ทำไมต้องประกันคุณภาพการศึกษา (ตอน ๕)


5 ปีที่ผ่านมา สมศ. ประเมินระดับสถาบัน เป็นการประเมินภายนอก เน้นประเมินตามสภาพจริง ไม่ตัดสิน ได้-ตก

ตอน ๔ "Click"
ตอน ๓ "Click"
ตอน ๒ "Click"
ตอน ๑ "Click"

 


 

          ตอนที่ ๔ ดิฉันเล่าว่าต้นสังกัดของมหาวิทยาลัย :  สกอ.(ทบวงฯ เดิม) ดำเนินการอะไรบ้างเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  คราวนี้ ถึงคราว สมศ. บ้าง  สมศ. ดำเนินการอะไร?

          เมื่อ 5 ปี ที่แล้ว นับถอยหลัง พ.ศ.   48   47   46   45   44  สมศ. ทำอะไรหลายอย่าง คล้ายๆ กับ สกอ. ดังนี้

          5 ปีที่ผ่านมา  สมศ. ประเมินระดับสถาบัน เป็นการประเมินภายนอก เน้นประเมินตามสภาพจริง  ไม่ตัดสิน ได้-ตก ดังนั้น ผลก็เหมือนกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่  พอรู้ว่าสอบแล้วไม่เก็บคะแนน หรือไม่ตัดสินผล  ก็ได้ใจ  สอบอย่างขอไปที ไม่ตั้งใจทำ.....

          5 ปี ต่อจากนี้ พ.ศ.   49   50   51   52   53   สมศ. เรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา จึงประกาศในปี 49 แล้วว่า  ต่อไปนี้  สมศ. จะเก็บคะแนนสอบ เทียบเคียงกันในกลุ่มสาขาเดียวกัน และกลุ่มมหาวิทยาลัยแบบเดียวกัน ใครสอบได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จะตัดสินได้ หรือ ตก แล้วนะ ฮึมม!! (หมายความว่า ถ้าเป็นสาขาวิชา อาจมีสิทธิ์ปิดหลักสูตร  ถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัย มีสิทธิ์ลุ้นรับ งบประมาณแบบไม่พอเพียง)

          รายละเอียด ข่าวล่ามาเร็ว ติดตามได้จาก "Click" คะ

          วิธีการแก้ปัญหาของ มน. จากการมีทั้ง องค์ประกอบคุณภาพของ สกอ. (ทบวงฯ) และ มาตรฐานของ สมศ. ก็คือ แบ่งการประเมินผลการดำเนินงานออกเป็น  2 Part : Part A กับ Part B

          Part A :  ประเมินตามองค์ประกอบคุณภาพ 9 ด้าน ของสกอ. (ทบวงฯ)
          Part B :  ประเมินตามมาตรฐาน 8 ด้าน ของ สมศ.

          Part A :  เน้น Input  Process และ output เชิงคุณภาพ
          Part B :  เน้น Output ที่วัดได้เชิงปริมาณ


          เรื่องของ สกอ. กับสมศ. ดังที่เล่ามาข้างต้น อิ๊กคิวซี ก็เคยบ่นไว้เมื่อครั้งกระโน้น (พ.ศ. 2545) ในสารสหเวชสัมพันธ์ จั่วหัวข้อข่าว ว่า Double Standard  ดังนี้
   

          ย้อนนึกถึงพระบรมราโชวาทของในหลวง  ในวันขึ้นปีใหม่ 2545 ที่ผ่านมาเพียง  2  เดือน ของปีนี้   อิ๊กคิวซียังฝังใจ กับคำที่ในหลวงท่านตรัส เป็นภาษาอังกฤษว่า  Double standard   ไม่รู้คลาย  เพราะเข้าไม่ถึงปรัชญา เจาะไม่ถึงแก่นในคำที่กินความหมายลึกซึ้งถึงหลายต่อหลายประเด็นปัญหาในโลก ในบ้านในเมือง ในสังคม อันวุ่นวายของยุคโลกาภิวัฒน์นี้  และคราวนี้ดูเหมือนไม่มีใครเพียรจะอธิบายขยายความ  เหมือนเมื่อตอนที่ท่าน ตรัสคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง

          ด้วยความที่อิ๊กคิวซี เป็นผู้ที่เทิดทูน บูชา ในหลวง อย่างหัวปักหัวปำ เวลาเกิดปัญหาใดใด จึงนึกถึงพระองค์ท่านทุกครั้ง รวมทั้งนึกถึงพระบรมราโชวาทของท่านด้วย  คำคำนี้จึงผุดขึ้นมาในความรู้สึกอีกครั้ง เมื่อต้องผจญกับ  สิ่งที่ดูเหมือนจะคล้ายๆกับ Double standard ในเรื่องที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

          เริ่ม งง แล้วใช่ม้า  คืองี้  จำได้มั้ยค่ะว่า  ตอนเราเริ่มเข้ามาข้องแวะกับงานประกันคุณภาพฯกันใหม่ๆ  พวกเราต่างก็ยึดถือแนวปฏิบัติของทบวงฯ เป็นที่ตั้ง  ทบวงฯ กำหนดว่า  คุณภาพของการศึกษา  วัดจากองค์ประกอบ 9 ด้าน  โดยในองค์ประกอบ 9 ด้าน มีดัชนีชี้วัดอยู่ 28 ตัว

          ….พอเริ่มจะคุ้นๆ เริ่มจำกันได้  ใช้กันเป็นบ้างแล้ว  บทบาทของทบวงฯ ก็ถูกเปลี่ยนไปตาม พ.ร.บ. การศึกษา  และพ.ร.ฎ. สมศ.    (สมศ. :  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นหน่วยงานที่เข้ามาทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก และรับรองมาตรฐานแทนทบวงฯ )

          แต่สิ่งนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไรดอกนะเจ้าค่ะ   เพราะถ้าเปรียบเสมือนเพื่อนซี้ของเราเปลี่ยน ชื่อ  นามสกุล ใหม่ ใช้เวลาไม่นานเราก็พอจะจดจำชื่อ นามสกุล  ใหม่ของเขาได้ แรกๆก็อาจไม่คุ้น  นานๆไปก็ชินไปเอง

          แต่นี่  รู้สึกว่าเพื่อนซี้คนนี้จะไปทำศัลยกรรมตกแต่งมาด้วย  เรียกว่า แม้แต่หน้าตาก็ยังเปลี่ยนไปเป็นคนละคน  ที่เปรียบเทียบอย่างนี้ก็เพราะ  สมศ. ตั้งเกณฑ์ใหม่  ใช้คำว่า มาตรฐาน แทนคำว่าองค์ประกอบ  มีอยู่ทั้งหมด 8 ด้าน  โดยในมาตรฐาน 8 ด้าน  มีตัวบ่งชี้อยู่ 28 ตัว  เท่ากัน  (แต่ไม่เหมือนเดิม)  เฮ้อ !!  แล้วจะไม่ให้เรียกว่า double standard  จะให้เรียกว่าอะไรละเจ้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 26457เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 06:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน ท่านอาจารย์มาลินี

 เปรียบเทียบได้ดีมากเลยครับ อย่างนี้สอบผ่าน OOnet + AAnet สบายๆครับ

ประกาศผลสอบคราวนี้ เชื่อถือได้รึยังคะ ?

กราบเรียนท่านอาจารย์มาลินี ธนารุณ

จากที่ได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ km และ blog  ของท่านอาจารย์ 1 ครั้ง    ตั้งแต่นั้นมารู้สึกโชคดีมหาศาลเสมือนว่าได้เป็นลูกศิษย์ของนักปฏิบัติทุกท่านใน gotoknow.com เลยก็ว่าได้ค่ะ     ตอนนี้กำลังพยายามดำเนินการต่างๆเพื่อจัดทำ+เผยแพร่การใช้งาน blog ในหน่วยงานเพราะเชื่อว่าเพื่อนร่วมงานจะรู้สึกแบบนี้เช่นเดียวกันค่ะ    หากสำเร็จหน่วยงานของพวกเราคงได้มีโอกาสนำความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านได้บ้าง  ตอนนี้ตัวดิฉันได้แต่แอบอ่านแอบปลื้ม blog ของท่านโน้นทีท่านนี้ที  และก็ทำตัวลึกลับซ่อนเร้นดุจนินจาดำไปก่อน  ก็อ่าน blog ของแต่ละท่านแล้ว...รู้สึกตัวเองหมองเล็กจิ๋วเดียวเองค่ะ   

ล่าสุดได้เข้าไปอ่าน รายงานสดจากห้องประชุมการเสวนาคนเขียน blog ครั้งที่ 2/2549  ของท่านอาจารย์วิบูลย์ วัฒนาธร รู้สึกว่าควรจะมีคำว่า  "คุณ awesome (สุดยอด!)"   อีก 1 คำ สำหรับใช้จำกัดความให้กับทีมงานผู้จัดเสวนา ที่ทำให้เกิดงานที่น่าอิจฉาแบบนั้น  ^ - ^  ไม่ทราบท่านอาจารย์มาลินีมีความเห็นว่าอย่างไรคะ 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

happy blog  beginner

ส่วนท่านอาจารย์สมหวังแห่ง สมศ.  ขอเรียกขานท่านในใจด้วยความรู้สึกเคารพเป็นอย่างยิ่ง ว่า

 "คุณโอสถทิพย์แห่งการศึกษาไทย"  ค่ะ 

  • ขอบคุณ คุณ happy blog beginner มากค่ะ ที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างกระชั้นชิด ถือได้ว่า เป็น Good Learner ทีเดียว ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะ
  • ณ ที่แห่งนี้ เราจะมีกัลยาณมิตรมากมาย
  • ไม่มีใครว่าหรอกคะว่า เรื่องไหนถูกเรื่องไหนผิด
  • ทุกคน ทุกท่านเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน
  • ขอให้มีความสุขในชุมชนแห่งนี้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท