การเขียนงานวิจัย เพื่อขอวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ตอนที่ 2


การเขียนงานวิจัยสำหรับครู มีรูปแบบการเขียนเหมือนงานวิจัยชั้นเรียนทั่วไป

     ได้ชื่อเรื่องและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมจบสิ้นกระบวนการแล้ว จะดำเนินการเขียนงานวิจัยและพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้คุณภาพ คำถามที่มีคำตอบ

การเขียนงานวิจัยสำหรับครู เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะนั้นมีรูปแบบไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับพื้นที่ รูปแบบของแต่ละมหาวิทยาลัย  สถาบันอุดมศึกษาที่ครูได้สัมผัส ที่กล่าวเป็นเช่นนี้ เพราะ สพฐ ไม่กำหนดหัวข้อออกเป็นแนวเดียวกัน และไม่มีคู่มือการทำ การเขียนวิจัย เพราะจากสัมผัสงานวิจัยที่ตรวจจากคณะกรรมการ จะพบว่า รูปแบบไม่เหมือนกัน ดังนั้นครูที่จะเขียนผลงานวิจัยไม่ต้องกังวล เรื่องรูปแบบ หัวข้อ ยึดหัวข้อ รูปแบบ การเขียนงานวิจัยทั่วไปเป็นหลัก กล่าวคือ มี 5 บท ประกอบด้วย บทที่ 1  บทนำ บทที่ 2 เอกงานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และบทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ และรายละเอียดหัวข้อย่อย นั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับครูจะเลือกหรือยึดแนว รูปแบบการเขียนของสถาบันอุดมศึกษาไหนเป็นหลักและเป็นแนวเดียวกันทั้งเล่ม

ดังนั้นรูปแบบงานวิจัยนั้น หัวข้อ ไม่ต้องกังวลแล้ว ยึดเอารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

หลักการเขียน การพัฒนางานวิจัยสำหรับครูนั้น  เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนนั้นควรเริ่มต้นการเขียนรายงานหน้าเดียว ให้เสร็จค่อยขยายเป็น 5 บท ทั้งนี้เพื่อ การตรวจสอบและไม่เบื่อนหน่ายในการทำวิจัย เพราะถ้าให้เริ่มต้นเขียนเป็นบท ๆๆ มักจะให้งานวิจัยไม่เสร็จได้ ทั้งนี้ครูเริ่มต้นไม่ถูก จะเจอปัญหา อุปสรรคมาก และล้มเหลวในการเขียนงานวิจัยเพื่อขอวิทยฐานะนั้นเอง

ติดตามตอนที่ 3

ให้คำปรึกษา ทำผลงานวิชาการทุกวิทยฐานะ

 

หมายเลขบันทึก: 267355เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท