบบมากมาย ระยะแรกที่ผมรู้จักและนำมาใช้ ผมจะเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ แต่ระยะหลังผมมักใช้หลายรูปแบบผสมผสาน เพราะนักเรียนจะประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ดีกว่า 


ไม่รู้ว่าครูคิดถูกหรือไม่ ที่มักจะเลือกวิธีสอนให้นักเรียนสนุกสนาน หรือ ให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนไว้ก่อน โดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระที่ควรจะรู้เป็นลำดับรอง ผมก็เช่นกัน เพราะตระหนักว่า จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนหนึ่งๆมีมาก มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานความรู้เดิม สติปัญญา ความรับผิดชอบ ความเอาใจใส่ เป้าหมายการเรียนต่อ เป้าหมายชีวิต หรืออื่นๆ อีกทั้งเชื่อว่า หากนักเรียนคนใดสนใจจะเรียนรู้เรื่องนั้นๆให้มากขึ้น ก็สามารถจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้เองอยู่แล้ว จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน


เท่าที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ทำให้นักเรียนสนุกสนานแน่ๆ คือ การผสมผสานระหว่าง TGT (Team Games Tournament หรือ การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม) กับ Numbered Heads together (ร่วมกันคิด)

TGT (การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม)  คือ การแบ่งกลุ่ม (คละนักเรียนเก่งกับไม่เก่งจำนวนเท่าๆกัน) แล้วให้แต่ละกลุ่มแข่งขันกัน กลุ่มที่ชนะ จะได้คะแนนมากกว่า ได้รางวัลดีกว่า หรือ ได้รับคำยกย่องชมเชยเป็นพิเศษกว่า คนเป็นครูจะนึกออกครับว่า ให้นักเรียนแข่งขันกันเมื่อใด นักเรียนจะสนุก นักเรียนจะชอบ ผมมีประสบการณ์สอนทั้ง ม.ต้น และม.ปลาย เหมือนกันครับไม่ว่าชั้นใด ชอบและสนุกเหมือนๆกัน “ฉะนั้นเด็กเล็กๆ หรือ นักเรียนชั้นประถมก็น่าจะชอบ หรือ อาจจะชอบกว่าด้วยซ้ำ” ตั้งสมมติฐานครับ

Numbered Heads together ์(ร่วมกันคิด) คือ การให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันคิด ร่วมกันทำ หรือระดมสมอง โดยครูจะสุ่มเลือกสมาชิกเป็นตัวแทน เพื่อทดสอบ หรือวัดผลประเมินผล คะแนนที่ได้เป็นของกลุ่ม สมาชิกทุกคนจะได้คะแนนเท่ากัน ครูต้องมีวิธีการคัดเลือกสมาชิก ให้ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสถูกคัดเลือกเท่าๆกัน ซึ่งอาจให้สมาชิกกำหนดหมายเลข เช่น ถ้ามี 4 คน ก็กำหนดเป็นหมายเลข 1 2 3 หรือ 4 แล้วจึงสุ่มเลือกด้วยการจับฉลาก จับได้หมายเลขใด สมาชิกหมายเลขนั้นเป็นตัวแทน


ตั้งแต่เปิดภาคเรียนใหม่มานี้ ผมนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้ง TGT และ Numbered Heads together มาผสมผสานจัดการเรียนรู้ชีววิทยาให้กับนักเรียนชั้น ม.4 ม.5 และ ม.6 ชั้นละครั้งแล้ว และก็ไม่พลาดในทุกครั้งทุกชั้นครับ เพราะสามารถสร้างความสนุกสนาน สร้างความสุข ทำให้นักเรียนมุ่งมั่น ตั้งใจ เอาใจใส่ต่อการเรียนได้เป็นอย่างดี


ชั้น ม.4 ผมนำมาสอน เรื่อง การศึกษาชีววิทยา พอนักเรียนแบ่งกลุ่มเสร็จ ผมให้สมาชิกแต่ละกลุ่มกำหนดหมายเลข หลังจากนั้น บอกนักเรียนว่า วันนี้จะแข่งขันตอบปัญหาระหว่างกลุ่ม พร้อมแจ้งกติกา ซึ่งมีอยู่ว่า ครูจะตั้งคำถาม ถามนักเรียนทุกกลุ่ม จากนั้น จะจับฉลากหมายเลข จับได้หมายเลขใด หมายเลขนั้นมีสิทธิ์เป็นตัวแทนกลุ่มออกมาตอบคำถาม ผู้ที่ตอบถูกเป็นคนแรกจะได้ 2 คะแนน ผู้ที่ตอบถูกเป็นลำดับต่อมาจะได้ 1 คะแนน เมื่อครูถามคำถามครบแล้ว จะรวมคะแนนที่ได้และเรียงลำดับ กลุ่มที่ได้คะแนนอันดับหนึ่งจะได้คะแนนโบนัส 10 คะแนน อันดับสองจะได้โบนัส 8 คะแนน อันดับสามจะได้ 6 คะแนน อันดับสี่จะได้ 4 คะแนน ลดหลั่นลงเรื่อยๆทีละ 2 คะแนน


เรื่องการให้คะแนนโบนัสสำคัญเหมือนกัน ผมเคยให้ลดหลั่นลงไปทีละ 1 คะแนน ปรากฏว่า ความกระตือรือร้นในการแข่งขันของนักเรียนน้อยกว่าทีละ 2 คะแนนครับ แต่ถ้าจำนวนกลุ่มมีมาก คะแนนที่ลดทีละ 2 คะแนน อาจมากเกิน ทำให้นักเรียนบางกลุ่มท้อ ไม่ค่อยมีความหวัง หรืออาจหมดหวังที่จะได้คะแนน ให้ดีแล้ว กลุ่มท้ายสุดควรจะได้คะแนนโบนัสครึ่งหรือเกือบครึ่งของคะแนนเต็ม อาจเป็น 4 หรือ 5 ถ้าคะแนนเต็ม 10 เรื่องนี้ครูผู้สอนต้องพิจารณาให้ดีครับ


ชั้น ม.5 ผมใช้สอน เรื่อง การตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์บางชนิด วิธีการเหมือนกับ ม.4 ทุกประการ

ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ผมใช้สอนชั้น ม.6 เรื่อง ลักษณะทางพันธุกรรมที่นอกเหนือกฎของเมนเดล ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องย่อยๆ 8 เรื่อง ได้แก่ 1) ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ 2) การข่มร่วมกัน 3) มัลติเปิลแอลลีล 4) พอลิยีน 5) ยีนในโครโมโซมเพศ 6) ยีนในโครโมโซมเดียวกัน 7) พันธุกรรมที่ขึ้นกับอิทธิพลของเพศ และ 8) พันธุกรรมจำกัดเพศ

ผมเริ่มด้วยการให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดยให้ทุกคนจับฉลากเลือกเรื่อง คนละเรื่อง จากทั้ง 8 เรื่อง แล้วให้เวลาแต่ละคน จากนั้น จับคู่ผลัดกันอธิบายให้กันและกันกับเพื่อน ซึ่งศึกษาคนละเรื่องกับตัวเอง จนต่างก็เข้าใจดี การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างนี้ตามทฤษฎี เรียกว่า Think Pairs Share (คิดและคุยกัน) ต่อจากนั้นใช้วิธีการเดิมแต่เปลี่ยนเป็นกลุ่ม 4 คน เรื่องไม่ซ้ำกัน และก็ใช้วิธีการเดิมอีกครั้ง แต่เปลี่ยนเป็นกลุ่ม 8 คน ซึ่งจะครบ 8 เรื่องทั้งหมด พอดี 

เมื่อนักเรียนแต่ละคนรู้เนื้อหาสาระพอสมควรแล้ว จึงเริ่มขั้นตอนของ TGT และ Numbered Heads together โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแข่งขัน กำหนดหมายเลขสมาชิก ครูถามคำถาม จับฉลากหมายเลขเป็นตัวแทน ตัวแทนออกมาตอบคำถาม รวมคะแนน จัดลำดับ ให้คะแนนโบนัส 

กติกาเดิมทั้งหมดครับ ผู้มีสิทธิ์ที่จะตอบคำถามของแต่ละกลุ่ม คือ ผู้ที่มีหมายเลขตรงกับการจับฉลาก การให้คะแนน ตอบถูกก่อนได้ 2 คะแนน ตอบถูกทีหลังได้ 1 คะแนน รวมคะแนนและจัดอันดับแล้ว อันดับหนึ่ง ได้โบนัส 10 คะแนน อันดับสองได้ 8 ได้ 6 และได้ 4 ลดหลั่นลงไป ตามลำดับ 


เมื่อ 9 ปีที่แล้ว ผมทึ่งรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเอามากๆ เพราะไม่เคยนึกเลยว่า จะสามารถทำให้นักเรียนมุ่งมั่น ตั้งใจ เอาใจใส่ต่อการเรียน รวมทั้ง สนุกสนาน หรือ มีความสุขในการเรียน ได้ถึงเพียงนี้ เพราะถ้าแค่อ่าน แค่ศึกษา แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง หมายถึง ไม่ได้ทดลองนำไปใช้จัดการเรียนการสอนจริงๆด้วยตนเองแล้ว ก็ไอ้แค่การเรียนแบบกลุ่มธรรมดาๆ ซึ่งครูสอนวิทยาศาสตร์ที่ไหน ก็ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มอยู่แล้ว


ต้องลองนำไปใช้สอนจริงๆครับ โดยเฉพาะการผสมผสานรูปแบบของ TGT กับ Numbered Heads together เข้าด้วยกัน 


รับประกันด้วยเกียรติของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เลยว่า นักเรียนสนุกแน่ๆ..เชื่อหัวไอ้เรือง!

 

หมายเหตุ

  • ขอบคุณอาจารย์ประดิษฐ์ เหล่าเนตร์ ครูแห่งชาติ สาขาชีววิทยา ผู้ให้ความรู้ เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสร้างองค์ความรู้(Constructivism) โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative learning)และการเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery learning) ให้กับผู้เขียน ซึ่งเป็นครูเครือข่าย เมื่อปีการศึกษา 2543
  • ภาพประกอบ : จากกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ลักษณะทางพันธุกรรมที่นอกเหนือกฎของเมนเดล ของชั้น ม.6/1 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธี Think Pairs Share ,TGT และ Numbered Heads together เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ชั่วโมงที่ 1-2 ระหว่างเวลา 08.30-10.30 น.
หมายเลขบันทึก: 269442เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2020 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)

ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ครับ

ขอบคุณแทนเด็กๆด้วยครับ ที่คุณครูให้เขาได้เรียนรู้

  • ผมเองเชื่อในการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
  • ใช้การเรียนแบบบูรณาการและการใช้การเรียนรู้มากว่าการสอนครับ
  • ไปทดลองกับครูมา
  • สนุกมากๆๆๆ
  • กลัวอาจารย์ไม่เชื่อเลยเอารูปมายืนยัน

สวัสดีค่ะ

โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคมอยู่ที่ไหนค่ะ

เพราะที่บ้านยาย ก็มีชื่อโรงเรียนเหมือนกันเลยค่ะ

บ้านยายอยู่สุพรรณบุรีค่ะ

  • ขยันจังครับ!
  • ขออนุญาตนำกิจกรรมครูกระบวนกรไปประยุกต์ใช้ครับ
  • ขอบคุณอ.ขจิตครับ
  • โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม อยู่ที่ ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ครับ
  • ชื่อคงซ้ำๆกันกับที่สุพรรณบุรีครับ
  • ขอบคุณคุณDhammaครับ!

สวัสดีครับอาจารย์ ธนิตย์ ติดตามกิจกรรมของนักเรียนครูเป็นประจำ เห็นเด็กมีความสุข สนุกกับค่ายอยู่เสมอ

เชื่อหัวอ้ายเรืองประโยคนี้ฮิตมากเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนมาย้อนยุคร่วมรุ่นครับ

  • เพิ่งนึกได้ตอนที่พูดถึงนี่ล่ะครับว่า "เชื่อหัวไอ้เรือง" นี่มันย้อนยุค..วัยพาไป (ฮา)
  • ขอบคุณวอญ่าครับ

แวะเข้ามาชื่นชมผลงานและกิจกรรมที่ดี ๆ

  • สวัสดีค่ะ คุณครูธนิตย์
  • อ่านบันทึกตั้งแต่ต้นจนจบ
  • ด้วยความตั้งใจเก็บเกี่ยวความรู้
  • ที่เกี่ยวข้องกับแป๋มโดยตรง
  • เพราะแป๋มก็สอนนักเรียนชั้นม.6
  • พันธุศาสตร์เช่นกันค่ะ เกือบจบบทแล้ว
  • เชื่อค่ะ พิสูจน์แล้วว่า วิธีการจัดการเรียนรู้
  • แบบคุณครูธนิตย์จัดนั้น ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ
  • ถ้าเด็กๆตั้งใจเรียน เรียนอย่างมีชีวิตชีวา..ครูก็ชื่นใจครับ
  • ขอบคุณครูแป๋มครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์  P

  • ชอบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ค่ะ จะขอนำไปประยุกต์ใช้กับเด็ก ป.4 นะคะ
  • ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่แวะไปเยี่ยมบันทึก
  • ครูลี่นำดอกไม้จากพุทธมณพลมาฝากอาจารย์ค่ะ

                                       

  • ดูเด็กๆของครูลี่ สนใจดีจังเลย..
  • ดอกสาละน่าสนใจ ที่พิษณุโลกมีที่หน้าวัดใหญ่(หลวงพ่อพุทธชินราช)
  • อาจารย์สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณครูลี่ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ขอบคุณแทนเด็กๆที่อาจารย์เลือกเทคนิคดีๆให้เด็กๆ  และให้ความสำคัญกับเด็กในทุกระดับค่ะ
  • ...เคยเห็นบางโรงเรียนคัดเด็กปานกลางถึงอ่อนออกจากโรงเรียนเพื่อเปิดรับเด็กเก่งเข้ามาใหม่แทน  หวังผลให้สร้างชื่อเสียงหรือเปอร์เซนต์เข้ามหาวิทยาลัยได้สูงๆ...
  • ความท้าทายของโรงเรียนน่าจะอยู่ที่ทำให้อัตราเด็กมีผลการเรียนในเกณฑ์กลางสูงขึ้นดีกว่า...สงสารเด็กๆค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณค่ะที่นำเทคนิคการสอนที่ทำให้นักเรียนสนุกและเรียนรู้มาเล่าสู่กันฟังจะได้นำไปประยุกต์ใช้ตามสาระที่สอนค่ะ ขอบคุณจริงๆค่ะอาจารย์

  • คุณกฤษณาพูดถึงปัญหาของบางโรงเรียน ในการเลือกแต่จะสอนเฉพาะนักเรียนเก่งๆได้ตรงจุดจริงๆ
  • ถึงกับคัดเด็กอ่อนๆออก ซึ่งมีอยู่จริง..ก็เกินไปเหมือนกัน
  • ขอบคุณข้อคิดเห็นของคุณกฤษณา สำเร็จ ที่ตรงและจริงดีครับ
  • เมื่อนักเรียนมีความสุขกับการเรียน ก็ทำให้ครูมีความสุขกับการสอน
  • ครูอย่างเรา..คงคิดเหมือนๆกันครับ
  • ขอบคุณอ.rindaครับ

สวัสดีค่ะ

มาชื่นชมกับความตั้งใจในการหาวิธีการและรูปแบบการสอนของคุณครู

ที่ทำให้นักเรียน เรียนอย่างมีความสุข สนุก มีส่วนร่วม และไม่เบื่อหน่าย

กำลังจะย้อนกลับไปอ่านเทคนิคการสอนต่างๆ ของคุณครูค่ะ

ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้นะคะ

  • เป็นกำลังใจให้ครูอรวรรณเช่นกันนะครับ..
  • ขอบคุณครับ

ได้อ่านบันทึกของครูหลายๆบันทึก ชอบในแนวคิดและแนวทางในการสอรของครูมากค่ะ

และก็ได้นำมาปรับใช้ในการสอนของตัวเอง แต่คิดว่าตัวเองยังไม่เก่งเท่าไหร่ นักเรียนยังคุยกันมากกว่าจะฟังเรา เป็นครูเหนื่อยจังค่ะ แต่ก็สนุกดี ได้เจออะไรแปลกๆจากเด็กด้วย

  • น้องฝึกสอนที่ไหนเอ่ย ใช่ที่โรงเรียนหรือเปล่า?
  • เป็นครู ถ้าสนุก จะช่วยความเหนื่อยได้เยอะ ใช่มั้ย?
  • หากมีอะไรที่ช่วยได้ อย่าได้เกรงใจ..
  • ขอบคุณน้องฝึกสอนที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

แฟนตัวจริงอีกคนมาแล้ว
ตามอ่านของคุณครูตลอดค่ะ
บางครั้งไม่ว่างพอจึงได้แต่อ่านไม่ได้พูดคุย

อ่านบันทึกนี้ นึกขอบคุณคุณครูที่ให้กระบวนยุทธ์แก่เพื่อน ๆ ครูและ ให้ความรู้แก่เด็ก ๆ

บันทึกยาว นะคะ เขียนสองสามตอน อ่านจำได้ง่ายกว่านี้ไหมคะ (เป็นคนจำไม่เก่ง)

เรื่องคละเด็กเก่ง ไม่เก่ง ไม่ค่อยติดใจค่ะ

แต่ถ้าคละเด็กตั้งใจเอาใจใส่เรียนกับเด็กไม่ตั้งใจ สนใจค่ะ
ยังไม่ได้เป็นครูเต็มตัว แต่กำลังคิด ๆ ย้อนไปในสมัยเราเป็นเด็กนักเรียน และมองมาที่วัยนี้ ปรากฎอย่างชัดเจนว่าเด็กที่ตั้งใจ..ประสบความสำเร็จในการงาน มากกว่า เด็กไม่ตั้งใจ และมากกว่าเด็กเรียนเก่งบาง(หลาย)คน ค่ะ

 

สอนที่ชลบุรีค่ะ สอนวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทักษะกระบวนการทางวิทย์ 13 ทักษะ ความสนุกช่วยให้ความเหนื่อหายไปจริงๆค่ะ รู้สึกดีที่นักเรียนเรียนแล้วมีความสุข เราก็มีความสุข แต่บางห้องก็ไม่สนใจจะฟังเลยว่าครูสอนอะไร มันมาเพื่อคุยกันอย่างเดียว มันทำให้เราเบื่อและไม่อยากจะสอน(ห้องนี้)แล้ว....

  • ขอบคุณคุณหมอที่ให้เกียรติ..
  • วิธีนี้จะทำให้ ทั้งเด็กเก่งและเด็กไม่เก่ง ตั้งใจเรียนมากขึ้นครับ
  • เชื่อและบอกเด็กอยู่บ่อยๆเช่นกันครับ ว่าเท่าที่ครูเห็นมา นักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ คือ นักเรียนที่ขยัน พยายาม หากต้องแข่งขันแล้ว คนขยันน่ากลัวกว่าคนเก่ง..
  • ขอบคุณคุณหมอภูสุภาอีกครั้งครับ
  • หลังตอบผิด ลองค้นสุภาษิต คำพังเพยในอินเทอร์เน็ตดู ก็ยังเดาคำตอบไม่ได้อยู่ดี..
  • กิจกรรมทั้งหมดที่ อ.ขจิต แนะนำ น่าสนใจมาก ผมตั้งใจจะนำไปปรับใช้ ในการจัดการเรียนการสอนของตัวเองครับ
  • ขอบคุณอ.ขจิตอีกครั้งครับ!
  • นอกจากชีววิทยาแล้ว ผมสอนวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้น ม.1 อีกหนึ่งกลุ่มด้วย กิจกรรมหลักๆ ประยุกต์มาจากหนังสือเก่าของ สสวท.(หลักสูตรเก่า23-24) ได้แก่ วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา(ว012) ซึ่งเน้นทักษะกระบวนการ และ เริ่มต้นทำโครงงานวิทยาศาสตร์(ว014) ซึ่งเน้นวิธีการ
  • ธรรมดาของเด็กครับ มีทั้งขยันและขี้เกียจ ตั้งใจและไม่ตั้งใจ คุยน้อยและคุยมาก ฯลฯ
  • นึกภาพออกครับ จะต้องไปสอนห้องนี้อีกแล้ว..เฮ้อ! เหนื่อยไว้ก่อนเลย
  • นักเรียนเก่งสอนง่ายครับ ใครก็สอนได้ นักเรียนไม่เก่ง ไม่ค่อยเอาเรื่อง แถมคุยกันอุตลุด สอนยากครับ มีบางคนที่สอนได้ ฉะนั้น ถ้าครูทำสำเร็จ จะรู้สึกดีมากครับ อะไรที่ง่าย ได้มาง่าย ใครก็ทำได้ กับอีกเรื่องหนึ่ง มีเราเท่านั้นที่ทำได้..มีคุณค่าต่างกันมาก น่าลองนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้น้องฝึกสอนครับ!
  • ชอบที่อาจารย์บอกว่า
  • ห้องเก่งสอนง่าย ผมว่าใครก็สอนได้ครับ
  • แต่ห้องไม่เก่ง ผมว่าท้าทายดีครับ การสอนเด็กไม่เก่งให้เก่งได้นี่คนสอนไม่ธรรมดานะครับ
  • มาให้กำลังใจอาจารย์อีกรอบครับ...
  • ห้องไม่เก่ง ท้าทายครูดี..จริงๆครับ
  • ขอบคุณอ.ขจิตอีกครั้งครับ

คุณครูเป็นคนเก่งจริงๆค่ะ

อยากกลับไปเรียนมัธยมอีกครั้ง

ทำดี มีความสุข สร้างสุขให้กับตนเองและเพื่อนรอบข้าง

  • เชื่อหัวเรืองค่ะ
  • ว่าน่าสนใจ  อิอิ

จะคอยติดตามผลงานพี่นะครับ ว่างๆ มีอะไรดีๆเกี่ยวกับ การเรียนแบบร่วมมือก็ส่งมาบอกบ้างนะครับ เพราะผมก็ชอบการสอนแบบนี้ รู้สึกว่านักเรียนเขามีความสุขกับการเรียนเหมือนกัน และเขาก้ได้รับความรู้จริงๆ

ขอฝากตัวเป็นศิษย์น้อง

  • การเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยเรื่องความไม่ตั้งใจ ความไม่เอาใจใส่ของนักเรียนได้มากจริงๆครับ
  • ขอบคุณท่านขุน_ครูเคมีที่ให้เกียรติครับ
  • สวัสดีค่ะคุณครูธนิตย์
  • ยอดเยี่ยมเลยค่ะ
  • เด็ก ๆ คงสนุกสนาน  ไปกับการเล่าเรียนนะคะ
  • เป็นเรื่องเล่าเร้าพลังจริง ๆ ค่ะ
  • ครูตาอ่านแล้ว  เกิดไฟเลยค่ะ   จะนำไปใช้บ้างค่ะ 
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานทุกวันค่ะ

 

รอให้อ.คุยกับน้องขจิตเรียบร้อยก็ย่องเข้ามาค่ะ

สนุกค่ะ สอนให้เด้กสนุก ครูลืมเหนื่อยค่ะ

จะขออนุญาตนำไปปรับใช้กับภาษาอังกฤษในบางเรื่องนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • ลองครับ..แล้วเล่าสู่กันฟัง
  • ขอบคุณครูตา ลป.ครับ
  • เด็กสนุก..ครูลืมเหนื่อยจริงๆครับ
  • ขอบคุณkrutoiครับ
  • ทุกอย่างอยู่ที่ใจค่ะ
  • แม้แต่เรื่องสุขภาพ
  • ถึงเป็นแฟนก็ทำแทนไม่ได้  อิอิ

สวัสดีค่ะ อ.ธนิตย์ ดิฉันจะทำงานวิจัยพอดีสนใจการเรียนรู่แบบร่วมมือ ดิฉันเป็นครูเคมีคะ แต่คิดว่าการเรียนแบบร่วมมือจะทำให้นักเรียนเรียนสนุกค่ะ ดิฉันว่าจะทำในหัวข้อเรื่อง การใช้ชุดกิจกรรมโดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

เรื่องปริมาณสัมพันธ์

- มวลอะตอมและมวลอะตอมเฉลี่ย

-มวลโมเลกุล

-โมล

-ความเข้มข้นของสารละลาย

-การเตรียมสารละลาย

-สมบัติบางประการของสารละลาย

-การคำนวณมวลเป็นร้อยละจากสูตร

-การคำนวณสูตรเอมพิริกัลป์

-การคำนวณสูตรโมเลกุล

-สมการเคมี

-กฎทรงมวล

-กฎสัดส่วนคงที่

-กฎของเกย์ – ลูสแซก , กฎของอาโวกาโดร

-ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี

-สารกำหนดปริมาณ

-ผลได้ร้อยละ

อาจารย์ช่วยรบกวน ดูให้หน่วยนะคะ ว่าเรื่องไหนควรจะใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบไหน

ขอบพระคุณไว้ล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะเนื่องจากได้ดูบทความของครูธนิตหนูเป็นครูผู้ช่วยแต่เรียนโทหลักสูตรและการสอนขอบคุณที่ครูมีสาระดีๆมาให้ดู

ขอขอบพระคุณในการแบ่งปันความรู้ คะ ตอนนี้กำลังทำผลงานวิชาการเรื่องวิวัฒนาการ ม.6 โดยการจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ปัญหามีอยู่ว่าอยากให้นักเรียนไดสัมผัสสิ่งที่เป็นรูปธรรมบ้าง (ในขั้นการสำรวจและค้นหา)นอกเหนือจากให้นักเรียนศึกษาจากใบความรู้ ควรทำอย่างไรดีคะ กรุณาตอบกลับหน่อยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ขอบคุณค่ะ  กำลังใช้สอนวิชาดาราศษสตร์


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท