BOD กับการบ่งบอกคุณภาพน้ำ


BOD

เรียบเรียงโดย เอกดนัย กอกิมพงษ์       http://www.thaiscience.com/index.asp

ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำนั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของน้ำก็คือปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO) แต่หากเป็นน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง จะต้องคำนึงถึงค่าปริมาณ ออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ด้วย ซึ่งค่า BOD นี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบระบบบำบัดน้ำ และควบคุมคุณภาพน้ำ

บทนำ
        BOD คือค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ การหาค่า BOD ทำได้โดยการหาความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนละลาย หรือค่า DO (Dissolved Oxygen) ก่อนและหลังการบ่มในภาชนะปิด ซึ่งการหาค่า BOD โดยปกติแล้วจะใช้เวลาบ่ม 5 วัน ส่วนภาชนะที่ใช้บ่มคือขวด BOD ซึ่งมีลักษณะเป็นขวดสีชามีจุกแก้วปิดสนิท เพื่อป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปภายในและไปรบกวนสภาวะภายในขวด ค่า BOD ที่ได้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความสกปรกของน้ำที่นำมาตรวจ และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการบำบัดน้ำได้ หลักการของการวัดค่า BOD การวิเคราะห์หาค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปริมาณความสกปรกของน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำลำคลอง น้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดเปรียบเทียบในรูปของปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยทั่วไปการวิเคราะห์หาค่า BOD จะเป็นการวัดปริมาณออกซิเจนที่ถูกใช้ในระยะเวลา 5 วัน ภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส และด้วยเหตุผลที่ออกซิเจนในอากาศนั้นสามารถละลายน้ำได้ในปริมาณจำกัดคือประมาณ 9 มิลลิกรัม/ลิตร (ในน้ำบริสุทธิ์ที่ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส) ดังนั้น ในการวิเคราะห์ค่า BOD ในน้ำเสียซึ่งมีความสกปรกมาก จึงจำเป็นต้องเจือจางน้ำเสียลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ และเนื่องจากการวิเคราะห์ค่า BOD เป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในน้ำ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำให้น้ำมีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ด้วย เช่น ไม่มีสารพิษ แต่มีอาหารเสริมที่เพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโตรวมทั้งต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ที่มากพอจะทำการวิเคราะห์หากไม่มีหรือมีจุลินทรีย์ปริมาณน้อยเกินไปควร
เติมเชื้อจุลินทรีย์ หรือ หัวเชื้อ (seed) ลงไปเพิ่ม เพื่อให้มีจุลินทรีย์ปริมาณมากเพียงพอต่อการวิเคราะห์

การวิเคราะห์หาค่า BOD
       
การวิเคราะห์หาค่า BOD ที่ใช้กันโดยทั่วไปเรียกว่า Dilution BOD ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานของ EPA ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
        1.
นำตัวอย่างน้ำที่เตรียมพร้อมสำหรับการนำมาวิเคราะห์แล้วมาปรับอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 20 องศาเซลเซียส
        2.
เติมอากาศให้มีออกซิเจนอิ่มตัว (ใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที)
        3.
รินตัวอย่างน้ำลงในขวด BOD จนเต็มอย่างน้อย 3 ขวด โดยจะต้องระวังไม่ให้มีฟองอากาศภายในขวด จากนั้น ปิดจุกให้สนิทแล้วนำขวดหนึ่งมาหาปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen) ก่อน ส่วนอีกสองขวดนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน
        4.
หลังจาก 5 วันแล้ว นำตัวอย่างน้ำที่บ่มมาหาปริมาณออกซิเจนละลายที่เหลืออยู่
        5.
การคำนวณ
            BOD = D1 - D2
     
เมื่อ BOD = ค่าบีโอดี (มิลลิกรัม/ลิตร)
                D1 =
ปริมาณออกซิเจนละลายที่วัดได้ในวันแรก (มิลลิกรัม/ลิตร)
                D2 =
ปริมาณออกซิเจนละลายที่วัดได้ในวันที่ 5 (มิลลิกรัม/ลิตร)
       
วิธีการวัดข้างต้นนี้จะใช้ในกรณีที่คาดว่าตัวอย่างน้ำมีค่า BOD น้อยกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งถือเป็นน้ำที่มีความสกปรกไม่มาก แต่หากในกรณีที่คาดว่าตัวอย่างน้ำมีความสกปรกสูง หรือมีค่าบีโอดี มากกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร จะต้องนำตัวอย่างน้ำมาเจือจางก่อน เพราะออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลาย จึงจำเป็นต้องทำให้ตัวอย่างน้ำที่สกปรกเจือจางลงโดยใช้น้ำผสมลงไปเพื่อเจือจาง ซึ่งจะต้องเจือจาง
จนทำให้น้ำมีค่า BOD ต่ำกว่า 7 มิลลิกรัม/ลิตร และควรทำหลายๆ ความเข้มข้น (โดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 3 ความเข้มข้น) สำหรับอัตราส่วนในการผสมเจือจางอาจจะประมาณการได้จากชนิดของตัวอย่างลักษณะของตัวอย่าง หรือข้อมูลของแหล่งน้ำ จากนั้น ทำการวัด โดยวิธีเดียวกัน แต่เวลาคำนวณจะต้องนำค่าการเจือจางมาร่วมคำนวณ

คำสำคัญ (Tags): #bod
หมายเลขบันทึก: 265434เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

ขอบคุณครับ

ผมก็สงสัยมานาน เพิ่งเข้าใจวันนี้เอง

อยากเรียนถามต่อว่าน้ำที่สกปรกมากทำไมจึงมีการใช้ออกซิเจนมาก เป็นเพราะมันมีแบคทีเรียมากใช่ไหมครับ จึงใช้ออกซิเจนไปมาก ยังไม่เข้าใจครับ

ผมเรียนรู้จากประสบการณ์เด็กเลี้ยงกุ้งว่า

ไม่เฉพาะปริมาณสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำที่ใช้ออกซิเจน

แต่ช่วงความเข้มแสงของแต่ละวัน ก็มีผลมากต่อปริมาณ ออกซิเจนในน้ำเช่นกัน

เช่นว่า กลางคืน หรือเวลามีเมฆฝนปิดกั้นแสงอาทิตย์ ปริมาณออกซิเจนก็จะค่อยๆ ลดลงเช่นกัน เพราะว่า พวกพืชน้ำ หรือแพลงค์ตอนพืช ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ในการดำรงชีพ และปลดปล่อยกาซออกซิเจนออกมา

วันไหนที่คลึ้มฝน หรือกลางคืน ผมก็ต้องเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำมากกว่าวันปกติ สังเกตง่ายๆ ครับ เช้ามืด สัตว์น้ำพยายามขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำมากกว่าช่วงเวลาอื่น

สวัสดีค่ะ

อยากจะรบกวนถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำอะค่ะ ถ้าค่าDOสูง และค่าBOD สูงด้วย มันหมายความว่าคุณภาพน้ำน้ำจะอยู่ในประเภทไหนอะค่ะ

ค่าBODสูงเพราะแบคทีเรียมีมากใช้ออกซิเจนมากถูกต้องแล้วค่ะ ในน้ำยังมีพวกพืชเล็กๆเช่น สาหร่าย มีแพลงตอนที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิตเช่นกันค่ะ สำหรับค่าDOและBODที่สูงทั้งคู่ ก็แปลกๆนะคะ เพราะมันน่าจะตรงข้ามกัน แต่ถ้าทดสอบซ้ำแล้วยังได้ค่าที่สูงทั้งคู่ สันนิษฐานว่าประการแรกDOที่วัดวันแรกอาจมีพวกสาหร่าย หรือสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงคายออกซิเจนมามาก(คือเวลาที่เราใช้วัดตอนกลางวันหรือกลางคืน) ประการที่สองคือน้ำตัวอย่างอาจมีสารเคมีที่เป็นพวกreducing agentปนอยู่ ทำให้เกิดปฏิกิริยากันทำให้ได้ออกซิเจนออกมาก็เป็นได้ค่ะ ถ้ามีเครื่องมือวัดCODขอวัดดูอีกทีนะคะ ซึ่งค่าCODที่ได้ไม่น่าสูง ลองดูนะคะ

สวัสดีอีกรอบค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับความคิเห็น แต่ถ้าจุดเก็บตัวอย่างน้ำที่มีค่าDOสูง และค่าBOD สูงด้วย เป็นจุดเก็บในบริเวณที่ใช้ตั้งระบบประปาของหมู่บ้าน แล้วค่าที่ได้มันจะเป็นไปได้ไหมค่ะ

คือว่าเพิ่งจะเริ่มศึกษาเรื่องนี้ได้ไม่นานค่ะ เลยอาจจะถามแบบงง ค่ะ คือ...ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ

กำลังจะสรุปผลบีโอดีนะค่ะ

คือ อยากถามว่า ถ้าหากหลังทำการบ่มแล้ว เอามาเติมสาร

น้ำมันใสเลย แสดงว่ามีความเน่าเสียมากหรือน้อยค่ะ

เข้าใจว่าในน้ำไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่แล้ว น้ำน่าจะเสียมาก ถูกมั้ยค่ะ

ทำBOD5วัน เมื่อเติมสารแล้วใสเลย แสดงว่าใช้ออกซิเจนไปหมดแล้ว ค่าBODคงสูง ต้องเอาน้ำตัวอย่างมาเจือจางก่อนค่ะ สำหรับค่าBODและDOที่สูงเหมือนกัน ณ จุดตั้งระบบประปา น่าจะผืดพลาดทางเทคนิค คือตอนใส่สารเคมี หรือตอนเก็บน้ำมีอากาศปนเข้ามาทำให้วัดค่าDOสูงกว่าปกติ ลองดูว่าเก็บน้ำตัวอย่างตามหลักการถูกต้องไหม การใส่สารเคมีถูกไหม เช่น ปล่อยลงใต้ผิวน้ำหรือเปล่า ฯลฯ ตรวจสอบวิธีทำอีกทีนะคะ

อ่านข้างบนให้ละเอียดอีกทีนะคะ เอาใจช่วยเพราะเทคนิคบางอย่างต้องระวังโดยเฉพาะงานเคมี ลำดับการใส่ก่อน-หลัง สภาวะแวดร้อน เช่น อุณหภูมิ ความดันบรรยากาศมีผลกับค่าออกซิเจนทั้งนั้นค่ะ

ทำบีโอดี 3 ขวด ความเจือจาง 50% 20% 10% ขวด 50% กับ 20% ใส

ส่วนขวด 10% คำนวณบีโอดีได้ 22 mg/l แสดงว่าน้ำเสียมากเกินมาตรฐาน

ปล่อยลงแหล่งน้ำไม่ได้ ต้องบำบัดก่อนใช่มั้ยค่ะ

แล้วตอนทำซีโอดีค่าได้ 16 mg/l

BODที่วัดได้เกินค่ามาตรฐานไปหน่อยนึง ก็ควรบำบัดน้ำก่อน ดูที่ระบบบำบัดอีกทีค่ะ ไม่ทราบใช้แบบไหน ถ้าเป็นแบบเร่งตะกอนๆอาจเก่าไปแล้วก็ได้ ถ้าเป็นระบบบ่อเติมอากาศอาจไหลเวียนไม่ดี ฯลฯ อยากได้ค่าแน่นอนให้ทำน้ำเจือจางใหม่สัก5-10%ค่ะ

ถ้ามีมากกว่ากี่มิลลิกรัมต่อลิตรจึงจะเน่าเสีย

ค่าBOD

มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภท2 <=1.5mg/l (อ่านว่าไม่เกินกว่า1.5มิลลิกรัมต่อลิตร),ประเภท3<=2.0mg/l,ประเภท4<=4.0mg/l ประเภท แหล่งน้ำผิวดินแบ่งตามการใช้ประโยชน์ เริ่มจากประเภทที่ 1 แหล่งน้ำมีสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมทุกประเภท ประเภทที่2-5ก็จะมีคุณภาพลดลงไปตามลำดับ

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง อาคารประเภทก ข ค ง จ <= 20,30,40,50และ200 mg/l ตามลำดับ

ถ้าหากเราวันค่า BOD5 หลังจากวันที่ 5 จะมีผลต่อค่าที่วัดได้เป็นอย่างไร เพราะเหตุใด

ขอบคุณมากเลยค่ะ ต้องการข้อมมูลด่วยมากๆ

ตามหนังสือที่ใช้อ้างอิงStandard Methods for the Examination of Water & Waste Water 21st Edition 2005 หน้า5-2 บอกว่าการวัดBOD5 +/- 6 ชั่วโมงได้ หากเกินกว่านี้คิดว่าออกซิเจนคงหมดไปวัดไม่ได้แล้ว การกำหนด5วันถือเป็นมาตรฐานสากลค่ะ และอีกสาเหตุหนึ่งคือ nitrifying bacteriaจะเจริญเติบโตมากขึ้นหากระยะเวลานานกว่านี้ ทำให้ค่าที่วัดได้ผิดพลาดได้ค่ะ อุณหภูมิที่ใช้ 20 C ก็เหตุผลเดียวกันค่ะ

เพิ่มเติมอีกหน่อยค่ะ คือ ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายน้ำได้ในจำนวนจำกัด คือประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อลิตรในน้ำบริสุทธิ์ ที่อุณหภูมิ 20C ดังนั้นในน้ำเสียซึ่งมีความสกปรกมากจำเป็นจะต้องทำให้ปริมาณความสกปรกเจือจางลงอยู่ในระดับซึ่งสมดุลพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่

การวิเคระห์ค่า BOD ที่ BOD < 7 ทำไม DO0 - DO5 < 2 mg/l ค่ะ ทั้งที่ไม่มีการเจือจางตัวอย่าง

ขอถาม อยากรู้ว่าการตรวจวัดน้ำเสยทำไม่ค่า COD ถึงมากกว่า BOD มีเงื่อนไขอะไรบางครับ

CODค่าปริมาณออกซิเจนที่ต้องการเพื่อใช้ในปฏิกริยาทุกๆอย่าง ไม่ว่าจะเกิดในสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม

เป็นค่าความสกปรกของสารเคมี ปกติสูงกว่าBODเกือบ2เท่า แล้วแต่สารประกอบของน้ำเสียนั้นๆ จะเปรียบเทียบให้ดู COD=อื่นๆ+BOD+เคมี ประมาณนี้ค่ะ

ทำไมผู้ผลิตระบบบำบัดนำ้เสียจึงใช้ค่า BOD เข้า 250 MG/L ในการออกรายการคำนวณ

สวัสดีครับ..อยากทราบว่าถ้าค่า BOD สูงเกินมาตรฐานเราจะแก้ไขอย่างไรครับ...

เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย หรือว่าอะไรคะ โดยปกติค่าBODสูงแสดงว่าสกปรกมากมีสิ่งเจือปนมาก อาจต้องเพิ่มอากาศ แบบกังหันชัยพัฒนา เติมคลอรีน ฯลฯ

สวัสดีค่ะ อยากทราบว่าค่าBODกับCODเป็นดัชนีน้ำที่สำคัญไหมค่ะ

เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซที่มีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืช  ดังนั้นความสามารถในการละลายของออกซิเจนในน้ำจึงมีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้วัดความสกปรกของน้ำได้ คือน้ำสกปรกออกซิเจนก็ละลายได้น้อยลง น้ำก็เกิดเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น

Biochemical Oxygen Demand,BOD คือ ปริมาณออกซิเจนอิสระที่จุุลชีพ(microorganism) ต้องการใช้ในขบวนการย่อยสลายสรอินทรีย์ ใช้เป็นดัชนีชี้ความสกปรกของแหล่งน้ำและน้ำเสีย

การวิเคราะห์หาค่า COD,Chemical Oxygen Demand เป็นการวัดความสกปรกของน้ำเสียโดยคิดเปรียบเทียบในรูปของปริมาณออกซิเจนที่ต้องการใช้ในการออกซิไดซ์สารอินทรีย์โดยใช้สารเคมี โดยปกติแล้วค่า COD จะสูงกว่าค่า BOD ทั้งนี้เนื่องจากสารอินทรีย์คาร์บอนถูกเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำโดยไม่ต้องอาศัยความสาสมารถในการดูดซึมทางชีวะ (biological assimilability) ของสารเหล่านั้น

สำคัญ เพราะค่าออกซิเจนละลายน้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ระบบบ่อบำบัดที่อาคารผมเป็นแบบแอคติเวสสลัดเติมอากาศเทสน้ำทางแลป BOD ผ่าน แต่ข้างตึกบอกว่ายังมีกลิ่นโชย ทางตึกทำทุกทาง ทั้งจ้างมาดูดกาก แล้ว 2 รอบภายใน 2 เดือน ใส่ EMน้ำ  EM บอล หมดไปเกื่อบ 2 หมื่นแล้วในการแก้เรื่องกลิ่นครับ กลิ่นก็มีอยู่คือตอนนี้ผมขอความคิดเห็นหน่อยครับว่า น้ำที่บำบัดที่อาคารทุกอาคารมันก็ต้องมีกลิ่นบ้างหรือเปล่าครับ  ตอนนี้ทางอาคารก็จะสั่ง หัวจุริทรีย์แบบใหม่มาอีกแล้วแพงด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ซักทีครับช่วยแนะนำผมหน่อยครับ

น้ำเสียย่อมมีกลิ่นบ้าง แต่ก็ไม่น่ามากค่ะ กลิ่นฉุนๆแบบก๊าซไข่เน่าหรือเปล่าคะ บางทีsludgeเราหมดอายุ อาจต้องเปลี่ยนใหม่ค่ะ

อยากทราบว่าค่าBODสามารถมากกว่าCODได้หรือไม่เเละถ้าได้จะมีกรณีใคบ้างครับ

BODสามารถมากกว่าCODได้ กรณีค่าCODเป็นสูญ คือไม่มีเลยต่ะ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้อ่ะค่ะ

อีกอย่างคือกรณีที่ BOD มีค่าสูงมากๆๆๆค่ะ

สุธาทิพย์ เลิศสหพันธ์

ค่า UBOD หาได้ยังไงค่ะ

อยากทราบว่า

คุณภาพน้ำเสียมีค่า BOD เท่ารัยค่ะ

ในการหาค่า DO จะต้องทำการหาความเข้มข้นที่แน่นอนของโซเดียมไธโอซัลเฟส 0.025 M ก่อน โดยนำมาไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโพแทสเซียมไดโครเมต 0.025 N (ในแลปทีเรียน....กรณีที่ใช้หน่วยความเข้มข้นต่างกันนะคะ) อยากทราบว่าหน่วยความเข้มข้นของสารละลายต่างกันทำไมมันถึงใช้ไทเทรตกันได้ ดูได้จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหรือเปล่า แล้วถ้าใช่ดูยังไงคะว่าอะไรทำปฏิกิริยาพอดีกับอะไร แล้วพอดีกันยังไงหรือคะ ช่วยตอบอย่างละเอียดหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อยากทราบว่า COD มีค่าเท่าไหร่เป็ฯน้ำเสีย เเล้วมีค่าเท่าไหร่เป็นน้ำดี

COD ไม่เกิน 120 มก./ล.หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษ เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 400 มก./ล.

บีโอดีติดลบ หมายความว่ายังไงคะ

ยังไม่เคยเจอเลยน่ะค่ะ แสดงว่าค่าที่วัดวันที่5มีค่าต่ำลงกว่าวันแรก สงสัยมีสาหร่ายมาช่วยใช้ออกซิเจนมั้งคะ น้ำได้กรองก่อนทำBODไหมคะ

น้ำไม่ได้กรองคะ พอดีใช้เครื่อง PCD 650 EUTECH ในการวิเคราะห์เป็นไปได้มั้ยคะ ที่จะมีความผิดพลาด

สวัสดีค่ะ ดิฉันสงสัยว่าค่าBODและค่าCOD สามารถบ่งบอกถึงน้ำมันในน้ำได้ไหมค่ะ

อาจจะพอได้ค่ะ ถ้าหากมีค่าBOD หรือ CODสูงมาก น้ำมันสังเกตง่ายจะลอยผิวๆน่ะค่ะ

ขอถามหน่อยคะพอดีวิเคราะห์ค่า blank กับ GGA(QC sample) ค่าที่ได้เกินเกณฑ์ที่กำหนดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างคะ เชื้อเจริญมากเกินไปหรือเปล่าคะ

ทำไมต้องบ่มที่อุณหภูมิที่ 20 ค่ะ


ขอถามหน่อยน่ะครับพอดีกำลังเรียนเรื่องBODอยู่ครับและอาจารย์ให้หาข้อมูลว่าทำไมBODถึงต้องใช่เวลาในการบ่มถึง5วันแล้วทำไมต้องใช้อุณหภูมิ20องศาเซลเซียล

ขอถามหน่อยน่ะครับพอดีกำลังเรียนเรื่องBODอยู่ครับและอาจารย์ให้หาข้อมูลว่าทำไมBODถึงต้องใช่เวลาในการบ่มถึง5วันแล้วทำไมต้องใช้อุณหภูมิ20องศาเซลเซียล

สอบถามครับ ค่าBOD,COD ในบ่อน้ำเสียสูง ใข้น้ำประปาเจือจางเพื่อลดค่า ได้มากน้อยเพียงใดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท