โครงร่างงานวิจัย


การพัฒนาสถาปัตยกรรมห้องเรียนเสมือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างงานวิจัยและพัฒนา

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:Wingdings; panose-1:5 0 0 0 0 0 0 0 0 0; mso-font-charset:2; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:0 268435456 0 0 -2147483648 0;} @font-face {font-family:SimSun; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-alt:宋体; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:3 135135232 16 0 262145 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} @font-face {font-family:"\@SimSun"; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:3 135135232 16 0 262145 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0in; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-language:ZH-CN;} h1 {mso-style-next:ปกติ; margin-top:0in; margin-right:0in; margin-bottom:0in; margin-left:-6.0pt; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; page-break-after:avoid; mso-outline-level:1; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-font-kerning:0pt; mso-fareast-language:ZH-CN;} h3 {mso-style-next:ปกติ; margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-align:center; mso-pagination:widow-orphan; page-break-after:avoid; mso-outline-level:3; font-size:22.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoHeading7, li.MsoHeading7, div.MsoHeading7 {mso-style-next:ปกติ; margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-align:justify; text-justify:inter-cluster; mso-pagination:widow-orphan; page-break-after:avoid; mso-outline-level:7; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoHeader, li.MsoHeader, div.MsoHeader {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; tab-stops:center 207.65pt right 415.3pt; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoFooter, li.MsoFooter, div.MsoFooter {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; tab-stops:center 207.65pt right 415.3pt; font-size:16.0pt; mso-bidi-font-size:18.5pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoTitle, li.MsoTitle, div.MsoTitle {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-align:center; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Cordia New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoBodyText, li.MsoBodyText, div.MsoBodyText {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Cordia New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoBodyText2, li.MsoBodyText2, div.MsoBodyText2 {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-align:justify; text-justify:inter-cluster; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoBodyTextIndent2, li.MsoBodyTextIndent2, div.MsoBodyTextIndent2 {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-align:justify; text-justify:inter-cluster; text-indent:.5in; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-language:ZH-CN;} p.MsoBodyTextIndent3, li.MsoBodyTextIndent3, div.MsoBodyTextIndent3 {margin:0in; margin-bottom:.0001pt; text-indent:.5in; mso-pagination:widow-orphan; font-size:18.0pt; font-family:"Cordia New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-language:ZH-CN;} @page Section1 {size:595.35pt 842.0pt; margin:1.5in 1.5in 1.5in 1.5in; mso-header-margin:35.3pt; mso-footer-margin:35.3pt; mso-page-numbers:1; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} /* List Definitions */ @list l0 {mso-list-id:72515487; mso-list-template-ids:2099146246;} @list l0:level1 {mso-level-start-at:3; mso-level-text:%1; mso-level-tab-stop:21.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:21.0pt; text-indent:-21.0pt;} @list l0:level2 {mso-level-start-at:3; mso-level-text:"%1\.%2"; mso-level-tab-stop:81.75pt; mso-level-number-position:left; margin-left:81.75pt; text-indent:-21.0pt;} @list l0:level3 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3"; mso-level-tab-stop:157.5pt; mso-level-number-position:left; margin-left:157.5pt; text-indent:-.5in;} @list l0:level4 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4"; mso-level-tab-stop:218.25pt; mso-level-number-position:left; margin-left:218.25pt; text-indent:-.5in;} @list l0:level5 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5"; mso-level-tab-stop:297.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:297.0pt; text-indent:-.75in;} @list l0:level6 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6"; mso-level-tab-stop:357.75pt; mso-level-number-position:left; margin-left:357.75pt; text-indent:-.75in;} @list l0:level7 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7"; mso-level-tab-stop:418.5pt; mso-level-number-position:left; margin-left:418.5pt; text-indent:-.75in;} @list l0:level8 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8"; mso-level-tab-stop:497.25pt; mso-level-number-position:left; margin-left:497.25pt; text-indent:-1.0in;} @list l0:level9 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8\.%9"; mso-level-tab-stop:7.75in; mso-level-number-position:left; margin-left:7.75in; text-indent:-1.0in;} @list l1 {mso-list-id:455148077; mso-list-template-ids:1713789256;} @list l1:level1 {mso-level-start-at:3; mso-level-text:%1; mso-level-tab-stop:18.75pt; mso-level-number-position:left; margin-left:18.75pt; text-indent:-18.75pt;} @list l1:level2 {mso-level-start-at:2; mso-level-text:"%1\.%2"; mso-level-tab-stop:80.25pt; mso-level-number-position:left; margin-left:80.25pt; text-indent:-18.75pt;} @list l1:level3 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3"; mso-level-tab-stop:159.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:159.0pt; text-indent:-.5in;} @list l1:level4 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4"; mso-level-tab-stop:220.5pt; mso-level-number-position:left; margin-left:220.5pt; text-indent:-.5in;} @list l1:level5 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5"; mso-level-tab-stop:300.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:300.0pt; text-indent:-.75in;} @list l1:level6 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6"; mso-level-tab-stop:361.5pt; mso-level-number-position:left; margin-left:361.5pt; text-indent:-.75in;} @list l1:level7 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7"; mso-level-tab-stop:423.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:423.0pt; text-indent:-.75in;} @list l1:level8 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8"; mso-level-tab-stop:502.5pt; mso-level-number-position:left; margin-left:502.5pt; text-indent:-1.0in;} @list l1:level9 {mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8\.%9"; mso-level-tab-stop:564.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:564.0pt; text-indent:-1.0in;} @list l2 {mso-list-id:557135396; mso-list-type:hybrid; mso-list-template-ids:-1561162270 67698689 67698691 67698693 67698689 67698691 67698693 67698689 67698691 67698693;} @list l2:level1 {mso-level-number-format:bullet; mso-level-text:; mso-level-tab-stop:92.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:92.0pt; text-indent:-.25in; font-family:Symbol;} @list l3 {mso-list-id:887497642; mso-list-template-ids:-419247590;} @list l3:level1 {mso-level-tab-stop:74.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:74.0pt; text-indent:-.25in;} @list l3:level2 {mso-level-start-at:2; mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2"; mso-level-tab-stop:74.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:74.0pt; text-indent:-.25in;} @list l3:level3 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3"; mso-level-tab-stop:92.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:92.0pt; text-indent:-.5in;} @list l3:level4 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4"; mso-level-tab-stop:92.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:92.0pt; text-indent:-.5in;} @list l3:level5 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5"; mso-level-tab-stop:110.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:110.0pt; text-indent:-.75in;} @list l3:level6 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6"; mso-level-tab-stop:110.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:110.0pt; text-indent:-.75in;} @list l3:level7 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7"; mso-level-tab-stop:110.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:110.0pt; text-indent:-.75in;} @list l3:level8 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8"; mso-level-tab-stop:128.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:128.0pt; text-indent:-1.0in;} @list l3:level9 {mso-level-legal-format:yes; mso-level-text:"%1\.%2\.%3\.%4\.%5\.%6\.%7\.%8\.%9"; mso-level-tab-stop:128.0pt; mso-level-number-position:left; margin-left:128.0pt; text-indent:-1.0in;} ol {margin-bottom:0in;} ul {margin-bottom:0in;} -->

การพัฒนาระบบสถาปัตยกรรมห้องเรียนเสมือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

The development Of  Architecture Computer Of Virtual Classroom

 In Sufficiency Economy

โดย  ณัฐวุฒิ  ศิลาโชติ

…………………………………………………………………………………………………


 

ความเป็นมาของปัญหา

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 30 ปี ดังจะเห็นได้ว่า ปรากฏความหมายเป็นเชิงนัยเป็นครั้งแรกในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในปี  2517  ที่พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาบนหลักแนวคิดพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความพอมีพอกิน  พอใช้ของคนส่วนใหญ่  โดยใช้หลักความพอประมาณ  การคำนึงถึงการมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต  

                   ในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 นับเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ประชาชนเข้าใจถึงผลจากการพัฒนา ที่ไม่คำนึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ   พึ่งพิงความรู้ เงินลงทุน จากภายนอกประเทศเป็นหลัก โดยไม่ได้สร้างความมั่นคงและเข้มแข็ง หรือสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีภายในประเทศ  ให้สามารถพร้อมรับความเสี่ยงจากความผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอกจนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย               

รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมไทยอย่างเป็นระบบ  ด้วยการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ  ใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา  สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา  ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้  ทักษะ และเจตคติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุล และยั่งยืน    

           แหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีมากมายหลายแห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคของประเทศไทย  การเดินทางไปศึกษาหาความรู้ ดังกล่าวจะต้องเดินทางไปไกลและมีนักเรียนอยู่ในท้องที่ห่างไกล  ไม่สามารถที่จะเดินทางทัศนศึกษาได้ด้วยตนเอง  ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากอุปสรรคทางด้านเวลาความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย  ตลอดจนค่าใช้จ่าย    ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะสร้างและพัฒนาห้องเรียนเสมือน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ซึ่งได้เน้นการเรียนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (Learner  center)  ต่างคนต่างเรียน (Asynchronous  Learning) โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ (Anytime Anywhere Anyone )เพราะมีห้องเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ที่บ้าน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถเท่าเทียมกันต่อไป


จุดมุ่งหมายของการวิจัย

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาสถาปัตยกรรมห้องเรียนเสมือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้

1.       เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือน

                   2.       เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยห้องเรียนเสมือน


คำถามวิจัย

                   1.การเรียนด้วยห้องเรียนเสมือนต่างจากการเรียนด้วยห้องเรียนปกติ  อย่างไร

                   2. การเรียนด้วยห้องเรียนเสมือนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้มากน้อยเพียงใด

 

 

ความสำคัญของการวิจัย

                   1. ได้รูปแบบสถาปัตยกรรมห้องเรียนเสมือน ที่มีประสิทธิภาพ 80/80

                   2. เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาห้องเรียนเสมือน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ  ต่อไป

 

ขอบเขตของการวิจัย

            ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบของกระบวนการวิจัยและพัฒนา(R&D)

แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน  โดยกำหนดขอบเขตในแต่ละขั้นตอนเป็น  3  ด้านด้วยกัน  คือ  ขอบเขตด้านเนื้อหา  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล  ขอบเขตด้านตัวแปร   ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้

            ขั้นตอนที่ 1  การสำรวจปัญหา

1.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

ขั้นตอนในการสำรวจสภาพปัญหาหรือขอบเขตด้านเนื้อหา  คือ  การศึกษาสภาพปัญหา

และความต้องการในการเรียนการสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม    ช่วงชั้นที่ 2   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร  เขต 1 -  2)  

2.  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

                    ประชากร คือ  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 - 2

ปีการศึกษา  2552  จำนวน 500  คน

                    กลุ่มตัวอย่าง คือ  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2

ปีการศึกษา  2552 จำนวน 50  คน

3.  ขอบเขตด้านตัวแปร

                    ตัวแปรที่ศึกษา คือ 

                    1) ความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการ   ด้านเนื้อหาการสอน 

                    2) ความต้องการของนักเรียนในด้านแหล่งการเรียนรู้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบสำรวจและแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอน  ด้านเนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเพิ่มเติม)  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

             ขั้นตอนที่ 2  การสร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือน

1.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

                        ขั้นตอนในการสร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนเสมือนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ตามเนื้อหาที่ผู้วิจัยได้สำรวจมาแล้วตามขั้นตอนที่ 1

2.  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

                        ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูลในการพัฒนาห้องเรียนเสมือน  คือ

                        2.1  ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม   จำนวน  4  คน

                        2.2  ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องเรียนเสมือน   จำนวน  3  ท่าน

                        2.3  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร 

จังหวัดกำแพงเพชร  ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา  2552     จำนวน  40  คน

3.  ขอบเขตด้านตัวแปร

                    ตัวแปรที่ศึกษา คือ 

                    3.1 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน   กลุ่มสาระการเรียนรู้

สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านเนื้อหาที่จะนำมาสร้าง

ห้องเรียนเสมือน

                    3.2  ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องเรียนเสมือน 

เกี่ยวกับความเหมาะสมของเทคนิค  วิธีการ  นำเสนอห้องเรียนเสมือน 

                    3.3   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือ  ห้องเรียนเสมือน

 

ขั้นตอนที่ 3  การทดลองใช้ห้องเรียนเสมือน

1.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

ขั้นตอนในการทดลองใช้ห้องเรียนเสมือน  มีขอบเขตด้านเนื้อหา  คือ 

หาประสิทธิภาพของแหล่งการเรียนรู้เสมือน  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และศึกษาเปรียบเทียบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน  ที่ได้รับการสอนโดยใช้

ห้องเรียนเสมือน

2.  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  คือ 

                        นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร  

ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา  2552  จำนวน  40  คน

3.  ขอบเขตด้านตัวแปร

                    ตัวแปรที่ศึกษา คือ 

                    3.1 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  เกี่ยวกับความเหมาะสม

ด้านเนื้อหาที่จะนำมาสร้างและพัฒนาห้องเรียนเสมือน

3.2    ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องเรียนเสมือน

เกี่ยวกับความเหมาะสมของเทคนิค  วิธีการ  ของห้องเรียนเสมือน 

3.3     ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษา 6 (สาระเพิ่มเติม)

            เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

 

            ขั้นตอนที่ 4  การประเมินห้องเรียนเสมือน

1.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

ขั้นตอนในการวิจัยประเมินผลการใช้ห้องเรียนเสมือน  มีขอบเขตด้าน

เนื้อหา คือศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนการสอน

โดยใช้ห้องเรียนเสมือน  ในด้านต่าง ๆ  ดังนี้ 

·         ด้านปัจจัยนำเข้า(Input  Evaluation)  ประเมินเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ใน

การเรียน  จำนวนแบบฝึกหัด  เนื้อหา  รูปแบบของห้องเรียนเสมือน

·         ด้านกระบวนการ(Process  Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับ

ความเหมาะสมของวิธีการเรียนการสอนโดยห้องเรียนเสมือน

·         ด้านผลผลิต(Product  Evaluation)ประเมินจากผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนเสมือน

2.  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล ในการประเมินห้องเรียนเสมือน

คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร ที่กำลังศึกษาอยู่

ในปีการศึกษา  2552  ที่ได้เรียนจากห้องเรียนเสมือน  จำนวน 40 คน

3.  ขอบเขตด้านตัวแปร

                    ตัวแปรที่ศึกษา คือ  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

เกี่ยวกับห้องเรียนเสมือน

            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

            แบบประเมินห้องเรียนเสมือน 

            หลังจากที่ได้ทราบผลการประเมินในขั้นที่ 4 แล้วก็นำไปปรับปรุงพัฒนาและเผยแพร่ต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 267090เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท