SAR part B


         สรุปจากการประชุมเตรียมการประเมินคุณภาพภายใน (IOQ) และการประเมินคุณภาพภายนอกโดยสมศ. รอบสอง (EQA) เมื่อวันอังคารที่ 25 เม.ย. 49 ณ ห้องสัมมนา 2 คณะศึกษาศาสตร์   สามารถสรุปแนวทางการจัดทำ SAR part B ของภาควิชา  ดังนี้ 

          SAR  part B  เป็นการประเมินที่เน้นผลลัพธ์    ใช้เพื่อการประเมินภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา โดยการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.  

                               การประเมินรายมาตรฐาน

1.       ประเมินตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน คะแนนเต็ม 5 คะแนน  (3+1+1)  โดยใช้เกณฑ์การประเมินดังนี้
         1.1    การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของแต่ละตัวบ่งชี้   คะแนนเต็ม 3 คะแนน
ตัวอย่าง การประเมินตัวบ่งชี้ที่ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า สำหรับกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและการวิจัย เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำของตัวบ่งชี้นี้ คือร้อยละ 60 วิธีการให้คะแนนกำหนดดังนี้

 
1 คะแนน
2 คะแนน
3 คะแนน
< ร้อยละ 40
ร้อยละ 41-59
³ ร้อยละ 60
          ในการนี้ จะต้องดำเนินการให้คะแนนจนครบทุกตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน
          
            1.2    การประเมินอิงพัฒนาการ โดยพิจารณาจากผลประเมินภายนอกครั้งที่ 1 และผลประเมินภายนอกครั้งที่ 2 ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 1 ระดับ จะถือว่ามีพัฒนาการ เช่น ผลการประเมินครั้งที่ 2 อยู่ในระดับดีในขณะที่ผลการประเมินครั้งแรกอยู่ในระดับปรับปรุงหรือพอใช้ หรือถ้าผลการประเมินอยู่ในระดับเดิมโดยผลประเมินทั้งสองครั้งต้องไม่ต่ำกว่าระดับดี ก็จะถือว่ามีพัฒนาการด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

           ในการให้คะแนนนั้น ถ้ามีพัฒนาการให้ 1 คะแนน ถ้าไม่มีพัฒนาการให้ 0 คะแนน ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 อยู่ในระดับดี หรือดีมากก็สามารถสรุปได้ว่ามีพัฒนาการโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผลการประเมินครั้งที่ 1 ในกรณีที่ไม่มีผลการประเมินครั้งที่ 1 และจำเป็นต้องใช้ผลเปรียบเทียบกับผลการประเมินครั้งที่ 2 ให้ใช้วิธีการประเมินย้อนหลัง (Expost facto technique)

           ในการตัดสินพัฒนาการของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในตัวบ่งชี้เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่แบ่งเป็น 5 ระดับ สรุปได้ดังนี้

 

ผลการประเมินรอบแรก

ผลการประเมินรอบที่สอง

การมีพัฒนาการ

ปรับปรุง
ปรับปรุง
ไม่มี
ปรับปรุง
กำลังพัฒนา
มี
ปรับปรุง
พอใช้
มี
ปรับปรุง
ดี
มี
ปรับปรุง
ดีมาก
มี
กำลังพัฒนา
ปรับปรุง
ไม่มี
กำลังพัฒนา
กำลังพัฒนา
ไม่มี
กำลังพัฒนา
พอใช้
มี
กำลังพัฒนา
ดี
มี
กำลังพัฒนา
ดีมาก
มี
พอใช้
ปรับปรุง
ไม่มี
พอใช้
กำลังพัฒนา
ไม่มี
พอใช้
พอใช้
ไม่มี
พอใช้
ดี
มี
พอใช้
ดีมาก
มี
ดี
ปรับปรุง
ไม่มี
ดี
กำลังพัฒนา
ไม่มี
ดี
พอใช้
ไม่มี
ดี
ดี
มี
ดี
ดีมาก
มี
ดีมาก
ปรับปรุง
ไม่มี
ดีมาก
กำลังพัฒนา
ไม่มี
ดีมาก
พอใช้
ไม่มี
ดีมาก
ดี
มี
ดีมาก
ดีมาก
มี
            1.3    การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบัน โดยพิจารณาจากรายงานประเมินสัมฤทธิผลของแผนหรือรายงานประเมินตนเอง ถ้าผลการประเมินพบว่า ตัวบ่งชี้นั้น ๆ บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนของสถาบันให้ 1 คะแนน ถ้าไม่บรรลุตามเป้าหมายของแผนให้ 0 คะแนน
            รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ได้ชี้แจงไว้ว่าหากสมศ. ยังไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้ ให้ยึดแนวทางดังนี้

 
(ร่าง)
          เกณฑ์การประเมิน Part B (กรณีที่ สมศ. ยังไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้)
   การประเมินแต่ละตัวบ่งชี้ คะแนนเต็ม 5
                *1.  ถ้ามีข้อมูลตัวบ่งชี้นั้น ๆ ที่เชื่อถือได้ ได้ 3 คะแนน ถ้าไม่มีได้ 0 คะแนน  ถ้ามีแต่วิธีการได้มาของข้อมูลดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือให้ลดคะแนนลงจาก 3 เป็น 2, 1 หรือ 0 ตามวิจารณญาณของคณะกรรมการประเมิน
               *2.  ถ้ามีร่องรอยหรือหลักฐานที่แสดงว่าตัวบ่งชี้นั้น ๆ  มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นอย่างน่าพอใจ ได้1 คะแนน ถ้าไม่มีได้ 0 คะแนน
               *3.  ถ้ามีร่องรอยหรือหลักฐานที่แสดงว่าตัวบ่งชี้นั้น ๆ บรรลุตามเป้าหมายในแผนของตนเอง ได้1คะแนน ถ้าไม่มีได้ 0 คะแนน
หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค
                                                                                                 อ.ศุภวิทู สุขเพ็ง 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26467เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะ ทั้ง อ.longman (อาจารย์ฐิติพงศ์ แก้วเหล็ก)และ อ.กอล์ฟ (อาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง : หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค)


เพราะเมื่อ วันที่ 25 เม.ย. 49  ดังกล่าว ดิฉันติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้  ทราบว่า ท่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันฯ  (อาจารย์ ดร. ศิริลักษณ์ ธีระภูธร) พาหัวหน้าภาคทุกท่านไปฟังด้วย ทำให้ได้ทราบกันอย่างถ้วนทั่ว และทำให้ดิฉันเองพลอยได้รับทราบอย่างละเอียดเช่นนี้อีกครั้ง ดีจังเลย !!

อ้อ! ตามที่อาจารย์สรุปไว้ตอนต้น ดังนี้  SAR  part B  เป็นการประเมินที่เน้นผลลัพธ์  ใช้เพื่อการประเมินภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา โดยการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.

ดิฉันขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกนิ๊ดนะคะตรงคำว่า ใช้เพื่อการประเมินภายนอก   นี่ จริงๆ แล้วก็ถูก เพียงแต่

การประเมินคุณภาพภายในที่เราทำกันเป็นประจำทุกปี  SAR  part B ก็ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพภายในดังกล่าวด้วยค่ะ

ความหมายและความแตกต่างของ การประกันคุณภาพภายใน และ การประกันคุณภาพภายใน เป็นดังนี้ "Click"

ในระบบ NUQA นั้น EQA เป็น subset ของ IQA

IQA ทำการประเมินทุกปีการศึกษา

EQA ทำการประเมิน (โดย สมศ.) อย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี

ดังนั้น ถ้าช่วยกันทำ IQA ดี ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจอะไรกับ EQA ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท