เชื้อดื้อยา


เชื้อดื้อยา

MRSA หรือ เชื้อดื้อยา

MRSA ย่อมาจาก Methicillin Resistant Staphylococcus aureus คือ แบคทีเรียสแตฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะเมธิซิลลิน (Methicillin) กรมควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ในปี 2538 มีผู้ติดเชื้อชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 22% ของผู้ที่ติดเชื้อ จาก S. aureus ทั้งหมด และปี 2547 อัตราผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเป็น 63%

                เดิมผู้ป่วยติดเชื้อ MRSA ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคอยู่แล้ว แต่ ณ วันนี้ กลับมีรายงานผู้ติดเชื้อในเขตชุมชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ไม่เพียงเท่านั้น มันยังมีอานุภาพรุนแรงกว่าเดิมอีก


เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้เชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งสามารถพบได้ที่ผิวหนังและเยื่อบุของร่างกายเช่นในรูจมูกโดยที่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่หากกลไกการป้องกันตัวเองของคนเราเสียหาย เช่นมีแผลที่ผิวหนัง หรือคนที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นโดยที่ไม่ได้ทำความสะอาดผิวหนัง เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดโรคได้หลายระบบ เช่นผิวหนังอักเสบ ฝี ปอดอักเสบ เชื้อกระแสโลหิตลิ้นหัวใจอักเสบซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเชื้อตามธรรมชาติจะไม่ดื้อต่อยา สามารถใช้ยาได้หลายชนิด แต่หากเชื้อนี้เกิดการดื้อยา METHICILLIN เราเรียก Methicillin resistant Staphyllococcus aureus

โรคที่เกิดจากเชื้อ Staphyllococcus

เชื้อนี้สามารถทำให้เกิดโรคที่ไม่รุนแรงหรืออาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตตำแหน่งหรือโรคที่เกิดโรคได้แก่

1.       ผิวหนังอาจจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ ฝี

2.       อาหารเป็นพิษ

3.       ปอดบวม หนองในช่องหุ้มปอด

4.       ลิ้นหัวใจอักเสบ

5.       ข้อติดเชื้อ

6.       เชื้อเข้ากระแสโลหิตไปทั่วร่างกายซึ่งอัตราการเสียชีวิตสูง

การรักษาการติดเชื้อ Staphyllococcus

เชื้อที่พบในธรรมชาติมักจะไม่ดื้อยา เราสามารถใช้ยาได้หลายชนิด เช่นกลุ่ม penicillin erythromycinซึ่งผลการรักษาจะขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ การติดเชื้อ Methicillin resistant Staphyllococcus aureus  เชื้อตัวนี้มักจะพบในโรงพยาบาลซึ่งเกิดจากตัวเชื้อมีการพัฒนาสายพันธ์ และเกิดการดื้อยาทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้นเพราะลำพังตัวเชื้อที่ไม่ดื้อยาอัตราการเสียชีวิตก็สูงอยู่แล้ว การรักษาต้องเลือกยาที่ใช้ได้ผลซึ่งมีราคาแพง

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ MRSA

เนื่องจากเชื้อนี้มักจะติดในโรงพยาบาล ผู้ที่ติดเชื้อมักจะได้จากในโรงพยาบาลโดยมากมักเป็นผู้ป่วยที่นอน ICU

1.       ผู้ป่วยที่ผ่าตัด

2.       ผู้ที่ผ่าตัดทางโรคกระดูก

3.       ผู้ที่ต้องล้างไต

4.       ผู้ที่ติดยาเสพติด

การตรวจหาเชื้อ

หากมีไข้แพทย์จะเจาะเลือดหรือนำสารคัดหลังที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งติดเชื้อนั้นไปเพาะเชื้อ และหาความไวของเชื้อโรคต่อยา หากพบว่าดื้อต่อMethicillin จึงจะเรียกว่า MRSA หากท่านติดเชื้อนี้จะส่งผลอย่างไรกับท่าน เนื่องจากเชื้อนี้จะดื้อต่อยาหลายชนิด ทางโรงพยาบาลจะต้องพยายามป้องกันมิให้เชื้อนี้แพร่ไปสู่คนอื่นหรือออกนอกโรงพยาบาล แพทย์จะแยกท่านออกจากผู้ป่วยอื่น

จะติดป้ายหน้าห้องว่ามีการติดเชื้อนี้เพื่อเตือนให้เจ้าหน้าที่และคนที่มาเยี่ยมต้องระมัดระวังการแพร่กระจายของเชื้อโรค ผู้ที่เข้ามาดูแลจะต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย ชุดคลุม ล้างมือทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังรักษา

โรคนี้จะติดต่อคนอื่นหรือไม่

โดยทั่วไปมักจะไม่ติดต่อคนอื่น แต่ต้องระวังผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีแผลที่ผิวหนังซึ่งอาจจะติดเชื้อได้ง่าย

การป้องการติดเชื้อดื้อยาสำหรับผู้ใหญ่

1.       หากคุณรับประทานยาปฏิชีวนะ ควรจะรับประทานยาจนครบตามแพทย์สั่ง

2.       ติดตามอาการต่างๆ เช่นไข้หนาวสั่น หรือมีหนองไหลหากพบให้แจ้งแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อระหว่างผ่าตัด

เมื่อเข้าโรงพยาบาลต้องถามแพทย์ถึงมาตรการป้องกันโรงติดเชื้อ และแจ้งต่อแพทย์ว่ากังวลเรื่องนี้มาก แน่ใจว่าแพทย์และพยาบาลล้างมือก่อนที่จะไปตรวจท่าน หากคุณเป็นโรคเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์ว่าจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลเท่าใด และคุมอย่างไร หากคุณอ้วนต้องลดน้ำหนักลง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ให้หยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้ง่าย แจ้งแพทย์เรื่องยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมด

การปฏิบัติขณะอยู่ในโรงพยาบาล

1.       ฟอกมือทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ

2.       แจ้งพยาบาลทุกครั้งที่ชุดหรือที่นอนของท่านปนเปื้อนอุจาระ

3.       แจ้งพยาบาลและแพทย์ให้ล้างมือก่อนที่จะตรวจท่าน

4.       ตำแหน่งที่ให้น้ำเกลือต้องแห้งอยู่ตลอดเวลา หากเปียกน้ำต้องแจ้งพยาบาลให้ทราบ

5.       หากผ้าปิดแผลเปียกต้องแจ้งพยาบาลให้ทราบ

6.       หากสายต่างๆ เช่นสายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ ฯลฯหลุดหรือหลวมต้องแจ้งพยาบาลทันที

7.       ห้ามญาติมาเยี่ยมหากกำลังเจ็บป่วย

8.       ทุกครั้งที่รับประทานยาต้องตรวจดูทุกครั้ง

การปฏิบัติเมื่อออกจากโรงพยาบาล

1.       ถามเรื่องยาที่จะต้องรับประทานเมื่อออกจากโรงพยาบาล

2.       ให้เภสัชอธิบายวิธีการใช้ยา

3.       เฝ้าติดตามอาการไขหนาวสั่น หนองไหล

 

คำสำคัญ (Tags): #mrsa#เชื้อดื้อยา
หมายเลขบันทึก: 261846เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท