การจัดการความรู้ด้านการท่องเที่ยวและด้านผ้าทอพื้นบ้านจังหวัดบุรีรัมย์


ถ้าความพยายามที่จะให้ ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการหรือชาวบ้าน องค์กรรัฐ/เอกชนที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษา ได้มีบทบาทร่วมกันในเชิงพัฒนา ความเข้มแข้งก็จะเกิดขึ้นในบ้านเรา

ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร ในการจัดการความรู้เพื่อค้นหาทักษะปฏิบัติด้านการท่องเที่ยว และผ้าทอพื้นบ้านจังหวัดบุรีรัมย์  ในวันที่ 24 เมษายน 2549 โดยงานนี้ได้รับการผลักดันจาก ผศ. พัชริน ดำรงกิตติกุล  จาก สกว.  และงานการจัดการของรองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผศ.ดร. ประเสริฐ ภู่เงิน งานนี้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และผ้าทอพื้นบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของชาวบุรีรัมย์ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด มหาวิทยาลัยได้เชิญบุคคล 3 กลุ่มเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ดำเนินงาน  กลุ่มบุคลากรจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มนักวิจัย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  การดำเนินการมุ่งไปที่การค้นหาทักษะปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการด้านการท่องเที่ยวและผ้าทอพื้นบ้านสู่การบรรลุความสำเร็จด้านการตลาด  โดยมองในแง่ด้านการท่องเที่ยว และด้านการผลิตผ้าทอ และการเชื่อมโยงกิจกรรมทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน ผลการดำเนินงาน ได้แก่นความรู้ และการจำแนกระดับแก่น ด้านการท่องเที่ยวและด้านการผลิตผ้าทอพื้นบ้านและยังได้แก่นประสานระหว่างทั้งสองด้านอีกด้วย  นับเป็นก้าวแรกในการจัดการความรู้โดยมีบุคคลที่มีทักษะปฏิบัติที่ดีที่สุดเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้สามารถมองเห็นทิศทางและสถานภาพในการจัดยุทธศาสตร์และกิจกรรม ที่จะนำไปสู่การพัฒนางานทั้งสองด้าน และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดบูรณาการในเชิงพัฒนา และจัดการค้นหาคำตอบในการดำเนินการวิจัย เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการพัฒนางาน และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26128เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท