ทุนทางปัญญา..บทเรียนจากความจริง


ติดอาวุธทางปัญญาด้วยการเรียนรู้จากความจริงรอบตัว

14 พฤษภาคม 2549 (UPDATED)

สวัสดีครับชาว Blog


ผมขอขอบคุณลูกศิษย์ทุกท่านที่กรุณาเป็นแนวร่วมกัน( join blog ) ซึ่งช่วงหลัง ๆ ก็มีคุณบงกชที่กล้าที่จะเขียนถึงอาจารย์และก็เขียนได้ดี ผมคิดว่า..ใครที่ไม่รู้จักผมดีอาจจะคิดว่าผมอยู่สูง หรือไม่ติดดิน หรือเข้าหาลำบาก จริง ๆ แล้ว ณ วันนี้ผมถือว่าผมไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับเอาประสบการณ์ เอาความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างคุณภาพของมนุษย์ ก็หวังว่าดร.ชวินจากสถานทูตไทยที่ประเทศสิงคโปร์และท่านทูตเฉลิมพลจะกรุณาอ่านและ join เข้ามา ท่านทูตกรุณามาต้อนรับและเลี้ยงอาหารผมในช่วงที่ผมอยู่ที่สิงคโปร์ด้วย ท่านทูตเป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจและเป็นพวกชอบหาความรู้ เพิ่งทราบว่าสิงคโปร์เขาเอาจริงเรื่องสถาบันแบบ HRI (Human Resource Institute) แต่ช้ากว่าผมแค่ 25 ปี เพราะเราตั้ง HRI ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาเรียกองค์กรของเขาว่า “Singapore Human Resource Institute” และมีประธานเป็นนักการเมืองซึ่งในวันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2549 นี้ก็จะมีการประชุม World Congress เรื่อง HR โดยเฉพาะที่ Singapore ชื่อเหมือน ๆ เราเลย เห็นมั๊ยครับ HR คือ Strategy คือมูลค่าเพิ่ม แม้กระทั่งประเทศที่บ้าคลั่ง “คน” มากก็ยังตามประเทศไทยในเรื่องการจัดตั้งวถาบันดังกล่าว
ผมได้รับโทรศัพท์จากคุณยมลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก็ขอขอบคุณที่ให้ความเอาใจใส่ สำหรับลูกศิษย์ท่านใดที่ไม่ได้เจอผมก็ยังสามารถติดตามงานและแนวความคิดของผมได้จาก 3 ทาง คือ
·         รายการวิทยุ “Knowledge for people” ทุกวันอาทิตย์เวลา 18.00 – 19.00น. ทางสถานีวิทยุคลื่น 96.5 MHz.
·         บทความคอลัมน์ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับทุกวันเสาร์ หน้า 5 ซึ่งวันนี้ใช้ชื่อใหม่ เปลี่ยนจากชื่อเดิม “สู่ศตวรรษใหม่” ซึ่งใช้มากว่า 6 ปีแล้ว วันนี้ใช้ชื่อใหม่ว่า คอลัมน์ “บทเรียนจากความจริง” กับ ดร.จีระ เพราะเขียนให้คิดจากความจริง
·         และแน่นอนรายการโทรทัศน์ของผมเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 – 13.50น. ทาง UBC 7 (UBC News) ใคร ๆ ก็เปิดดูได้ และผมก็อยากให้คนที่ดูรายการของผมเขียน Blog ถึงผมบ้างก็จะดีจะได้ Share กันว่าผมพูดใน TV เรื่องอะไร คนที่ไม่ได้ดูจะได้มีส่วนร่วมไปด้วย รายการสำหรับวันอาทิตย์นี้พบกับผมปะทะกันทางปัญญากับไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ คุยกันเรื่องการอ่านหนังสือ น่าสนใจเพราะไปสิงคโปร์คราวนี้มีเวลาไปดูร้านหนังสือหลายร้านซึ่งประทับใจมาก เพราะสิงคโปร์มีแหล่งข้อมูลที่ดีมาก ดีกว่ากรุงเทพฯ 2-3 เท่า คือ หนังสือเขาทันสมัยกว่า มีให้เลือกมากกว่า
ผมเลยฝากผ่าน Blog ของผมไปยังคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ประธานรุ่น 2 (กฟผ.) เรื่องการเตรียมการดูงานและเข้าเรียนในห้องเรียนของ University of Melbourne ประเทศออสเตรเลียซึ่งทางมหาวิทยาลัยเขาเตรียมไว้หมดแล้ว ผมถือโอกาสไปสำรวจล่วงหน้าและเนื่องจากครั้งนี้ผมจัดเป็นครั้งที่ 2 ก็เลยมีประสบการณ์มากขึ้น ต้องขอยกย่อง Mr. Stephen Bell ซึ่งเป็น Partner ของผมที่ได้แนะนำคุณสุนี สถาพร ซึ่งทำงานอยู่ที่ Melbourneมา 20 ปี เธอเป็นผู้หญิงไทยที่เก่งมากช่วยประสานงานให้เราอย่างดีเยี่ยม คือ นอกจากโปรแกรมการเข้าเรียนที่ University of Melbourne แล้ว เรายังจะได้พบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐวิกตอเรียที่นำเอาไฟฟ้า ซึ่งระบบไฟฟ้าที่นี่เขาสุดโต่งเลย คือ ขายให้เอกชนไป 100% แล้ว ของเราตอนจะเข้าตลาดหุ้น กฟผ. ทำแค่ Corporatization คือ ขายหุ้น 25% ให้แก่เอกชน สรุปว่าในประเทศออสเตรเลีย บางรัฐก็ยังเป็นระบบแบบ กฟผ. อยู่ บางรัฐก็ไปเป็นเอกชนเรียบร้อยไปแล้ว เราจะศึกษาได้ว่าถ้าเราจะเดินหน้าต้องระวังอะไร
สำหรับกำหนดการไปทัศนศึกษาดูงานที่เมลเบิร์นในระหว่างวันที่ 21 – 28 พฤษภาคม 2549 นี้ ท่านรัฐมนตรีของรัฐวิกตอเรียก็จะมาพบกับคณะของ กฟผ. ด้วย ซึ่งการที่ผมไปสำรวจมาก่อนในครั้งนี้ได้มา เห็นการเตรียมการที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการและการดูงานที่ดี ขณะเดียวกันทางรัฐวิกตอเรียก็สนใจประเทศไทย เขาจะขอให้ตัวแทนจาก กฟผ. สรุปงานของ EGAT ให้ฟังและมา Share กันเพื่อเป็นแนวร่วมกันต่อทั้งภาคธุรกิจ ราชการชั้นผู้ใหญ่รวมได้ถึงระดับการเมืองด้วย
ที่รัฐวิกตอเรียนี้เขาใช้พลังไฟฟ้าจากถ่านหิน เขาเรียกว่า Brown Coal คล้าย ๆ กับลิกไนท์ของไทย ผมมีโอกาสไปดูโรงไฟฟ้า 3 - 4 แห่งที่ใช้ถ่านหิน ซึ่งอาจจะเป็นจุดที่กฟผ. ต้องสนใจและเตรียมการในอนาคต
กลุ่มต่อไปที่ผมคาดว่าจะพาไปน่าจะเป็นระดับนายกเทศมนตรีของไทย เพราะรัฐบาลท้องถิ่นของ Victoria ที่ Melbourne เก่งมากเรื่อง Local Government
วันที่ 17- 18 พฤษภาคมนี้ผมจะไปบรรยายที่ Marketing Guru 2 วันก็คงจะได้ลูกศิษย์เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน และก็คงได้มา join blog กับพวกเรา

สวัสดีครับ คิดถึงทุกคน


----------------------------------------------------

7 พฤษภาคม 2549

สวัสดีครับชาว Blog
            ผมแยก Blog มาเป็น 2  Blog แล้ว อีก Blog หนึ่งชื่อว่า “ทุนทางปัญญา..บทเรียนจากความจริง” เพราะ Blog: We share ideas เริ่มจะยาวเกินไป แต่ทุกคนก็มีสิทธิ์เข้า Blog ทั้งสองได้อยู่แล้ว
            อยากจะพูดถึงลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะเรียนกับผมแค่ 8 ชั่วโมงน้อยกว่ามหาวิทยาลัยอุบลีราชธานีมาก แต่ก็เข้มข้นมาก และขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่กรุณา Share ideas มายัง Blog ของผม ต้องชื่นชมความพยายามของอาจารย์โฆษิตที่กรุณาเชิญผมไปร่วมและอย่างที่ได้เล่าให้อาจารย์โฆษิตฟัง คือ ต้องเน้นการสร้าง Performance ให้แก่นักเรียนที่เน้น HR: Value added เพราะ HR ไม่ใช่แค่ Training ความจริง Training ก็ไม่พอ ต้อง Learning ต้องเน้น 4 L’s ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องปะทะกับความจริง ปะทะปัญญากันเอง ต้องมี ideas ใหม่ ไ เสมอ ที่ผมเลือกชื่อ Blog ใหม่ ชื่อ “ทุนทางปัญญา..บทเรียนจากความจริง” เพราะว่าเป็นชื่อหนังสือ Pocket Book เล่มที่ 2 ของผมซึ่งรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้าในช่วง 7 เดือนที่แล้วรวมประมาณ 17 เรื่องมารวมกัน โดยที่แต่ละบทผมจะสรุปท้ายบทว่า “ขณะที่ผมเขียนตอนนั้นผมคิดอะไร และมีจุดมุ่งหมายอะไร ?” หนังสือเล่มที่สองนี้มีวัตถุประสงค์หลักก็คือเพื่อให้ลูกศิษย์ทุก ๆ กลุ่มของผมได้อ่าน และร่วมเรียนรู้จากความจริงไปด้วยกัน
            ผมคิดว่าการได้สอนปริญญาเอกตอนที่ผมพร้อม 3 แห่ง เรื่อง HR
            - เริ่มที่มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อ 3 ปีที่แล้วซึ่งตอนนั้นผมก็ค้นพบ Concept เรื่อง HR Architecture
            - มาสอนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2 รุ่น 4 ครั้งก็ได้อะไรเพิ่มเติมมากมายโดยเฉพาะ เรื่องที่ Peter Drucker เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างบ้าคลั่ง และคำพูดที่ว่า “เรียนรู้จากลูกศิษย์” และนอกจากนี้ก็ยังได้ Concept ต่าง ๆ อีกหลายเรื่อง เช่น
                        - เรื่องทุนทางเครือข่าย หรือ Networking Capital ในมุมลึกและนำไปใช้ได้จริง
                        - เรื่องทุนแห่งความสุข หรือHappiness Capital ซึ่งวิเคราะห์มาจากประสบการณ์ของผมเองที่ทำงานด้วยความสุขมามากกว่า 30 ปี
                        -  เรื่องการอ่านแบบ “โป๊ะเช๊ะ” เพราะคนไทยอ่านหนังสือไม่ตรงประเด็น ต้องอ่านอย่าง Concentrate และสรุปประเด็นแค่ 2 – 3 ประเด็นพอ
            - ส่วนการสอนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเวลายังน้อยไปเลยยังไม่ได้ Develop อะไรใหม่ ๆ แต่คิดว่ารุ่น 2 คงจะหาทาง Discovery อะไรใหม่ ๆ
            สำหรับกิจกรรมของผมในช่วง 4 – 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คือ ลูกศิษย์ที่สภาวิจัยฯ และที่ กฟผ. รุ่นที่ 2 เรื่องสภาวิจัยฯ ผม Happy มาก เพราะเป็นองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ แต่คนยังไม่เข้าใจ Brand ยังไม่ดีนัก เรื่องปัญหาที่คนไทยไม่ชอบเป็นนักวิจัยก็เป็นเรื่องใหญ่ ปัจจุบันนักวิจัยไทยมีจำนวนเท่ากับ 2.8 คน / 10,000 คน ขณะที่สิงคโปร์มี 41 คน/10,000 คน ผมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยจะทำงานวิจัยสำเร็จต้องประกอบด้วย 3 ฝ่ายร่วมมือกัน 8nv
            - มหาวิทยาลัย
            - รัฐ (หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ)
            - ภาคเอกชน
            ทุกฝ่ายจะต้องรวมตัวกัน อย่าต่างคนต่างทำ
            สำหรับศิษย์ กฟผ. รุ่น 2 ทั้ง 31 คนเป็นกันเอง ให้เกียรติผมมาก น่าสนใจมากที่ทุกคนสนุกกับการเรียนและคิดต่อไปถึงการนำไปใช้ก็ได้ความรู้ที่ “โป๊ะเช๊ะ” หลายเรื่อง เช่น
            - กฟผ. กับโอกาสใหม่ ๆ ไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และมูลค่าเพิ่ม (Value added) ทั้ง Products, Services, และระบบการบริหารจัดการ
            - เรื่องโครงสร้างองค์กรที่จะรองรับพนักงานที่ชอบทำ Research หรืออยากทำงาน Research แต่ไม่ขึ้นสายบริหาร จะปรับผังองค์กรอย่างไร?
            - เรื่องการสร้างองค์กรที่เป็น Process และ Lean กระชับ ต้นทุนต่ำ มีการพิจารณาเรื่อง Pay for performance มากขึ้น
            ครับผมโชคดีที่ได้ทำงานสนุกและมีโอกาสได้มา share ideas ที่นี่ และหวังว่าหนังสือเล่มใหม่ของผมซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจจากการให้ลูกศิษย์หลายกลุ่มได้อ่านและแนะนำ และหลาย ๆ คนบอกว่าตรงประเด็น เพราะสดและสะท้อนความจริง (Reality) คือ ทฤษฎี 2 R’s นั่นเอง
            ทุก ๆ ครั้งที่เขียน Blog ผมจะเน้น 2 – 3 เรื่องและชอบที่ทุกคนเข้ามาร่วม share ideas กันที่นี่ เพราะมันมีประโยชน์ต่อสังคมมาก และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ลูกศิษย์กลุ่ม 7 habits รุ่นที่ 3 นำโดยคุณชำนาญ และโดยเฉพาะที่ผมมีโอกาสได้ไปบรรยายให้กลุ่มหัวหน้างานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ลูกศิษย์บางท่านได้ส่งความคิดเห็นเข้ามาบ้างแล้ว ผมอ่านแล้วก็สบายใจเพราะถึงแม้บางท่านยังไม่ได้เข้าเรียนในหลักสูตร 7 Habits แต่ก็จับประเด็นเรื่องผู้นำได้ดี ชอบครับ ขอบคุณ

.......................................................................

จีระ  หงส์ลดารมภ์ เขียน คิดถึงแนวร่วม
         
ลูกศิษย์ของผมใครไม่เปิด  Blog  คงต้องเรียกว่า “ตกราง”  เพราะการสร้างสังคมการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่ง Share ข้อมูลกันมากเท่าไหร่ ยิ่งได้ประโยชน์และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
ขอขอบคุณกลุ่มลูกศิษย์ กฟผ. 31 คน นำโดยคุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ซึ่งส่ง  Blog  มา 2  ครั้งแล้วผมอ่านอย่างละเอียดขอชมเชยดีมากที่..วิศวะ มองการเมืองและมองอะไรไกล ขอให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลาและเชื่อมโยงได้
มีประเด็นที่น่าสนใจคือ พรรคประชาธิปัตย์ จะต้องสร้างศักยภาพของการทำงานให้ตรงใจ ถึงใจ  มากขึ้น ไม่ใช่แค่พูดเก่ง ฉะนั้นพรรคนี้พูดเก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำเก่งด้วย ผมจึงเห็นว่าน่านำเอาแนวความคิดของผมหรือ Jack Welch ที่ได้เน้น :
-        Execution
-        Execution based on reality
-        Confronting Reality และทำ
-        และสุดท้าย ก็คือ เน้น GTD หรือ Get Things Done  กัดไม่ปล่อย
         
ชอบใจกลุ่ม ที่เรียนปริญญาโทบริหารฯ ที่สวนสุนันทาโดยเฉพาะ คุณชูวิทย์  กมลวิศิษย์ เมื่อได้อ่านแล้ว ผมคิดว่าคุณชูวิทย์ เน้นเรื่องสังคมการเรียนรู้มากขึ้น กระจายข้อมูลไปให้เยาวชนมากขึ้น เป็นคนที่ลากความความคิดไปสู่การปฏิบัติได้มาก เพราะลงเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. ก็ได้กว่าแสนคะแนน 
กลุ่มผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล  ชอบเพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยจะมีโอกาสนัก  เมื่อผมไปบรรยายมา 4 รุ่นแล้ว รุ่นหนึ่งกเพียงแค่ 6 ชั่วโมง แต่ก็ได้ความรักจากเขา จะเห็นว่าผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการจะเขียนส่งผมสั้นไปหน่อย อยากให้บรรยายและแสดงความเห็นยาว ๆ และนำไปใช้
         
          กลุ่มปริญญาเอกรุ่น 2  ที่เพิ่งจบไป แน่นอนว่าจากการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง 3 วันเต็ม ๆ ได้ใกล้ชิดกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ดีมาก หลาย ๆ คนมีความรู้ แหลมคมและตั้งใจเรียนมาก ท่านพลเรือโรช และท่านเจ้าอาวาสจากโคราชน่ารักมาก คุณสมบัติและเสธฯ ดรัณ ไปได้ดีมาก ทำให้ผมมีความสุขที่ได้พูดถึงปัญหาทรัพยากรมนุษย์ของชาติมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และได้บันทึกเทปโทรทัศน์ไปแล้วคงจะออกอากาศอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคมนี้ เวลาบ่ายโมง ทาง UBC07
ขอชมเชยคุณยมที่ส่งเรื่องการ search ข้อมูลจาก google ผมอยากให้ลูกศิษย์ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจับมือกันไว้ให้แน่น  share ข้อมูลกัน ใช้ ทฤษฎี 4L’s มาก ๆ  การเรียนปริญญาเอกในประเทศไทยต้อง Magic เหมือนที่ผมชอบหาความรู้ เพราะบางครั้ง “โป๊ะแช๊ะ” และบางครั้ง Magic ถ้าเป็นคนไข้ก็ไม่มียามารักษา เพราะความสุขที่ได้ความรู้ใหม่ ๆ พอเพียงจึงทำให้มีทุนแห่งความสุข แบบ Peter Drucker ว่า “I learn from students”
          กลุ่มสุดท้าย ผมเขียน Blog นี้ในช่วงเช้าวันแรงงานที่ 1 พฤษภาคมที่บ้าน มี Blog เด็กปริญญาเอกมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเพิ่งจะเรียนกับผมเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา บรรยากาศสนุกมาก ขอขอบคุณอาจารย์โฆสิต ที่กรุณาเชิญผมไปสอน
          มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีอะไรมากกว่าที่เราเข้าใจและคิดวาดภาพไว้ มีการบริหารแบบใหม่ โดย ศาสตราจารย์รังสรรค์  แสงสุข อธิการบดีท่านก็สนิทกับผม อิทธิพลของมหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อประเทศไทยมีมหาศาล เพราะ Network กว้าง ต้องพยายามสร้างภาพลักษณ์ให้ดีขึ้นเรื่อย และเอาจริงกับ 4L’s หรือ System Thinking และพยายามเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ
          ผมจะเป็นแนวร่วมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงมากขึ้นครับ ลูกศิษย์ 19 คนต้องเอาจริง เพราะเรียน HRD ปริญญาเอกไม่ใช่แค่ Training  แต่ต้องเน้น Performance เน้นการบริหารคน เน้นการเก็บเกี่ยว (Harvesting) ไม่ใช่แค่ปลูก อย่าห่วงแต่ Structure  หาหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจเหมือนที่ Peter Drucker พูดไว้ว่า “Ask a right question better than have a perfect answer”

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26624เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)
อ่านบันทึกชิ้นนี้แล้ว ได้มุมมองที่กว้างไกลเพิ่มขึ้นจริงๆครับ Keep in Mind

อ่านแล้วอยากให้บรรดาอาจารย์ ทั้งหลายมีมุมมองกว้างๆแบบนี้บ้าง หวังว่าจะมีการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ไว้ ท่านอาจาย์จีระ คือครูผู้ที่ไม่เคยหยุดที่จะคิด และหยุดที่จะสอน ชื่นชมอาจารย์มากๆค่ะ

ดิฉันเป็นลูกศิษย์อ.จ.ดร.จีระ กลุ่ม 31 คน จาก กฟผ.

รู้สึกชื่นชมและขอบคุณอ.จ.ที่กรุณาจัดทำกระดานแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้กัน  ท่านอ.จ.ยังได้กรุณาสละเวลาอยู่กับกระดานนี้บ่อยมาก  เมื่อเข้ามาอ่านทำให้ทราบว่าคนอื่นเขาทำอะไรกัน  หลักสูตรที่อ.จ.ออกแบบให้กลุ่มกฟผ.เรียนนั้นเน้นเรื่องคน  การบริหารคนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ก็ได้วิทยากรเก่งๆมาเรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับคนให้เราฟัง  บางเรื่องดูเหมือนว่าเราจะรู้อยู่แล้ว  แต่กระจัดกระจาย  เมื่อมาฟังคราวนี้ก็เหมือนต่อจิ๊กซอ

ที่ชอบมากก็เรื่องที่ว่าเราต้องบริหารคนที่เป็น stakeholders ของเรา ซึ่งวิทยากรบอกว่ามี 7 กลุ่ม คือกลุ่มรัฐบาล  กลุ่มประชาชนทั่วไป  กลุ่มสื่อ  กลุ่มNGO  กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มภายในองค์กรเราเอง  ก่อนหน้านี้จะรู้สึกสับสนว่าทำไมต้องยุ่งกับใครต่อใครให้วุ่นวาย  ตอนนี้รู้แล้วว่าไม่วุ่นหรอก  มีแค่ 7 กลุ่มเท่านั้นเอง  ถ้าบริหารได้ งานของเราน่าจะไปได้ดี 

ดิฉันชื่อ สมพิศ  นามเปือย  ตำแหน่ง จ.วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 เป็นหัวหน้าหน่วยประกันคุณภาพ   ระดับปฏิบัติการ (หน่วยงานภายในคณะฯ)  สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์ มข. ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาภาวะผู้นำ   ในวันที่ 3 พ.ค.49 ที่ตึกอธิการบดี 2 นั้น จากการฟังวันนั้น อาจารย์ขอให้ตัวแทนออกมาหน้าห้องและพูดว่า ได้อะไรจากอาจารย์  ดิฉันต้องการจะพูดมากวันนั้น  แต่พี่ที่ไปด้วยก้นห้ามไว้ และบอกว่าแกไม่ต้องออกไปพูด เดี๋ยวเขาจะว่า เพราะแกพูดวกไปวนมา  (หนูนั่งอยู่แถวที่ 2 ด้านหน้าคนที่ 2 ) ฝั่งขวามืออาจารย์  ก็เลยส่งการบ้านอาจารย์ทาง mail คะ

1. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์ คือ ข้อที่ 1  ทราบแนวคิดการพัฒนาผู้นำที่มีคุณภาพ  จะประกอบด้วย

          1.1   ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพ  :  ต้องวิเคราะห์ตัวเองก่อนว่า มีจุดแข็ง และจุดอ่อนด้านไดบ้าง  ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น จะประกอบด้วย  หลาย ๆ ข้อที่อาจารย์สอนคะ

          1.2  ต้องเป็นผู้จัดการ   :  หมายถึง การจัดการบริหารลูกน้อง บริหารคนในหน่วยงาน บริหารทุก ๆ อย่างให้มีคุณภาพ  ด้วยหล้กวิชาการที่อาจารย์ให้มาหลาย ๆ ข้อประกอบเข้าด้วยกัน

    คิดว่าจาก 2 ข้อนี้ ถ้ารวมอยู่ในตัว "ผู้นำ"  ก็จะเกิดมูลค่าของตัวเราเอง  เป็นคนที่มึคุณภาพ และนำองค์กรได้เร็วขึ้น

(หมายเหตุ )  หลังจากกลับมาแล้วได้วิเคราะห์ตัวเอง และทราบว่ายังมีจุดอ่อนในด้านบุคลิกภาพ การพูดในที่ชุมชน  และอยากจะเรียนกับอาจารย์อีก เรื่อง เทคนิคการพูด การวางตัวต่อหน้าชุมชน และด้านวิชาการ ต้องพัฒนาอีกคะ

ขอบพระคุณคะ

 

            

เรียน  คุณสมหมายที่รัก

ผมรอมาหลายวันปรากฏว่าวันนี้ผมไปพบข้อเขียนของคุณสมหมายใน blog ใหม่ของผมซึ่งขอบคุณมากที่ส่งมา แต่ผมจะขอให้คุณสมหมายไปดูที่ www.chiraacademy.com และกดเข้าไปใน blog ชื่อ We share ideas คุณสมหมายก็จะไปต่อคิวกับสมาชิก Blog ซึ่งขณะนี้มีร่วม share ideas กันเข้ามากว่า 250 หน้าแล้ว ลองดูและช่วย Comment ว่าปริญญาเอกของอุบลฯ และของรามคำแหงเปรียบเทียบกับลูกศิษย์ที่ EGAT พอสูสีกันมั๊ย และขอฝากให้ดูข้อเขียนของคุณสุทัศน์ที่อยู่ Blog "We share ideas" ด้วยครับ

สวัสดีครับชาว Blog
            ผมแยก Blog มาเป็น 2  Blog แล้ว อีก Blog หนึ่งชื่อว่า “ทุนทางปัญญา..บทเรียนจากความจริง” เพราะ Blog: We share ideas เริ่มจะยาวเกินไป แต่ทุกคนก็มีสิทธิ์เข้า Blog ทั้งสองได้อยู่แล้ว
            อยากจะพูดถึงลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะเรียนกับผมแค่ 8 ชั่วโมงน้อยกว่ามหาวิทยาลัยอุบลีราชธานีมาก แต่ก็เข้มข้นมาก และขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่กรุณา Share ideas มายัง Blog ของผม ต้องชื่นชมความพยายามของอาจารย์โฆษิตที่กรุณาเชิญผมไปร่วมและอย่างที่ได้เล่าให้อาจารย์โฆษิตฟัง คือ ต้องเน้นการสร้าง Performance ให้แก่นักเรียนที่เน้น HR: Value added เพราะ HR ไม่ใช่แค่ Training ความจริง Training ก็ไม่พอ ต้อง Learning ต้องเน้น 4 L’s ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องปะทะกับความจริง ปะทะปัญญากันเอง ต้องมี ideas ใหม่ ไ เสมอ ที่ผมเลือกชื่อ Blog ใหม่ ชื่อ “ทุนทางปัญญา..บทเรียนจากความจริง” เพราะว่าเป็นชื่อหนังสือ Pocket Book เล่มที่ 2 ของผมซึ่งรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้าในช่วง 7 เดือนที่แล้วรวมประมาณ 17 เรื่องมารวมกัน โดยที่แต่ละบทผมจะสรุปท้ายบทว่า “ขณะที่ผมเขียนตอนนั้นผมคิดอะไร และมีจุดมุ่งหมายอะไร ?” หนังสือเล่มที่สองนี้มีวัตถุประสงค์หลักก็คือเพื่อให้ลูกศิษย์ทุก ๆ กลุ่มของผมได้อ่าน และร่วมเรียนรู้จากความจริงไปด้วยกัน
            ผมคิดว่าการได้สอนปริญญาเอกตอนที่ผมพร้อม 3 แห่ง เรื่อง HR
            - เริ่มที่มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อ 3 ปีที่แล้วซึ่งตอนนั้นผมก็ค้นพบ Concept เรื่อง HR Architecture
            - มาสอนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2 รุ่น 4 ครั้งก็ได้อะไรเพิ่มเติมมากมายโดยเฉพาะ เรื่องที่ Peter Drucker เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างบ้าคลั่ง และคำพูดที่ว่า “เรียนรู้จากลูกศิษย์” และนอกจากนี้ก็ยังได้ Concept ต่าง ๆ อีกหลายเรื่อง เช่น
                        - เรื่องทุนทางเครือข่าย หรือ Networking Capital ในมุมลึกและนำไปใช้ได้จริง
                        - เรื่องทุนแห่งความสุข หรือHappiness Capital ซึ่งวิเคราะห์มาจากประสบการณ์ของผมเองที่ทำงานด้วยความสุขมามากกว่า 30 ปี
                        -  เรื่องการอ่านแบบ “โป๊ะเช๊ะ” เพราะคนไทยอ่านหนังสือไม่ตรงประเด็น ต้องอ่านอย่าง Concentrate และสรุปประเด็นแค่ 2 – 3 ประเด็นพอ
            - ส่วนการสอนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเวลายังน้อยไปเลยยังไม่ได้ Develop อะไรใหม่ ๆ แต่คิดว่ารุ่น 2 คงจะหาทาง Discovery
อะไรใหม่ ๆ
            สำหรับกิจกรรมของผมในช่วง 4 – 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คือ ลูกศิษย์ที่สภาวิจัยฯ และที่ กฟผ. รุ่นที่ 2 เรื่องสภาวิจัยฯ ผม Happy มาก เพราะเป็นองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ แต่คนยังไม่เข้าใจ Brand ยังไม่ดีนัก เรื่องปัญหาที่คนไทยไม่ชอบเป็นนักวิจัยก็เป็นเรื่องใหญ่ ปัจจุบันนักวิจัยไทยมีจำนวนเท่ากับ 2.8 คน / 10,000 คน ขณะที่สิงคโปร์มี 41 คน/10,000 คน ผมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยจะทำงานวิจัยสำเร็จต้องประกอบด้วย 3 ฝ่ายร่วมมือกัน 8nv
            - มหาวิทยาลัย
            - รัฐ (หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ)
            - ภาคเอกชน
            ทุกฝ่ายจะต้องรวมตัวกัน อย่าต่างคนต่างทำ
            สำหรับศิษย์ กฟผ. รุ่น 2 ทั้ง 31 คนเป็นกันเอง ให้เกียรติผมมาก น่าสนใจมากที่ทุกคนสนุกกับการเรียนและคิดต่อไปถึงการนำไปใช้ก็ได้ความรู้ที่ “โป๊ะเช๊ะ” หลายเรื่อง เช่น
            - กฟผ. กับโอกาสใหม่ ๆ ไปสู่การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และมูลค่าเพิ่ม (Value added) ทั้ง Products, Services, และระบบการบริหารจัดการ
            - เรื่องโครงสร้างองค์กรที่จะรองรับพนักงานที่ชอบทำ Research หรืออยากทำงาน Research แต่ไม่ขึ้นสายบริหาร จะปรับผังองค์กรอย่างไร?
            - เรื่องการสร้างองค์กรที่เป็น Process และ Lean กระชับ ต้นทุนต่ำ มีการพิจารณาเรื่อง Pay for performance มากขึ้น
            ครับผมโชคดีที่ได้ทำงานสนุกและมีโอกาสได้มา share ideas ที่นี่ และหวังว่าหนังสือเล่มใหม่ของผมซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจจากการให้ลูกศิษย์หลายกลุ่มได้อ่านและแนะนำ และหลาย ๆ คนบอกว่าตรงประเด็น เพราะสดและสะท้อนความจริง (Reality) คือ ทฤษฎี 2 R’s นั่นเอง
            ทุก ๆ ครั้งที่เขียน Blog ผมจะเน้น 2 – 3 เรื่องและชอบที่ทุกคนเข้ามาร่วม share ideas กันที่นี่ เพราะมันมีประโยชน์ต่อสังคมมาก และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ลูกศิษย์กลุ่ม 7 habits รุ่นที่ 3 นำโดยคุณชำนาญ และโดยเฉพาะที่ผมมีโอกาสได้ไปบรรยายให้กลุ่มหัวหน้างานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ลูกศิษย์บางท่านได้ส่งความคิดเห็นเข้ามาบ้างแล้ว ผมอ่านแล้วก็สบายใจเพราะถึงแม้บางท่านยังไม่ได้เข้าเรียนในหลักสูตร 7 Habits
แต่ก็จับประเด็นเรื่องผู้นำได้ดี ชอบครับ ขอบคุณ

 

เรียน  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน  โดยเฉพาะข้าพเจ้าเป็นพนักงานเทศบาล  ซึ่งอายุราชการ  21 ปี  ทราบว่าท่านอาจารย์ได้จุดประกายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งมีอยู่ทุกพื้นที่ครอบคลุมในประเทศไทย  และจะนำมาให้ก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติในภาพรวมเป็นอย่างยิ่ง  แม้กระทั่งมีแนวโน้วที่จะยั่งยืนต่อไป  ข้าพเจ้ายินดีที่จะเป็นฟันเฟืองที่เป็นจุดเล็ก ๆ  ในการที่มีใช้โอกาสนี้ช่วยขับเคลื่อนถ้าได้รับความกรุณาจากท่านอาจรย์ให้โอกาสในการมีร่วมด้วย  โดยเฉพาะชาวท้องถิ่นเมื่อมีโอกาสนี้ก็จะมีความบ้าคลั่งในการสัมผัสกับทุนทางปัญญาของ  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์....................

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ระดารมภ์

     ตามที่อาจารย์ได้ปรารภกับอาจารย์ คุณหมอ JJ และคุณชำนาญ  บัวทวน  ประธานรุ่น KKU 7habits เรื่องที่ Blog อาจารย์มันยาวเกินไปทำให้อ่านยาก กว่าจะหาเจอ ท่านอาจารย์คุณหมอ JJ และประธาน ก็เลยแนะนำว่าควรจะเปิดชุมชน แล้วนำ Blog เข้าร่วมชุมชน ทุกคนก็จะสามารถ Share กันได้โดยไม่ยาวเกินไป จะเป็นบันทึกต่อบันทึก โดยอาจจะตั้งเป็นชุมชนทางปัญญา แล้วทุกคนที่จะ Share ต้องเปิด Blog เป็นของตนเองก่อน แล้วค่อยนำ Blog เข้าร่วมชุมชนครับ

สวัสดีครับชาว Blog


ผมขอขอบคุณลูกศิษย์ทุกท่านที่กรุณาเป็นแนวร่วมกัน( join blog ) ซึ่งช่วงหลัง ๆ ก็มีคุณบงกชที่กล้าที่จะเขียนถึงอาจารย์และก็เขียนได้ดี ผมคิดว่า..ใครที่ไม่รู้จักผมดีอาจจะคิดว่าผมอยู่สูง หรือไม่ติดดิน หรือเข้าหาลำบาก จริง ๆ แล้ว ณ วันนี้ผมถือว่าผมไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับเอาประสบการณ์ เอาความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างคุณภาพของมนุษย์ ก็หวังว่าดร.ชวินจากสถานทูตไทยที่ประเทศสิงคโปร์และท่านทูตเฉลิมพลจะกรุณาอ่านและ join เข้ามา ท่านทูตกรุณามาต้อนรับและเลี้ยงอาหารผมในช่วงที่ผมอยู่ที่สิงคโปร์ด้วย ท่านทูตเป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจและเป็นพวกชอบหาความรู้ เพิ่งทราบว่าสิงคโปร์เขาเอาจริงเรื่องสถาบันแบบ HRI (Human Resource Institute) แต่ช้ากว่าผมแค่ 25 ปี เพราะเราตั้ง HRI ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาเรียกองค์กรของเขาว่า “Singapore Human Resource Institute” และมีประธานเป็นนักการเมืองซึ่งในวันที่ 29 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2549 นี้ก็จะมีการประชุม World Congress เรื่อง HR โดยเฉพาะที่ Singapore ชื่อเหมือน ๆ เราเลย เห็นมั๊ยครับ HR คือ Strategy คือมูลค่าเพิ่ม แม้กระทั่งประเทศที่บ้าคลั่ง “คน” มากก็ยังตามประเทศไทยในเรื่องการจัดตั้งวถาบันดังกล่าว
ผมได้รับโทรศัพท์จากคุณยมลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก็ขอขอบคุณที่ให้ความเอาใจใส่ สำหรับลูกศิษย์ท่านใดที่ไม่ได้เจอผมก็ยังสามารถติดตามงานและแนวความคิดของผมได้จาก 3 ทาง คือ
·         รายการวิทยุ “Knowledge for people” ทุกวันอาทิตย์เวลา 18.00 – 19.00น. ทางสถานีวิทยุคลื่น 96.5 MHz.
·         บทความคอลัมน์ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับทุกวันเสาร์ หน้า 5 ซึ่งวันนี้ใช้ชื่อใหม่ เปลี่ยนจากชื่อเดิม “สู่ศตวรรษใหม่” ซึ่งใช้มากว่า 6 ปีแล้ว วันนี้ใช้ชื่อใหม่ว่า คอลัมน์ “บทเรียนจากความจริง” กับ ดร.จีระ เพราะเขียนให้คิดจากความจริง
·         และแน่นอนรายการโทรทัศน์ของผมเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 – 13.50น. ทาง UBC 7 (UBC News) ใคร ๆ ก็เปิดดูได้ และผมก็อยากให้คนที่ดูรายการของผมเขียน Blog ถึงผมบ้างก็จะดีจะได้ Share กันว่าผมพูดใน TV เรื่องอะไร คนที่ไม่ได้ดูจะได้มีส่วนร่วมไปด้วย รายการสำหรับวันอาทิตย์นี้พบกับผมปะทะกันทางปัญญากับไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ คุยกันเรื่องการอ่านหนังสือ น่าสนใจเพราะไปสิงคโปร์คราวนี้มีเวลาไปดูร้านหนังสือหลายร้านซึ่งประทับใจมาก เพราะสิงคโปร์มีแหล่งข้อมูลที่ดีมาก ดีกว่ากรุงเทพฯ 2-3 เท่า คือ หนังสือเขาทันสมัยกว่า มีให้เลือกมากกว่า
ผมเลยฝากผ่าน Blog ของผมไปยังคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ประธานรุ่น 2 (กฟผ.) เรื่องการเตรียมการดูงานและเข้าเรียนในห้องเรียนของ University of Melbourne ประเทศออสเตรเลียซึ่งทางมหาวิทยาลัยเขาเตรียมไว้หมดแล้ว ผมถือโอกาสไปสำรวจล่วงหน้าและเนื่องจากครั้งนี้ผมจัดเป็นครั้งที่ 2 ก็เลยมีประสบการณ์มากขึ้น ต้องขอยกย่อง Mr. Stephen Bell ซึ่งเป็น Partner ของผมที่ได้แนะนำคุณสุนี สถาพร ซึ่งทำงานอยู่ที่ Melbourneมา 20 ปี เธอเป็นผู้หญิงไทยที่เก่งมากช่วยประสานงานให้เราอย่างดีเยี่ยม คือ นอกจากโปรแกรมการเข้าเรียนที่ University of Melbourne แล้ว เรายังจะได้พบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐวิกตอเรียที่นำเอาไฟฟ้า ซึ่งระบบไฟฟ้าที่นี่เขาสุดโต่งเลย คือ ขายให้เอกชนไป 100% แล้ว ของเราตอนจะเข้าตลาดหุ้น กฟผ. ทำแค่ Corporatization คือ ขายหุ้น 25% ให้แก่เอกชน สรุปว่าในประเทศออสเตรเลีย บางรัฐก็ยังเป็นระบบแบบ กฟผ. อยู่ บางรัฐก็ไปเป็นเอกชนเรียบร้อยไปแล้ว เราจะศึกษาได้ว่าถ้าเราจะเดินหน้าต้องระวังอะไร
สำหรับกำหนดการไปทัศนศึกษาดูงานที่เมลเบิร์นในระหว่างวันที่ 21 – 28 พฤษภาคม 2549 นี้ ท่านรัฐมนตรีของรัฐวิกตอเรียก็จะมาพบกับคณะของ กฟผ. ด้วย ซึ่งการที่ผมไปสำรวจมาก่อนในครั้งนี้ได้มา เห็นการเตรียมการที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการและการดูงานที่ดี ขณะเดียวกันทางรัฐวิกตอเรียก็สนใจประเทศไทย เขาจะขอให้ตัวแทนจาก กฟผ. สรุปงานของ EGAT ให้ฟังและมา Share กันเพื่อเป็นแนวร่วมกันต่อทั้งภาคธุรกิจ ราชการชั้นผู้ใหญ่รวมได้ถึงระดับการเมืองด้วย
ที่รัฐวิกตอเรียนี้เขาใช้พลังไฟฟ้าจากถ่านหิน เขาเรียกว่า Brown Coal คล้าย ๆ กับลิกไนท์ของไทย ผมมีโอกาสไปดูโรงไฟฟ้า 3 - 4 แห่งที่ใช้ถ่านหิน ซึ่งอาจจะเป็นจุดที่กฟผ. ต้องสนใจและเตรียมการในอนาคต
กลุ่มต่อไปที่ผมคาดว่าจะพาไปน่าจะเป็นระดับนายกเทศมนตรีของไทย เพราะรัฐบาลท้องถิ่นของ Victoria ที่ Melbourne เก่งมากเรื่อง Local Government
วันที่ 17- 18 พฤษภาคมนี้ผมจะไปบรรยายที่ Marketing Guru 2 วันก็คงจะได้ลูกศิษย์เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน และก็คงได้มา join blog กับพวกเรา

สวัสดีครับ คิดถึงทุกคน

เรียนที่อาจารย์ที่เคารพ

          ดีใจที่ได้รับคำอนุมัติเข้าร่วมบล๊อก และขอบพระคุณที่อาจารย์ให้การสนับสนุนบุคลากรสายสนับสนุน ทุกครั้งที่มาประชุมสภามหาวิทยาลัยท่านมาให้ความรู้ กับพวกเราทุกเดือนทำให้มีแรงขับในการพัฒนาตนและพัฒนางาน และดีใจยิ่งขึ้นได้พบกับอาจารย์ทุกวันในบล๊อก  สิ่งหนึ่งที่ต้องการทราบคือความเป็นวิทยากรที่มีพลังเวลาพูด  เวลาเสนอประเด็นที่ชัดเจน ท่านอาจารย์มีวิธีการอย่างไร      ตอนนี้ศิษย์กำลังฝึกอย่างหนึ่งที่อาจารย์บอกทุกครั้งคือการอ่าน 

     เดือนหน้าคงได้เรียนรู้เกี่ยวกับเมือง เมลเบิร์น หวังว่าอาจารย์จะนำความรู้มาฝากลูกศิษย์ด้วยนะคะ

    ขอบพระคุณล่วงหน้า

          ดิฉันเป็นศิษย์รุ่นที่ 3 การได้รับการเข้าอบรม 7 Habits ของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทุกครั้งที่ท่านอาจารย์มาเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านและรับฟังวิชาการที่เป็นคุณประโยชน์นำมาช่วยในการทำงานให้มีคุณค่าในงานและผู้ปฏิบัติด้วยเสมอ ตั้งแต่ได้มีโอกาสสัมผัสกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่ท่านให้เป็นวิทยาทานกับศิษย์ในรุ่นที่ 3 พร้อมได้รับคำชื่นชมทุกครั้งที่ได้พบเสมอ เป็นความปราบปลื้มที่ผู้น้อยแอบเก็บเอามาสะสมไว้เป็น บัญชีออมใจและจะเพิ่มดอกเบี้ยทุก ๆ วัน โดยการเป็นผู้ให้และเสียสละเวลาเพื่อผู้ด้อยโอกาสกว่าอย่างเสมอต้น-ปลาย การที่ดิฉันเป็นอย่างนี้ได้เพราะการได้มีโอกาสเรียนรู้และเป็นศิษย์ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยังมีหลาย ๆ เรื่องที่บางครั้งยังไม่ได้ผ่านเข้ามาหรือบางครั้งที่มองผ่านไปเพราะโอกาสไม่มี  สิ่งหนึ่งที่ดิฉันยังไม่ได้เรื่อง คือ อ่อนด้านภาษาอังกฤษ เรื่องการเขียนพอใช้แต่เวลาพูดคุยกับชาวต่างประเทศ เรารู้พูดอะไร แต่สื่อสารไม่เข้าใจ ขอคำแนะนำทำอย่างไรจะสื่อสารได้เข้าใจนะคะ

          ล่าสุดได้รับความรู้จากท่านการเป็นผู้นำ  จะมีวิธีการสร้างให้ตัวเราเป็นผู้นำประเภทไหน จะยึดเอาทฤษฎีใดมาใช้ ค่อนข้างลำบากใจมากเลยเพราะตัวตนของดิฉันไม่ใช่เป็นผู้นำ มักจะเป็นผู้ตามที่ดีมากกว่า ณ ปัจจุบันเขาสมมติให้ดิฉันเป็น หัวหน้ากลุ่มงานบริหารและการจัดการ กลุ่มนี้ลักษณะงานเป็นการเน้นการบริการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานสารบรรณ การเจ้าหน้าที่ การจัดการด้านบริการโสตทัศนูปกรณ์ การจัดการด้านอาคารสถานที่และยานพาหนะ การจัดการด้านประชาสัมพันธ์ และบริการด้านสังคม เป็นต้น ล้วนแต่ใช้การบริการนำเสมอ ผู้ที่ร่วมลงเรือลำเดียวกันและแล่นสู่นาวาสายเดียวกัน ล้วนเป็นกลุ่มคนรุ่นเดอะและดื้อรั้น อายุ 50 ขึ้นเป็นส่วนใหญ่  มีความเป็นผู้นำสูงทุกท่าน จนดิฉันยอมแพ้และวางเฉย ปล่อยให้ทุกท่านแสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมา บางท่านก็คงแก่ด้วยทฤษฎี และบางท่านก็แก่เพราะอายุ เมื่อดิฉันได้รับความรู้เรื่อง ภาวะผู้นำ ใช่เลย ดิฉันเป็นผู้นำที่สร้างบรรยากาศให้ทุกคนพอใจที่จะอยู่และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข (Charismatic) แต่อย่างไรก็ตามในการทำงานร่วมกัน ก็เปรียบตัวเราเป็นเรือ ก็ต้องมีหัวเรือ ท้ายเรือ เรือจะเคลื่อนที่ได้ก็ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาช่วย อาทิเช่น คน อุปกรณ์ที่นำมาช่วย  เช่น พาย เครื่องยนต์ เป็นต้น  ดังนั้นทุกสิ่งที่อยู่ร่วมกันไม่ว่าจะมีชีวิต(ลมหายใจ) หรือไม่มีชีวิต(ไม่มีลมหายใจ) ล้วนแต่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ฉะนั้นในการทำงานที่จะไปถึงเป้าหมายเดียวกันได้และไปในทิศทางเดียวกันด้วย ต้องมีผู้ที่เสียลละทีจะเป็นผู้กล้าเสี่ยงเป็น เสี่ยงตายก่อน และผู้นั้นจะถูกเรียกขานว่าเป็น "ผู้นำ" ข้อคิดเห็นของดิฉันเขียนไปเขียนมาเริ่มสับสนแล้วนะคะ ขอน้อมรับและพร้อมกล่าวคำขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านเสียสละเวลาอันเป็นเงินล้านมาให้โอกาสกับผู้น้อยได้รับความรู้ที่เกิดจากความจริงและประสบการณ์ที่หาจากทฤษฎีไม่พบ

ยม นาคสุข "สัปดาห์แห่งความปลื้มปิติของปวงชนชาวไทย"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/ผู้สนใจสะสมทุนทางปัญญา และท่านผู้อ่านทุกท่าน


ขณะนี้ ผมเชื่อว่าคนไทยทั่วหน้า ล้วนมีความปิติยินดีและร่วมถวายความจงรักภักดี ด้วยการมุ่งมั่นทำความดี ในวโรกาสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติมานานครบ 60 ปี ผมได้อ่าน น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 3 มิ.ย. “บทเรียนจากความจริง”


ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพระปรีชาสามารถ แนวทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของพระองค์ท่าน ซึ่งพวกเรา บรรดาลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ  และคนไทยทั้งปวง น่าจะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เพื่อเจริญลอยตามฝ่าพระบาทฯ  รายละเอียดของบทความเป็นอย่างไร ผมได้ Copy มาไว้ในตอนท้ายของ Blog นี้


ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก ท้ายนี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว


สวัสดีครับ


ยม
น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(กทม.) 2

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

สัปดาห์แห่งความปลื้มปีติ
ของปวงชนชาวไทย
[1]
โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์
(คัดมาจาก น.ส.พ.แนวหน้า วันที่ 3 มิ.ย. 2549)

สัปดาห์นี้คงไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทย


งานเฉลิมฉลองดังกล่าว คงไม่ใช่แค่มีพระราชพิธีเท่านั้น ผมคิดว่า ถ้าเราจะคิดสะท้อนพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านว่า ได้ทรงสะสมความรู้ แสวงหาความรู้โดยตลอดมา ( Acquired ) แบ่งปันให้คนไทย (Share) และนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนคนไทยอย่างไร บทเรียนดังกล่าวควรจะสอนให้คนไทยได้เรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน เป็นการสร้างสังคมการเรียนรู้ไปด้วย


สิ่งแรกที่น่าจะพูดถึงคือ วิธีการหาความรู้ของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านคิด พระองค์ท่านทรงศึกษามาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบตำราอย่างเดียว แต่ทรงนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา apply กับสถานการณ์ความจริง แก้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยทำอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าว เรียกว่าทฤษฎีข้ามศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ของพระองค์ท่านนั้นผสมผสานกับนิติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ ซึ่งบทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ เพราะคนไทยมักจะรู้เฉพาะทาง และสนใจในเรื่องที่ตัวเองรู้ แต่ไม่สนใจศาสตร์อื่นๆ จึงทำให้ปัญหาบางอย่างแก้ไม่สำเร็จ

ประเด็นที่สอง พระองค์ทรงเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะปัจจุบันความรู้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา หรือที่มีความจริงหนึ่งบอกว่า "ในอดีต ทุก 300 ปี ความรู้จึงจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่ปัจจุบัน ความรู้เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 2 ปี" ความรู้ของพระองค์ท่านเป็นความรู้ที่สด และทันสมัยเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือภัยธรรมชาติ

อีกประการหนึ่งคือ วิธีการเรียนรู้ของพระองค์ท่าน คือพระองค์ท่านเป็นกษัตริย์ที่สนใจ IT และ Internet ตั้งแต่แรก ปัจจุบันยังมีคนไทยจำนวนมากที่ยังใช้ Internet ไม่เป็น แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน นอกจาก IT แล้ว พระองค์ท่านทรงอ่านหนังสือหลากหลายชนิด ที่สำคัญ ทรงฟังวิทยุ และวิทยุสื่อสารของราชการ พระองค์ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดเวลา เห็นได้จากเวลาเสด็จฯทรงเยี่ยมราษฎร หรือเปิดงาน ทรงสนทนากับผู้รู้เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างสนพระทัย ด้วยการรับฟังปัญหาจากประชาชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ทำให้งานของพระองค์ไปสู่ความสำเร็จอย่างสูง เพราะพระองค์ทรงคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ไม่เหมือนกับผู้ที่มองตัวเองเป็นหลักว่าตัวเองได้อะไร ไม่ค่อยจะถามว่าประชาชนได้อะไร


สุดท้ายทฤษฎีเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย


ถึงแม้ว่าหลายคนคิดว่า เศรษฐกิจ Knowledge based society ของตะวันตก จริง ๆ แล้ว น่าจะพูดได้ว่ามาจากพระองค์ท่านก่อน เพราะอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หรือเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ พระองค์ท่านได้ทรงทดลองเก็บข้อมูล จากศูนย์ศึกษา 6 แห่งของท่าน คือ

  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส

    และค่อย ๆ นำมาเป็นข่าวสาร มาเป็นฐานความรู้ และนำไปใช้ ในที่สุดไปสู่ Wisdom   การที่พระองค์ท่านทรงได้ความรู้ดังกล่าว ก็คือข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์ หลายครั้งหลายหน จนเป็นที่แน่ใจแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วงสัปดาห์นี้ ประชาชน คนทั่วโลกจะได้เรียนรู้แนวคิดและปรัชญาของพระองค์ท่านมากขึ้น ไม่ใช่มองเพียงแต่รางวัล Human Development Prize ได้รับการถวายจากองค์การสหประชาชาติ โดยโคฟี อันนัน เท่านั้น นับเป็นเกียรติประวัติที่คนไทยภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

    ผมเชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านจะขยายวงเป็นที่แพร่หลายไปในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    การขยายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปต่างประเทศ ขอพูดในส่วนที่ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้ทำไป และเป็นรูปธรรมชัดเจน

    เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เริ่มไปทำการทูตภาคประชาชนที่กัมพูชา เป็นประเทศแรก ได้เริ่มการสร้างสังคมการเรียนรู้ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งแรกมีองคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย ไปร่วมบรรยายที่พนมเปญ และได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประชาชน และเกษตรกรของกัมพูชารวมทั้งหมด 4 ครั้ง

    หลังจากนั้นได้ไปทำสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่พม่า เน้นเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้พม่าเดินสายกลาง มองการขยายตัวเรื่องการท่องเที่ยว ตัวอย่างที่ไม่ดีของไทยคือ ขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ได้รับการยอมรับมากในประเทศพม่า และจะทำต่อในปีนี้

    นอกจากนี้ ผมยังได้ไปทำการบรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับประเทศจีน เมืองคุนหมิง โดยได้เชิญ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ไปร่วมการบรรยายด้วย ได้รับการยอมรับจากประเทศจีนอย่างสูงในครั้งนั้น

    ส่วนในเดือนหน้า จะจัดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศเวียดนาม


    เรื่อง APEC ซึ่งผมเป็นประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Working Group) ผมเคยนำผู้แทน APEC ไปดูงานที่เขาหินซ้อน เมื่อมีการประชุมประจำปีของคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ APEC ครั้งที่ 27 วันที่ 20-24 มิถุนายน 2548 ที่พัทยา ซึ่งทำให้ผู้แทน APEC ได้เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้ง

    สุดท้ายนี้ ผมเพิ่งกลับมาจากการประชุม APEC SOM II ที่ Ho Chi Minh ได้รายงานให้ที่ประชุมว่า ในการประชุม HRD Minister ครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดที่กรุงเทพฯ ในปลายเดือนตุลาคมนี้ จะมีการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ในเรื่องพระเจ้าอยู่หัวกับ HRD ซึ่งทาง APEC ได้เห็นชอบและอนุมัติ แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของคนไทยเป็นบุคคลที่โลกยอมรับอย่างแท้จริง

    ดังนั้น คนไทยควรต้องศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านอย่างรอบคอบชาวต่างชาติ ให้ความสนใจปรัชญาดังกล่าว รวมทั้งนักวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่ง เป็นมุมมองที่ทำให้โลกอยู่ได้อย่างยั่งยืน ยิ่งนับวัน ภัยธรรมชาติคุกคามมนุษย์เรา ยิ่งต้องเดินสายกลาง

    ผมวิงวอนให้คนไทยในสัปดาห์นี้ ตั้งใจที่จะหาความรู้ในปรัชญาของพระองค์ท่าน ศึกษาให้แท้จริง และนำความรู้มาใช้ เพราะปรัชญาดังกล่าว จะช่วยให้โลกเดินสายกลางและทำให้ประชากรโลก ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และจะทำให้โลกของเรายั่งยืน


    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    จีระ หงส์ลดารมภ์

    [email protected]
    โทร.
    02-273-0180, 0-2619-0512-3
    โทรสาร
    0-2273-0181

ยม "การทูตภาคประชาชน/Talent Management ของ ศ.ดร.จีระ/ น.ส.พ.แนวหน้า, 10 มิ.ย. 2549 "

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมติดตามสาระน่ารู้จาก ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2549 อาจารย์เขียน บทความเรื่อง "การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์" มีสาระน่าสนใจมากครับ ผมอ่านแล้วจับประเด็นได้ มีดังนี้ ครับ

  • สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่ในหลวงของเรา
  • คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม ต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม
  • การสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร
  • การเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's
  • เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ
  • Talent น่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน
  • ทฤษฎี 20/70/10 ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับคนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยฯ
  • การบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น
  • และการทูตภาคประชาชน บทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และการไปเยือนลาวฯ

 

ผมอ่านแล้ว รู้สึกว่าได้สาระความรู้ และเหมือนกับได้ไปลาวกับอาจารย์ด้วย ที่น่าสนใจ มากคือเรื่องเกี่ยวกับ Talent Management ที่สั้น เข้าใจง่าย แบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งท่านผู้อ่าน หรือ นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าร่วมการอบรมกับ Asia business forum สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย

 

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านที่มีครอบครัวยังสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับ Talent Management ไปบริหารจัดการลูกหลานได้อีกด้วย เช่น ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า องค์ประกอบของ Talent มี 3 อย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน คือ KSM, knowledge(ความรู้) Skill (ทักษะ ความชำนาญ) Mindset (ทัศนคติ) 3 อย่างนี้ ท่านสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างบุตรหลานของท่าน ให้เป็นมรกดกแก่แผ่นดินได้ เป็นอย่างดี

 

ส่วนการทูตภาคประชาชน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างทุนทางสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่าย สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ได้ รายละเอียดบทความของ ศ.ดร.จีระ ในเรื่อง ดังกล่าว ผมคัดมาให้ไว้ตอนท้ายนี้ครับ

 

ขอให้ท่านโชคดี

 

สวัสดีครับ

ยม

 

การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์ *

 

สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์มหามงคลแห่งความปลื้มปีติของคนไทย นอกจากที่สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่พระองค์ท่านแล้ว ยังมีรางวัลของ European Union เรื่องสิทธิบัตร "ฝน หลวง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวง ชนชาวไทย ในยุคโลกไร้พรมแดนนี้

 

ในสัปดาห์นี้ สีเหลืองเป็นสีที่ทุกคนภาคภูมิใจและหล่อหลอมรวมดวงใจของคนไทยด้วย แต่มีพ่อค้าบางคนยังเอาเปรียบสังคม ขายราคาแพง ยุคนี้คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม จริยธรรม หากรัฐบาลใดยังเน้นเรื่อง growth การเจริญเติบโต เรื่องความร่ำรวย การบริโภคนิยม และวัตถุนิยม โดยไม่มองมิติอื่นๆ ก็จะทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง เพราะแข่งขันกัน และเอารัดเอาเปรียบกันตลอดเวลา ยิ่งนานไป เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียนราคาแพง ให้คนไทย ฉะนั้นคนไทยต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม ในที่สุดแล้ว ความดีน่าจะสำคัญกว่าความเก่ง ซึ่งไปเพิ่ม ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมคงไม่ได้

 

ช่วงนี้ คนไทยทุกคนควรจะต้องปรับตัว และคิดให้รอบคอบว่าอะไรจะเกิดกับสังคมไทย ระหว่างที่อ่านบทความนี้เป็นช่วงที่หยุดหลายวัน นอกจากพักผ่อนแล้วก็ขอความกรุณา สนใจข่าวสารและเรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย

 

เพราะอีก 2 -3 สัปดาห์ข้างหน้าคงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองรุนแรงต่อไป และคงจะเป็น การต่อสู้ที่กำหนดอนาคตของประเทศไทย คนไทยต้องเฝ้ามอง ระวังและตั้งสติให้ดี สัปดาห์นี้ ผมทำงานใหญ่หลาย

 

เรื่อง เรื่องแรกคือ ในการสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปแสดงความคิดเห็นด้วย การประชุมเช่นนี้ น่าสนใจที่ว่า ผู้ที่ไปร่วมประชุมจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับค่อนข้างสูงของธุรกิจใหญ่ บางแห่งเป็นธุรกิจ ระหว่างประเทศที่เริ่มเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์และเน้นทรัพยากรมนุษย์เป็น ยุทธศาสตร์มากขึ้น

 

ผมเน้นว่าการเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's ด้วย เพราะฉะนั้นการมีผู้แสดง ความเห็นจำนวนมาก แต่คนละแนว บางครั้งจะได้ประโยชน์ไม่มาก เพราะได้แต่ความคิด แต่ไม่ได้ ปะทะกับความจริง ทฤษฎี 2 R's และไม่ตรงประเด็น เป็นแบบดาวกระจาย แทนที่จะเน้นการเรียน เป็น team work ผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง แต่ก็เห็นความสนใจของผู้ฟังที่อยากจะออกความเห็น และ อยากเอาไปใช้ share ความรู้ให้มากขึ้น

 

เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity ซึ่ง Talent ก็คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง แต่ที่สำคัญสุดก็คือ

- องค์กรต้องปรับตัวและแข่งขันมาก ( Change and Innovate )

- customer ในโลกมีความคาดหวังสูง สลับซับซ้อน และมีประสบการณ์ในการบริโภค มายาวนาน

- สินค้าและบริการมีวงจรสั้นลง ต้องปรับตัวทั้งการผลิตและการบริการให้รวดเร็วอยู่ ตลอดเวลา วงจรจะสั้นลงเรื่อยๆ

- สุดท้าย Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ เพราะ performance ผลประกอบการใน การทำงานมี Benchmark มาตรฐานอันเดียวคือ Global benchmark

มาตรฐานโลก คือ มีการแย่งตัวกันระดับระหว่างประเทศ

 

สรุป Talent ในความเห็นของผมน่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น )

- skill

- ความรู้

- ทัศนคติ mindset

 

คนที่จะทำงานสำเร็จได้จะต้องเป็นคนที่มีหลายๆอย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน Talent ที่ดี ทำงานคนเดียวไม่ได้ ผมยกทฤษฎี 20/70/10 มาให้ดูว่า ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับ คนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยคือถ้า 20% เป็น Talent อีก 70% จะต้องพัฒนาด้วย และอีก 10% ที่ไม่เอาไหน จะต้องดูแลว่าจะให้เขาอยู่อย่างไร และสุดท้ายการบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น

1) หาได้อย่างไร

2) เก็บรักษาได้อย่างไร

3) บริหารไปสู่ High performance ผลการทำงานอย่างไร

 

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจคือ การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ระดับชาติของไทยได้ไปจัดงานคืนสู่เหย้าที่ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อคืนวันที่ 6 มิถุนายนที่ ผ่านมา เพราะมหาวิทยาลัยขอนแก่นผลิตบุคลากรคนลาว ที่จบระดับปริญญาทั้งตรี โท เอก ประมาณ 200 คนและมีตำแหน่งสูงในประเทศ หากนับคนลาวที่มาเรียนหลักสูตรระยะสั้นอีก ก็มี ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ซึ่งได้จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อธิการบดี ดร.สมกต มังหน่อเมฆ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของลาวมาร่วมงานด้วย

 

ฝ่ายขอนแก่นนำโดยนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พลตำรวจเอกเภา สารสิน ได้ร่วมกัน จัดพบปะศิษย์เก่ากว่า 300 คนในคืนนั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ โดยมีท่านทูต ไทย คุณรัฐกิจ มานะทัต ซึ่งเป็นทูตที่ให้ความสนใจเรื่องการทูตภาคประชาชน แสดงความเห็นเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย /ลาว ร่วมกัน ชี้ให้เห็นถึงการทูตภาคประชาชนยุคใหม่ ซึ่งมี ภาควิชาการมาร่วมทำงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

แนวคิดทางการทูตภาคประชาชน เป็นแนวคิดที่ปฎิบัติได้ และจะช่วยทำความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้ใจ trust ระหว่างกัน เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศลาวได้ประท้วงผู้สร้างหนัง ไทย " หมากเก็บ โลกตะลึง " ที่ไม่ได้มองความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คนไทย มักจะดูแคลนว่าประเทศลาวยากจน โดยไม่ได้คิดลึกซึ้งในด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำหน้าที่การทูตภาคประชาชนต่อไป และ คงขยายความร่วมมือไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นด้วย เช่น พม่า เขมร จีน เวียดนาม รวมทั้ง มาเลเซีย

 

อนาคต รัฐบาลไทย น่าจะเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลของลาว ให้ส่งนักศึกษามาเมืองไทยมากขึ้น และในระดับปริญญาเอกมากขึ้นด้วย และไปช่วยสร้างอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวด้วย จะสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ผมในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้คิดเรื่องการทูตภาคประชาชน ซึ่งได้ทำอยู่ตลอดเวลาในนามของ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย/ ลาว น่าจะเป็นบันไดไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก็เป็นการ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของสองประเทศด้วย ซึ่งในคืนนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมของทั้งสอง ประเทศรวมกันอย่างสวยงาม โดยการรำวง

 

ผมภูมิใจมากครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์ [email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

 ------------------------------------------

*คัดมาจาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97

เรียน นายชาญชัย ประธานศาลฎีกา
เรียน นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ผมขอแสดงความเห็นแย้งกับคุณครับ เรียน นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ  – ผมขอแสดงความเห็นแย้งกับคุณครับ

ไม่ใช่การท้าทายอำนาจศาล เพราะผมวิจารณ์บันทึกของคุณที่เขียนเท่านั้น ขอให้คุณและวิญญูชนโปรดอ่าน และร่วมกันกระทำการใด ๆ ที่จะช่วยกันไม่ให้ประเทศชาติตกต่ำและเศร้าหมองไปกว่านี้อีกเลย

ประเด็น ที่ 1: การตีความรัฐธรรมนูญ

ชาญชัย: ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 เวลา 09.30 น. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 138 (2) บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่จะพิจาณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งเสนอต่อประธานวุฒิสภา จึงเป็นกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาดำเนินการได้เองตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาต้องดำเนินการตามที่มีการร้องขอ

โรดัก: ทำไมคุณถึงมองในแง่อย่างนี้ มาตรา 138 (2) ระบุไว้ชัดเจนว่าให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้งจำนวนห้าคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อม ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นในรัฐธรรมนูญ ระบุชัดขนาดนี้ ประธานวุฒิสภา ก็ทำหนังสือมาถึงคุณอย่างชัดเจน หรือต้องให้รัฐธรรมนูญระบุไว้เลยว่าศาลฎีกาต้องดำเนินการตามที่มีการร้องขอทั้งที่ระบุไว้แล้วว่าให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้งจำนวนห้าคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา

การตีความของคุณเช่นนี้ ผมไม่เห็นด้วย และรู้สึกว่าน่าจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ



------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 2: ศาลฎีกาไม่ได้มีอำนาจเหนืออำนาจอื่น

ชาญชัย:แต่ในเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะว่างเว้นรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสงวนรักษาระบอบการปกครองและความสงบสุขแห่งราชอาณาจักรไว้ พระมหากษัตริย์ย่อมทรงใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านทางศาลได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสแก่ประธานศาลปกครองสูงสุดและประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ดังนั้น การปฏิบัติภารกิจของศาลตามที่ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมมา จึงเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

โรดัก: คุณพูดได้อย่างไร มาตรา 3 ระบุไว้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ระบุไว้อย่างที่คุณพูดเลย

1.
เราไม่ได้ว่างเว้นรัฐสภา  นายสุชนและคณะสมาชิกวุฒิสภา ก็ยังทำหน้าที่ คุณก็ยังตอบหนังสือนายสุชนอยู่เลย

2.
ครม. แม้ลาออก ก็ยังรักษาการอยู่ ไม่ได้ตกเครื่องบินตายทั้งคณะสักหน่อย

การที่คุณอ้างอย่างนี้ เป็นการทำให้อำนาจศาลฎีกา ก้าวก่ายอำนาจของศาลอื่น ของฝ่ายนิติบัญญัติ (สภา) และของฝ่ายบริหารหรือไม่ ขอให้คุณทบทวนให้ดี และลำพังเพียงมาตรา 3 ที่มีข้อความสั้นที่สุดและชัดเจนที่สุดเช่นนี้ ยังมีการตีความเป็นอื่นไปได้ ผมจึงเกรงว่า การนี้อาจทำให้คุณเสียความมีสง่าราศรีได้



------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 3: คำปฏิญาณไม่ได้มีไว้ละเมิดอำนาจอื่น

ชาญชัย: ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้พิจารณาการสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 2 คน แล้วเห็นว่า ในการพิจารณาดังกล่าวที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและนำมาซึ่งความผาสุกของอาณาประชาราษฎร ทั้งต้องคำนึงถึงพันธกิจของผู้พิพากษาและตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งปรากฏในคำถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา 252…”

โรดัก: ผมรู้สึกคุณอ้างรัฐธรรมนูญอยู่หลายหนแล้ว มาลองดูนะครับ มาตรา 252 ระบุไว้ว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวาย สัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้ ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและความสงบสุขแห่งราช อาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ’”

นี่เป็นคำปฏิญาณที่ผู้มีอาชีพเป็นผู้พิพากษา คุณเอามาอ้างอิงได้อย่างไร ในอาชีพอื่นที่เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ทหาร ก็มีคำปฏิญาณ เช่นกัน คำปฏิญาณนี้มีความหมายลึกซึ้งสุดประมาณสำหรับผู้พิพากษาเพื่อให้เที่ยงธรรม ซึ่อตรง แต่ไม่ได้ระบุไว้เลยว่า ให้คุณมีอำนาจล่วงล้ำอำนาจอื่น ผมเห็นว่า คุณไม่ควรนำคำปฏิญาณศักดิ์สิทธิ์นี้มาอ้างอิงเพื่อสนับสนุนความเห็นของคุณแต่อย่างใด



------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 4: คุณอย่าใช้ความรู้สึก

ชาญชัย: ดังนั้น เมื่อปัจจุบันประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเมือง ประชาชนแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย ไม่รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน มีผลกระทบกระเทือนต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและความผาสุกของอาณาประชาราษฎรอย่างรุนแรง จึงนับเป็นสถานการณ์พิเศษที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาต้องพิจารณาด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยมองผลที่จะตามมาในอนาคตด้วย

โรดัก: เป็นธรรมดาที่คนมีความเห็นต่างกันนะครับ แต่ไม่ได้วิกฤติอะไรที่ไหน ชาวบ้านก็อยู่กันตามปกติ การเลือกตั้งที่ผ่านมา คุณอาจเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่คงเป็นไปไม่ได้นะครับว่า รัฐบาลโกง โปรดเกรงใจเสียงส่วนใหญ่ 16 ล้านเสียง ที่เหนือ เสียง 8 ล้านเสียงที่ “no vote” บ้างนะครับ คนส่วนใหญ่ล้วนเลือกคุณทักษิณและ ทรท. ขณะนี้ถือว่าประเทศชาติสามัคคีกันที่สุดก็ว่าได้ สมัยก่อนเลือกตั้งไม่มีเลยที่พรรคใดจะชนะใจประชาชนได้เท่านี้ มีเพียงยุคสมัยของคุณทักษิณนี่แหละที่คนไทยสามัคคีกันอย่างที่สุด

คุณควรทบทวนให้ดีว่า คนไทยไม่ได้แตกแยกเป็นก๊กเป็นฝ่ายเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก และถ้าเป็นในต่างประเทศ แม้ชนะกันเพียงเฉียดฉิวเช่นสมัย บุช กับ อัลกอร์ แล้วล่ะก็ บุช ก็ยังได้รับเลือกเลยครับ และคุณควรดีใจที่ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิออกเสียงและออกมาเลือกตั้งถึงสองในสามที่เลือกคุณทักษิณ (16 ล้านเสียง  :  8 ล้านเสียง) จากคุณ : โรดัก - [ 2 มิ.ย. 49 10:58:29 ]

 

 
 

ความคิดเห็นที่ 1

------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 5: การให้ร้าย กกต.

ชาญชัย: “….การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม หมายความว่าไม่ตั้งตรงใจความเป็นธรรม ซึ่งหมายความอยู่ในตัวว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ประกอบด้วย พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ นายวีระชัย แนวบุญเนียร และพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ ไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง ย่อมขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136…”

โรดัก: ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 9/2549 ลว. 8 พฤษภาคม 2549 หน้า 52 (http://www.concourt.or.th/04decis/contents/decis49/center9_49.pdf) ระบุไว้ชัดเจนเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้ง และการหันคูหาออกเท่านั้นว่าผิด โดยพิพากษาด้วยคะแนน (8 : 6)  ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ระบุเลยว่า กกต. เข้าข้างใครเลย  คุณชาญชัย ทำไมคุณถึงกล้าตีความถึงขนาดว่า กกต. ไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง ย่อมขาดคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136…” คุณอ้างรัฐธรรรมนูญ ม.136 ออกมาใช้ผิดกาละเทศะ และเป็นการให้ร้ายผู้อื่นเช่นนี้ได้อย่างไร

กกต. ทั้ง 3 ท่านที่คุณกล่าวถึง ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างถูกต้อง (ไม่เคยมีคำครหา เช่น กรณีคุณหญิงจารุวรรณ) และได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง การกล่าวเช่นนี้ของคุณ ควรได้รับการทบทวนไหมครับ นอกจากนี้ที่ผ่านมา กกต. ก็ทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ซื่อตรง ให้ใบแดงแก่ทุกฝ่าย เพียงแค่ครั้งนี้ที่หันหน่วยเลือกตั้งออกมา (ตามที่ประเทศอื่นก็ทำ) ก็จะหาว่า กกต. ผิดจนต้องลาออกเลยหรือครับ



------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 6: คุณอ้างรัฐธรรมนูญในมาตราที่ไม่เกี่ยวข้อง (อีกแล้ว)

ชาญชัย:ซึ่งจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามมาตรา 268”

โรดัก: มาตรา 268 ระบุว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐผมขอโทษนะครับ ผมว่าคุณอ้างรัฐธรรมนูญค่อนข้างเปลืองเกินไปโดยไม่จำเป็นนะครับ  อาจทำให้ผู้คนเข้าใจเป็นอื่นได้ ในทำนองที่ชาวบ้านเรียกว่าชักแม่น้ำทั้งห้า

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไรถือว่าเด็ดขาด ข้อนี้แน่นอนเลยครับ แต่กรณีนี้ไม่ได้วินิจฉัยเลยว่า กกต. ต้องออก | แต่คุณจะให้ กกต. ออก นี่แสดงว่าคุณก้าวล่วงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ครับ | คุณกำลังพูดในสิ่งที่คุณไม่มีอำนาจใช่ไหมครับ



------------------------------------------------------------------------------



ประเด็นที่ 7: คิดแบบ ศาลเตี้ย

ชาญชัย: หากบุคคลดังกล่าวที่เหลืออีก 3 คน ยังคงใช้อำนาจหน้าที่ของกรรมการการเลือกตั้งต่อไป การดำเนินการและการกระทำต่างๆ ก็จะมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายอย่างไม่สิ้นสุด การที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะเสนอชื่อผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง กระทั่งที่สุดมีการแต่งตั้งกรรมการการเลือกตั้งเพิ่มเติมอีก 2 คน ย่อมไม่สามารถเยียวยาปัญหาความชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวได้

โรดัก: ผมคงต้องขอให้คุณกลับไปอ่านรัฐธรรมนูญ ม.141 นะครับว่า กกต. จะออกได้ในกรณีใด | ถ้าศาลไม่ได้พิพากษาว่าให้ กกต. ออก  กกต. ก็ไม่ต้องออก  | การพิพากษาว่า การดำเนินการไม่ถูกต้อง ไม่ได้หมายความว่า กกต. ต้องออกนะครับ  และนี่คือสาเหต
เห็นด้วยกับความคิดนั้น ไม่รู้ใครเขียนนะ
ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

วันนี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

สวัสดีครับ

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

วันนี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

สวัสดีครับ

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย

- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273
-0181

ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

วันนี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

สวัสดีครับ

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

เข้ามาในเวป  เดี๋ยวนี้มีหลายบล็อคบางทีก็ไม่รู้จะเขียนในบล็อคไหนดี  ผมใคร่ขอแสดงความเห็นซึ่งเป็นเรื่องทั่วไป  จึงไม่ขอเขียนในบล็อค กฟผ.

ผมมีเรื่องที่น่ายินดี 2 เรื่องครับ

ประการแรกผมขอแสดงความยินดีกับ ดร.จิระ ที่ได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสมาชิก ให้เป็นคณะตุลาการยุติธรรม  สบาบันตุลาการนับเป็นสถาบันหลักหนึ่งในสามของประเทศ   เป็นสถาบันที่ยังได้รับความยอมรับนับถืออย่างสูง ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันยามที่อีกสองสถาบันมีปัญหา   สถาบันนี้จึงต้องรับพระราชดำรัสจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแก้ปัญหาของชาติ     อาจารย์จิระมีความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนาบุคคลากร หลายวงการ  สำหรับวงการตุลาการคงเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายให้อาจารย์ทำ  และผมเชื่อว่าน่าจะมีผลดีต่อการพัฒนาวงการตุลาการไม่น้อย  อย่างน้อย  บุคลากรตุลาการน่าจะมีมิติที่กว้างขวางขึ้น  ระบบคุณธรรมและอาวุโส ที่ใช้ในการบริหารบุคลากร น่าจะมีความสมบูรณ์ขึ้น  ในฐานะลูกศิษย์อาจารย์คนหนึ่ง  ก็ต้องขอแสดงความยินดีเป็นส่วนตัวกับอาจารย์เป็นพิเศษ  อาจารย์ทำให้ผมเข้าใจได้ว่างานค้นคว้าหาความรู้ไม่มีวันเกษียนจริงๆ  

    ประการที่สอง  การสรรหาและคัดเลือกตุลาการยุติธรรมครั้งนี้เป็นการดำเนินการโดยอำนาจวุฒิสมาชิก ชุดรักษาการ  การที่นักวิชาการอิสระอย่างอาจารย์ได้รับเลือก  ทำให้ผมคลายความกังวล ที่หลายๆท่านกังวลถึงการอำนาจการเมืองที่แทรกแซงกลไกองค์กรอิสระที่กำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนไม่อาจมีบทบาทดังเจนารมย์ของ สสร..... หลายท่านเคยให้นิยามที่น่ากลัวของระบอบทักษิณไว้  บทบาทของท่านวุฒิสภาชุดรักษาการ จึงป็นเรื่องน่ายินดี    การดำเนินการของวุฒิสมาชิกรักษาการ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือก ปปช. และหรืออื่นๆ  ในอนาคต ก็น่าเชื่อว่าจะได้คนที่อิสระเป็นกลางทางการเมืองมาทำหน้าที่มากขึ้น ผมดีใจและสนับสนุนครับ บ้านเมืองของเรามันใหญ่โต ซับซ้อน ใครจะช่วยทำดีกันเท่าที่มีบทบาทเป็นเรื่องยินดีและสนับสนุนครับ 

 (  ปล.  แม้ว่าเราคงต้องติดตามผลงานของวุฒิสมาชิกชุดใหม่ที่จะมาทำหน้าที่ต่อไปในอนาคต  ไม่ทราบจะทิศทางไปทางใด  หวังว่าข่าวลือที่ได้ยินเกี่ยวกับว่าที่ประธานวุฒิสภาคนใหม่  คงไม่เป็นความจริง  มิเช่นนั้น ท่าน สสร.หลายท่านคงอยากเผารัฐธรรมนูญที่ท่านร่างขึ้นมาแน่ๆ )

   ครับ  นี่ก็คือเรื่องน่ายินดีของผมในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฏาคมที่อุณหภูมิการเมืองบ้านเรา  หนาวๆ ร้อนๆ พิกล   

   ยินดีกับ ดร.จิระ  อีกครั้ง

   สวัสดีครับ

   

จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อ พ. 12 ก.ค. 2549 @ 15:48 จาก 203.144.144.164   ลบ

สวัสดีครับคุณสุทัศน์และลูกศิษย์ กฟผ. ที่รักทุกท่าน

         ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณที่คุณสุทัศน์ได้ส่งข้อความผ่าน Blog we shgare ideas มาแสดงความยินดีกับตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ใหม่ของผม คือ การร่วมเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม การสรรหาและคัดเลือกตุลาการยุติธรรมครั้งนี้เป็นการดำเนินการโดยอำนาจวุฒิสมาชิก ชุดรักษาการ  การที่นักวิชาการอิสระอย่างผมได้รับเลือก  ทำให้ผมมองทางเดียวกันกับคุณสุทัศน์ว่าวุฒิสมาชิดชุดนี้ก็ยังมีความเป็นธรรม ไม่ได้มีการบล๊อกโหวตอย่างที่คนส่วนใหญ่คิดกัน

             ที่ลืมไม่ได้ผมต้องขอขอบคุณลูกศิษย์ของผมทุกคน รวมทั้งคณะผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. และทีมงานฝ่าย HR ของ กฟผ. ทุกท่านในงานวันพิธีปิดการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของ กฟผ. รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ผมรู้สึกประทับใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คณะผู้บริหารของกฟผ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกศิษย์รุ่นที่ 2 ให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลงานกลุ่ม Workshop หัวข้อ "นวัตกรรมใหม่ที่ กฟผ." และนำเสนอออกมาได้เป็นอย่างดี และมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างยิ่ง ทำให้ผมได้เห็นว่าภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือนที่เราได้เรียนรู้ร่วมกันทุกคนมีการพัฒนาในระดับที่สูงมาก ในงานเลี้ยงพิธีปิดฯ นอกจากจะมีสาระดีแล้ว เราก็ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. นำโดยท่านผู้ว่าการฯ ท่านไกรสีห์ รวมทั้งรองผู้ว่าและท่านผู้ช่วยฯ อีกหลายท่านร่วมร้องเพลงร่วมกันจนกระทั่งเพลงสุดท้าย นับเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่น่าจดจำและหาได้ไม่ง่ายนักในสังคมไทย ผมคิดว่าหลักสูตรที่เราพัฒนาขึ้นมานี้มีประโยชน์มาก ก็เลยขออนุญาติเผยแพร่ไว้ใน Blog นี้ เพื่อที่ผู้ที่สนใจจะเข้ามาศึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปด้วย

            และสุดท้ายก็จะขอฝากให้ติดตามงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งของผม คือ การผลิตรายการโทรทัศน์ 5 นาที ชุด "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์" ซึ่งมีกำหนดจะออกอากาศครั้งแรกในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคมนี้ ทาง ททบ. 5 เวลา 09.55-10.00 น. ซึ่งรายการนี้เป็นการร่วมมือกันของ 3 หน่วยงานหลักที่ สำคัญคือ 1. Chira Academy ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดย ดร.ชัยวัฒน์  พิบูลย์สวัสดิ์ และ 3. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดย ดร.จิรายุ  อิศรากูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช  พิบูลสราวุธ ที่มีจุดหมายเดียวกันคือการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้องและสร้างความเข้าใจในการเชื่องโยงสู่การใช้ทฤษฎีเศรษบกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ที่เป็นกระแสของโลกที่ทุกคนมิอาจหลีกเลี่ยงได้

               รายการนี้เป็นรายการที่น่าสนใจเพราะเป็นการนำเสนอข้อมูลจากบุคคลผู้รู้จริง และมีกรณีศึกษาที่จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการดำรงชีวิตในทุก ๆ ด้านได้อย่างเหมาะสม และผมก็จะขอถือโอกาสนี้ยกกรณีศึกษาของ กฟผ. เป็นตัวอย่างหนึ่งด้วย เพราะในอนาคตเรื่องการใช้พลังงานแบบพอเพียงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมโลกของเราและทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน

              รายการนี้ต้องถือว่าโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรใหญ่ ๆ ที่จับมือกัน และในอนาคต กฟผ. ก็น่าจะเป็นอีกหน่วยงานที่สำคัญที่ช่วยในการขับเคลื่อนให้งานนี้เกิด impact ที่ดีต่อสังคมไทยอย่างยั่งยืน

                                                                    จีระ  หงส์ลดารมภ์
สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ผมไม่ได้เข้ามาเขียนในBlock ร่วมเดือน  เนื่องจากเดินทางไปต่างประเทศ  และมีภารกิจมาก  แต่ก็ติดตามBlock มาโดยตลอด

นับแต่ผมเขียนความเห็นเกี่ยวกับ Innovation ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการแก้ไขวิกฤติชาติ  เมื่อเม.ย. 49 ที่ผ่านมา เดิมผมคาดว่าการแก่ไขวิกฤติคงเดินหน้าไปโดยสันติ และสมานฉันท์   แน่นอนไม่ได้เพ้อฝันว่าทุกคนจะพอใจ  แต่คาดว่าทุกฝ่ายจะยอมรับแนวทางในการแก้ไขที่ทรงให้แนวทางมา  นายกทักษิณ  ซึ่งขณะนั้นประกาศว่าจะเว้นวรรคทางการเมือง   คงจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่ทุกฝ่ายเข้าแข่งขัน   และคงมีการปฏิรูปทางการเมืองครั้งที่สองในที่สุด  นี่เป็นสิ่งที่สังคมไทยจะได้หลังจากต้องเผชิญความขัดแย้งครั้งใหญ่  ซึ่งตรงกับหลักที่ดร. จิระเขียนไว้ว่า   No pain No gain  ผมอยากเห็นการเมืองไทยได้ พัฒนาไปอีกขั้น  ทุกครั้งที่เราต้องลงทุนด้วยการสูญเสีย  เมื่อเกิดวิกฤติการณ์แต่ละครั้ง

   ผมก็คงเหมือนกับประชาชนไทยอีกจำนวนมาก ที่พบว่าเหตุการณ์มิได้เป็นไปเช่นนั้น  เราต้องวิตกไปกับเหตุการณ์ที่นายกพูดกระทบ  ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ  มีปัญหาชะงักงันเกี่ยวกับ  กกต. ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้งในอนาคต  แม้ว่าขณะนี้ปัญหา กกต. ได้คลี่คลายลงไปตามผลการพิพากษาของศาลอาญา  แต่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มข้น และครอบคลุมหลายอาณาเขต  คำว่าสมานฉันท์ เป็นเพียงคำพูดสวยๆ ไร้ซึ่งการปฏิบัติอย่างจริงใจ  

    เราท่านคงไร้ซึ่งอำนาจบารมีที่จะทำให้เหตุการณ์คลี่คลายในทิศทางที่เราต้องการได้  นอกจากเขียนแลกเปลี่ยนความรู้สึก ห่วงใยร่วมกัน  หวังลมๆแล้งๆว่าทุกท่าน จะได้ตระหนักถึงความจริงของชีวิต อำนาจ ทรัพย์สินล้วนเป็นสิ่งนอกกาย     สิ้นชีวิตก็ไม่มีใครเอาไปได้   ความรู้จักพอ   สติที่จะยอมรับความจริง  และทำในสิ่งที่จะพยุงให้สังคมไทยพ้นวิกฤติ  และได้พัฒนาการเมืองไทยไปอีกขั้นหนึ่ง    ผมยังหวังลึกๆว่าสุดท้ายนายกทักษิณจะประกาศเว้นวรรคตามที่เคยประกาศไว้ หรือตัดสินใจถอยจากการเมืองในที่สุด  และหวังจะเห็นพรรคไทยรักไทยได้พัฒนาต่อไป แม้จะขาดคุณทักษิณ  หวังจะเห็นพรรคประชาธิปัตย์  เสนอวาระประชาชนที่เป็นรูปธรรมพร้อมจะเป็นพรรคการเมืองที่บริหารบ้านเมืองได้  หวังจะเห็นพรรคการเมืองเลือดใหม่เกิดขึนอีกหลายพรรค หลังการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่   หวังจะเห็นกลไกอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกลางและอิสระ เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของ สสร.

 หวังสุดท้ายว่าหากผู้คนในบ้านเมืองคิดในแนวสันติธรรมเช่นนี้ กันมากๆ  บางที่พลังบริสุทธิ์จะก่อให้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในที่สุด 

เรียน ท่านคณาจารย์ทุกท่าน

ผมเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในเรื่อง ทรัพยากรย์บุคคล และขอความรู้จากท่านในเรื่องดังนี้

1. ศัพท์ต่างๆ ของงานฝ่ายทรัพยากรย์บุคคล และความหมาย

- KPI , TQM

ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

สุริยันต์

ผมเพิ่งมีโอกาสเรียนรู้เรื่อง HR กับอาจารย์ และเพิ่งมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับ WEB นี้ ซึ่ง ก็ยิ่งทำให้ผมตระหนักได้ว่า "ปัญญา" กับ "ปริญญา" นั้น  มันช่างมีระยะทางห่างไกลกันยิ่งนัก

ขอบพระคุณอาจารย์ ที่ช่วยชี้ทางให้ครับ

 

เจริญพร  โยมอาจารย์  ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์
             
โยมพี่ยม  และสาธุชนคนรักการเรียนรู้ทุกท่าน
              นานแล้วที่พระไม่ได้ส่งข้อความมาร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง  ๆ  เนื่องจากพระได้นั่งทบทวนบทบาทของตนว่า  ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นที่บล็อกของโยมอาจารย์นั้นเหมาะสมหรือไม่  โดยความคิดเห็นส่วนตัวของพระเอง  พระเห็นว่าคงไม่ใช่เรื่องเสียหาย  เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผิดหลักศีลธรรมแต่อย่างใด  แต่เพื่อความสบายใจ  วันนี้พระจึงขอฟังความคิดเห็นจากโยมอาจารย์  โยมพี่ยม  และสาธุชนคนรักการเรียนรู้ทุกท่านว่า  ที่พระเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความผ่านบล็อกของโยมอาจารย์เช่นนี้  เหมาะสมหรือไม่ประการใด  เจริญพร

ปิยภาณีภิกขุ  (พระมหาสุรวุฒิ  คนองมาตย์)
 

เจริญพร           โยมอาจารย์  ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์
                        โยมพี่ยม  และสาธุชนคนรักการเรียนรู้ทุกท่าน
                        นานแล้วที่พระไม่ได้ส่งข้อความมาร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง    เนื่องจากพระได้นั่งทบทวนบทบาทของตนว่า  ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นที่บล็อกของโยมอาจารย์นั้นเหมาะสมหรือไม่  โดยความคิดเห็นส่วนตัวของพระเอง  พระเห็นว่าคงไม่ใช่เรื่องเสียหาย  เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผิดหลักศีลธรรมแต่อย่างใด  แต่เพื่อความสบายใจ  วันนี้พระจึงขอฟังความคิดเห็นจากโยมอาจารย์  โยมพี่ยม  และสาธุชนคนรักการเรียนรู้ทุกท่านว่า  ที่พระเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความผ่านบล็อกของโยมอาจารย์เช่นนี้  เหมาะสมหรือไม่ประการใด  เจริญพร
ปิยภาณีภิกขุ  (พระมหาสุรวุฒิ  คนองมาตย์)

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากการที่ดิฉันได้เข้าไปกราบเป็นลูกศิษย์ท่าน ศ.ดร.จิระ ดิฉันได้มีความประทับใจและชื่นชมในความเป็นผู้รู้และเป็นผู้เรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดความเป็นครูผู้มีความเมตตาที่มีอยู่ในตัวของท่าน ที่ทำให้ดิฉันซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยตัวเล็กๆได้เรียนรู้และเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตในสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้มีเมตตากรุณามอบให้คือ การสร้างตัวเองให้มีปัญญาโดยการใฝ่รู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และการอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพในอนาคตเป็นอย่างมาก ดิฉันขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า ฉบับ วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึงท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง

1.คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ  คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด

2. นอาจารย์ได้กล่าวชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

3. การสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance

4. การบรรยายที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
อาจารย์ได้พูดถึงการเรียนของเด็กในยุคนี้ ว่าต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
-
โลกาภิวัตน์คืออะไร
-
มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
-
มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
-
จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร

5.  กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญศ.ดร.จิระไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's

6. มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนาม

Learning by doing การเรียนรู้โดยการกระทำ ของจอนห์ดิวอี้ =Work shop =    L ที่ 3 คือ Learning  Opportunity  การสร้างโอกาสในการเรียนรู้  เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน ทฤษฏี 4 L's ของ   Dr.Chira's Theories  

ขอความใฝ่รู้จงมีแด่ทุกท่านค่ะ

 สุดาภรณ์

 

คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน
ปีที่ 27 ฉบับที่ 93

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

กราบเรียน ท่านอาจารย์

ดิฉัน นางสาวกาญจนา ศรีพักตร์ การตลาด 05/01

เทคนิคการคิด 5 ประการ วันนี้ดิฉันขอส่ง Mind Mapping ก่อนนะค่ะ เพราะว่าเป็นความรู้ที่เพิ่งได้มาสด ๆ ร้อน ตอนลาไปสัมมนานะค่ะ

ท่านผู้อ่านกรุณาลองคิดตามดูครับว่า คำๆ หนึ่ง ถ้าเปรียบเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็สามารถแตกกิ่งความหมายของคำๆ นั้น ออกไปได้อย่างมหาศาล ไม่รู้จักหยุดยั้ง หากแต่เราต้องเข้าใจกรอบของคำๆ นี้ว่า เราจะใช้มันไปทำประโยชน์อะไร

1.1 คิดอะไรดี
คิดวนไปวนมา ลองคิดคำเล่นๆ ว่า "เพื่อเขียนบทความ" เอาละ...ขั้นตอนต่อไป เราก็ลงมือเขียนบทความ แต่...เนื้อหา ควรต้องมีอะไรบ้าง

1.2 เนื้อหาอะไร
อ้อ...จำได้ว่า ตอนตอบข้อสอบแบบอัตนัย เมื่ออ่านคำถามเสร็จ จะคิดถึงกรอบการตอบ 4 ประการโดยอัตโนมัติ คือ พรรณนา - อรรถาธิบาย - ทำนาย - แก้ไขเยียวยา โอ้โห...แค่นี้ก็บรรยายข้อสอบได้สองชั่วโมงแล้ว

1.3 ประโยชน์
ทีนี้ คนอ่านน่าจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากบทความนี้ ไม่งั้น...เค้าคงไม่มาเสียเวลาอ่านแน่ๆ เพราะข้อมูลในโลกนี้มีอย่างอื่นที่น่าในใจกว่านี้เยอะแยะ ดังนั้น ต้องให้ผู้อ่านสามารถ Download โปรแกรมนี้ไปลองประยุกต์ใช้ กับวิชาชีพของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ได้ แม้ผู้เขียนจะไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปในรายละเอียดแต่ละวิชาชีพของผู้อ่านได้ก็ตาม แต่ผู้เขียนต้องพยายามประยุกต์หลักการต่างๆ นี้ ต่อปัญหาในวิชาชีพผู้เขียน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นรูปร่างได้ เป็นภาพรวมๆ อีกทั้ง ผู้เขียนต้องเคารพผู้อ่านแต่ละท่าน ที่ย่อมต้องใช้ดุลยพินิจ กรองเอาแต่สิ่งที่ดีๆ และสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้เท่านั้นก็ถือว่า เพียงพอแล้ว

1.4 สะดวก
ภาษาเขียนต้องอ่านง่าย สนุก ชวนติดตาม มีภาพรวมให้ผู้อ่านรู้ว่า กำลังอยู่บริเวณไหนของโครงสร้างบทความนี้

กราบเรียน    ท่านอาจารย์  ดิฉัน นางสาวกาญจนา ศรีพักตร์ การตลาด 05/01 หลังจากที่ได้เรียน การคิดและการตัดสินใจ ในชั่วโมงเรียนของอาจารย์สุดาภรณ์ อาจารย์บอกว่าให้ติดตามข่าวสารหรือบทความของ ศ.ดร.จิระ วันนั้นด้วยความบังเอิญ ดูรายการทีวีทั่วไป แล้วเปลี่ยนไปที่ช่อง 11 ก็เจอรายการของ ศ.ดร. จิระ ตอนซักประมาณ 22.55 ได้ เป็นช่วงจบรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์ พอดี  ก็เห็นชื่อ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์จากนั้นก็ทำให้ติดตามรายการนี้มาโดยตลอด ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นรายการที่ น่าสนใจ เพราะเป็นรายการที่เผยแพร่ความรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคตได้  รายการได้แบ่งออกเป็นสามช่วง คือ ช่วงแรก เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ช่วงที่สอง จะเป็นช่วงให้ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ช่วงสุดท้ายเป็นช่วงที่จะผสมผสาน เชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  
เทคนิคการคิดกรอบ ที่บรรดานักวิชาการมักใช้อ้างก่อนสอน หรือก่อนแสดงความคิดเห็นเสมอ เช่น วันนี้...เราจะวิเคราะห์ปัญหายาเสพติด ในกรอบของ "สังคม" (หมายถึง การวิเคราะห์ครั้งนี้ ไม่รวมด้านเศรษฐกิจ และการเมือง) พอจะมองออกนะครับว่า กรอบตัวนี้สำคัญ จะทำให้มองเห็นว่า ในวันนี้ นักวิชาการผู้นี้รับรองว่า พูดไม่หลงประเด็นแน่เมื่อมองเห็นความสำคัญของกรอบแล้ว กรอบตัวนี้ยังกว้าง และไร้ทิศทาง เปรียบเสมือน รั้วปศุสัตว์ หากไม่มีเครื่องมือมาควบคุม แม้เนื้อหาจะไม่ออกนอกรั้วก็ตาม แต่ลองนึกถึงวัว หรือม้าพยศ ที่วิ่งเสียจนฝุ่นตลบอยู่ในรั้ว เอ...ต้องหาอะไรดี อ้อ เชือกนั่นไง มาผูกไว้ก่อน นั่นคือ ยอมให้มันพยศได้ แต่อย่าออกนอกรัศมีของเชือกก็แล้วกัน เอาไว้ค่อยปราบพยศมันทีหลังเจ้าเชือกที่ว่านี่แหละ คือ Mind Manager เครื่องมือ แห่งศิลปะการเชื่อมต่อความคิดอย่างเป็นระบบโปรแกรมนี้มีความสามารถที่จะถูกเราใช้งานได้โดยง่ายดาย และรวดเร็ว ทันต่อความคิดมนุษย์ เพราะต้องไม่ลืมว่า ความคิดมนุษย์นั้นมีความรวดเร็วไม่มีขีดจำกัด ดังนั้น โปรแกรมดังกล่าว จึงต้องออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก และง่ายที่สุด เพื่อรองรับความฉับไวดังกล่าว และ เพื่อให้การแตกกิ่งใบของปัญญาออกไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้นนั้น มีความเป็นระเบียบ เสมือนกับการวาดความคิดของเราออกมาเป็นรูปภาพ เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าใจเราได้โดยง่ายยิ่งขึ้น (วรรคนี้...มีสาระดีจัง)




เป็นเพราะมนุษย์เรานี่ช่างคิด และช่างจดจำ ได้เล่น อยู่กับความคิด โดยค้นหาวิธีการเป็นแผนภูมิต่างๆ นานา มาช่วยเหลือให้เกิดความสะดวก อันได้แก่
- แผนภูมิต้นไม้ - Tree Diagram
- แผนภูมิก้างปลา - Fish-Bone Diagram
- แผนภูมิสมอง - Brain Mapper Diagram
- แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง - Mind Mapping Diagram ในบทความของเรานั่นเอง

 


แผนภูมิต้นไม้้ เป็นที่นิยมใช้สร้างรูปแบบการปกครองในองค์กรการทำงาน (Organisation Chart) ซึ่งจะแสดงการปกครองลดหลั่นลงมา จากตำแหน่งใหญ่มาสู่ตำแหน่งเล็กรองลงไปเรื่อยๆ จุดเด่น คือ เขียนง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย

แผนภูมิก้างปลา โดยมีลักษณะรูปหัวปลา คือ หัวเรื่องใหญ่ และรูปก้างแกนกลางเป็นหลัก และแตกกิ่งก้างให้ย่อยออกไปอีกเป็นก้าน แต่ละก้านก็มี หัวเรื่องย่อย บอกว่า เป็นที่นิยมใช้ ในการคิด และวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมวงจรคุณภาพ (Q.C. Circle) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในงานทั่วไป และงานที่ซับซ้อนมากๆ อาจจะเป็นเพราะ ไม่สะดวกที่จะเพิ่มก้านในภายหลัง เนื่องจากถูกตรึงตำแหน่งจาก หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

แผนภูมิสมอง มีลักษณะการผสมผสานระหว่าง ต้นไม้ และ ก้างปลา เขาบอกว่า เป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเขียนจากวงกลมศูนย์กลางเป็น หัวเรื่องใหญ่ แตกออกไปเป็นรัศมี และที่ปลายของรัศมีนั้นจะเป็น หัวเรื่องย่อย ดังนั้น ระหว่างเส้นรัศมีจะสามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้เรื่อยๆ คล้ายแผนภูมิก้างปลา ที่ตรึงส่วนหัว-ส่วนท้ายไว้ด้วย หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

 

     แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง พระเอกของเราเลือกจับเอาส่วนดีของ ต้นไม้ ถึง แผนภูมิสมอง มาปรับประยุกต์ และเลือกเอาส่วนด้อยมาปรับปรุง มาเป็นแนวรูปแบบที่สามารถใช้กับงานทั่วไปได้ก่อนหลัง เอ...เป็น Idea ก็ได้นะครับ ใครทำโปรแกรมนี้ออกมาได้ รับรองรุ่งแน่)คือ แผนภูมิแสดงความคิดต่างๆ โดยใช้ลายเส้น, ภาพ, รูปวาด, คำสั่ง, สีต่างๆ เป็นสื่อทำ ใช้ในการแก้ปัญหาไม่ว่าในเรื่องงาน, เรียน หรือเรื่องส่วนตัว —         ใช้คำสั้นๆ รูปยิ่งดี —      เริ่มจากกลางกระดาษขยายออกไป —      ให้ภาพตรงกลางเด่นแสดงประเด็นหลักของเรื่อง —      ขายกิ่งก้านออกไป แล้วแทนประเด็นรอง —      เขียนคำสั้นๆ บนเส้น —      เขียนชัดๆ —      ใช้สีแล้วให้แยกเรื่อง —      อะไรที่ดูเด่นบนกระดาษ จะจำได้ง่าย —      มองในเชิงลึกด้วย —      ใช้เครื่องหมายต่างๆ ช่วยได้ —      ถ้าคิดวัดตรงนั้น ไปเริ่มหรือทำตรงอื่นต่อ —      นึกอะไรได้ก็เขียนเลย —      ต่อกระดาษถ้าจำเป็น (อย่าเริ่มแผ่นใหม่)   
     
แก้ไขปัญหา
มีความสำคัญไม่น้อยกว่า การป้องกันปัญหา เพราะปัญหาอาจยังคงเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะได้ถูกวางแผนป้องกันมาแล้วเป็นอย่างดี นั่นคือ แผนที่วางอาจมีความบกพร่อง หรือปัญหาได้เกิดขึ้น เพราะความประมาท หรือขาดการวางแผน เพราะอยู่นอกเหนือจากความสามารถที่จะคาดคะเนได้ในขณะนั้นเมื่อปัญหาใดๆ เกิดขึ้น สำหรับผู้เขียนมีสูตรสำเร็จซึ่งเป็นทางออกอยู่ในใจเรียบร้อยแล้ว คือ จะเดินหน้า หรือถอยหลัง หรืออยู่นิ่งๆ ก่อนต่อจากนั้น จะถามตนเองว่า สามารถเลือกทางออกได้ หรือยัง หากยัง ผู้เขียนจะพยายามเก็บข้อมูลให้ได้มากกว่าที่มีก่อน มาถึงตรงนี้ก็วนกลับเข้าสู่กระบวนต่างๆ ก่อนการคาดคะเน - Prediction นั่นเองเดินหน้า หรือถอยหลัง การวางแนวปฏิบัติดำเนินการแก้ไขจะมีลักษณะเป็นการ "รุก" หรือ การตั้ง "รับ"แต่ในบางสถานการณ์ ถ้าจำเป็นต้องเลือกที่จะอยู่นิ่งๆ ก่อน นี่คงต้องเขียนกันเยอะหน่อยครับ เพราะมันคือ ศิลปะแห่งการใช้ชีวิต ผู้เขียนเชื่อว่า ท่านคงเคยได้ยินภาษิตคำว่า "นิ่ง" ในทางที่ดี หลายภาษิต เช่น- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
-
นิ่งสงบ เพื่อสยบความเคลื่อนไหว
-
น้ำนิ่ง ไหลลึกบางปัญหานั้น การอยู่นิ่ง เพื่อรอสังเกตุการณ์นั้นอาจเป็นทางออกที่ดี ท่านเคยสังเกต นักการเมืองอาวุโสบางท่าน มักหาทางเลี่ยงการตอบคำถามของนักข่าวในบางเรื่อง ซึ่งถ้าตอบในเชิง "รุก" หรือ "รับ" ผลที่ตามมาอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองด้วยกันเอง หรืออาจกระทบกระเทือนถึงกระแสสังคม จึงต้องเลี่ยงไปตอบว่า



ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความมุมานะ 99 %, จินตนาการ 1%

น.ส.กาญจนา ศรีพักตร์น.ส.สุมนทิพย์ อาจวงค์น.ส.นิตยา สรภูมีการตลาด 05/01
นาย ชยกร ชินนะจรูญ นาย วชิระ เอมเปีย การตลาด 05/01 ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา
  • กราบเรียน    ท่านอาจารย์ กระผม นาย ชยกร ชินนะจรูญ และนาย วชิระ เอมเปีย การตลาด 05/01 หลังจากที่ได้เรียน การคิดและการตัดสินใจ ในชั่วโมงเรียนของอาจารย์สุดาภรณ์ ซึ่งผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคตได้ การใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ว่าอันไหนถูกอันไหนควร โฆษณาบางชิ้นมี่สื่อออกมาเป็นตัวอย่างของความจงรักภักดีมากกว่าที่จะเป็นการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งบางคนก็ยังตีความหมายผิดๆอยู่ แต่ในต่างจังหวัดหรือชนบทจะมีความเป็นรูปธรรมมากกว่า ตอนนี้ผมก็พยายามทำความเข้าใจอยู่ ตอนแรกผมก็รู้สึกเฉยๆกับทฤษฏีนี้แต่พอได้เรียนกับอ.สุดาภรณ์ ผมก็เริ่มมีความสนใจขึ้นมา เพราะถ้าเราเข้าก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


มนุษย์เรานี่ช่างคิด และช่างจดจำ ได้เล่น อยู่กับความคิด โดยค้นหาวิธีการเป็นแผนภูมิต่างๆ นานา มาช่วยเหลือให้เกิดความสะดวก อันได้แก่
- แผนภูมิต้นไม้ - Tree Diagram
- แผนภูมิก้างปลา - Fish-Bone Diagram
- แผนภูมิสมอง - Brain Mapper Diagram
- แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง - Mind Mapping Diagram ในบทความของเรานั่นเอง

  แผนภูมิต้นไม้้ เป็นที่นิยมใช้สร้างรูปแบบการปกครองในองค์กรการทำงาน (Organisation Chart) ซึ่งจะแสดงการปกครองลดหลั่นลงมา จากตำแหน่งใหญ่มาสู่ตำแหน่งเล็กรองลงไปเรื่อยๆ จุดเด่น คือ เขียนง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย

แผนภูมิก้างปลา โดยมีลักษณะรูปหัวปลา คือ หัวเรื่องใหญ่ และรูปก้างแกนกลางเป็นหลัก และแตกกิ่งก้างให้ย่อยออกไปอีกเป็นก้าน แต่ละก้านก็มี หัวเรื่องย่อย บอกว่า เป็นที่นิยมใช้ ในการคิด และวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมวงจรคุณภาพ (Q.C. Circle) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในงานทั่วไป และงานที่ซับซ้อนมากๆ อาจจะเป็นเพราะ ไม่สะดวกที่จะเพิ่มก้านในภายหลัง เนื่องจากถูกตรึงตำแหน่งจาก หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

แผนภูมิสมอง มีลักษณะการผสมผสานระหว่าง ต้นไม้ และ ก้างปลา เขาบอกว่า เป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเขียนจากวงกลมศูนย์กลางเป็น หัวเรื่องใหญ่ แตกออกไปเป็นรัศมี และที่ปลายของรัศมีนั้นจะเป็น หัวเรื่องย่อย ดังนั้น ระหว่างเส้นรัศมีจะสามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้เรื่อยๆ คล้ายแผนภูมิก้างปลา ที่ตรึงส่วนหัว-ส่วนท้ายไว้ด้วย หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

     แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง พระเอกของเราเลือกจับเอาส่วนดีของ ต้นไม้ ถึง แผนภูมิสมอง มาปรับประยุกต์ และเลือกเอาส่วนด้อยมาปรับปรุง มาเป็นแนวรูปแบบที่สามารถใช้กับงานทั่วไปได้ก่อนหลัง เอ...เป็น Idea ก็ได้นะครับ ใครทำโปรแกรมนี้ออกมาได้ รับรองรุ่งแน่)คือ แผนภูมิแสดงความคิดต่างๆ โดยใช้ลายเส้น, ภาพ, รูปวาด, คำสั่ง, สีต่างๆ เป็นสื่อทำ ใช้ในการแก้ปัญหาไม่ว่าในเรื่องงาน, เรียน หรือเรื่องส่วนตัว —         ใช้คำสั้นๆ รูปยิ่งดี —      เริ่มจากกลางกระดาษขยายออกไป —      ให้ภาพตรงกลางเด่นแสดงประเด็นหลักของเรื่อง —      ขายกิ่งก้านออกไป แล้วแทนประเด็นรอง —      เขียนคำสั้นๆ บนเส้น —      เขียนชัดๆ —      ใช้สีแล้วให้แยกเรื่อง —      อะไรที่ดูเด่นบนกระดาษ จะจำได้ง่าย —      มองในเชิงลึกด้วย —      ใช้เครื่องหมายต่างๆ ช่วยได้ —      ถ้าคิดวัดตรงนั้น ไปเริ่มหรือทำตรงอื่นต่อ —      นึกอะไรได้ก็เขียนเลย —      ต่อกระดาษถ้าจำเป็น (อย่าเริ่มแผ่นใหม่)   
     


กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน นางสาวราตรี อ่อนคำเหลือง , นางสาวสมจิตต์ เจียมมณีกนก , นางสาวพินทาดา แสงมาลัย การตลาด 05/01 ตั้งแต่อาจารย์ผู้สอนติฉัน และแนะนำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ทุกคนในห้องเรียนได้เข้าไปค้นหาข้อมูลและอ่านทุนทางปัญญาของ ศ.ดร.จิระ ทำให้ดิฉันดีใจมากและอยากขอบคุณอาจารย์ของดิฉัน ที่ทำให้ดิฉันได้ความรู้ + สาระมากขึ้นและได้นำเอาความรู้จากอาจารย์ ศ.ดร.จิระ มาใช้ได้นำมาสอนและแนะนำคนในครอบครัวของดิฉันได้ดีทีเดียว (ขอบคุณอาจารย์สุภาภรณ์ อรุณดี มาก ๆ ค่ะ) เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้แสงดความคิดเห็นกันอย่างอิสระก่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่หลากหลายวิธีการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่มากมายได้แง่คิดความคิดเห็นหลายแนวทางเป็นวิธีการทำงานเป็นทีมจึงได้ผลงานที่มีคุณภาพหลากหลายความคิดเห็น เทคนิค KJ เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการระดมสมอง ระดมความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ช่วยกัน โดยจะให้สมาชิกทุกคนเขียนแสดงความคิดเห็นของตนเองลงไปในกระดาษแล้วจึงนำความคิดเห็นต่าง ๆ มารวมกัน ก่อนจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งข้อดีที่ได้จากวิธีการนี้ถือว่ามีประโยชน์และเป็นวิธีการที่ดีมากทีเดียว เพราะทุกคนจะมีอิสระทางความคิดไม่มีการปิดกั้นจึงทำให้ได้ความคิดเห็นออกมาในจำนวนมากมีความคิดเห็นที่หลากหลายอีกทั้งยังไม่เกิดการโต้แย้งภายในกลุ่มให้เกิดความวุ่นวายอีกด้วยหลีกเลี่ยงปัญหามากมายที่ว่า “มากคนมากความ” ได้อย่างดีไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ให้เกิดการโต้เถียงกันขึ้น จึงถือได้ว่าเทคนิค KJ เป็นเทคนิคที่เอื้อประโยชน์ให้กับการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีมที่มีจำนวนสมาชิกหลายคนทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความหลายหลายแนวทางและไม่เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของกันและกันอันเป็นสาเหตุของการโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้งอันก่อให้เกิดผลเสียต่อกลุ่มได้อีกด้วย เทคนิคแผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Chart) จะเป็นวิธีการจัดเรียงความคิดเห็นที่ได้ระดมความคิดกันมา (เทคนนิค KJ) มาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ต่าง ๆ แล้วจึงเชื่ยมโยงความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มความคิดเห็นเข้าด้วยกัน จึงทำให้การวิเคราะห์นั้นง่ายสะดวกเห็นภาพรวมและความเกี่ยวข้องกันของความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ชัดเจน เพราะความคิดเห็นที่ได้มานั้นอาจมีทั้งที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือ ต่างกันออกไปเราจึงใช้วิธีการนี้มาจัดเป็นหมวดหมู่ให้กับความคิดเห็นที่เหมือนกันได้อยู่ด้วยกันทำให้เห็นได้ว่ามีความคิดเห็นที่ได้ออกมาเป็นกี่ประเภท แต่ละกลุ่มความคิดนั้น ๆ จะสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างไร ทำให้สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ของความคิดเห็นของคนในกลุ่มได้สะดวกง่ายดาย ได้ผลสรุปหลัก ผลสรุปย่อยของออกมาได้อย่างเข้าใจได้ง่าย เทคนิคแผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Chart) เป็นการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอีกวิธีการหนึ่งซึ่งจะเห็นภาพรวมที่ชัดเจนและเป็นระเบียบอันเนื่องมาจากการแบ่งกลุ่มแยกย่อยที่ชัดเจน โดยวิเคราะห์หาสาเหตุหลักออกมาก่อนแล้วจึงเรียงลำดับความสำคัญของสาเหตุนั้นๆ จากนั้นจึงค่อยใช้ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้หาสาเหตุแยกย่อยออกจากสาหตุหลักในกลุ่มต่าง ๆ อีกทีถือเป็นวิธีการระดมความคิดที่เป็นระเบียบเป็นชิ้นเป็นตอน เห็นภาพที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย โดยง่าย เทคนิคแผนภูมิพาเรโต (Praeto Chart) เป็นเทคนิคที่ใช้การวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาและอาศัยความถี่ของการเกิดแล้วเรียวลำดับมากไปหาน้อยและจัดทำแผนภูมิแท่งในการหาร้อยละของความถี่สะสมของจำนวนครั้งที่เกิดปัญหา ซึ่งเทคนิคนี้ก็เหมาะสมกับองค์กรต่าง ๆ หรือ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่สามารถนำมาเก็บข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบของกราฟ Pareto Chart ซึ่งแนวความคิดทั้ง 5 เทคนิคนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัวหรือ แม้กระทั้งในการทำงานของทุก ๆ คนได้อยู่ที่ว่าจะนำเทคนิคใดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและถูกวิธีที่สุดก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละคน หรือ แต่ละองค์กร เทคนิคแผนภูมิต้นไม้ (Tree Chart) เป็นเทคนิคหนึ่งในการวิเคราะห์โดยจะใช้การจัดหมวดหมู่เป็นขั้นตอนแยกย่อยเรียงลำดับลงมาจากปัจจัยหลักลงไปที่ปัจจัยย่อย ๆ ทั้งหลาย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เห็นภาพโดยง่าย เข้าใจง่าย วิเคราะห์โดยใช้จุดโพกัสหลักเป็นแกนแล้วจึงค่อยคิดหาปัจจัยหลักแยกย่อยต่อมาอีกที ซึ่งจะทำให้ได้แผนภูมิที่มีระเบียบชัดเจนง่ายต่อการทำความเข้าใจ

กราบเรียนท่านอาจารย์

ดิฉัน น.ส. ณัฐทวดี  สูหา รุ่น 056/01

หลังจากได้เรียนในชั่วดมงเรียนอาจารย์ สุดาภรณ์  อาจารย์ท่านได้แนะนำให้ติดตามอ่านบทความของ ศ.ดร. จิระ ดิฉันจึงได้มีโอกาสเห็นบทความที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่บทความี่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษ เป็นบทความในหัวข้อ "แค่ปรับ mindset ก็พอ"

ซึ่งในส่วนของบทความที่ดิฉันได้อ่านและมีความรู้สึกว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจคือ

"การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ
วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น"

ทำให้ดิฉันตระหนักถึงการคิด และแนวคิดแบบที่นอกกรอบว่า บางครั้งการที่คนเราคิดอะไรที่แตกต่างไม่ได้หมายความว่า เป็นความคิดที่แปลกแยกไปในทางที่ไม่ดีเสมอไป เราควรมีความคิดที่แตกต่าง และสามารถนำพาเราไปในหนทางที่ก้าวหน้าได้ ดังตัวอย่างที่ท่าน ศ.ดร. จิระ ได้กล่าวในบทความ ความจริงแล้วมันเป็นเช่นนั้นเสมอมา คือ การที่เราคิดอะไรนอกกรอบนั้นแสดงว่าเราอาจจะเห็นอะไรในมุมที่คนอื่นๆมองไม่เห็น อย่างนักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาก็เพราะมีความคิดที่ตั้งใจที่จะพัฒนาให้มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆมากขึ้น และได้นำมาใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน นี่เป็นต้วอย่างตามความคิดของดิฉัน ว่าเราคิดอะไรก็ตามขอให้คิดไปในทางที่ดีแม้ว่าจะมีความแตกต่างจากคนอื่น แต่ในที่สุดแล้วเราก็จะได้เห็นสิ่งที่ดีที่แตกต่างเพิ่มเติมเข้ามาในชีวิต

วิบูลย์ จุรีสัมพันธ์
กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ดิฉัน นางสาวจินตนา  ใจกล้า , นางสาวทัศนีย์   อินต๊ะเสาว์ ,  นายเกียรติศักดิ์   องอาจ และนายวิบูลย์  จุรีสัมพันธ์ การตลาด 05/01 ตั้งแต่อาจารย์ผู้สอนติฉัน และแนะนำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ทุกคนในห้องเรียนได้เข้าไปค้นหาข้อมูลและอ่านทุนทางปัญญาของ ศ.ดร.จิระ ทำให้ดิฉันดีใจมากและอยากขอบคุณอาจารย์ของดิฉัน ที่ทำให้ดิฉันได้พัฒนาความรู้และสาระมากขึ้นและได้นำเอาความรู้จากอาจารย์ ศ.ดร.จิระ มาใช้ได้นำมาสอนและแนะนำคนในครอบครัวของดิฉันได้ดีทีเดียว (ขอบพระคุณอาจารย์สุภาภรณ์ อรุณดี มาก )การใช้ เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยเพื่อนๆทุกคนในกลุ่มจะได้แสงดความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ก่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาที่หลากหลายวิธีการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่มากมายได้แง่คิดความคิดเห็นหลายแนวทางเป็นวิธีการทำงานเป็นทีมจึงได้ผลงานที่มีคุณภาพหลากหลายความคิดเห็น เทคนิค KJ เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการระดมสมอง ระดมความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มทุกคนได้ช่วยกัน โดยจะให้สมาชิกทุกคนเขียนแสดงความคิดเห็นของตนเองลงไปในกระดาษแล้วจึงนำความคิดเห็นต่าง ๆ มารวมกัน ก่อนจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งข้อดีที่ได้จากวิธีการนี้ถือว่ามีประโยชน์และเป็นวิธีการที่ดีมากทีเดียว เพราะทุกคนจะมีอิสระทางความคิดไม่มีการปิดกั้นจึงทำให้ได้ความคิดเห็นออกมาในจำนวนมากมีความคิดเห็นที่หลากหลายอีกทั้งยังไม่เกิดการโต้แย้งภายในกลุ่มให้เกิดความวุ่นวายอีกด้วยหลีกเลี่ยงปัญหามากมายที่ว่ามากคนมากความได้อย่างดีไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ให้เกิดการโต้เถียงกันขึ้น จึงถือได้ว่าเทคนิค KJ เป็นเทคนิคที่เอื้อประโยชน์ให้กับการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีมที่มีจำนวนสมาชิกหลายคนทำให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความหลายหลายแนวทางและไม่เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของกันและกันอันเป็นสาเหตุของการโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้งอันก่อให้เกิดผลเสียต่อกลุ่มได้อีกด้วย เทคนิคแผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Chart) จะเป็นวิธีการจัดเรียงความคิดเห็นที่ได้ระดมความคิดกันมา (เทคนนิค KJ) มาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ต่าง ๆ แล้วจึงเชื่ยมโยงความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มความคิดเห็นเข้าด้วยกัน จึงทำให้การวิเคราะห์นั้นง่ายสะดวกเห็นภาพรวมและความเกี่ยวข้องกันของความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ชัดเจน เพราะความคิดเห็นที่ได้มานั้นอาจมีทั้งที่เหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือ ต่างกันออกไปเราจึงใช้วิธีการนี้มาจัดเป็นหมวดหมู่ให้กับความคิดเห็นที่เหมือนกันได้อยู่ด้วยกันทำให้เห็นได้ว่ามีความคิดเห็นที่ได้ออกมาเป็นกี่ประเภท แต่ละกลุ่มความคิดนั้น ๆ จะสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างไร ทำให้สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ของความคิดเห็นของคนในกลุ่มได้สะดวกง่ายดาย ได้ผลสรุปหลัก ผลสรุปย่อยของออกมาได้อย่างเข้าใจได้ง่าย เทคนิคแผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Chart) เป็นการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอีกวิธีการหนึ่งซึ่งจะเห็นภาพรวมที่ชัดเจนและเป็นระเบียบอันเนื่องมาจากการแบ่งกลุ่มแยกย่อยที่ชัดเจน โดยวิเคราะห์หาสาเหตุหลักออกมาก่อนแล้วจึงเรียงลำดับความสำคัญของสาเหตุนั้นๆ จากนั้นจึงค่อยใช้ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้หาสาเหตุแยกย่อยออกจากสาหตุหลักในกลุ่มต่าง ๆ อีกทีถือเป็นวิธีการระดมความคิดที่เป็นระเบียบเป็นชิ้นเป็นตอน เห็นภาพที่ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย โดยง่าย เทคนิคแผนภูมิพาเรโต (Praeto Chart) เป็นเทคนิคที่ใช้การวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาและอาศัยความถี่ของการเกิดแล้วเรียวลำดับมากไปหาน้อยและจัดทำแผนภูมิแท่งในการหาร้อยละของความถี่สะสมของจำนวนครั้งที่เกิดปัญหา ซึ่งเทคนิคนี้ก็เหมาะสมกับองค์กรต่าง ๆ หรือ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่สามารถนำมาเก็บข้อมูลเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบของกราฟ Pareto Chart ซึ่งแนวความคิดทั้ง 5 เทคนิคนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัวหรือ แม้กระทั้งในการทำงานของทุก ๆ คนได้อยู่ที่ว่าจะนำเทคนิคใดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและถูกวิธีที่สุดก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละคน หรือ แต่ละองค์กร เทคนิคแผนภูมิต้นไม้ (Tree Chart) เป็นเทคนิคหนึ่งในการวิเคราะห์โดยจะใช้การจัดหมวดหมู่เป็นขั้นตอนแยกย่อยเรียงลำดับลงมาจากปัจจัยหลักลงไปที่ปัจจัยย่อย ๆ ทั้งหลาย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เห็นภาพโดยง่าย เข้าใจง่าย วิเคราะห์โดยใช้จุดโพกัสหลักเป็นแกนแล้วจึงค่อยคิดหาปัจจัยหลักแยกย่อยต่อมาอีกที ซึ่งจะทำให้ได้แผนภูมิที่มีระเบียบชัดเจนง่ายต่อการทำความเข้าใจ  

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวสายฝน  ทองศร  ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา  ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา   การตลาด ต่อเนื่อง  2  ปี  รุ่น  05   เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน  ที่ผ่านมานี้  ดิฉันได้เข้าเรียนในวิชา  การคิดและการตัดสินใจ   ของอาจารย์  สุดาภรณ์   อาจารย์ได้แนะนำให้ดิฉันกับเพื่อนในห้องเรียนได้รู้จักกับเว็บของอาจารย์  จีระ  ซึ่งตอนนั้นดิฉันคิดแต่เพียงว่า  จะเอาเวลาไหนไปนั่งอ่าน  (ดิฉันทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยนะค่ะ)  แต่พอดิฉันได้เข้ามาอ่าน   ทำให้ดิฉันมีความคิดที่รอบคอบมากขึ้น  มองโลกกว้างขึ้น   รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องกว่าในอดีต  ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ  อาจารย์  สุดาภรณ์  อรุณดี  ที่ช่วยแนะนำหาความรู้ที่มีประโยชน์ต่อดิฉันและเพื่อน ๆ  มากค่ะ จากการที่ดิฉันได้อ่านทุนทางปัญญา  ..  บทเรียนแห่งความจริง  ของท่านอาจารย์ทำให้ดิฉันเข้าใจในชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม  จากเมื่อก่อนคิดถึงแต่ตัวเองและคนในครอบครัวเป็นหลัก  ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  ซึ่งจะรับฟังเป็นส่วนน้อย  จะยึดแต่ความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้ง  ไม่ยอมให้ถ้าไม่มีสิ่งตอบแทน  แต่พอได้มาทำงานร่วมกับผู้คนมากมาย  ทำให้ดิฉันปรับปรุงนิสัยที่ไม่ดี   ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา   ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นไม่ว่าจะถูกหรือจะผิด  รู้จักคำว่าให้มากกว่าคำว่ารับ   บางสถานการณ์  ต้องโง่บ้าง อย่าอวดฉลาด  จะดีที่สุดค่ะ ซึ่งทฤษฎี  ของอาจารย์  มีประโยชน์มากค่ะ  ซึ่งดิฉันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะชีวิตการทำงานได้เป็นอย่างดีคะ  ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม

ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม เน้นให้ทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนข้อมูล  เป็นข่าวสาร  เป็นความรู้  และสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว  ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี    

 

ข้อมูล (data)ข่าวสาร (information)ความรู้ (knowledge)มูลค่าเพิ่ม (value added)ความฉลาดเฉลียว (wisdom)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเรียนรู้ ไม่จำเป็น ต้องเรียนในห้องเรียนเสมอไป  คุณอาจจะเก่งสอบได้  A ทุกวิชา  แต่นั้น   ก็ไม่ใช่หมายความว่า  ชีวิตจริงคุณจะต้องได้  A  เสมอไป. 

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  ที่เคารพดิฉันนางสาวสายฝน   ทองศร  ,   และนางสาวณัฐวดี  สูหา  นักศึกษา การตลาดต่อเนื่อง  2  ปี  รุ่น  05จากการที่ได้ศึกษา ในหัวข้อเรื่อง  เครื่องมือที่ใช้ในการคิด ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ  สามารถคิดได้ดีกว่าเดิมค่ะคิด        แต่ไม่ลงมือทำคิด        อย่างไม่มีระบบคิด        ตัวเองเป็นใหญ่คิด        แต่ไม่บอกให้คนอื่นได้รับรู้คิด        แต่ไม่กล้าเสนอคิด        กลัวแต่ว่าจะผิดซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันเชื่อว่า  มีอยู่ในตัวของทุกคน   ซึ่งมันไม่ใช่ผลดีเลย  ถ้าคิดแล้วไม่ลงมือทำ  ซึ่งกระบวนการคิดในสิ่งต่างๆ   นั้น  สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย  คือบุคคลที่อยู่รอบตัวเรา  ซึ่งพวกเค้าเหล่านั้นจะคอยให้คำปรึกษาที่ดีในยามที่เราถึงทางตันซึ่งเทคนิคการคิดก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกันคือ

1.เทคนิค KJ โดย KawaKita Jiro เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบจากการระดมความคิดเห็นของกลุ่ม จากการให้สมาชิกแต่ละคนเขียนความคิดของตนเองใส่ลงในกระดาษความคิด แล้วนำมารวมกันเพื่อรวบรวมและแยกหมวดหมู่ เชื่อยโยงความสัมพันธ์กัน วิธีนี้จะได้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ

2. แผนภูมิเชื่อมโยง จากเทคนิค KJ ต่อเนื่องด้วยการนำความคิดต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ หรือ จัดเป็นกลุ่มประเด็นแล้วพิจารณาความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน จัดลำดับให้เป็นระเบียบ และพิจารณาความต่อเนื่อง จะทำให้เห็นภาพและรายละเอียดของปัญหาชัดเจนมากขึ้น

3. แผนภูมิก้างปลา  เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ต้องใช้การคิดสร้างสรรค์  เพราะจะทำให้เห็นภาพรวมของปัญหาในแง่ของสาเหตุต่าง ๆ ได้ชัดเจนและมีระเบียบเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มไปในตัว  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

3.1  เขียนสภาพหรือผลที่เกิดขึ้นไว้ที่ส่วนหัว

3.2  เขียนสาเหตุหลักไว้ที่ก้างปลาแต่ละก้าง

3.3  ระดมหาสาเหตุย่อยแยกออกจากก้างปลาแต่ละก้างในขั้นที่ 2

4. แผนที่จิตทัศน์  เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่มีความอิสระมากกว่าแผนภูมิก้างปลา  มีขั้นตอนดังนี้

4.1  เขียนสภาพปัญหาหรือแกนของเรื่องไว้กลางหน้ากระดาษโดยใช้วลีสั้น ๆ

4.2  เขียนสาเหตุหลักของปัญหาหรือองค์ประกอบหลักแตกกิ่งออกจากศูนย์กลางเขียนคำสั้น ๆ เหนือเส้นที่ลากออกใกล้ ๆ ศูนย์กลาง

4.3  เขียนสาเหตุย่อยของสาเหตุหลักแตกกิ่งย่อยออกไปจากกิ่งหลัก  โดยเขียนคำหรือวลีสั้น ๆ เหนือเส้น

4.4  ถ้ามีสาเหตุย่อ่ยแตกออกจากขั้นที่  3  ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน

4.5  พิจารณาทบทวนความถูกต้องและครอบคลุมพร้อมจัดลำดับความสำคัญของสาเหตุหลัก5. แผนภูมิต้นไม้  เป็นเทคนิคการวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับแผนที่จิตทัศน์  แผนภูมินี้สามารถนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ หาปัญหา หาแนวทาง และแนวทางการตัดสินใจ  6. ตารางการวิเคราะห์  เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลอีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้เมื่อต้องการหาทางเลือกในการตัดสินใจ หรือเมื่อต้องการหาข้อมูลสรุปหรือหาความสัมพันธ์ที่สมเหตุสมผล ซึ่งลำดับขั้นตอนการสร้างตารางก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำตารางนี้ไปใช้

7.แผนภูมิพาเรโต เป็นเทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา โดยการเรียงลำดับความสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากความถี่ ความถี่สะสม และค่าร้อยละ อาจจะใช้ขั้นตอนเหล่านี้ เช่น กำหนดสาเหตุ กำหนดหน่วยการวัด เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สร้างแผนภูมิทั้งความถี่ ความถี่สะสม และร้อยละ

8. เครื่องการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณอื่นๆ 

 ซึ่งถ้าเรามีเครื่องมือในการคิด   วิเคราะห์หาสาเหตุอย่างเป็นระบบ  งานทุกอย่างก็จะออกมาดีอย่างแน่นอน

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ ดิฉันนางมณฑิกานต์ ม่วงน้อย เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี รุ่น 05/01 (การตลาด 4ปี)ดิฉันได้เข้าเรียนในวิชาการคิดและการตัดสินใจของอาจารย์สุดาภรณ์  อาจารย์ท่านได้แนะนำให้รู้จักเว็บของอาจารย์จีระ หงส์ลดาราณ์  ในตอนนั้นดิฉันยังไม่เข้าใจและยังไม่รู้จักเข้าเว็บของอาจารย์จีระ แต่เมื่อเข้ามาแล้วดิฉันรู้สึกได้ว่าดิฉันได้ความรู้มากขึ้นและได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากบทความของท่านอาจารย์จีระ และข้อคิดเห็นของท่านอื่นๆ ทำให้ดิฉันมีมุมมองมีความคิดและมองโลกกว้างขึ้น ทั้งนี้ดิฉันต้องขอขอบคุณอาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี ที่ท่านได้ช่วยแนะนำหาความรู้ที่ดีมีประโยชน์ต่อดิฉันและเพื่อนๆคะ

นาย ครรชิต ตันทสีสุข นายบริสุทธิ์ ชินะพันธ์มณีกุล นส. นงลักษณ์ สมศรี การตลาด 4 ปี 05/01 ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ดรุณพิทยา

กราบเรียนอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ ดิฉัน นางสาว นงลักษณ์ สมศรี นาย ครรชิต ตันทสีสุข นาย บริสุทธิ์ ชินะพันธ์มณีกุล เป็นลูกศิษย์อาจารย์ สุดาภรณ์ อรุณดี การตลาด 4ปี รุ่น 05/01 จากการที่ได้เรียนวิชา การคิดและการตัดสินใจ คิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ในความคิดหลายคนอาจมีความหมายที่แตกต่างกันแต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้คือการอยู่อย่างพอมีพอกินไม่สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุใช้จ่ายอย่างไม่ลำบากตัวเองและผู้อื่นอย่างที่อาจารย์ยกตัวอย่างโฆษณาผมคิดว่าเขาได้สื่อในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงแต่เป็นการที่ทุกคนมีส่วนร่วมที่ทำเพื่อในหลวง  

มนุษย์เรานี่ช่างคิด และช่างจดจำ ได้เล่น อยู่กับความคิด โดยค้นหาวิธีการเป็นแผนภูมิต่างๆ นานา มาช่วยเหลือให้เกิดความสะดวก อันได้แก่
- แผนภูมิต้นไม้ - Tree Diagram
- แผนภูมิก้างปลา - Fish-Bone Diagram
- แผนภูมิสมอง - Brain Mapper Diagram
- แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง - Mind Mapping Diagram ในบทความของเรานั่นเอง

  แผนภูมิต้นไม้้ เป็นที่นิยมใช้สร้างรูปแบบการปกครองในองค์กรการทำงาน (Organisation Chart) ซึ่งจะแสดงการปกครองลดหลั่นลงมา จากตำแหน่งใหญ่มาสู่ตำแหน่งเล็กรองลงไปเรื่อยๆ จุดเด่น คือ เขียนง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย

แผนภูมิก้างปลา โดยมีลักษณะรูปหัวปลา คือ หัวเรื่องใหญ่ และรูปก้างแกนกลางเป็นหลัก และแตกกิ่งก้างให้ย่อยออกไปอีกเป็นก้าน แต่ละก้านก็มี หัวเรื่องย่อย บอกว่า เป็นที่นิยมใช้ ในการคิด และวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมวงจรคุณภาพ (Q.C. Circle) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในงานทั่วไป และงานที่ซับซ้อนมากๆ อาจจะเป็นเพราะ ไม่สะดวกที่จะเพิ่มก้านในภายหลัง เนื่องจากถูกตรึงตำแหน่งจาก หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

แผนภูมิสมอง มีลักษณะการผสมผสานระหว่าง ต้นไม้ และ ก้างปลา เขาบอกว่า เป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเขียนจากวงกลมศูนย์กลางเป็น หัวเรื่องใหญ่ แตกออกไปเป็นรัศมี และที่ปลายของรัศมีนั้นจะเป็น หัวเรื่องย่อย ดังนั้น ระหว่างเส้นรัศมีจะสามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้เรื่อยๆ คล้ายแผนภูมิก้างปลา ที่ตรึงส่วนหัว-ส่วนท้ายไว้ด้วย หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

     แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง พระเอกของเราเลือกจับเอาส่วนดีของ ต้นไม้ ถึง แผนภูมิสมอง มาปรับประยุกต์ และเลือกเอาส่วนด้อยมาปรับปรุง มาเป็นแนวรูปแบบที่สามารถใช้กับงานทั่วไปได้ก่อนหลัง เอ...เป็น Idea ก็ได้นะครับ ใครทำโปรแกรมนี้ออกมาได้ รับรองรุ่งแน่)คือ แผนภูมิแสดงความคิดต่างๆ โดยใช้ลายเส้น, ภาพ, รูปวาด, คำสั่ง, สีต่างๆ เป็นสื่อทำ ใช้ในการแก้ปัญหาไม่ว่าในเรื่องงาน, เรียน หรือเรื่องส่วนตัว —         ใช้คำสั้นๆ รูปยิ่งดี —      เริ่มจากกลางกระดาษขยายออกไป —      ให้ภาพตรงกลางเด่นแสดงประเด็นหลักของเรื่อง —      ขายกิ่งก้านออกไป แล้วแทนประเด็นรอง —      เขียนคำสั้นๆ บนเส้น —      เขียนชัดๆ —      ใช้สีแล้วให้แยกเรื่อง —      อะไรที่ดูเด่นบนกระดาษ จะจำได้ง่าย —      มองในเชิงลึกด้วย —      ใช้เครื่องหมายต่างๆ ช่วยได้ —      ถ้าคิดวัดตรงนั้น ไปเริ่มหรือทำตรงอื่นต่อ —      นึกอะไรได้ก็เขียนเลย —      ต่อกระดาษถ้าจำเป็น (อย่าเริ่มแผ่นใหม่)   
     

นส.ปิ่นมณี ดีจันทร์ นส. เสาวณีย์ จำเริญ นาง มณฑิกานต์ ม่วงน้อย ม. ราชภัฏสวนสุนันทา การตลาด4ปีรุ่น05/01 ศูนย์ดรุณพิทยา

กราบเรียนอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมณ์ ดิฉัน น.ส. ปิ่นมณี ดีจันทร์ น.ส. เสาวณีย์ จำเริญ นาง มณฑิกานต์ ม่วงน้อย จากที่ได้เรียนในวิชาการคิดและการตัดสินใจของอาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี คิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นถ้าสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จะทำให้ชีวิตดีขึ้นมากทั้งยังน่าจะทำให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยในอนาคตได้

นส.ปิ่นมณี ดีจันทร์ นส. เสาวณีย์ จำเริญ นาง มณฑิกานต์ ม่วงน้อย ม. ราชภัฏสวนสุนันทา การตลาด4ปีรุ่น05/01 ศูนย์ดรุณพิทยา

กราบเรียนอาจารย์ จิระ หงส์ลดารมณ์ ดิฉัน น.ส. ปิ่นมณี ดีจันทร์ น.ส. เสาวณีย์ จำเริญ นาง มณฑิกานต์ ม่วงน้อย จากที่ได้เรียนในวิชาการคิดและการตัดสินใจของอาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี คิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นถ้าสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จะทำให้ชีวิตดีขึ้นมากทั้งยังน่าจะทำให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยในอนาคตได้

เทคนิคการคิดกรอบ ที่บรรดานักวิชาการมักใช้อ้างก่อนสอน หรือก่อนแสดงความคิดเห็นเสมอ เช่น วันนี้...เราจะวิเคราะห์ปัญหายาเสพติด ในกรอบของ "สังคม" (หมายถึง การวิเคราะห์ครั้งนี้ ไม่รวมด้านเศรษฐกิจ และการเมือง) พอจะมองออกนะครับว่า กรอบตัวนี้สำคัญ จะทำให้มองเห็นว่า ในวันนี้ นักวิชาการผู้นี้รับรองว่า พูดไม่หลงประเด็นแน่เมื่อมองเห็นความสำคัญของกรอบแล้ว กรอบตัวนี้ยังกว้าง และไร้ทิศทาง เปรียบเสมือน รั้วปศุสัตว์ หากไม่มีเครื่องมือมาควบคุม แม้เนื้อหาจะไม่ออกนอกรั้วก็ตาม แต่ลองนึกถึงวัว หรือม้าพยศ ที่วิ่งเสียจนฝุ่นตลบอยู่ในรั้ว เอ...ต้องหาอะไรดี อ้อ เชือกนั่นไง มาผูกไว้ก่อน นั่นคือ ยอมให้มันพยศได้ แต่อย่าออกนอกรัศมีของเชือกก็แล้วกัน เอาไว้ค่อยปราบพยศมันทีหลังเจ้าเชือกที่ว่านี่แหละ คือ Mind Manager เครื่องมือ แห่งศิลปะการเชื่อมต่อความคิดอย่างเป็นระบบโปรแกรมนี้มีความสามารถที่จะถูกเราใช้งานได้โดยง่ายดาย และรวดเร็ว ทันต่อความคิดมนุษย์ เพราะต้องไม่ลืมว่า ความคิดมนุษย์นั้นมีความรวดเร็วไม่มีขีดจำกัด ดังนั้น โปรแกรมดังกล่าว จึงต้องออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก และง่ายที่สุด เพื่อรองรับความฉับไวดังกล่าว และ เพื่อให้การแตกกิ่งใบของปัญญาออกไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้นนั้น มีความเป็นระเบียบ เสมือนกับการวาดความคิดของเราออกมาเป็นรูปภาพ เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าใจเราได้โดยง่ายยิ่งขึ้น (วรรคนี้...มีสาระดีจัง)




เป็นเพราะมนุษย์เรานี่ช่างคิด และช่างจดจำ ได้เล่น อยู่กับความคิด โดยค้นหาวิธีการเป็นแผนภูมิต่างๆ นานา มาช่วยเหลือให้เกิดความสะดวก อันได้แก่
- แผนภูมิต้นไม้ - Tree Diagram
- แผนภูมิก้างปลา - Fish-Bone Diagram
- แผนภูมิสมอง - Brain Mapper Diagram
- แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง - Mind Mapping Diagram ในบทความของเรานั่นเอง

 


แผนภูมิต้นไม้้ เป็นที่นิยมใช้สร้างรูปแบบการปกครองในองค์กรการทำงาน (Organisation Chart) ซึ่งจะแสดงการปกครองลดหลั่นลงมา จากตำแหน่งใหญ่มาสู่ตำแหน่งเล็กรองลงไปเรื่อยๆ จุดเด่น คือ เขียนง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย

 

แผนภูมิก้างปลา โดยมีลักษณะรูปหัวปลา คือ หัวเรื่องใหญ่ และรูปก้างแกนกลางเป็นหลัก และแตกกิ่งก้างให้ย่อยออกไปอีกเป็นก้าน แต่ละก้านก็มี หัวเรื่องย่อย บอกว่า เป็นที่นิยมใช้ ในการคิด และวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมวงจรคุณภาพ (Q.C. Circle) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในงานทั่วไป และงานที่ซับซ้อนมากๆ อาจจะเป็นเพราะ ไม่สะดวกที่จะเพิ่มก้านในภายหลัง เนื่องจากถูกตรึงตำแหน่งจาก หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

 

แผนภูมิสมอง มีลักษณะการผสมผสานระหว่าง ต้นไม้ และ ก้างปลา เขาบอกว่า เป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเขียนจากวงกลมศูนย์กลางเป็น หัวเรื่องใหญ่ แตกออกไปเป็นรัศมี และที่ปลายของรัศมีนั้นจะเป็น หัวเรื่องย่อย ดังนั้น ระหว่างเส้นรัศมีจะสามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้เรื่อยๆ คล้ายแผนภูมิก้างปลา ที่ตรึงส่วนหัว-ส่วนท้ายไว้ด้วย หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

 

     แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง พระเอกของเราเลือกจับเอาส่วนดีของ ต้นไม้ ถึง แผนภูมิสมอง มาปรับประยุกต์ และเลือกเอาส่วนด้อยมาปรับปรุง มาเป็นแนวรูปแบบที่สามารถใช้กับงานทั่วไปได้ก่อนหลัง เอ...เป็น Idea ก็ได้นะครับ ใครทำโปรแกรมนี้ออกมาได้ รับรองรุ่งแน่)คือ แผนภูมิแสดงความคิดต่างๆ โดยใช้ลายเส้น, ภาพ, รูปวาด, คำสั่ง, สีต่างๆ เป็นสื่อทำ ใช้ในการแก้ปัญหาไม่ว่าในเรื่องงาน, เรียน หรือเรื่องส่วนตัว —         ใช้คำสั้นๆ รูปยิ่งดี —      เริ่มจากกลางกระดาษขยายออกไป —      ให้ภาพตรงกลางเด่นแสดงประเด็นหลักของเรื่อง —      ขายกิ่งก้านออกไป แล้วแทนประเด็นรอง —      เขียนคำสั้นๆ บนเส้น —      เขียนชัดๆ —      ใช้สีแล้วให้แยกเรื่อง —      อะไรที่ดูเด่นบนกระดาษ จะจำได้ง่าย —      มองในเชิงลึกด้วย —      ใช้เครื่องหมายต่างๆ ช่วยได้ —      ถ้าคิดวัดตรงนั้น ไปเริ่มหรือทำตรงอื่นต่อ —      นึกอะไรได้ก็เขียนเลย —      ต่อกระดาษถ้าจำเป็น (อย่าเริ่มแผ่นใหม่)   

น.ส. ปัญจา สุดสวย นาย อิทธิพล คงศรีทอง นาย เสกสรร ลลิตแจ่มเลิศ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ดรุณพิทยา การตลาด05/01

กราบเรียนศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพดิฉันน.ส.ปัญจา สุดสวย นายอิทธิพล คงศรีทอง นาย เสกสรร ลลิตแจ่มเลิศ การตลาด4ปี05/01 ลูกศิษย์ อาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดีในวิชาการคิดและการตัดสินใจ คิดว่าการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเป็นสิ่งที่ดีมากเป็นการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและไม่ขัดสน การที่จะใช้ชีวิตอย่างพอเพียงนั้นขึ้นอยู่กับความรู้จักพอของคนเรา ซึ่งยังมีความเข้าใจผิดอยู่ซึ่งถ้าเข้าใจก็จะสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

มนุษย์เรานี่ช่างคิด และช่างจดจำ ได้เล่น อยู่กับความคิด โดยค้นหาวิธีการเป็นแผนภูมิต่างๆ นานา มาช่วยเหลือให้เกิดความสะดวก อันได้แก่
- แผนภูมิต้นไม้ - Tree Diagram
- แผนภูมิก้างปลา - Fish-Bone Diagram
- แผนภูมิสมอง - Brain Mapper Diagram
- แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง - Mind Mapping Diagram ในบทความของเรานั่นเอง

  แผนภูมิต้นไม้้ เป็นที่นิยมใช้สร้างรูปแบบการปกครองในองค์กรการทำงาน (Organisation Chart) ซึ่งจะแสดงการปกครองลดหลั่นลงมา จากตำแหน่งใหญ่มาสู่ตำแหน่งเล็กรองลงไปเรื่อยๆ จุดเด่น คือ เขียนง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย

แผนภูมิก้างปลา โดยมีลักษณะรูปหัวปลา คือ หัวเรื่องใหญ่ และรูปก้างแกนกลางเป็นหลัก และแตกกิ่งก้างให้ย่อยออกไปอีกเป็นก้าน แต่ละก้านก็มี หัวเรื่องย่อย บอกว่า เป็นที่นิยมใช้ ในการคิด และวิเคราะห์ปัญหากิจกรรมวงจรคุณภาพ (Q.C. Circle) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในงานทั่วไป และงานที่ซับซ้อนมากๆ อาจจะเป็นเพราะ ไม่สะดวกที่จะเพิ่มก้านในภายหลัง เนื่องจากถูกตรึงตำแหน่งจาก หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

แผนภูมิสมอง มีลักษณะการผสมผสานระหว่าง ต้นไม้ และ ก้างปลา เขาบอกว่า เป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โดยเขียนจากวงกลมศูนย์กลางเป็น หัวเรื่องใหญ่ แตกออกไปเป็นรัศมี และที่ปลายของรัศมีนั้นจะเป็น หัวเรื่องย่อย ดังนั้น ระหว่างเส้นรัศมีจะสามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้เรื่อยๆ คล้ายแผนภูมิก้างปลา ที่ตรึงส่วนหัว-ส่วนท้ายไว้ด้วย หัวเรื่องย่อย นั่นเอง

     แผนภูมิมายด์ แม็พพิ้ง พระเอกของเราเลือกจับเอาส่วนดีของ ต้นไม้ ถึง แผนภูมิสมอง มาปรับประยุกต์ และเลือกเอาส่วนด้อยมาปรับปรุง มาเป็นแนวรูปแบบที่สามารถใช้กับงานทั่วไปได้ก่อนหลัง เอ...เป็น Idea ก็ได้นะครับ ใครทำโปรแกรมนี้ออกมาได้ รับรองรุ่งแน่)คือ แผนภูมิแสดงความคิดต่างๆ โดยใช้ลายเส้น, ภาพ, รูปวาด, คำสั่ง, สีต่างๆ เป็นสื่อทำ ใช้ในการแก้ปัญหาไม่ว่าในเรื่องงาน, เรียน หรือเรื่องส่วนตัว —         ใช้คำสั้นๆ รูปยิ่งดี —      เริ่มจากกลางกระดาษขยายออกไป —      ให้ภาพตรงกลางเด่นแสดงประเด็นหลักของเรื่อง —      ขายกิ่งก้านออกไป แล้วแทนประเด็นรอง —      เขียนคำสั้นๆ บนเส้น —      เขียนชัดๆ —      ใช้สีแล้วให้แยกเรื่อง —      อะไรที่ดูเด่นบนกระดาษ จะจำได้ง่าย —      มองในเชิงลึกด้วย —      ใช้เครื่องหมายต่างๆ ช่วยได้ —      ถ้าคิดวัดตรงนั้น ไปเริ่มหรือทำตรงอื่นต่อ —      นึกอะไรได้ก็เขียนเลย —      ต่อกระดาษถ้าจำเป็น (อย่าเริ่มแผ่นใหม่)   
     

กราบเรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ดิฉัน นางสาวกาญจนา ศรีพักตร์ เบอร์โทรศัพท์ 087-7031298 นางสาวนิตยา สรภูมี 081-383-1478 นางสาวพินทาดา แสงมาลัย 089-797-9508 นางสาวณัฐวดี สูหา 085-066-2544 นายวิบูลย์ จุรีสัมพันธ์ 086-565-3002 นางสาวฐิติพร เนาว์ประดิษฐ์ 087-076-1740 นางสาวทัศนีย์ อินต๊ะเสาร์ 083-494-5875 และนายจุมพล ทองพรม 087-949-7294 การตลาด 2 ปีต่อเนื่อง ลูกศิษย์อาจารย์สุดาภรณ์ อรุณดี

 

การคิดเลียนแบบอริยสัจ 4 เป็นวิธีการแห่งปัญญาซึ่งดําเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผลเป็นระบบวิธีแบบอย่างซึ่งวิธีแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามจะมีคุณค่าและสมเหตุสมผลจะต้องดําเนินไปในแนวเดียวกัน เช่นนี้(พระราชวรมุนี 2528 :112-113)ในขั้นปัญหาต้องใช้การคิดวิเคราะห์ หรือการคิดลึกซึ้งในการทําความเข้าใจปัญหาและการกําหนดนิยามของปัญหาเมื่อรู้จักปัญหาแล้วจากนั้นดําเนินการต่อไปคือการหาสาเหตุของปัญหาในขั้นตอนนี้ต้องใช้ทักษะการคิดและรูปแบบการคิดหลายอย่างตามควรแต่ละกรณีเช่นใช้การคิดอย่างมีเหตุผลการคิดวิเคราะห์ การคิดละเอียดการคิดลึกซึ้งกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร เป็นนต้นเมื่อทราบหรือเข้าใจสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้งแล้วจากนั้นจึงหาแนวทางวิธีปฏิบัติการดําเนินการเพื่อลดหรือกําจัดสาเหตุของปัญหาและนําไปสู่จุดประสงค์ โดยใช้ทักษะการคิดหรือกระบวนการคิดที่สําคัญๆ ได้แก่ การคิดอย่างมีเหตุผลการคิดหลากหลายการคิดริเรื่ม การคิดดีคิดถูกทาง การคิดกว้างการคิดลึกซึ้งการคิดไกลกระบวน การคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดแบบมีวิจารณญาณการคิดสร้างสรรค์ เป็นต้นในการคิดหรือศึกษาค้นคว้าดังกล่าวข้างต้นต้องใช้การคิดแบบต่างๆ หลายอย่างเช่นการคิดอย่างมีเหตุผลการคิดคล่องคิดหลากหลายการคิดริเริ่มการคิดดีคิดถูกทางการคิดลึกซึ้งการคิดไกลการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นต้น ปัจจัยเสริม1. มีความสามารถในทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้องเช่นการคิดวิเคราะห์ผสมผสานการคิด อย่างมีเหตุผลการคิดละเอียดชัดเจนการคิดลึกซึ้งการคิดคล่องหลากหลายการคิดดีคิดถูกทางการคิดกว้างรอบคอบ การคิดไกลเป็นต้น2. มีความสามารถในรูปแบบการคิดที่เกี่ยวข้องเช่ นการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น3. มีความสามารถในการจับประเด็นปัญหาและกําหนดนิยามปัญหา4. มีความรู้กว้างขวางหลากหลายสาขาวิชาเพื่อการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้อย่างครอบคลุมถูกต้อง การวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหาอาจใช้ แผนผังก้างปลาการเขียนแผนผังแบบ Mind map หรือแผนภูมิช่วยในการมองสาเหตุที่ครอบคลุมได้ 5. ในการวิเคราะห์สาเหตุบางกรณีอาจลึกซึ้งเกินกว่าการใช้การวิเคราะห์ หรือการใช้เหตุผลจึงอาจต้องใช้การคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือการคิดแบบมีวิจารณญาณเข้าช่วย6. การหาวิธีช่วยลดหรือขจัดสาเหตุของปัญหาในบางสาเหตุของปัญหาอาจต้องใช้การคิดตามกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดแบบมีวิจารณญาณหรือการคิดสร้างสรรค์เข้าช่วย อุปสรรคอุปสรรคของการคิดเลียนแบบอริยสัจ 4 ไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนของการคิดแต่อยู่ที่ผลงานของการคิดแต่ละขั้นตอนได้แก่ 1. ประเด็นปัญหาที่คิดได้ที่นิยามไว้ นั้นเป็นปัญหาจริงที่ถูกต้องหรือไม่ 2. สาเหตุที่คิดว่าเป็นสาเหตุของปัญหานั้นเป็นสาเหตุจริงๆ หรือไม่เป็นสาเหตุหลัก หรือสาเหตุรองและเป็นสาเหตุโดยตรงหรือสาเหตุโดยอ้อม3. วิธีการที่คิดไว้สําหรับลดสาเหตุปัญหาหรือขจัดสาเหตุของปัญหานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนตรวจสอบตรึกตรองการคิดในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี การพัฒนาการคิดเลียนแบบวิธีคิดแบบอริยสัจ 4 การพัฒนาการคิดเลียนแบบอริยสัจ4 สามารถทําได้โดยสร้างสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาในระดับที่ไม่สามารถใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแก้ไขได้ทันทีต้องมีการวิเคราะห์หรือค้นนคว้าหาสาเหตุของปัญหาและแสวงหา วิธีการหรือวิธีดําเนินการเพื่อทําให้เหตุของปัญหาลดลงหรือหมดไปและสามารถบรรลุจุดประสงค์ ที่ตั้งไว้ได้ลักษณะเด่นสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เหมาะสมกับการฝึกคิดแบบเลียนแบบวิธีคิดแบบอริยสัจ 4 ได้แก่1. สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่สามารถวิเคราะห์หาปัญหาและสภาพไม่มีปัญหาได้ชัดเจน2. การค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหาอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันได้ เช่นการวิเคราะห์การใช้เหตุผลการใช้การคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นต้น3. การแสวงหาวิธีกําจัดต้นเหตุของปัญหาอาจใช้ วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันได้เช่นการวิเคราะห์การให้เหตุผลการใช้การคิดแบบวิทยาศาสตร์การใช้การคิดสร้างสรรค์การใช้การคิดแบบมีวิจารณญาณเป็นต้น ประโยชน์ ของการคิดเลียนแบบอริยสัจ 4 กระบวนการคิดเลียนแบบอริยสัจ 4 เป็นรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอย่างครบวงจรดังนั้นการใช้รูปแบบการคิดนี้คิดแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาในสาขาวิชาการใดความยากง่ายของปัญหาระดับไหนถ้ามีข้อมูลและความรู้ที่ใช้แก้เพียงพอจะได้ วิธีการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
นางสาวสายฝน ทองศร

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ดิฉัน นางสาวสายฝน ทองศร เบอร์โทรศัพท์ 084 - 0959560  และ นางสาวสุมณทิพย์  อาจวงค์  เบอร์โทรศัพท์ 086-5764587  นางสาวราตรี  อ่อนคำเหลือง  เบอร์โทรศัพท์  089-6997441  นางสาวสมจิตร์  เจียมมณีกนก  เบอร์โทรศัพท์  081-2649161  นางสาวจินตนา  ใจกล้า เบอร์โทรศัพท์  085-0749744  นางสาวนฤมล  ทองผาสุข  เบอร์โทรศัพท์  089-0670708  นายเกียรติศักดิ์  องอาจ  เบอร์โทรศัพท์  086-7894825  นายเสกสรร  ลลิตแจ่มเลิศ  เบอร์โทรศัพท์  086-8834242

นักศึกษา สาขาการตลาดต่อเนื่อง  2  ปี  รุ่น 05 / 01  ลูกศิษย์อาจารย์ สุดาภรณ์  อรุณดี

 

 

รูปแบบการคิดการคิดของมนุษย์ แต่ ละคนอาจมีวิธีคิดหรือรูปแบบการคิดที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม การคิดที่มีประสิทธิภาพของมนุษย์ จําเป็นต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญได้แก่   1. เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่คิดเช่นเมื่อคิดเรื่องการศึกษาก็ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหา ทาง      การศึกษา2. ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้องรูปแบบการคิดของมนุษย์ แต่ละรูปแบบมีความจําเป็นต้องใช้ ทักษะการคิดและลักษณะการคิดหลายอย่างรวมกัน เช่นการคิดอย่างมีเหตุผล คิดรอบคอบ การคิดอย่างลึกซึ้ง การคิดไกล การคิดละเอียดชัดเจน การคิดดีคิดถูกทาง3. การคิดตามลําดับขั้นตอนของรูปแบบการคิดต่างๆ รูปแบบการคิดที่น่าสนใจมีหลายรูปแบบ 1. การคิดแบบวิทยาศาสตร์2. การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)4. การคิดเลียนแบบอริยสัจ 45. การคิดเชิงรุกฯลฯ การคิดเลียนแบบอริยสัจ4 เป็นรูปแบบการคิดที่ได้ จากการวิเคราะห์รูปแบบการคิดหรือระบบการคิดของพระพุทธศาสนา อริยสัจ4 เป็นหลักธรรมที่สําคัญที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จําแนกการพิจารณาได้ เป็น1.อริยสัจ4  ในส่วนที่เป็นเนื้อหา ซึ่งเป็นเรื่องความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน 2. อริยสัจ4 ในส่วนที่เป็นรูปแบบการคิด เป็นวิธีการแห่งปัญญาซึ่งดําเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผลเป็นระบบวิธีแบบอย่างซึ่งวิธีแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามจะมีคุณค่าและสมเหตุสมผลจะต้องดําเนินไปในแนวเดียวกันสมุทัย  (เหตุแห่งทุกข์ ) ตัณหามี 3 ด้าน คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทุกข์   ภาวะที่แฝงด้วยความกดดันขัดแย้ง ขัดข้องมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ มรรค  วิธีปฏิบัติเพื่อลดสมุทัยหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดนิโรธมีมรรค 8 หรือศีล สมาธิ ปัญญานิโรธ  สภาวะทุกข์น้อยลง หรือ หมดไป เป็นสภาวะสงบปลอดโปร่ง ผ่องใสเบิกบาน  ทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่ใช้ในการคิดเลียนแบบอริยสัจ 4 ในขั้นปัญหาต้องใช้  การคิดวิเคราะห์ หรือการคิดลึกซึ้งในการทําความเข้าใจปัญหาและ การกําหนดนิยามของปัญหา เมื่อรู้จักปัญหาแล้ว จากนั้นดำเนินการต่อไปคือการหาสาเหตุของปัญหา ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ทักษะการคิดและรูปแบบการคิดหลายอย่าง ตามควรแต่ละกรณีเช่นใช้  การคิดอย่างมีเหตุผลการคิดวิเคราะห์ การคิดละเอียดการคิดลึกซึ้งกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์  ปัจจัยเสริม1. มีความสามารถในทักษะการคิดและลักษณะการคิดที่เกี่ยวข้องเช่นการคิดวิเคราะห์ ผสมผสานการคิดอย่างมีเหตุผลการคิดละเอียดชัดเจน 2. มีความสามารถในรูปแบบการคิดที่เกี่ยวข้องเช่นการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดแบบมีวิจารณญาณการคิดสร้างสรรค์ 3. มีความสามารถในการจับประเด็นปัญหาและกำหนดนิยามปัญหา4. มีความรู้ กว้างขวางหลากหลายสาขาวิชาเพื่อการวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาได้ อย่างครอบคลุมถูกต้องการวิเคราะห์ หาสาเหตุปัญหาอาจใช้ แผนผังกางปลาการเขียนแผนผังแบบ Mind map หรือ แผนภูมิช่วยในการมองหาสาเหตุที่ครอบคลุมได้ 5. ในการวิเคราะห์ สาเหตุบางกรณีอาจลึกซึ้งเกินกว่าการใช้ การวิเคราะห์ หรือการใช้ เหตุผลจึงอาจต้องใช้ การคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือการคิดแบบมีวิจารณญาณเข้าช่วย6. การหาวิธีช่วยลดหรือขจัดสาเหตุของปัญหาในบางสาเหตุของปัญหาอาจต้องใช้ การคิดตามกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคิดแบบมีวิจารณญาณหรือการคิดสร้างสรรค์ เข้าช่วย อุปสรรค ของการคิดเลียนแบบอริยสัจ4 ไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนของการคิดแต่อยู่ที่ผลงานของการคิดแต่ ละขั้นตอน1. ประเด็นปัญหาที่คิดได้ ที่นิยามไว้นั้นเป็นปัญหาจริงที่ถูกต้องหรือไม่ 2. สาเหตุที่คิดว่าเป็นสาเหตุของปัญหานั้นเป็นสาเหตุจริงๆ หรือไม่ เป็นสาเหตุหลัก หรือสาเหตุรองและเป็นสาเหตุโดยตรงหรือสาเหตุโดยอ้อม3. วิธีการที่คิดไว้ สำหรับลดสาเหตุปัญหา หรือขจัดสาเหตุของปัญหานั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนตรวจสอบตรึกตรองการคิดในแต่ ละขั้นตอนเป็นอย่างดี การพัฒนาการคิดเลียนแบบวิธีคิดแบบอริยสัจ4 การพัฒนาการคิดเลียนแบบอริยสัจ4 สามารถทำได้ โดยสร้างสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ ที่เป็นปัญหาในระดับที่ไม่ สามารถใช้ วิธีการใดวิธีการหนึ่งแก้ ไขได้ทันทีต้องมีการวิเคราะห์ หรือ ค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหา และ แสวงหา วิธีการหรือวิธีดำเนินการเพื่อทำให้ เหตุของปัญหาลดลงหรือหมดไปและสามารถบรรลุจุดประสงค์ ที่ตั้งไว้ ได้  ประโยชน์ของการคิดเลียนแบบอริยสัจ4 กระบวนการคิดเลียนแบบอริยสัจ4 เป็นรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอย่างครบวงจรดังนั้นการใช้ รูปแบบการคิดนี้คิดแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในสาขาวิชาการใด ความยากง่ายของปัญหาระดับไหน ถ้ามีข้อมูลและความรู้ ที่ใช้แก้เพียงพอ จะได้วิธีการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 

 

นางสาวสายฝน ทองศร
กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ดิฉัน นางสาวสายฝน ทองศร เบอร์โทรศัพท์ 084 - 0959560  และ นางสาวสุมณทิพย์  อาจวงค์  เบอร์โทรศัพท์ 086-5764587  นางสาวราตรี  อ่อนคำเหลือง  เบอร์โทรศัพท์  089-6997441  นางสาวสมจิตร์  เจียมมณีกนก  เบอร์โทรศัพท์  081-2649161  นางสาวจินตนา  ใจกล้า เบอร์โทรศัพท์  085-0749744  นางสาวนฤมล  ทองผาสุข  เบอร์โทรศัพท์  089-0670708  นายเกียรติศักดิ์  องอาจ  เบอร์โทรศัพท์  086-7894825  นายเสกสรร  ลลิตแจ่มเลิศ  เบอร์โทรศัพท์  086-8834242นักศึกษา สาขาการตลาดต่อเนื่อง  2  ปี  รุ่น 05 / 01  ลูกศิษย์อาจารย์ สุดาภรณ์  อรุณดีสังคมไทยเราในปัจจุบัน  มีแต่ปัญหา ความวุ่นวาย   โดยส่วนใหญ่ขาดความสามัคคี  ปรองดองกัน  เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  เราอยากเห็นสังคมไทยสงบสุข  ซึ่งอยากให้สังคมไทย ยึดหลักปฏิบัติตาม  พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   ตาม  36  แผนที่ชีวิตของพ่อ  มีรายละเอียดดังนี้.ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ
2. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก ปัญญา และความกล้าหาญ
3. เพื่อนใหม่ คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน เพื่อนเก่า/มิตร คืออัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4. อ่านหนังสือ ธรรมะ ปีละเล่ม
5. ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
6. พูดคำว่า ขอบคุณ ให้มาก ๆ
7. รักษาความลับให้เป็น
8. ประเมินคุณค่าของการให้ อภัย ให้สูง
9. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
10. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำหนิ และรู้แก่ใจว่าเป็นจริง
11. หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่
12. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนักคิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
13. อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟต์
14.ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
15. อย่าหยิ่งหากจะกล่าวว่าขอโทษ
16. อย่าอายหากจะบอกใครว่าไม่รู้
17. ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
18. เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
19. การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
20. คนไม่รักเงิน คือคนไม่รักชาติ ไม่รักอนาคต
21. ยามทะเลาะกันผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
22. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
23. จงอย่าเอาจุดแข็ง เอาชนะจุดอ่อน
24. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
25. เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จกับล้มเหลว
26. อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่ง ๆ เกิดขึ้นแล้วตามใจตัวเองทั้งสิน
27. ฟันร่วงเพราะมันแข็งแรง ส่วนลิ้นยังอยุ่เพราะมันอ่อน
28. อย่าดึงต้นกล้าให้โตไว ๆ (อย่าใจร้อน)
29. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีให้
30. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อ ๆ ไปก็ผิดหมด
31. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
32. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
33. ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องปีนบันไดสูง
34. มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ
35. หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
36. ระเบียบวินัย คือคุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต
นางสาวสายฝน ทองศร

 

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ดิฉัน นางสาวสายฝน ทองศร เบอร์โทรศัพท์ 084 - 0959560  และ นางสาวสุมณทิพย์  อาจวงค์  เบอร์โทรศัพท์ 086-5764587  นางสาวราตรี  อ่อนคำเหลือง  เบอร์โทรศัพท์  089-6997441  นางสาวสมจิตร์  เจียมมณีกนก  เบอร์โทรศัพท์  081-2649161  นางสาวจินตนา  ใจกล้า เบอร์โทรศัพท์  085-0749744  นางสาวนฤมล  ทองผาสุข  เบอร์โทรศัพท์  089-0670708  นายเกียรติศักดิ์  องอาจ  เบอร์โทรศัพท์  086-7894825  นายเสกสรร  ลลิตแจ่มเลิศ  เบอร์โทรศัพท์  086-8834242    นักศึกษา สาขาการตลาดต่อเนื่อง  2  ปี  รุ่น 05 / 01    นายอิทธิพล  คงศรีทอง  รหัสนักศึกษา 48673130209  รุ่น 04ลูกศิษย์อาจารย์ สุดาภรณ์  อรุณดี                ดิฉันได้อ่านบทความของท่านอาจารย์จีระ     แล้วมีความรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรจะช่วยเหลือเป็นหูเป็นตา  ให้กับประเทศชาติ  ซึ่งตอนนี้ประเทศของเราต้องการความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างมาก  เพื่อประเทศชาติของเราจะกลับมาสงบร่มเย็นอีกครั้ง  ซึ่งตอนนี้จะไปทางไหน ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย  แม้กระทั่งบ้านเกิดของตัวเองก็ยังไม่ปลอดภัย                ดิฉันก็ขอขอบคุณ ทหาร และ ผู้เสียสละทุกท่าน  ที่ได้เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่  3 จังหวัดภาคใต้   ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน  แต่ดิฉันเชื่อว่าสักวันหนึ่ง ความสงบก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม  ซึ่งดิฉันอยากให้สังคมไทย ยึดหลักปฏิบัติตาม  พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   ตาม  36  แผนที่ชีวิตของพ่อ  มีรายละเอียดดังนี้

1.ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ
2. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก ปัญญา และความกล้าหาญ
3. เพื่อนใหม่ คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน เพื่อนเก่า/มิตร คืออัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4. อ่านหนังสือ ธรรมะ ปีละเล่ม
5. ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
6. พูดคำว่า ขอบคุณ ให้มาก ๆ
7. รักษาความลับให้เป็น
8. ประเมินคุณค่าของการให้ อภัย ให้สูง
9. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
10. ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำหนิ และรู้แก่ใจว่าเป็นจริง
11. หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่
12. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนักคิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
13. อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟต์
14.ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
15. อย่าหยิ่งหากจะกล่าวว่าขอโทษ
16. อย่าอายหากจะบอกใครว่าไม่รู้
17. ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
18. เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
19. การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
20. คนไม่รักเงิน คือคนไม่รักชาติ ไม่รักอนาคต
21. ยามทะเลาะกันผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
22. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
23. จงอย่าเอาจุดแข็ง เอาชนะจุดอ่อน
24. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
25. เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จกับล้มเหลว
26. อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่ง ๆ เกิดขึ้นแล้วตามใจตัวเองทั้งสิน
27. ฟันร่วงเพราะมันแข็งแรง ส่วนลิ้นยังอยุ่เพราะมันอ่อน
28. อย่าดึงต้นกล้าให้โตไว ๆ (อย่าใจร้อน)
29. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีให้
30. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อ ๆ ไปก็ผิดหมด
31. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
32. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
33. ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องปีนบันไดสูง
34. มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ
35. หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
36. ระเบียบวินัย คือคุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

 หวังว่าประเทศไทยจะกลับมาสงบสุขอีกครั้ง

 

ไพโรจน์ วงศ์ศิริพัฒนกุล

กราบเรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

ผม นายไพโรจน์ วงศ์ศิริพัฒนกุล 08-1373-3096 สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีโอกาสได้รับเกียรติเข้ารับฟังการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแผนยุทธศาสตร์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สป.วท. ณ สมุทรสงคราม และการอบรมการพัฒนาสมรรถนะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความประทับใจอย่างยิ่งที่เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังโดยมีความพยายามพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ทุกคนสามารถสร้างคุณค่าให้กับตนเองและสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมและจริงจังอย่างต่อเนื่อง ดังที่ อจ. ได้กล่าวไว้ว่า "การเรียนรู้ไม่ได้จบแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น ผมอยากให้เมื่อจบหลักสูตรทุกคนจะเป็นผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน" ปัจจุบันส่วนใหญ่มีภาระงานมากจนต้องใช้วิธีการทำงานเสมือนเพียงการใช้แรงงานด้านสมองเท่านั้นที่ต้องทำงานให้เสร็จๆ ไปเป็นเรื่องๆ และให้ทันตามกำหนดเวลาแต่เพียงอย่างเดียว จนเป็นเหตุให้ไม่มีโอกาสพัฒนาตนเองหรือแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้ โลกทัศน์หยุดหมุน วิสัยทัศน์นิ่งและเสื่อมสั้นลงทุกวัน เพราะขาดโอกาสการเข้ารับการอบรมสัมมนาเพื่อรับความรู้ใหม่ๆ การทำงานที่ถูกวิธี เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการคิดอ่าน การวางแผน ประเทืองปัญญาและตวามสามารถในปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและมีประสิทธิผลตามที่มุ่งหวังได้  (ภาระงานมากทำให้ขาดโอกาสแสวงหาความรู้) ไม่เหมือนกับคนที่มีภาระงานน้อย กลับจะทำให้มีเวลาไปเข้าร่วมการฝึกอบรมทุกรูปแบบได้ไม่สิ้นสุด  ผมขอเปิดประเด็นเพียงประเด็นเดียวในครั้งนี้ก่อน อจ. อาจเห็นว่าเป็นเพียงการบ่นหรือการแก้ตัวสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักการบริหารเวลาให้กับตนเองก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งแต่ก็เป็นบทเรียนจากความจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท