ทำข้อเสนอแผนพัฒนาบุคลากรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


            ไดรับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่เป็นคณะทำงานทำข้อเสนอแผนพัฒนาบุคลากรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในนามของรัฐบาลเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางสนับสนุนกันต่อไป ในคณะทำงานชุดนี้มี ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ดำเนินการประชุมและปฏิบัติการกันในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๖ สำนักงาน กศน.  ได้กรอบคิดเบื้องต้นในการเขียนแผนพัฒนาบุคลากรไว้ดังแผนที่ความคิดต่อไปนี้ ซึ่งคณะทำงานมีหน้าที่จะเขียนให้เป็นเล่มแผนในรายละเอียดต่อไป

หมายเลขบันทึก: 268738เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียนท่านผอ.ดิศกุล ที่เคารพยิ่ง

กระผมเห็นด้วยกับประเด็นที่ท้าทายครับ

กระผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆครับ

เพราะที่ผ่านมากระผมรู้สึกว่าจะทำอะไรก็เกี่ยวข้องกับงานของหน่วยงานอื่นๆ (เป็นความรู้สึกส่วนตัวหนะครับ)

ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตร กระทรวงวิทย์ หรืออีกหลายๆหน่วยงาน

แต่ประเด็นหลัก กศน. เป็นการศึกษาซึ่งจัดให้กับผู้ด้อยโอกาสหรือกลุ่มอื่นๆที่จะพัฒนาความรู้สู่สังคมแห่งการเรียนรู้สู่การพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรอย่างเข้มข้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไปใช้หรือเปล่าครับ

ขอขอบพระคุณที่ท่านนำเสนอข้อมูลดีๆให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

Pขอบคุณ อ.วุฒิชัยครับ สำหรับความเห็นที่ช่วยกันปั้นแต่ง

เรียนท่านผอ.ดิสกุลที่นับถือ     การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในวงกว้าง....เป็นความท้าทาย...เพราะประเด็นการปฏิรูปการศึกษารอบแรก....ขาดการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาอย่างแท้จริง....มีแต่เปลือก...องค์กรการศึกษายังติดยึดรูปแบบเดิมๆ.....กศน.ต้องเป็นองค์กรมหาชน0....แต่ ณ วันนี้ เรายังเป็นระบบราชการ...ทำตามนโยบ่ายพรรคการเมืองที่มาเป็นรัฐบาล....เราทำนโยบายการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเป็นวาระแห่งชาติได้ใหมโดยทุกภาคส่วน...มาเป็นภาคีเครือข่าย   สื่อสารมวลชน   หนังสือพิมพ์ ปราชญ์ ผู้รู้ผู้มีจิตสาธารณะ ระดมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยไม่ติดยึดรูปแบบ ใครอยากได้ใคร่เรียนรู้มาได้เลยที่สถานีความรู้  ศรช ห้องสมุด ศูนย์เยาวชน ฯลฯ ครู บุคลากร ต่างๆคือผู้อำนวยความสะดวก ตามความถนัด ตามประสบการณ์ โดยเฉพาะ ข้าราชการบำนาญ กศน. คือคลังสมองก้อนใหญ่ที่ขาดการนำมาใช้ประโยชน์ ยกเว้น ดร.ทองอยู่แก้วไทรฮะ ที่ยังเป้น"แป๊ะฮงผู้คงทน" นำผู้รู้เหล่านี้มาตีค่าหลักสูตรที่ประชาชนมารับบริการจากทุกภาคส่วน แล้ว กศน เป็นผู้ออกประกาศนียบัตรด้านต่างๆให้ ในรูปองค์คณะบุคคล หรือบอร์ดประจำอำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด สถาบันภาค ..น่าทำประชาพิจารณ์...หรือเวทีเสวนาหาจุดร่วมสร้างกระแส แล้วค่อยมาหาทางลดกฏระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ให้น้อยลง ค่อยเป็นค่อยไปประชาชนเขาจะมารับบริการอีกมากมาย...ทำแบบ NGO ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

Pขอบคุณผอ.วุฒิศักดิ์ครับ เป็นข้อคิดที่ยอดเยี่ยมครับ จะถ่ายทอดแก่คณะทำงาน

ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ go to know ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับความรู้ใหม่ๆมากมายเป็นกำไรชีวิตมากค่ะ

กศน.พนัสนิคม

บ่อยครั้งที่คนเรา คิดว่าตัวเองเก่ง คิดว่าตัวเองทำดีกว่าใคร คิดว่าตัวเองสวยกว่าคนอื่น แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบแข่งขันกันแล้ว เราอาจแพ้เขาแค่ 00.01คะแนน นั่นคิอ คนที่เก่งกว่าเรา สวยกว่าเรา ดีกว่าเราก็ยังมีอยู่ในโลก กศน.เราทำงานคิดว่า ควรจะเป็นอย่างนั้น ได้อย่างโน้น แต่ ผู้ใหญ่เขายังมองไม่เห็นความสำคัญของเรา กี่ครั้งแล้วที่พวกเราดิ้นรน กี่ครั้งแล้วที่นักการเมืองเข้ามาให้กำลังใจในวันประชุมผู้บริหาร แต่พอเอาเข้าจริงๆ เราตกกระป๋อง ทุกที ใช่ไหม? ถ้าคิดว่าทำงานเพื่อประชาชน จะเป็นอะไร จะอยู่ที่ไหน ก็ก้มหน้าทำไปเถอะ ขอให้ประชาชนได้ผลประโยชน์ ไม่ใช่คิดแต่ว่าเราทำแล้วเราต้องได้ประโยชน์

Pขอบคุณ อ.หทัยภัทร และ ผอ.อนันต์ครับP

ดีใจที่ได้เห็นแผนที่จะได้รบการพัฒนาครูและบุคลากรทงการศึกษา..และได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่จะได้รับการพัฒนา..ร่วมทั้งเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานกับกศน.มาตลอดก็จะได้รับการพัฒนาด้วย..เป็นแผนพัฒนาที่ทุกคนจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท