ซอฟท์แวร์เสรี (ของดีที่ไม่ต้องจ่ายตังค์)


อฟท์แวร์เสรีนั้น ไม่ใช่ซอฟท์แวร์ที่ไม่มีคุณภาพ และโค้ดโปรแกรมไม่ได้ขโมยหรือลอกเลียนแบบมาจากซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ แต่ซอฟท์แวร์เสรีเกิดมาจากความรักของตัวบุคคลหรือชุมชนได้พัฒนามันขึ้นมา และมีจิตใจที่แบ่งปันให้กับผู้ใช้ทั่วไป
           ขณะนี้ซอฟท์แวร์เสรีกลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพไปแล้ว และ มีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวที่เราจะนำซอฟท์แวร์เสรีมาแทนที่ซอฟท์แวร์ ลิขสิทธิ์ได้เกือบทุกโปรแกรม ซึ่งซอฟท์แวร์เสรีหลายโปรแกรมมีความสามารถในการทำงานได้ดีกว่าด้วยซ้ำไป

           ก่อน ที่จะเปลี่ยนมาใช้ซอฟท์แวร์เสรีนั้น อยากจะให้เข้าใจว่าซอฟท์แวร์เสรีนั้น ไม่ใช่ซอฟท์แวร์ที่ไม่มีคุณภาพ และโค้ดโปรแกรมไม่ได้ขโมยหรือลอกเลียนแบบมาจากซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ แต่ซอฟท์แวร์เสรีเกิดมาจากความรักของตัวบุคคลหรือชุมชนได้พัฒนามันขึ้นมา และมีจิตใจที่แบ่งปันให้กับผู้ใช้ทั่วไป นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เราเข้าถึงต้นรากของเทคโนโลยี มีโปรแกรมต้นแบบให้เราปรับแก้ระบบให้ตรงใจเราได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ผลที่ได้รับจากการใช้ซอฟท์แวร์เสรี

           ประโยชน์หลักที่ได้รับจาการใช้ซอฟท์แวร์เสรี คือไม่มีภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย ไม่มีการโฆษณาที่เกินจริงและไม่มีสไปแวร์ในตัวติดตั้ง ซึ่งเมื่อคุณได้ยินคำว่า “ฟรี” ที่เกี่ยวกับซอฟท์แวร์เสรี คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่ามัน “ฟรี” และ “อิสระ” นี่คือ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ของซอฟท์แวร์เสรีที่ปราศจากจากเรื่องลิขสิทธิ์ของซอฟท์แวร์ที่มีเจ้าของ

           ประโยชน์ อื่น ๆ ของซอฟท์แวร์เสรีอาจจะไม่สามารถระบุได้ชัดเจนมากนัก โดยพื้นฐานแล้วจำนวนของผู้ใช้ซอฟท์แวร์เสรีมีจำนวนมหาศาล นอกจากเป็นผู้ใช้แล้วเขาเหล่านั้นยังเป็นผู้รายงานความบกพร่องหรือช่องโหว่ ที่เกิดขึ้นในโปรแกรมให้กับผู้พัฒนา และจำนวนไม่น้อยที่ผู้ใช้เหล่านั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้พัฒนา ซอฟท์แวร์ในที่สุด

           ปกติ ซอฟท์แวร์เสรี จะมีชุมชนผู้ใช้และผู้พัฒนาเกิดขึ้น เราสามารถที่จะมีส่วนร่วมโดยการเข้าไปสอบถามในกระดานข่าว ค้นหาเอกสารการใช้ การอ้างอิง หรือ คำถามที่พบบ่อยจากผู้ใช้ซอฟท์แวร์เสรีได้อย่างอิสระ

นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถติดตั้งซอฟท์แวร์เสรีบนคอมพิวเตอร์กี่เครื่องก็ได้ตามจำนวนที่เราต้องการ

วิธีการค้นพบทางเลือกเสรี

           มี หลายหนทางที่จะค้นพบซอฟท์แวร์เสรี ในที่นี้จะขอแสดงบางตัวอย่างเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากค้นหาผ่านเวบไซต์ไดเรคทอรีออนไลน์ทั่วไป เช่น DMoz หรือค้นหาจากเวบไซต์ Google ที่เป็นที่นิยม โดยพิมพ์คำว่า “free word processor” หรือ “open source word processor” เป็นต้น

           หนทางอื่น ๆ อาจจะเข้าไปถามในห้องสนทนาชื่อดังของ IRC (เช่น ##mac, #fsf, #gnu or ##linux เป็นต้น) หรือในกระดานข่าวออนไลน์ หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่ทางด้านคอมพิวเตอร์เทคนิคที่มีประสบการณ์โดยตรงทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาพอสมควร

           อีกหนทางหนึ่งที่จะนำเสนอค่อนข้างชัดเจนมาก คือ อ่านบทความนี้ให้จบเดี๋ยวนี้ หรือ นิตยสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จดหมายข่าวและบทความออนไลน์ตามเวบไซต์ด้านไอที ก็ช่วยคุณได้มากทีเดียว

เริ่มต้นทดสอบโปรแกรม

           สิ่งแรกที่เราจะต้องตรวจสอบนั้น ต้องมั่นใจว่าซอฟท์แวร์ที่เราจะติดตั้งนั้นเป็นซอฟท์แวร์เสรีจริง ๆ บางครั้งเรามักจะเจอกับ “ฟรีแวร์” ซึ่งฟรีแวร์ที่ให้เราทดสอบมักจะมีสไปแวร์ที่ติดมาแบนเนอร์โฆษณาด้วยเสมอ

           หลัง จากนั้นควรเข้าไปอ่านเวบไซต์หลักของผู้พัฒนา เพื่อดูตัวอย่างการติดตั้ง แฟ้มตัวอย่าง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม เนื่องจากเวบไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดมักจะไม่ได้ให้รายละเอียดดังกล่าวเลย

           ถัด มา ก่อนตัดสินใจดาวน์โหลดมาติดตั้ง อย่าลืมตรวจสอบความต้องการของระบบ ซึ่งทางผู้พัฒนาจะให้รายละเอียดในเวบไซต์ หรือ เอกสารประกอบการใช้งาน เป็นต้น

           สุด ท้าย หลังจากที่คุณดาวน์โหลดโปรแกรมมาแล้ว ลองติดตั้งใช้งานไปสักระยะหนึ่ง และควรตัดสินใจว่าจะนำโปรแกรมนี้มาใช้เป็นโปรแกรมพื้นฐานแทนที่โปรแกรม ลิขสิทธิ์หรือไม่ หากซอฟท์แวร์เสรีไม่สามารถตอบสนองความต้องการในใช้งานได้ทั้งหมด ก็เลือกใช้ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

กรณีศึกษา : โปรแกรมสำนักงาน

           หากเรามองไปรอบ ๆ ตัวในหน่วยงานของเรา คงไม่ปฏิเสธว่า MS Office ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไอทีของพวกเราไปซะแล้ว ดูเหมือนว่าไฟล์ของ MS Office จะกลายเป็นมาตรฐานของเอกสารสำนักงานดั่งที่หลายคนเข้าใจกัน แต่เราไม่ค่อยจะรู้สึกแปลกใจบ้างหรือว่าระหว่าง MS Office แต่ละเวอร์ชันกลับเปิดไฟล์กันไม่ค่อยได้

           ลองมาดูมุมมองทางด้านราคาของชุดโปรแกรมบ้าง ผมได้ตรวจสอบราคาล่าสุด ชุด Office 2003 Professional กล่องหนึ่งราคารวมเท่ากับ 18,500 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยบาท !!!)

           OpenOffice เป็นหนึ่งในซอฟท์แวร์เสรีที่จะมาทดแทน MS Office ได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นชุดออฟฟิศโอเพนซอร์สที่มีความสามารถครบถ้วนใกล้เคียงกับ MS Office ซึ่งประกอบไปด้วย โปรแกรมประมวลผลคำ (Writer) โปรแกรมกระดาษคำนวณ (Calc) โปรแกรมนำเสนอในรูปแบบกราฟฟิก(Impress) โปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล (Base) โปรแกรมวาดภาพ (Draw) โปรแกรมเขียนสูตรทางคณิตศาสตร์ (Math)

OpenOffice 2.0 Beta

           โปรแกรม OpenOffice สามารถเปิดและบันทึกไฟล์เป็นรูปแบบของ MS Office ได้เช่น .doc, .xls และ .ppt ทำให้การเปลี่ยนจากไมโครซอฟท์ MS Officeไปใช้ OpenOffice ทำได้ไม่ยาก เพราะสามารถอ่านไฟล์ MS Office ที่มีอยู่เดิม และแลกเปลี่ยนไฟล์กับคนอื่นที่ยังคงใช้ MS Office อยู่ได้

           ทางเลือกอื่น ๆ สำหรับ ผู้ใช้ลีนุกซ์ คือ Koffice มีคุณลักษณะคล้ายกับ OpenOffice แตกต่างกันตรงที่ Koffice ใช้ไลบรารี KDE เท่านั้นเอง ความสามารถทั้งหมดสามารถทดแทน MS Office ได้เช่นเดียวกัน

           หนึ่งในโปรแกรมหลัก ๆ ที่เราใช้ คงหนีไม่พ้น MS Word ที่มีราคาค่อนข้างแพงมาก ซึ่งทางบริษัทไมโครซอฟท์จะออกเวอร์ชันใหม่ทุก ๆ สองปี สำหรับตัวอัพเกรดตกราคาประมาณ 4,000 บาท (เวอร์ชันเต็มราคาสูงถึง 8,000 กว่าบาท) ผู้ใช้หลายคนที่ไม่เคยซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์อาจจะไม่ทราบว่าราคาสูงถึงขนาดนี้เชียวเหรอ

           หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมสำหรับแทนที่ MS Word เท่านั้น คุณสามารถลองใช้ AbiWord นอกจากโปรแกรมตัวนี้เปิดไฟล์ของ MS Word ได้แล้ว ยังมีขนาดเล็กมากเพียง 6 MB เท่านั้น



AbiWord

           หากต้องการใช้แทนที่ MS Excel โปรแกรม Gnumeric และ Sharp Tools Spreadsheet ก็เป็นทางเลือกที่ดี ถึงแม้ว่าทั้งคู่ค่อนข้างจะไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็มีความสามารถทำงานบนหลายแพลทฟอร์มและสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กับโปรแกรมอื่น ๆ ได้

           สำหรับโปรแกรมแทนที่ MS Outlook ยอดนิยมที่เป็นศูนย์รวมในการจัดการอีเมล ปฏิทิน ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะเปลี่ยนมาใช้ซอฟท์แวร์เสรียอดฮิตอย่าง Thunderbird หรือ Evolution.

การช่วยเหลือและสนับสนุน

           คุณจะรู้สึกแปลกใจกับระดับของการสนับสนุนของซอฟท์แวร์เสรี ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นทางการหรือจากชุมชนผู้ใช้ การสนับสนุนอย่างเป็นทางการมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับซอฟท์แวร์นั้น ๆ บางซอฟท์แวร์อาจจะสนับสนุนเชิงพาณิชย์อีกด้วย

           ซอฟท์แวร์เสรีเกือบทั้งหมดส่วนใหญ่จะมีกระดานสนทนาให้บริการฟรี เพื่อใช้ในการสนับสนุนคำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ และผู้ถามมักจะได้รับคำตอบอย่างรวดเร็ว ข้อ แนะนำสำคัญสำหรับมือใหม่ ควรศึกษากฎเบื้องต้นก่อนที่จะโพสต์ถามคำถาม และควรตรวจสอบว่า คำถามที่เราจะถามนั้น มีคนถามหรือให้คำตอบหรือยัง

           “การแบ่งปัน” เป็นสิ่งสำคัญมากในชุมชนซอฟท์แวร์เสรี สิ่ง ที่น่าทึ่งก็คือ จะมีผู้ใช้ที่วนเวียนเข้าออกชุมชนมาถามคำถาม ตอบคำถาม ให้คำปรึกษาในการใช้งานซอฟท์แวร์นั้น ๆ เปรียบเสมือนกับเขาเป็นส่วนหนึ่งของผู้พัฒนาโปรแกรม หลายต่อหลายคนเปลี่ยนจากผู้ใช้ไปสู่ผู้พัฒนาโปรแกรมในที่สุด

สรุป

           หวังว่าบทความนี้คงกระตุ้นให้ผู้อ่านมีความสนใจที่จะเริ่มมองหาซอฟท์แวร์เสรีมาทดแทนซอฟท์แวร์ลิขสิทธ์ นอกจากจะส่งผลดีต่อตัวเองแล้วยังมีผลดีต่อประเทศ สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ได้อย่างมหาศาล

           ในอนาคตอันใกล้นี้ หวังว่าคุณจะสนุกกับการใช้งานซอฟท์แวร์เสรี ให้เป็นส่วนหนึ่งในโลกดิจิตอลของคุณ

สงวนลิขสิทธิ์

(c) 2006 Noah Islam
           บทความนี้ เขียนขึ้นด้วยใจรักในโอเพนซอร์ส สามารถนำไปเผยแพร่ได้อย่างเสรี โดยปราศจากการแอบแฝงทางการค้า ขอสงวนลิขสิทธิ์รูปภาพประกอบบทความ

เกี่ยวกับผู้เขียน
           ผู้เขียนจบทางด้านวิศวกรรมโยธา แต่มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพิเศษ โลกของ Content Management System (CMS) ได้ทำให้ผู้เขียนถูกเปิดหูเปิดตา ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้เขียนตื่นขึ้น แต่ทำให้ผู้เขียนหลงไหลมัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26157เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมไม่ใช้คำว่า "ไม่ต้องจ่ายตังค์" เพราะยังไงก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา แต่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ใช้งาน เหมาะกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ไม่เน้นแสวงหาผลกำไร และที่สำคัญมากคือเปิดเผยเคล็ดลับของแก่นความรู้ครับ

 --วิภัทร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท