ตัวอย่าง ✿"healing environment"✿


เรื่องเล่าจาก นพ.สกล สิงหะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน... บันทึกนี้   ได้เกริ่นนำถึง สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา (Healing Environment) บางท่านอ่านแล้ว อาจจะยังนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร

แต่วันนี้ เป็นเรื่องที่โชคอำนวยมากๆค่ะ พอลล่าได้ไปอ่านเรื่องเล่าขอ อ.นพ.สกล สิงหะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านนี้ค่ะ คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีแล้ว นะคะ

P http://gotoknow.org/profile/phoenix

พอลล่าเห็นว่าน่าจะนำมาเป็นตัวอย่างของเรื่องนี้ได้ดีมากๆค่ะ จะเห็นว่าการจะจัดให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เยียวยาจิตใจความรู้สึกของคนไข้ได้นั้น ผู้ให้บริการต้อง sense รับรู้ความรู้สึก และเข้าถึงหัวใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริง จนเกิดการสนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยจัดสรร สร้างสรรค์ด้วยตัวของเขาเองค่ะ

เรื่องเล่าจากท่าน นพ.สกล เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care)กล่าวไว้ดังนี้ค่ะ

ใน palliative care คนไข้ประมาณ 70-90% เป็นโรคมะเร็ง แต่ก็มีโรคอื่นๆที่เข้ามาใช้บริการด้วย มีความยากง่ายต่างกันไป โรคมะเร็งนับว่ามีความซับซ้อนในตัวเองค่อนข้างมาก มีช่วงที่อาการจะขึ้นๆลงๆ มีความหวังสลับท้อแท้ มีช่วงทรุด และมีช่วงที่สู้ การรักษาก็ต้องอาศัยสหสาขามาร่วมมือกัน ในบรรดาโรคที่มีความซับซ้อนและยังต้องการการสนัยสนุนช่วยเหลืออีกเยอะ และอาจจะกลายเป็น subspecialty ภายใน palliative care ก็ได้แก่ palliative care ในเด็ก และ กลุ่มโรค motor neurone diseases (เป็นกลุ่มโรคที่ทำลายเซลประสาทที่ควบคุมเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนไหวของกล้าม เนื้อทุกชนิดในร่างกาย)

เนื่องจากโรคนี้จะมีพยาธิที่กล้ามเนื้อ ดังนั้นความรู้สึก อารมณ์ต่างๆไม่ได้ถูกกระทบไปด้วยจากพยาธิสภาพโดยตรง แต่โดยทางอ้อมแล้ว คนไข้จะค่อยๆเห็นความเสื่อมของกล้ามเนื้อของตนเองค่อยๆเป็นมากขึ้น การที่ต้องเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้ เป็นความยากลำบาก และต้องการอาศัยความช่วยเหลือ กำลังใจ ประกอบกับวิชาการแพทย์ที่ก้าวหน้าอย่างมาก ร่วมมือกันในการประคับประคองอาการ ให้ผู้ป่วยยังคงมีความสามารถอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

โจเซฟิน แฟรงค์กับผมมาราวน์ใน ward ที่มีคนไข้ motor neurone diseases ซึ่งเป็นกรณีที่ท้าทายในการดูแลค่อนข้างมาก แฟรงค์บอกผมก่อนล่วงหน้าว่า case นี้ไม่ธรรมดา

พอเข้าไปในห้องเดี่ยวของโจเซฟิน ผมก็เริ่มรู้สึกว่าห้องนี้แตกต่างไปจากห้องอื่นๆที่เคยเข้าไปดูคนไข้ สังเกตดูก็พบว่าห้องนี้มีรูปภาพประดับตามฝาห้อง โต๊ะ และหลังตู้มากกว่าปกติ เป็นรูปภาพที่มีสีสันตัดกันสวยงาม แฟรงค์แนะนำให้ผมรู้จักกับโจเซฟินที่นั่งอยู่บนเตียงของเธอ โจเซฟินเป็นผู้หญิงตัวเล็ก ผอมบาง (ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากโรค MND ที่เธอเป็น) ผมยาวสีดำ ดวงตาสีดำโต อายุประมาณ 30 ปลายๆ มือเท้ายาวเรียว พอแฟรงค์บอกเธอว่าเราจะขอคุยด้วยสักหน่อย เพราะเราพึ่งพบกันครั้งแรก หลังจากที่มีคน refer เธอเข้ามาอยู่ที่ Calvary นี่ โจเซฟินก็บอก OK แล้วก็พูดว่า งั้นเราไปนั่งคุยที่ริมหน้าต่างจะดีกว่า เธอค่อยๆลุกขึ้นจากเตียงด้วยความพยายามเล็กน้อย พอยืนได้ก็ค่อยๆจับ frame สี่ขาที่สองขาหน้าเป็นล้อ ช่วยพยุงตัวเดินไปที่โต๊ะข้างริมหน้าต่างตรงหน้าต่างนั่นเอง ก็มีรูปภาพอีกรูปวางอยู่ คล้ายๆนกแก้วแต่ตัวโต และสีสันจี๊ดจ๊าดสวยสด เป็นภาพระบายด้วยสีน้ำบนกระดาษวาดรูปคุณภาพดี ใส่กรอบสีฟ้าใสขับรูปให้เด่นขึ้น นกตัวนี้ดูสดใสจนแทบจะบินออกมาจากรูป

"รูปนี้สวยมากเลย โจเซฟิน" แฟรงค์ทักอย่างอดไม่ได้

"ใช่ ขอบคุณค่ะ ฉันวาดมันเองแหละ" โจเซฟินพูดยิ้มๆ

"ฮะ เธอวาดเองหรือนี่ โอ สวยมาก เก่งมากเลยโจเซฟิน ไม่ทราบมาก่อนเลยว่าเธอวาดรูปได้ดีอย่างนี้" แฟรงค์อุทานอย่างชื่นชม ตอนนั้นเองที่เราเริ่มมองไปรอบๆห้องและเห็นภาพประดับต่างๆที่น่าจะมาจากฝีมือของคนๆเดียวกัน "ทั้งหมดนี่ด้วยหรือนี่ โจเซฟิน?"

"ใช่แล้ว ฉันวาดและระบายเองทุกรูปเลย"

เราอดทึ่งไม่ได้ เพราะตอนที่เราเข้ามา ทราบว่าเธอเป็น motor neurone diseases ซึ่งเรื่องที่ท้าทายที่สุดก็คือการสูญเสียหน้าที่ของกล้ามเนื้อ แต่นี่เธอดูเหมือนกำลังจะเผชิญหน้ากับโรคของเธอโดยตรงทีเดียว

"มันก็ลำบากเหมือนกันตอนนี้ค่ะหมอ" เหมือนกับอ่านใจเราออก โจเซฟินพูดต่อไปเลยโดยที่เราไม่ทันได้ถามอะไร "ตอนนี้มือซ้ายนี่ก็ใช่ทำอะไรไม่ได้แล้ว" เธอเอามือขวาประคองมือซ้ายขึ้นมาแล้วปล่อย มือซ้ายก็ตกลงอย่างไร้เรี่ยวแรง "ส่วนมือขวานี่ ก็แค่พอกำช้อน ปากกา และแน่นอน พู่กันได้เท่านั้น"

หมอ GP แนะนำให้โจเซฟินมาอยู่ที่ Calvary เพราะจะได้มีคนช่วยดูแล เพราะเธอเริ่มดูแลตัวเองลำบากมากขึ้นที่บ้าน และบอกเธอว่า ที่ Calvary นี่ จะมี staff คอยดูแล และจะให้เธอจัด studio วาดรูปที่นี่ก็ได้ เธออาจจะมีความสุขมากกว่าอยู่ที่บ้าน

โจเซฟินชอบวาดรูปและระบายสีมาตั้งแต่เด็ก แต่โตมาก็ไม่ได้ทำงานด้านศิลปะอะไร จนกระทั่งปีที่แล้ว เธอตัดสินใจไปเข้า course เรียนศิลป เพื่อจะออกมาทำเป็นนักออกแบบ จะได้ทำงานที่เธออยากทำมาตั้งแต่เด็ก ตอนหลังจากจบ course นี้เองเมื่อปลายปีที่แล้ว ที่เธอเริ่มถูกวินิจฉัยเป็น MND โจเซฟินพูดออกมาอย่างขำๆว่า "ตอนนี้เองที่ฉันเลยมีเวลาระบายสีอย่างเดียว อย่างที่ฉันอยากทำมานานแล้ว"

น้ำเสียงของเธอแจ่มใส ไม่ได้ดูว่ามีความประชดประชันในชะตากรรมอันเล่นตลกร้ายนี้เลย ดูเหมือนว่าในช่วงหลังนี่เธอ "สร้างสรรค์" มากกว่าที่เธอ "สูญเสีย" ไป

"บนหลังตู้นั่น เห็นไหมค" โจเซฟินชี้ไปที่หลังตู้ มีภาพใบหน้าคนๆหนึ่งอยู่กลางภาพ ประกอบด้วย background หลายสีสัน เป็นความเป็นอยู่ในเมืองๆหนึ่ง หลายๆอิริยาบถ "นั่นเป็นนักเขียนชาวเมกซิกันค่ะ (ผมฟังชื่อไม่ทัน ขออภัย) เขาเป็นโรค motor neurone diseases เหมือนฉันนี่แหละ แต่เขาก็ไม่ได้ยอมแพ้ต่อชีวิต ตรงกันข้าม เขาสร้างสรรค์งานชั้นเยี่ยมออกมามากมายหลังจากที่เขาเป็นโรคนี้ฉันอ่านเรื่องราวของเขาแล้วเกิดเป็นแรงบันดาลใจ เขาทำให้ฉันอยู่ได้" เธอเล่าอย่างภาคภูมิใจ

โจเซฟินทราบว่า เวลาที่เธอวาดรูปและระบายสีจะค่อยๆหดสั้นลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือสิ่งที่เธอสามารถทำได้ และเธออยากจะให้ทุกวินาทีของมัน มีความหมายมากที่สุด เธอจะยอมรับความช่วยเหลือทุกอย่างที่เราสามารถทำให้เธอ และเธอจะใช้มันอย่างดีที่สุด นั่นคือคำสัญญาของเธอ (และกลายเป็นคำสัญญาของพวกเราไปด้วย)

แล้ว....ในประเทศไทย พอลล่าเชื่อว่ารพ.บางแห่ง มีดีกว่านี้อีกค่ะ แต่ยังไม่มีโอกาสได้เล่า หากใครมีเรื่องเล่าแบบนี้ ส่งมาที่พอลล่าได้เลยค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

ขอบพระคุณ อ.นพ.สกล สิงหะ เป็นอย่างสูง ที่เล่าเรื่องนี้ไว้ให้ได้เรียนรู้ค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #hhc#healing environment
หมายเลขบันทึก: 265181เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีจ๊ะ  โจเซฟินอยู่นี่เองไม่เจอกันมาตั้งนาน

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจให้
  • รักและคิดถึงนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ครูป้อม P . KRUPOM

ยินดีที่ได้รู้จักโจโซฟิน อิอิ

- สิ่งแวดล้อมที่เยียวยาจิตใจความรู้สึกของคนไข้ได้นั้น

- ผู้ให้บริการต้อง sense รับรู้ความรู้สึก และเข้าถึงหัวใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริง

- จนเกิดการสนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยจัดสรร สร้างสรรค์ด้วยตัวของเขาเองค่ะ

ผมว่านำไปใช่ได้ในหลายๆเรื่องนะครับ โดยเฉพาะ

sense รับรู้ความรู้สึก และเข้าถึงหัวใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริง

(การนำไปใช้ ก็เปลี่ยนจาก ผู้ป่วย เป็น คนที่เราจะพัฒนา)

ขอบคุณสาระที่ดีๆครับ

  • การให้บริการโดยยึดหัวใจคนไข้เป็นศูนย์กลางในการดูแลรักษาเป็นกุศโลบายที่ดีมากเลยค่ะ
  • สิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นมาเพื่อคนไข้ ช่วยเพิ่มสีสันในหัวใจได้อย่างแท้จริง "รูปภาพอีกรูปวางอยู่ คล้ายๆนกแก้วแต่ตัวโต และสีสันจี๊ดจ๊าดสวยสด เป็นภาพระบายด้วยสีน้ำบนกระดาษวาดรูปคุณภาพดี ใส่กรอบสีฟ้าใสขับรูปให้เด่นขึ้น นกตัวนี้ดูสดใสจนแทบจะบินออกมาจากรูป"
  • เป็นการเล่าเรื่องผ่านสายตาคนไข้ ฟังแล้วรู้สึกสดชื่นไปด้วยค่ะ

สวัสดีครับ

มาเยี่ยมครับ

 

สวัสดีคะ ท่านพี่ P. เกษตร(อยู่)จังหวัด

ฝนตกใหญ่

ดีกว่าฝนตกเล็ก อิอิ

คิดถึงๆๆค่ะ

สวัสดีคะ พี่ครูคิม P ครูคิม

เสื้อสวยจังเลยค่ะ อิอิ

รักและคิดถึงเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่านรอง P. small man

สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ เรื่องเลยค่ะ

เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา ขอรับ ท่าน

สวัสดีค่ะ พี่สาวคนสวย... แวะมาบอกว่าทำงานหนัก พักผ่อนบ้างนะค่ะ.....^_^ คิดถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่อาจารย์ศิลา P. Sila Phu-Chaya

มาช่วยกันให้กำลังใจรพ.ในประเทศไทยกันค่ะ

รออ่านเรื่องราวดีๆ จากรพ นะคะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ P kmsabai

ขอบคุณมากค่ะ ที่มาเยี่ยม

หายป่วยแล้วค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ น้องก้อย...P. ♡゚゚・kitty@jump・゚゚♡

คิดถึง เสมอ ค่ะ

พักผ่อนทุกวันเลยค่ะ

ดูแลตัวเองด้วยนะ

สวัสดีครับอาจารย์

ว่าจะโทรมาถมเรื่องการประเมินรับรอง  แต่กลัวรบกวนครับ

ขอถามในนี้นะครับ

คือท่านผอ.สมคบอยากรบกวนสอบถามถึง

 ขั้นตอนต่างๆ  และการเตรียมตัวนะครับ

  หรือว่าอาจารย์พอจะมีเวลาว่าง  บินมาเที่ยวปายฟรี เพื่อแบ่งปันหรือเปล่าครับ

  from..  [email protected] 

  รบกวนนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ว่าจะโทรมาถมเรื่องการประเมินรับรอง  แต่กลัวรบกวนครับ

ขอถามในนี้นะครับ

คือท่านผอ.สมคบอยากรบกวนสอบถามถึง

 ขั้นตอนต่างๆ  และการเตรียมตัวนะครับ

  หรือว่าอาจารย์พอจะมีเวลาว่าง  บินมาเที่ยวปายฟรี เพื่อแบ่งปันหรือเปล่าครับ

  from..  [email protected] 

  รบกวนนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ P  kmsabai

พอลล่าเพิ่งมาเห็นค่ะ

ขออภัยเป็นอย่างสูงเลยนะคะ อิอิ

สรุปว่า ส่งรายงานความก้าวหน้า และแบบประเมินระดับรพ. มาพรพ. เพื่อวิเคราะห์และจัดเยี่ยมนะคะ อยากไปปายมากค่ะ อยากไปช่วยนะคะ ที่พอลล่าเห็นประเด็นอยู่จะโทรไปเรียนค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.น้องพอลล่า
  • ไม่รู้โรงบาลป้าแดงทำกันไปถึงไหนแล้ว
  • อย่างนี้ต้องตามๆๆๆ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท