อินเล วันนี้


เราๆ ท่านๆ คงจะได้ยินได้ฟังเรื่องของชุมชนอินเล รัฐฉาน พม่ามาบ้างแล้ว ที่นั่นมีทะเลสาบ คนที่นั่นเขาไม่พายเรือด้วยแขน แต่พายเรือด้วยขา ประวัติว่า คนอินเลอพยพจากชายแดนไทย-พม่าไปทางตะวันตกมาหลายร้อยปีแล้ว เพราะทนพิษภัยจากสงครามไม่ไหว

[ Picture from Myanmar times ] > [ Click - Click ]

เราๆ ท่านๆ คงจะได้ยินได้ฟังเรื่องของชุมชนอินเล รัฐฉาน พม่ามาบ้างแล้ว ที่นั่นมีทะเลสาบ คนที่นั่นเขาไม่พายเรือด้วยแขน แต่พายเรือด้วยขา ประวัติว่า คนอินเลอพยพจากชายแดนไทย-พม่าไปทางตะวันตกมาหลายร้อยปีแล้ว เพราะทนพิษภัยจากสงครามไม่ไหว

วันนี้ผู้เขียนขอนำข่าวชะตากรรมของอินเลจากหนังสือพิมพ์เมียนม่าร์ ไทม์มาฝากครับ ข่าวเริ่มด้วยอู วิน ชาวประมงน้ำจืด ซึ่งมีลูก 5 คนบ่นว่า ปลาในอินเลลดลงมากใน 3-5 ปีที่ผ่านมา ตัวท่านและคนในหมู่บ้านจึงต้องหันไปเลี้ยงหมูเป็นรายได้เสริม

ชุมชนอินเลเป็นชุมชนกลางทะเลสาบอินเล มีประชากร 20 หมู่บ้าน ประมาณ 25,000 คน ชุมชนนี้เป็นชุมชนลูกดก ประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ใน 23 ปีที่ผ่านมา(นับตั้งแต่ปี 2526)

ท่านอู ตัน เต(เข้าใจว่า น่าจะเป็น “เฏ” ออกเสียงขึ้นจมูกแบบบาลีมากกว่า “เต” เพราะมาจาก U Than Htay) หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังอินเลกล่าวว่า

ปัญหาใหญ่ของทะเลสาบอินเลคือ เรื่องน้ำตื้นเขิน มีสาหร่ายเติบโตมากเกิน การเติบโตและทับถมตะกอนของสาหร่ายเกิดเร็วจนมีปัญหาน้ำเสีย ทำให้ปลาลดลง

นอกจากนั้นการท่องเที่ยวที่ใช้เรือยนต์มีส่วนทำให้เกิดคราบน้ำมันปกคลุมผิวน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมลง การทำเครื่องเงินและผ้ามีส่วนปล่อยสารเคมีและสีลงในแหล่งน้ำ

ชุมชนอินเลมีเทคนิคการปลูกแปลงพืชลอยน้ำ โดยนำสาหร่ายมาตากแดด ทำเป็นกระบะแพไว้ปลูกพืช เช่น มะเขือเทศ ฯลฯ

ต่อมามีคนนำพันธุ์มะเขือเทศจากไทย ซึ่งให้ผลผลิตสูง ทว่า...เป็นพันธุ์ที่พึ่งพิงสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย หรือยาฆ่าแมลง เมื่อปุ๋ยตกลงไปในน้ำจะทำให้สาหร่ายโตเร็วมากเกิน ส่วนยาฆ่าแมลงก็จะสะสมอยู่ในแหล่งน้ำที่ชาวบ้านในดื่ม กิน

ชาวบ้านอินเลส่วนใหญ่ไม่มีปัญญาทำส้วม ค่าใช้จ่ายในการทำส้วมตกประมาณ 1.5 ล้านจั๊ต(ประมาณ 60,000 บาท)แพงเกินไปสำหรับคนที่นั่น ปัญหาของเสียจากส้วมก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งเหมือนกัน

ทว่า... ปัญหาใหญ่ที่สุดน่าจะอยู่ที่ทะเลสาบตื้นเขินขึ้นทุกวัน เมื่อ 100 ปีก่อนมีการขุดทะเลสาบ 5 แห่ง เพื่อดักตะกอนจากเขารอบๆ อินเล ปัจจุบันทะเลสาบเหล่านี้ตื้นเขินแล้ว

การทำไร่บนเขามีส่วนทำให้น้ำชะหน้าดินตกลงในทะเลสาบมากขึ้น ท่านอู ติน หม่าว ผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา... อินเลตื้นเขินจนต้องขุดตะกอนออกไปประมาณ 100 คันเรือขุด เพื่อให้เรือแพพระผ่านไปได้ในเทศกาลเจดีย์เฟา ดอว์ อู(แห่พระลงเรือ)

อาจารย์ดอว์ ขิ่น มยา ครูเกษียณอายุ 61 ปีจากเฮยา ยวามาเล่าว่า สมัยท่านเป็นเด็ก... ทะเลสาบอินเลลึกจนว่ายน้ำไปมาได้ ปัจจุบันตื้นเขินจนพายเรือเล็กๆ ผ่านไม่ได้ในหน้าร้อน

อินเลเคยมีน้ำใส แต่ 8 ปีที่ผ่านมา... น้ำในทะเลสาบกลับเต็มไปด้วยสาหร่าย และตะกอน

เมืองไทยน่าจะเชิญชาวอินเลมาสอนวิธีพายเรือด้วยขา แสดงโชว์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ต่อไปเมืองไทยจะได้มีการแข่งพายเรือด้วยขาแบบอินเลบ้าง...

เชิญชมภาพชีวิตชาวอินเลที่นี่ >>>

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > www.mmtimes.com (Myanmar Times. Vol.16, No.310. (March17-April2, 2006). http://www.myanmar.com/myanmartimes/MyanmarTimes16-310/n001.htm > May 2, 2006.
    (ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของเมียนมาร์ ไทม์ - ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า)
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙.
  • เชิญอ่านบ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
หมายเลขบันทึก: 26420เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ผมเป็นห่วงว่าปลาในภาคตะวันตกจะกินไม่ได้เพราะสารตะกั่วที่บริเวณคลิตี้
  • เป็นชาวประมงที่น่ารักนะครับ
  • ขอบพระคุณคุณหมอมากครับที่นำมาให้อ่าน

ผมเคยเห็นการพายเรือด้วยขา และการปลูกผักลอยน้ำของอินเล ในสารคดีมาเหมือนกันครับ เป็นวิถีที่น่าสนใจดีครับ

วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต อาจารย์ longman และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • 1). อินเลเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ (uniqueness) ตรงนี้เป็นจุดขายที่ดีของการท่องเที่ยว
  • 2). ถ้าเราเชิญอาจารย์อินเลมาสอนวิธีการพายเรือแบบนี้ได้... น่าจะเกิดจุดขายใหม่ของการท่องเที่ยวไทย หรือทำเป็นกีฬาประเพณีใหม่ขึ้นมาก็น่าจะได้
  • ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เมตตากับชาวพม่า... เพื่อนบ้านของเราที่นับถือพระพุทธศาสนาคล้ายๆ กันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท