KM อุปมา : AAR (After Action Review) มวยพักยก - พักลับมีด


หากท่านเคยชมกีฬาชกมวย   ไม่ว่าจะเป็นมวยสากลหรือมวยไทย   เขาจะต่อยบนสังเวียนกันเป็นยก  และมีหลายยก   ระหว่างยกมีการพัก   ช่วงนี้แหละครับ  ที่นักมวย  พี่เลี้ยง  โค้ช  จะคุยกันเพื่อปรับทางมวย  หรือวิธีการต่อสู้ในยกต่อไป

คำเปรียบเทียบนี้ผมได้ฟังครั้งแรกเมื่อไปช่วยคุณนภินทร  ศิริไทย   ซึ่งเป็นวิทยากรกระบวนการให้แก่เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 13 สถาบัน    ในครั้งนั้นเอง  ผศ. สมพงษ์  บุญเลิศ   จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่   ได้กล่าวคำเปรียบเทียบนี้อธิบายเครื่องมือ AAR  ให้แก่ผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง    ซึ่งหลายท่านเข้าใจดีขึ้น   หรืออย่างน้อยก็พอจะนึกเห็นภาพวิธีการ

ผศ.สมพงษ์  บุญเลิศ

การทำ AAR  แล้วแต่ใครจะเรียกว่าอะไร   จริงๆในหลายๆที่  หลายๆแห่งเขามีการทำกันอยู่แล้ว  แต่อาจจะขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอไปบ้าง     ใหม่ๆผมก็ยังมองไม่ออกเหมือนกันว่ามันจะช่วยการทำงานได้อย่างไร    แต่พอในที่ทำงานมีการใช้บ่อยๆทำให้เปิดหูเปิดตาเรามากที่เดียวครับ   อย่างน้อยที่สุด  ผมได้ฝึกทักษะการฟังแบบ "ลึกสุดใจ"  มากขึ้น    เสน่ห์ของ AAR  ที่ผมชอบคือ  พอเราฝึกฟังมากๆ หลายๆครั้ง   มันจะช่วยให้ทำให้เราเกิดไอเดียอะไรบางอย่าง  ที่จะเอาไปปรับใช้กับงานของเรา      บรรยากาศการรับฟังกันในหน่วยงานก็ดีขึ้น   แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไม่เห็นต่างกันนะครับ  ตรงนี้ยังมีการแสดงความเห็นมุมมอง  รวมทั้งเหตุผลที่ต่างกันอยู่เหมือนเดิม    แต่ที่ใหม่เข้ามาคือ   อย่างน้อยก็ยังมีช่วงหนึ่งของการพูดคุยที่เราจะฟังคนอื่นมากขึ้น      เห็นด้วย  ไม่เห็นด้วยก็มีเช่นเดิม  แต่เราแขวนมันไว้ก่อนในช่วงนั้น

AAR  เป็นสิ่งหนึ่งที่  สคส.  เราทำเป็นประจำหลังเสร็จภารกิจย่อยๆแต่ละครั้ง  จึงอดไม่ได้ที่จะคิดอุปมาอีกอย่างหนึ่ง   คล้ายๆกับการที่เราได้  "ลับมีด"   ของเราเป็นระยะๆ  ไม่ใช่หั่น  ฝาน  เชือด  หรือสับอย่างเดียว    ถึงเหล็กดีอย่างไร  ก็ต้องทื่อบ้างแหละครับ

คำสำคัญ (Tags): #analogue
หมายเลขบันทึก: 26781เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท