หวาดระแวง


การแสดงความเห็นใจพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีที่ผู้ป่วยต้องการ

       วันนี้มีผู้ป่วยรายหนึ่งมาพบที่คลินิกจิตเวช มาด้วยอาการหวาดระแวง หรือที่เรียกว่า Paranoid Behavior  ซึ่งก็คืออาการที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เกิดจากความคิด หวาดระแวงต่างๆ ทั้งต่อบุคคล และสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยไม่มีเหตุผล พฤติกรรมหวาดระแวง เป็นเรื่องของความผิดปกติทางความคิดและอารมณ์

       ผู้ป่วยที่ดิฉันพบนี้ มีบุคลิกลักษณะท่าทางค่อนข้างหยิ่ง ไว้ตัว พิถีพิถัน ระมัดระวัง ญาติให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเขามักคอยสังเกตพฤติกรรมและการกระทำของผู้อื่นอยู่บ่อยๆ มักมองคนในแง่ร้าย และชอบคิดอะไรเชิงลบไปหมด บางครั้งก็มีอารมณ์หงุดหงิดก้าวร้าว ผลุนผลัน และรุนแรง
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากผู้ป่วยประเภทนี้มีอาการมากๆ ก็จะมีอาการประสาทหลอนทางหู (auditory hallucination) ร่วมด้วย หรือในบางรายอาจมีอาการความคิดหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นใหญ่ (grandeur idea delusion)

       แนวทางการช่วยเหลือเมื่อเราพบหรือได้ดูแลผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิดที่มีอาการแบบนี้ คือ อันดับแรกเราต้องประเมินระดับความรุนแรงก่อนว่าเขามีอาการมากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะได้วางแผนให้การช่วยเหลือได้เหมาะสม จากนั้นเน้นในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย โดยเน้นที่การสร้างความไว้วางใจ และความเชื่อถือ การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผย จริงใจ รักษาคำพูด ระมัดระวังการกระซิบกระซาบต่อหน้าผู้ป่วย ให้ข้อมูลผู้ป่วยอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา ให้ความยอมรับผู้ป่วยในพฤติกรรมหลงผิด ไม่โต้แย้ง ต่อต้าน สิ่งสำคัญต้องระมัดระวังอันตรายจากอุบัติเหตุ หรืออารมณ์รุนแรงที่เกิดจากการหลงผิดประสาทหลอนของผู้ป่วย และที่ขาดไม่ได้อย่างยิ่ง คือ การแสดงความเห็นใจพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีที่ผู้ป่วยต้องการ

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 26733เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก๊าก....รูปโดนใจ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท