การพัฒนาสุขภาพชุมชน


การพัฒนาสุขภาพชุมชน

                                                                  

                                      

                                                                       บันทึกการเรียนรู้
                                                            Topic 1: การพัฒนาสุขภาพชุมชน 
 
                 ท่ามกลางบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มิติความเป็นอยู่ร่วมกันของประชาชนมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง มีผลต่อรูปแบบการพัฒนาสุขภาพชุมชน จากภาวะการณ์เข้าสู่ยุคผู้สูงวัย (Elderly Society) ที่เพิ่มมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหาโรคเรื้อรัง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้  โรคอุบัติใหม่ และภัยพิบัติ ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งขนาด ความถี่และความรุนแรง   ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัดที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และปัญหาการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข  
        ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักการสาธารณสุข จะต้องให้ความสำคัญกับชุมชนและบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและมีความสอดคล้องกับหลักการปฏิรูประบบสุขภาพ  หรือ การปฏิรูปความคิด จากสุขภาพที่ว่าด้วยเรื่องโรคเป็น“สุขภาวะ” ที่สมบรูณ์และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ทั้งทางกาย จิต   สังคม และจิตวิญญาณ การแก้ปัญหาสังคมที่ยากๆเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.นพ. ประเวศ วะสี โดยโครงสร้างสามเหลี่ยมประกอบเป็นสามมุมเชื่อมกัน  ซึ่งมุมที่ 1 คือ การสร้างความรู้ ผลที่ได้จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาตามวงจรคุณภาพของ เดมมิงส์ คือ PDCA( P-Plan, D-Do,  C-Check, A-Ac)  มุมที่ 2 คือ การเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึงการที่สังคมเข้ามาร่วมเรียนรู้ ร่วมบอกความต้องการ มุมที่ 3 อำนาจรัฐ หรือ อำนาจทางการเมืองสามเหลี่ยมทั้ง 3 มุม จะต้องประกอบกัน ไม่อ่อนมุมใดมุมหนึ่ง และในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต้องเน้นการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมที่ครอบคลุมด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสภาพ และท้ายที่สุดนี้พลวัตรของกระแสการพัฒนาดังกล่าวต้องเริ่มจากการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย มีการหนุนเสริมและเชื่อมโยงกัน  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การสร้างพลังในชุมชน เพื่อก้าวไปสู่ยุคแห่งการพึ่งพาตนเองตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง และ ขอฝากหลักคิดในการทำงาน เพื่อชุมชนคือ
                                 “เราคนเดียวเพื่อทุกคน  และทุกคนเพื่อความเป็นหนึ่งเดียว”            

หมายเลขบันทึก: 268969เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับพี่ แวะมาทักทายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท