มาเรียนภาษาเขมร (กันเถอะ) บทที่ ๑ พยัญชนะในภาษาเขมร


พยัญชนะมี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๒ ชุด คือ อโฆษะ (เสียงออ) และโฆษะ (เสียงโอ)

บทเรียนที่ ๑ មេរៀនទី​១

พยัญชนะ

 

พยัญชนะมี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๒ ชุด คือ อโฆษะ (เสียงออ-เสียงไม่ก้อง) และโฆษะ (เสียงโอ-เสียงก้อง)

จากรูปที่แสดงสังเกตเห็นความแตกต่างอะไรบ้าง เช่น สี วรรค เฉลยว่า สีที่แสดงมีความหมายว่า อักษรสีแดงเรียกว่าพยัญชนะอโฆษะ (เสียงออ ) อักษรสีน้ำเงินเรียกว่าพยัญชนะโฆษะ (เสียงโอ) ส่วนวรรคหรือภายในหนึ่งบรรทัดมีอักษร ๕ และ ๔ ตัวนั้นก็มีความหมาย คือ ในภาษาเขมรเขาจะเรียกว่า "วรรค" เช่น บรรทัดแรกเรียกว่า วรรค กอ (ក) เรียกตามอักษรตัวแรกของวรรค และแต่ละวรรคมีทั้งอักษรเสียงออและเสียงโอ ส่วนสองบรรทัดสุดท้ายเรียกว่า "เศษวรรค"

ในหนึ่งวรรคจะมีคู่เสียง ออ/โอ อยู่วรรคละ ๒ คู่ ส่วนอักษรไหนไม่มีคู่เสียงเราจะหาคู่ให้เขาในบทเรียนต่อๆ ไปค่ะ เรามาทำความรู้จักกับอักษรเหล่านี้กันเลยดีกว่า

 

อักษรทั้งหมด ๕ วรรค กับ ๒ เศษวรรค จำนวน ๓๓ ตัว ถ้าผู้เรียนสามารถจำอักษรทั้งหมด ก็หมายความว่าพร้อมแล้วกับบทเรียนต่อไป

หมายเหตุ

๑. การ เขียนคำอ่านภาษาไทยเทียบเสียงกับภาษาเขมรอาจจะทำได้ไม่สมบูรณ์นักเพราะสระบางเสียง ไม่สามารถเขียนเทียบเสียงกับภาษาไทยได้ตรง แต่ก็อนุโลมว่าผู้เรียนจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่อได้เทียบกับภาษาไทย
๒. ระบบ Phonetic ที่ใช้ในบทเรียนนี้อ้างอิงจากหนังสือ Cambodian System of Writing and Beginning Reader with Drills and Glossary by Franklin E. Huffman

ជំរាបលា Good bye

 

หมายเลขบันทึก: 268000เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่านหลังจากอ่านตอนที่สองก่อน

น่าสนใจมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท