อยากนำนิทานร้อยบรรทัดมาใช้สอนใหม่ แต่ไม่มีหนังสือ ทำอย่างไรคะ


ไม่ทิ้งของเก่า เข้าถึงของใหม่

 

นิทานร้อยบรรทัด

นิทานไทย..ที่ทรงคุณค่าไม่เสื่อมคลาย

 

“อยากเห็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียนจากนิทานร้อยบรรทัด..”

“จากตัวอย่างนิทานร้อยบรรทัดในบันทึกหนังสือทองเป็นของชั้น ป.๒ จะใช้สอนชั้น ป.๔ ได้ไหม..”

“จะสร้างนิทานร้อยบรรทัดขึ้นใหม่เอง เป็นหนังสือเล่มเล็กจะได้หรือไม่ ..”

“จะหาซื้อหนังสือนิทานร้อยบรรทัดได้จากที่ไหน ..”    ฯลฯ

 

เป็นคำร้องขอของคุณครูภาษาไทย...ช่วงนี้ หลายท่านมาก  ในเรื่องการนำนิทานร้อยบรรทัดกลับมาสอนใหม่   จากการที่โรงเรียนสามารถเลือกใช้หนังสือเรียนเพิ่มเติมจากแบบเรียนภาษาไทยตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี    เนื่องจากความพยายามในการบอกกล่าวถึงคุณค่าของนิทานร้อยบรรทัดที่ผู้เขียนตระหนักว่ามีคุณค่าอย่างมากมายมหาศาล  จึงได้บอกกับคุณครูภาษาไทยอยู่เสมอ ..บรรพบุรุษ  ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ท่านได้สร้างสรรค์สิ่งดีๆไว้ให้ลูกหลานได้เล่าเรียน ..นิทานทองของไทย  หากมีการนำมาใช้สอนใหม่ได้  จะเป็นการดีอย่างยิ่ง  

 

หลากหลายคุณค่าของนิทานร้อยบรรทัด

ใช้ฝึกหัดอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  (เป็นหลัก)  (K, P)

อ่านเป็นบทท่องจำ ..ทำนองเสนาะ  (K, P)

อ่านจับใจความ  อ่านเอาเรื่อง (K, P)

ฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และ เขียน (K, P)

หาบรรทัดทองต้องใจ  ในแต่ละหน้า/แต่ละช่วงที่กำหนดให้ (K, P)

ใช้เรียนความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษา (K)

หาคำที่สะกดตามมาตราต่างๆ   อักษรนำ (K)

คำควบกล้ำ   คำใช้สระต่างๆ   คำประ-ไม่ประวิสรรชนีย์    หาคำราชาศัพท์ (K)

ฝึกเขียนคำ  ประโยค  ข้อความ  เขียนสร้างสรรค์ (K, A)

คัดลายมืองาม  ตัวบรรจงเต็มบรรทัด-ครึ่งบรรทัด  คัดบรรจงแกมหวัด (P)

สอนคุณธรรม  จริยธรรม  คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ (A)

ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  รักความเป็นไทย (A)

ความภาคภูมิใจและหวงแหนท้องถิ่น  ประเทศชาติอันเป็นที่รัก (A)

ฯลฯ

 

(๑)    ตัวอย่าง  การจัดกิจกรรมฝึกทักษะจากนิทานร้อยบรรทัด     ..เฉพาะหน้านี้นะคะ..

 

 

๑.  การฝึกอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  :  ครูอ่านให้ฟัง - อ่านตามครูทั้งชั้น- อ่านเป็นรายบุคคล – จับคู่เปลี่ยนกันอ่าน ฉันอ่าน-เธอฟัง เธออ่าน-ฉันฟัง – เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน

๒.  การฝึกอ่านทำนองเสนาะ : ครูอ่านให้ฟัง – อ่านตามครูทั้งชั้น – แข่งขันอ่านเป็นกลุ่ม – ครูสังเกตความพร้อมเพรียง  ท่วงทำนอง จังหวะ  น้ำเสียงเป็นธรรมชาติ  ความไพเราะ และความถูกต้องของอักขระ-เมื่อเด็กแม่นแล้วฝึกอ่านรายบุคคล

๓.  การฝึกอ่านแบบท่องจำ : นักเรียนท่องทุกวัน–พัฒนาสมอง–เน้นการท่องแบบมีความหมาย ไม่ใช่นกแก้วนกขุนทอง – นักเรียนจะเกิดทักษะการอ่านกลอนสุภาพ–นิทานร้อยบรรทัดเป็นกลอนแปด –เด็กจะสามารถจำวิธีการอ่าน ๓-๒-๓  หรือ ๓-๓-๓ –อ่านทุกวัน –ครูตรวจสอบความสามารถเป็นรายบุคคลได้-เมื่อผ่านทุกคน-เปลี่ยนท่องหน้าอื่น-ท่องรายสัปดาห์-รายเดือน-ภาคเรียน-ปีการศึกษา-สิ้นปีการศึกษา-นักเรียนต่อได้ครบ ๑๐๐ บรรทัด ..สุดยอดของความจำ..เป็นความจำที่คงทน..โตเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ลืม ..จริงๆ ค่ะ

๔.    การเรียนรู้เรื่องหลักเกณฑ์ทางภาษา :

.๑ หาคำตามมาตราตัวสะกด ทั้ง ๙ มาตรา  ได้แก่ แม่ ก กา  แม่กง  แม่กน  แม่กม (ที่ตรงมาตรา) (เนื่องจากเป็นหน้าแรก  คุณครูก็เริ่มจากง่ายไปหายาก หน้าต่อไปก็หาคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา และ เริ่มมาตราแม่กก กด กบ เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ)

.๒ ฝึกแจกลูก

.๓ ฝึกผันวรรณยุกต์

.๔ หาคำที่ประวิสรรชนีย์

.๕ หาคำที่ประสมสระต่างๆ

.๖ หาคำที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่ นก-วิหค-สกุณา

                       ฯลฯ 

๕.    การฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ :

๕.๑ โดยใช้คำถาม : ในหน้านี้มีตัวละครทั้งหมดกี่ตัว ใครบ้าง ( ๓  เด็กชาย-เด็กหญิง-นก)

          นกร้องทักเด็กสองคนว่าอย่างไร – เด็กสองคนพูดตอบนกว่าอย่างไร-นักเรียนเชื่อไหมว่านกพูดได้จริง    

         (ประเด็นคำถามนี้ เป็นการฝึกคิดเชิงตรรกะ เด็กสามารถคิดกว้าง คิดไกลได้ตามความสามารถของแต่ละคน)

         เนื่องจากเป็นหน้าแรก คุณครูก็ใช้คำถามง่ายๆก่อน และยากขึ้นตามลำดับในหน้าถัดไป เพราะค้างอีกตั้ง ๙๒

         บรรทัดแน่ะ..อิอิ ! นี่เพียง ๘ บรรทัดเท่านั้นเองนะคะ   ..อย่าลืมนะคะ นิทานร้อยบรรทัด..

              ๕.๒ โดยการเขียนวาดภาพประกอบเรื่อง : ให้นักเรียนวาดภาพขึ้นใหม่โดยไม่ต้องเหมือนใน    

    หนังสือ   วาดตามความคิดของนักเรียน  แต่ให้มีตัวละครครบ  สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง  และเขียนบรรยาย

    ประกอบภาพ (นี่คือความคิดสร้างสรรค์ ที่สวยงามมากนะคะ..ภาพ สื่อศิลปะ เรื่องราวใหม่ สื่อความสามารถ

    ทางภาษา)

              ๕.๓ โดยการเขียนสรุปสาระสำคัญ เฉพาะของหน้านี้ - ครูอาจระบุว่าให้สรุปเป็นข้อความสั้นๆ  

    ความยาวไม่เกิน ๓ ประโยค เป็นต้น (เป็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผ่านการไตร่ตรองแล้ว จึงนำมาสรุป)

              ๕.๔ โดยการหา “บรรทัดทองต้องใจ”  ใน ๘ บรรทัดนี้ นักเรียนชอบบรรทัดไหนมากที่สุด เพราะ

    อะไร  (ความสามารถด้านการระบุเหตุผล) ..เป็นความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยมมาก สำหรับ

    จุดเริ่มต้น ในชั้นเด็กเริ่มเรียน  หากคุณครูฝึกบ่อยๆเด็กจะคิดเป็น บอกเหตุผลเป็น  ในชั้นที่สูงขึ้น คุณครูก็

    เพิ่มจาก  ...บรรทัดทอง.. เป็น ..วรรคทอง.. เข้าท่าดีนะคะ

 

เพียงพอแล้วนะคะ..สำหรับ ๘ บรรทัดแรก  ต่อไปค่อยยากขึ้นตามลำดับ

เช่น การเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Mind  Mapping)   การเขียนบทร้อยกรองใหม่ 

การตั้งคำถามที่ยากขึ้น ฝึกการคิดระดับสูงขึ้น เป็นต้น

 

๖.  การฝึกทักษะการเขียน :  ได้แก่ การเขียนแบบฝึก เรื่องหลักเกณฑ์ทางภาษา ตามข้อ ๔ – การเขียนเรื่องราว –การเขียนสรุปสาระสำคัญ – การเขียนบรรทัดทองต้องใจ – การเขียนตอบคำถาม – การคัดลายมือ(ในชั้นเริ่มต้น คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด  ชั้นที่สูงขึ้น คัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด และตัวบรรจงแกมหวัด เป็นต้น)

 

  

 

(๒)            ตัวอย่าง  สื่อประกอบการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนจากนิทานร้อยบรรทัด

๑.     แบบฝึกทักษะ เรื่องหลักภาษา  -  คุณครูจัดทำเพิ่มได้นะคะ ตามกิจกรรมที่จัด

๒.    แบบฝึกคัดลายมือ

๓.    แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ – คุณครูจัดทำเป็นชุดๆ ระบุคำถามให้ชัดเจนตรงจุดประสงค์

๔.    แบบทดสอบวัดความรู้ – คุณครูต้องจัดเน้นเพิ่มข้อสอบแบบอัตนัย  ให้เด็กเขียนมากขึ้น

จากข้อ ๑-๔ เป็น ชิ้นงานของคุณครู    แล้วหากว่า..ไม่มีหนังสือนิทานร้อยบรรทัด จะทำอย่างไร

คุณครูสามารถสร้างหนังสือขึ้นใช้เองได้   

วาดภาพประกอบโดยดูต้นฉบับเป็นหลัก พิมพ์เนื้อหาตามต้นฉบับ  

จัดทำเข้าเล่มให้สวยงาม 

จะทำเป็นเล่มใหญ่ (Big Book)   หรือเล่มเล็ก (Small Book) ก็ได้ค่ะ    

ควรคำนึงถึงวัย และระดับชั้นที่สอนด้วย  ***  ดูต้นฉบับได้ที่นี่ค่ะ..คลิกเลย..มีครบทุกหน้า ***

 

สุดยอดความคิดสร้างสรรค์ของคุณครูเชียวค่ะ..

หากจะลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็ก (Digital Divide)

คุณครูก็ทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)  ..ยิ่งแจ๋วค่ะ..

หนังสือภาพ..สำหรับโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์..สำหรับโรงเรียนที่พร้อม

ไม่ยากเลยนะคะ..กับการทำให้เด็กเข้าถึงความรู้

ลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ (Knowledge Divide) ได้แน่นอนค่ะ

ไม่ทิ้งของเก่า  เข้าถึงของใหม่

..นิทานร้อยบรรทัด..

กิจกรรมทั้งหมดเป็นความคิดของผู้เขียนที่คิดออกนะคะ

เพื่อนๆ ที่แวะเวียนเข้ามาอ่านมีกิจกรรมเพิ่มเติมนอกจากนี้

เชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะคะ

เพื่อเป็นการแบ่งปัน..

สวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 263866เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ คุณอ้วน ที่คิดถึง

  • ผมมาเยี่ยมในยามค่ำคืนครับ
  • แวะมาเป็นเพื่อนคนดึก
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • และอย่าลืมรักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีค่ะ..

ต๊กกะใจค่ะ..อิอิ

ขอบคุณมากค่ะ..ที่อาจารย์แวะมาเยี่ยมยามดึก

วันนี้ขยันค่ะ..

อาจารย์สบายดีนะคะ..

มีความสุขกับการทำงานวันพรุ่งนี้และทุกวันนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

  • คุณ อ้วน ครับ
  • ผมอ่านบันทึกนี้แล้ว ทำให้คิดถึงสมัยเมื่อยังเป็นเด็กๆ
  • เคยอ่านให้คุณพ่อ คุณแม่ฟังทุกๆคืนก่อนนอน แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว แต่ทุกอย่างยังอยู่ในความทรงจำเสมอ
  • ยังคิดถึงคุณครู  คิดถึงเพื่อนๆ ทีเคยเรียนเคยอ่านมาด้วยกัน
  • จากหนังสือนิทานร้อยบรรทัดนี้เอง
  • ที่ทำให้ผมรักภาษาไทยตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึงทุกวันนี้
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆแบบนี้
  • มีความสุขกับการทำงานตลอดไปนะครับ

          นอนหลับฝันดีนะครับ ..... เพื่อนรัก

ศน.เจ้าขา..

       .. ^__________^ ..

       อีกหนึ่งสุดยอดบันทึกที่ตรงใจครูตุ๊กแกมาอีกแล้ว ชอบๆๆๆๆ

       ครั้งแรกที่หนูเห็น นิทานร้อยบรรทัด ในหนังสือเรียนภาษาพาที ป.2 หนูยอมรับอย่างน่าชื่นตาบานเลยว่า " จะสอนยังไงเนี่ย " และก็รู้สึกไม่ชอบนิทานร้อยบรรทัดเลย

       แรกๆ ก็งมๆ ลองผิดลองถูกอยู่ หลังๆก็เริ่มหาทางเดินได้(บ้างเล็กน้อย)

       แต่วันนี้...พระเจ้า...

       ทางเดินของหนูสว่างไสวเชียวค่ะ (เว่อร์ไปไหมคะ)

       บันทึกนี้มีกิจกรรมการสอนมากเลย บางกิจกรรมหนูก็ลืมไปแล้ว

       ดีจังค่ะบันทึกนี้ ...

       ตอนนี้รู้สึกชอบนิทานร้อยบรรทัดแล้วค่ะ

       ขอบคุณค่ะ ^__^

           

สวัสดีครับ

เห็นภาพวาดในหนังสือเรียนแล้ว ดูสดชื่น มีความสุขดีนะครับ

ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส..

กำลังเตรียมเนื้อหาสอนเด็กอยู่พอดี

หนังสือชุด ดรุณศึกษา ก็น่าสนใจนะครับ

โรงเรียนคริสต์บางแห่งยังใช้กันอยู่เลย

ขอบคุณ อ.ทณ.เมืองกาฬค่ะที่ทำให้รู้สึกหวนย้อนคิดถึงความงดงามในวัยเด็ก

กับหนังสือที่มีคุณค่า

เรามาช่วยกันย้อนนำของดีกลับมาใช้ในการเรียนการสอนอีกนะคะ

ขอบคุณครูตุ๊กแก..คนเก่งสม่ำเสมอค่ะ

รู้สึกดีใจมากค่ะ..ที่ครูตุ๊กได้แนวทางการจัดกิจกรรม

ศน.อ้วนก็ภาวนาค่ะ..ว่าอยากให้คุณครูภาษาไทยได้แนวทางเช่นครูตุ๊กค่ะ

และก็รู้สึกดีใจเพิ่มขึ้นเมื่อรับรู้ว่าครูตุ๊กรักนิทานร้อยบรรทัดมากขึ้น..

ยุนะคะ..ยุให้แต่งเอง "นิทานร้อยบรรทัดทอง..ของครูวัลย์วิสา"

สอนภาษาษาไทย-คุณความดี-ภูมิปัญญาของชาวสุพรรณ

ทำเป็นสื่อลอยฟ้า..เช่นครูขวัญ  นะคะ

แต่งไปทีละน้อย..ทีละน้อย..ทีละ ๑๐ บรรทัด

กำหนด..แก่นของแต่ละช่วงว่าคืออะไร ..ช่วงละ ๑๐ บรรทัด

วาดภาพประกอบแต่ละช่วงด้วย..

โห..เป็นนวัตกรรมที่ แค่คิดก็อยากทำเนอะ..คนเก่ง

ลุ้นๆค่ะ..

P

 

ขอบคุณมากค่ะ..

มีหนังสือเก่าแก่อีกหลายเล่มค่ะที่มีคุณค่ากับการนำกลับมาใช้สอน

เห็นอยู่ค่ะ..ดรุณศึกษา  ในโรงเรียนเอกชนที่เชียงใหม่ก็ใช้อยู่หลายโรงเรียนค่ะ

ศน.อ้วนครับ

ลองทำหนังสือไปถึงกรมวิชาการ ขออนุญาตใช้ทำสำเนามาใช้สอน หรือเสนอเป็นโครงการไปยังกระทรวงศึกษาธิการขอใช้แบบเรียนนี้(นิทานร้อยบรรทัด)ใช้สอนในเขตพื้นที่ที่ศน.อ้วนรับผิดชอบดูสิครับ

สวัสดีท่านอัยการชาวเกาะค่ะ..

รู้สึกดีใจและปลาบปลื้มมากค่ะที่ท่านกรุณามาเยือน

อิอิ..ตามเก็บรอยค่ะ..จึงมีโอกาสมาพบท่าน

ต้องขอโทษท่านอัยการด้วยค่ะ..

ขอบพระคุณท่านมากค่ะ..ในความกรุณาแนะนำ 

เดี๋ยวนี้ทาง สพฐ.จะเปิดโอกาสให้แต่ละเขตพื้นที่สามารถทำในสิ่งที่ดำริเองได้ ในงบประมาณที่โอนจัดสรรมาให้ค่ะ

เพราะฉะนั้นในกรณีนี้   หนูได้ทำบันทึกเสนอผ่านท่านผู้อำนวยการแล้วค่ะ ก็คงยังติดปัญหาดั้งเดิม  นั่นคือ งบประมาณจะเป็นงบของโรงเรียนหมดแล้วค่ะ

งบพัฒนาระดับเขตพื้นที่ก็เป็นเพียงก้อนเล็กๆเท่านั้นค่ะ

ดังนั้นวิธีแก้ไขปัญหาของหนู ที่สามารถทำได้ก็คือ

๑.แนะนำเว็บไซต์แก่โรงเรียน

๒.แนะนำและบอกประโยชน์ของหนังสือและวิธีการนำนิทานร้อยบรรทัดกลับมาใช้ใหม่ เพื่อพัฒนาการอ่าน-การเขียนของเด็กระดับประถมศึกษา

๓.แนะนำในกลุ่มคุณครูผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียน  เพื่อจัดหาซื้อหนังสือนิทานร้อยบรรทัดที่มีการนำมาจัดพิมพ์รูปลักษณ์ใหม่ไว้ในห้องสมุด  แล้วแจ้งคุณครูภาษาไทยในการนำไปจัดการเรียนการสอนค่ะ

๔.ประชาสัมพันธ์ผลงานสื่อ/นวัตกรรมของคุณครูภาษาไทยที่ได้พัฒนาหนังสือนิทานร้อยบรรทัดสู่ e-book ให้แก่โรงเรียนที่สนใจค่ะ

หนูก็พยายามด้วยวิธีการหลายๆอย่างแล้วค่ะ..กราบขอบพระคุณในความกรุณาของท่านอัยการอีกครั้งหนึ่งค่ะ

ศน.อ้วนค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ศน.อ้วน ก้อยรายงานพี่ดาวเรียบร้อยแล้วนะค่ะ...

ตอนนี้กำลังจะขึ้นรถแล้วค่ะ....ถึงเชียงใหม่คืนนี้.....ตื่นเต้นที่จะได้พบกันค่ะ....อิอิ

น้องก้อยจ๋า..

เดินทางด้วยความปลอดภัยนะคะ

พี่อ้วนจะติดต่อพี่ดาวเองค่ะ

ดีใจๆ..เช่นกันค่ะ

ทั้งดรุณศึกษาและนิทานร้อยบรรทัด ครูได้เรียนตอนเป็นเด็กที่โรงเรียนนักบุญเปโตร

จึงพยายามให้นำกลับมาสอนอีก ครูวิชาการ

ตอนนี้ครูให้เขียนนิทานหรือหานิทายห้าสิบบันทัดหายากมากๆค่ะ

ขอบคุนครูมากๆนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

แหวนเพชร ทวีศักดิ์สมบูรณ์

สวัสดีค่ะท่านศน.อ้วน คนเก่ง

ได้มีโอกาสได้มาแวะเยี่ยม แล้วประทับใจ ได้สัมผัสภาษาอันงดงามของนิทานร้อยบรรทัด ที่ได้หายไปจากวงการศึกษาไปเท่าอายุของดิฉัน ได้อ่านแล้วเห็นความงดงามในการใช้ภาษาที่เรียบง่าย อ่านได้ไพเราะมาก ให้ข้อคิดชัดเจนมากค่ะ ดีใจที่ศน.อ้วนเห็นความสำคัญของเก่าที่มีคุณค่ามาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท