วัตถุประสงค์ของการวิจัย


 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                   1.   เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
                   2.    เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธี  การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ของ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 
                  
3.    เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์
 อภิปรายผล
                 จากผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
                  1.    ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   หลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    
             2.   ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  แต่ละกลุ่ม คือ
กลุ่มเก่ง
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05  กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นของนักเรียน
กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนโดยใช้การทดสอบแบบ ANOVA – One way พบว่า มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นของ
นักเรียนทั้ง
3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อทดสอบรายคู่เพื่อหาคู่ที่แตกต่างกันอย่างแท้จริง 
พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่ง กับกลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
  
สรุปผลการวิจัย
                  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPPSS/PC ปรากฏผล ดังนี้
                  
1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   หลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01   ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
                  2.    ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  แต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนกลุ่มเก่ง  กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนโดยใช้การทดสอบแบบ ANOVA – One Way พบว่า มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อทดสอบรายคู่เพื่อหาคู่ที่แตกต่างกันอย่างแท้จริง  พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่ง กับกลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
                  3.    ความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการเรียน ทั้ง 4 ด้าน
โดยรวมของนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้าน
การทำงานร่วมกัน ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง  ด้านบรรยากาศในการเรียน  และด้านความรู้ความสามารถ ตามลำดับ
คำสำคัญ (Tags): #ผลงานวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 269326เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท