ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการคิด


กรอบวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษา 2552 ภาคเรียนที่ 1

ความเป็นมา/ความสำคัญ

                การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมุ่งปลูกฝังด้านปัญญาแล้ว จะต้องพัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดด้านต่างๆ โดยเฉพาะการคิดระดับสูง การคิดเป็นเรื่องที่สำคัญที่พยายามเร่งเร้า ให้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ครูจึงควรรวมพลังกันช่วยเด็กไทย คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ความสำคัญดังกล่าวมีกำหนดไว้อย่างชัดเจน ในแหล่งต่างๆ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถ คิดเป็นมีเหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์........................ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ เป็นการปฏิบัติในสภาพจริง รู้จักคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาตนเอง   พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จัดกระบวนการเรียนรู้โดยฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา

                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 การจัดการศึกษา มุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้และความคิด...สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นฝึกทักษะ กระบวนการคิด ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็นจุดหมายของหลักสูตรเน้นให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ปรับวิธีคิด มีทักษะการคิดการสร้างปัญญา      จากผลการประเมินคุณภาพภายนอก   มาตรฐานที่ 4    มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์     มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์   คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์   ปรากฏผลการประเมินต่ำกว่าด้านอื่นๆ
                ความสามารถด้านการคิดเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินชีวิต เกิดจาการทำงานของสมอง ซึ่งมีอยู่ตอลดเวลาและเป็นไปตามธรรมชาติ  ความสามารถในการคิดจะเกิดขึ้นอย่างดี ย่อมต้องอาศัยการฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การพัฒนากระบวนการคิด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักเรียนพึงได้รับการส่งเสริม
                ด้วยเหตุที่มาตรฐานเป็นเป้าหมาย หรือสิ่งที่คาดหวังในการเรียนการสอน ผู้วิจัยมีเป้าหมาย ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดระดับสูง   โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานการเรียนรู้ และประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด และส่งเสริมให้การคิดเป็นกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
 
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
2.       เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดระดับสูงของนักเรียน
3.       เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ
 
วิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา
นวัตกรรมการสอน คือการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด
 
กลุ่มเป้าหมาย
                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ปีการศึกษา 2552 ห้อง  206 และ 208
 
วิธีดำเนินการวิจัย
1.       ออกแบบการจัดการเรียนรู้ อิงมาตรฐานการเรียนรู้ และประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
       ( □ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  □ ความคิดสร้างสรรค์ □ การคิดแก้ปัญหา □ การคิดวิเคราะห์)
2.       เขียนแผนจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่   2   เรื่อง  อาหารและสารเสพติด
จำนวน  25  คาบ    วิชาวิทยาศาสตร์  รหัส   32101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
3.       สร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพ (rubic) ในการประเมินผล (ใช้เกณฑ์ 4 ระดับ คือ 1, 2, 3 ,4)
ด้านความรู้(K),  ด้านทักษะ(P),  ด้านคุณลักษณะ(A)  และ  ทักษะกระบวนการคิดระดับสูง  (ที่เลือกใช้ตามภาระงานของนักเรียน)
4.       ดำเนินการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดระดับสูง
5.       ประเมินเพื่อปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และพฤติกรรมการสอนครู โดยใช้แบบประเมิน CAR 2-A (ทุกคาบที่สอน)
6.       บันทึกหลังการสอน โดยใช้แบบบันทึก CAR 2-B
7.       ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามเกณฑ์ประกันคุณภาพขั้นสูง
8.       หาค่าร้อยละของผลการประเมินในแต่ละระดับคุณภาพ
9.       สรุปความถี่และเรียงลำดับผลการบันทึกข้อมูล ตาม CAR 2-A และ CAR 2-B
10.    สรุปรายงานการวิจัย
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                แบบประเมินตามระดับคุณภาพ,แบบทดสอบ,แบบประเมิน CAR 2-A และ CAR 2-B
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
                2.ครูมีความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ห้องเรียนคุณภาพ
 
ระยะเวลา    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
 
นิยามศัพท์เฉพาะ
 
ทักษะกระบวนการคิด                        หมายถึง ทักษะกระบวนการคิดระดับสูง ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ,สร้างสรรค์,การแก้ปัญหา,การคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน                     หมายถึง ระดับผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชา
ห้องเรียนคุณภาพ                หมายถึง         -      ครูสามารถปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ของตนเองได้
-      ครูใช้หลักในการทำวิจัยปฏิบัติการ
                 CAR:Classroom Action Researc  
-      ครูปฏิบัติการพัฒาตนเองและนักเรียนตามแผนการพัฒนาตนเอง  (IDP)  พร้อมบันทึกร่องรอยการพัฒนา
-          ครูจัดทำรายงานการพัฒนาตนเอง
 
 
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ                  หมายถึง การคิดอย่างมีเหตุผลโดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรอง
อย่างรอบคอบ มีหลักเกณฑ์ มีหลักฐานที่เชื่อได้ เพื่อ
นำไปสู่การสรุปและตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ว่าสิ่ง
ใดควรเชื่อ สิ่งใดควรเลือกหรือสิ่งใดควรทำ
 องค์ประกอบย่อย 1.     ความสามารถด้านการกำหนดปัญหา
   2.     ความสามารถในการคิดรวบรวมข้อมูล  จัดระบบข้อมูล
3.     ความสามารถตั้งสมมุติฐาน
 สรุปอ้างอิง และประเมินผล
                ความคิดสร้างสรรค์                             หมายถึง กระบวนการคิด การกระทำให้เกิดผลงานใหม่ๆที่
มนุษย์คิด  และ  ประดิษฐ์ขี้น  เป็นความสามารถในการคิด  การกระทำผลงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์อย่างใหม่ และแปลกไปจากความคิดหรือการกระทำของคนอื่น อย่างไม่มีใครนึกถึงมาก่อน
องค์ประกอบย่อย 1.   ความคิดริเริ่ม
                               2.   ความคิดคล่องแคล่ว
                               3.   ความคิดยึดหยุ่น
                               4.   ความคิดละเอียดลออ
                การคิดวิเคราะห์                                   หมายถึง ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบ
ต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุสิ่งของ เรื่องราว หรือ
เหตุการณ์ และความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญของสิ่งที่กำหนดให้
องค์ประกอบย่อย 1.   ความสามารถวิเคราะห์และระบุปัญหา
                               2.   ความสามารถจำแนกและเลือกข้อมูล
 3.   ความสามารถสร้างความเข้าใจและ  สร้างข้อสรุป
 4.   ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน
 5.   ความสามารถสรุปอ้างอิงหรือตัดสิน
      ข้อสรุป
                การคิดแก้ปัญหา                                  หมายถึง ความสามารถทางสมองที่คิดพิจารณาไตร่ตรองอย่าง
พินิจพิเคราะห์ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นปมประเด็นสำคัญ ที่ทำให้
สภาวะความไม่สมดุลเกิดขึ้น โดยพยายามหาหนทางคลี่คลาย
ขจัดปัดเป่า ประเด็นสำคัญเหล่านั้น ให้กลับเข้าสู้สภาวะ    สมดุลหรือสภาวะที่เราคาดหวัง
องค์ประกอบย่อย 1.   ความสามารถวิเคราะห์และระบุปัญหา
 2.   ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเป็นระบบ  ตามขั้นตอน
 3.   ความสามรถสรุปผลและประเมินการ
       ตัดสินใจ
 4.   ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง
       ยืดหยุ่นและมีสติ
                CAR (Classroom Action Researc)    หมายถึง การทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
-          CAR คือเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อค้นหาความรู้
 จากการปฏิบัติงาน
-          CAR เป็นตัวช่วยสร้างโอกาสเปลี่ยน
ปัญหาให้เป็นปัญญา
-          CAR สร้างการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู            
-          CAR สร้างเครือข่ายเพื่อนร่วมเรียนของครูผู้เชี่ยวชาญ
                       
                                                                               
 (เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยมีในหน้าต่อไป...วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ        19มิถุนายน 2552)
 
 
 
 
 
คำสำคัญ (Tags): #วิจัยcar
หมายเลขบันทึก: 269277เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปปรับปรุงพัฒนาที่โรงเรียนบ้างได้ไหมคะ

คิดหัวข้อวิจัยไม่ออกเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท