หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551


เล่าสู่กันฟัง.....เกี่ยวกับหลักสูตร

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว gotoknow

       ฉันก็เป็นสมาชิกใหม่ของ gotoknow  และก็ได้ไปอบรมเกี่ยวกับหลักสูตร 2551 จึงนำมาเผยแพร่ และเล่าสู่กันฟัง ยินดีที่จะได้รับคำแนะนำจากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

                ผู้สอนมีหน้าที่นำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ผู้สอนจึงควรศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  ตั้งแต่วิสัยทัศน์  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  คำอธิบายรายวิชา  หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ยึดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเป็นเป้าหมาย  เป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ในที่นี้จะขออธิบาย  หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน(Standard - based Unit) 

                หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด  เป็นเป้าหายของหน่วย  และองค์ประกอบภายในหน่วยการเรียนรู้  ได้แก่  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ  สาระการเรียนรู้  ชิ้นงานหรือภาระงานที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ  กิจกรรมการเรียนการสอนและเกณฑ์การประเมินผล  ทุกองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้  จะต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐาน / ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วย  การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  เป็นข้นตอนสำคัญที่สุดของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  เพราะเป็นส่วนที่นำมาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง 

                                การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมารฐาน  Backward  Design  เป็นการออกแบบที่ยึดเป้าหมายการเรียนรู้แบบย้อนกลับโดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายปลายทางที่เป็นคุณภาพผู้เรียนที่คาดหวังเป็นจุดเริ่มต้นแล้วจึงคิดออกแบบองค์ประกอบอื่น  เพื่อนำไปสู่ปลายทาง  และทุกขั้นตอนของกระบวนการออกแบบต้องเชื่อมโยง  สัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผล  การนำ Backward  Design  มาใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานมีขั้นตอนที่สำคัญ  3  ขั้นตอนดังนี้   

ขั้นที่ 1  กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้  ซึ่งบอกให้ทราบว่าต้องการให้นักเรียนรู้อะไร  และสามารถทำอะไรได้  เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้

ขั้นที่ 2   กำหนดหลักฐาน  ร่องรอยการเรียนรู้ที่ชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายการเรียนรู้

ขั้นที่ 3    ออกแบบกระบวนการ / กิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  คือหน่วยการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  ในความรู้ที่ลึกซึ้งมีความหมายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และที่สำคัญจะต้องตอบสนองมาตรฐาน/ ตัวชี้วัด

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 266496เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ คุณ ศน.เจี๊ยบ สพท.เชียงใหม่ เขต 5

  • เข้ามาติดตามอ่านครับ

สวัสดีจ๊ะ  ครูเจี๊ยบ

ดีจังที่เห็นในบล๊อคนี้

สู้ๆ  เอจะรออ่านเรื่องราวจากครูเจี๊ยบ

อย่าลืมเล่าเรื่องไปอบรมนะเธอ

เอาภาพหนุ่นน้อยมาฝาก

 

สวัสดีค่ะ ครูเจี๊ยบ

ตอนนี้การศึกษาดูจะเน้นที่ Backward Design มากน่ะค่ะ ถือว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการมาก แต่ก็ต้องปรับเรื่องแผนการสอนและรูปแบบพอสมควรนะค่ะ ต้องพยายามกันต่อไป

หวัดดีจ้า....

นี่เพื่อนซี้เองนะ มีบล็อกแล้วนะ ยินดีด้วย .....

รออ่านสาระน่ารู้เรื่อยๆ นะ... มีอะไรก็เล่าสู่กันฟังนะจ๊ะ....

สวัสดีคะ ศน. เจี๊ยบ

เข้ามาหาความรู้เรื่อง Backward Design ค่ะ กำลังศึกษาระดับ ป.โท อยู่ค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท