ตัวแปรในการวิจัย


สิ่งสำคัญ และสร้างความปวดหัวให้กับนักวิจัยมือใหม่ เห็นจะเป็นเรื่องของตัวแปร ในการวิจัย ลองมาทำความเข้าใจกับตัวแปรกันก่อนดีไหม ?

ตัวแปรในการวิจัย 

                ตัวแปร : Variable  มาจากคำว่า  vary = ผันแปร เปลี่ยนแปลง  able = สามารถ   Variable = สิ่งที่สามารถแปรค่าได้ 

                ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวะการณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับหรือมีค่าได้หลายค่า       ตัวแปร คือ สิ่งที่โดยสภาพทั่วไปแล้วสามารถแปรค่าได้ค่าที่แปรออกมาของตัวแปรย่อมมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

                ตัวแปร คือ สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง  โดยสรุปแล้ว ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง ระดับการศึกษาอาจแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น สิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าไม่ได้ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรเช่น คน แมว แต่ถ้าเป็น เชื้อชาติของคน สีของแมว จะกลายเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนค่าได้จึงจะถือว่าเป็นตัวแปร 

 

             ประเภทของตัวแปร 
                เกณฑ์ในการจำแนกประเภทของตัวแปรมี4 ลักษณะคือ

       1. พิจารณาคุณสมบัติของค่าที่แปรออกมาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
                1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่ เช่น 
             ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาต่อคน ต่อวัน (10,15,20,...(บาท)) 
             บุตรคนที่ (1, 2, 3,...) 
             คะแนนของนักเรียน (17, 18, 19,....) 
             จำนวนบุตรในครอบครัว (0, 1, 2,....) 
                1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในพวกนั้น เช่น 
             อาชีพ (ข้าราชการ ค้าขาย เกษตรกร รับจ้าง
             เพศ  (ชาย หญิง
             ภูมิลำเนา (ในเมือง ชนบท

       2. พิจารณาความต่อเนื่องตามธรรมชาติของตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
                2.1 ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก คะแนนสอบ เป็นต้น ค่าของตัวแปรเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขเต็มหน่วยพอดีอาจเป็นทศนิยมหรือเป็นเศษส่วนได้ 
                2.2 ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น จำนวนหนังสือ เพศ (ชายแทนด้วย 0, หญิงแทนด้วย 1)เป็นต้น 

       3. พิจารณาความเป็นไปได้ของผู้วิจัยที่จะจัดกระทำกับตัวแปรแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 
                3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่น ๆ เป็นต้น 
                3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น 

       4. พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการแบ่งตามลักษณะการใช้เป็นวิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดแบ่งเป็น 

                4.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 
                4.2 ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 
                4.3 ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ควบคุมด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างควบคุมโดยวิธีการทางสถิติหรือ ผู้วิจัยอาจนำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งไปเลย 

          ตัวอย่าง
          1) สถานการณ์: ครูคนหนึ่งมีความสนใจจะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นม.1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปและแบบธรรมดามีผลแตกต่างกันหรือไม่ 
            ตัวแปรต้น  คือ วิธีสอน 
            ตัวแปรตาม คือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 
            ตัวแปรแทรกซ้อน  ที่น่าจะต้องควบคุม คือการเรียนพิเศษการศึกษาเพิ่มเติมพื้นฐานของนักเรียน 
          2) จุดมุ่งหมายการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความถนัดด้านเครื่องจักรกลระหว่างนักเรียนชาย  และนักเรียนหญิง 
            ตัวแปรต้น   คือ  เพศของนักเรียน 
            ตัวแปรตาม  คือ  ความถนัดด้านเครื่องจักรกล 
            ตัวแปรแทรกซ้อน  ความตั้งใจเรียน พื้นฐานนักเรียน 
          3) สมมุติฐานการวิจัย: นักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน 
            ตัวแปรต้น    คือ  อาชีพของผู้ปกครอง 
            ตัวแปรตาม   คือ  พฤติกรรมความเป็นผู้นำ

 

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย#ตัวแปร
หมายเลขบันทึก: 261221เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยค่ะ สำหรับนักวิจัยฝึกหัด

มีปัญหาเรื่องสมมุติฐาน กับตัวแปรมาก ๆ เลยค่ะ

ถ้างานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้น ป.1

แล้วตั้งสมมุติฐานว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

แสดงว่าตัวแปรต้นคือ วิธีการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

และตัวแปรตามคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

อย่างนี้ถูกต้องไหมคะ

ขอรบกวนตอบด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ถูกต้องแล้วครับน้องน้ำฝน ตามข้อ 4.พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผล ตัวอย่างที่ 1

แต่ต้องตีความคำว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้ดีนะครับ ว่ามันสอดคล้องกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ถ้าสอดคล้องกันแสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่าน นั้นมีประสิทธิภาพ ตอนนรี้น่าจะอยู่ในขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ (หนังสือส่งเสริมการอ่าน)ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจครับ

เดียวจะงงไปใหญ่ เอาเป็นว่าน้องน้ำฝนเข้าใจถูกแล้วครับ

:) เอกพรต

ลองดูตัวอย่าง ครับ

การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านริมลาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1

ชื่อผู้ศึกษา : นางนิตยา สามหมื่นคำ ปีที่ศึกษา : 2551

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนบ้านริมลาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1

2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสือหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย

สมมุติฐานของการศึกษา

1.หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

2.คะแนนทดสอบหลังเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดฉันรักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างน้อย ร้อยละ 30

3.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย ในระดับมาก

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1.ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย

2.ตัวแปรตาม ได้แก่

2.1ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80

2.2ความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จากกาใช้ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย

2.3ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลสัมฤทธิ์จากการอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้จากการตอบแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น

ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย หมายถึง อัตราส่วนระหว่างค่าร้อยละของค่าเฉลี่ยจากการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย กับค่าร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้ประสิทธิภาพ 80/80 เป็นเกณฑ์ตัดสิน

80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการโดยพิจารณาจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ฉันรักภาษาไทย

80 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลผลิตโดยพิจารณาจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังเรียน ของนักเรียนหลังเรียนทุกแผนโดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป

คงพอเข้าใจมากขึ้นนะครับ น้องน้ำฝน

เอกพรต

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://learners.in.th/blog/krunid1/294857

ขอบพระคุณมาก ๆ นะคะ ที่ช่วยให้กระจ่างเกี่ยวกับตัวแปร พร้อมกับยกตัวอย่างให้เห็น

แต่ยังมีคำถามที่ยังสงสัยอยู่อีกข้อ ไม่ทราบจะเป็นการรบกวนเกินไปหรือเปล่าค่ะ

ขออนุญาตถามเลยนะคะ

ในการตั้งสมมติฐานของงานวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษากับเด็กนักเรียน จำเป็นไหมคะว่า ต้องตั้งสมมุติฐานตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ ในความหมายที่น้ำฝนต้องการถามก็คือ ถ้าเรามีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ (เหมือนในตัวอย่างที่อาจารย์ (ขออนุญาตเรียกว่าอาจารย์นะคะ)ยกมาให้ดู)แล้วสมมุติฐานก็ต้องมี 3 ข้อเช่นเดียวกัน อย่างนี้หรือคะ แต่ตามที่น้ำฝนเคยศึกษาและทราบมาบ้างนั้น ทำไมเขาถึงให้เราตั้งสมมุติฐานเพียงแค่เพียงตอบคำถามในประเด็นเดียวหละคะ อย่างไหนถึงจะถูกต้องคะ

เช่น งานวิจัยที่น้ำฝนทำการศึกษามีวัตถุประสงค์คือ

1.เพื่อสร้างสื่อสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 และ 2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้สื่อดังกล่าว

แล้วถ้าน้ำฝนตั้งสมมุติฐานว่า นักเรียนชั้น ป.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้สื่อก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน เพียงเท่านี้ได้หรือไม่ค่ะ มันครอบคลุมประเด็นหรือยังคะ เพราะเราต้องการวัดว่าสื่อที่เราสร้างและพัฒนานั้นมีผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียนแค่ไหนค่ะ

ขออนุญาตรบกวนสอบถามนะคะ

ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ ^_^

การตั้งสมมติฐาน ก็เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ว่าสิ่งที่สมมติไว้นั้นเป็นจริงหรือไม่ ด้วยวิธีการทางสถิติ

นักเรียนชั้น ป.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการใช้สื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ก็จะแสดงว่า สื่อที่ใช้มีประสิทธิภาพ ระดับหนึ่ง

แต่ถ้าถามว่าพอไหม ก็ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยว่าต้องการยืนยันประสิทธิภาพของสือชิ้นนั้นมากน้อยเพียงใด จาก ตัวอย่างที่ให้เขาจะยืนยันด้วยตัวแปรตาม 3 ตัว คือ

1 ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80

2 ความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (ตามสมมุติฐาน ที่น้องน้ำฝนตั้งไว้)

และ 3ความพึงพอใจของนักเรียน

ที่เห็นทั่วไป ก็มมักใช้แบบนี้นะครับ

เอกพรต

กระจ่างค่ะ ขอบพระคุณมาก ๆ เลยนะคะ

หากน้ำฝนมีปัญหาเรื่องงานวิจัย จะขออนุญาตรบกวนสอบถามนะคะ

^_^

ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้ความรู้ ดิฉันได้พิมพ์เอาไว้จะได้อ่านทบทวนเพราะค่อนข้างมีปัญหาเรื่องตัวแปร

โดยเฉพาะเวลาที่มีจำกัดแล้วต้องกำหนดตัวแปร เพื่อที่จะตั้งชื่อเรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษากลุ้มใจที่สุด

ต้องอ่านรายละเอียด..คำสำคัญ....ที่เราสนใจอย่างไร จึงจะแยกเป็นตัวแปรต่าง ๆ ได้ เช่นคำว่าผลสัมฤทธิ์

แล้วตัวแปรของผลสัมฤทธิ์มีอะไรบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

เรียนคุณครูอยุธยา

ขออนุญาตใช้ตัอย่างของคุณน้ำฝน (2) นะครับ

ตัวแปรตามคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

แต่คำว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนอาจ ยังประกอบไปด้วย (ตามทฤษฎีการเรียนรู้)

1) ความรู้ (หมายถึงความรู้ในเรื่องที่อ่าน) วัดได้ด้วย แบบทดสอบ

2) ทักษะ (หมายถึงทักษะในการอ่าน เช่น อ่านคล่อง สะกดคำยากได้ ออกเสียงได้ถูกต้อง) วัดได้ด้วยแบบสังเกต หรือ แบบวัดทักษะในการอ่าน

และ 3) เจตคติ (หมายถึง เจตคติต่อการอ่าน เช่น ชอบอ่าน เห็นประโยชน์ของการอ่าน) วัดได้ด้ยแบบว้ดเจตคติ ในการอ่าน

*** ผมเองก็ไม่ใช่ครูภาษาไทยนะ ครับ ถ้าตัวอย่างไม่ชัดเจนต้องขออภัยครับ

เอกพรต สมุทธานนท์

สวัสดีคะอาจาย์ และสวัสดีเพื่อนป.โททุกๆคนหนูส่งงานที่อาจาย์มอบหมายแล้วนะค่ะ

คุณครูค่ะดิฉันเป็นครูสอนที่จังหวัดขอนแก่นค่ะ คือดิฉันจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพครูมาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษาแต่หาซื้อหนังสือการวิจัยทางการศึกษายากมากค่ะ เลยอยากจะขอรบกวนอาจารย์ว่าอาจารย์มีข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยไหมค่ะ รบกวนขอด้วยได้ไหมค่ะ เพราะค้นหาข้อมูลแล้วเจออาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้กับคุณครูหลายๆท่าน ดิฉันก็เลยอยากรบกวนอาจารย์เรื่องข้อมูลการวิจัยโดยละเอียดค่ะเพราะดิฉันจะต้องใช้ในการสอบค่ะ รบกวนอาจารย์ตอบด้วยนะค่ะ

ขออนุญาตถามด้วยนะคะ คือว่า หนูเรียนที่ราชมงคลธัญบุรีค่ะ ตอนนี้ อาจารย์ให้ทำวิจัย คนละหนึ่งเรื่อง หนูอยากทราบว่า ถ้าหนูทำวิจัยเรื่อง การเข้าใช้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยของนักศึกษา ตัวแปรต้น ตัวแปรถามของหนูคืออะไรคะ ช่วยอธิบายแบบละเอียดทีค่ะ เพราะหนูจะได้เอาไปอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ฟังด้วย

ขอบคุณค่ะ

ตอบ ครูสมร

หนังสือการวิจัยทางการศึกษามีขายอยู่มาก ตามร้านหนังสือใหญ่ ๆ ทั่วไปครับ แต่ที่ขอแก่น น่าจะมีในห้างใหญ่ ๆในตัวเมือง

แต่อยากให้ลองไปที่เวป ครูบ้านนอก http://www.kroobannok.com/category47.data มีข้อมูลดี ๆน่าอ่านมากครับ

ลองดูนะครับ

เอกพรต

ตอบ น้อง ปุญญาภัทร

การจะบอกตัวแปรต้น ตัวแปรตามได้ เราต้องรู้ปัญหา และเนื้อหาที่ต้องการศึกษา ที่ชัดเจน

ส่วนถ้า วิจัยเรื่อง การเข้าใช้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยของนักศึกษา ก็คงเป็นวิจัยเชิงสำรวจ พฤติกรรมของนักศึกษา......ในการใช้ เว็บไซด์ของ มหาวิทยาลัย (ใช่ไหมครับ)

ดังนั้น ตัวแปรต้น ก็น่าจะเป็น คุณลักษณะของนักศึกษา เช่น เพศ ชั้นปีที่เรียน สาขาที่เรียน ฯลฯ..

ตัวแปรตาม ก็คือ พฤติกรรมของนักศึกษา......ในการใช้ เว็บไซด์ของ มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ดี ตัวแปรต้น และตามนั้น ต้อง ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดครับ จึงจะกำหนดได้ดีกว่านี้

ลองพิจารณาดูนะครับ

ขอบคุณมากค่ะ เดี๋ยวจะลองไปศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และหากมีปัญหาอะไร ต้องขออนุญาติรบกวนถามอีกนะคะ พอดีว่ายังไม่ค่อยคล่องค่ะ

อ.จารย์คะรบกวนถามหน่อยนะคะ

ทำวิจัยเรื่อง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความตระหนักในการป้องกันเอดส์ของนักเรียนชั้น ม.5 ในสังกัดกทม.คะ

แต่ไม่แน่ใจเรื่องตัวแปรค่ะ ว่าอันไหรตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม

รบกวนอ.นะคะ ขอบคุณคะ

ตอนนี้สับสนมากค่ะว่าตัวแปรต้น/ตาม คืออะไร เรื่อง "บทบาทรัฐวิสาหกิจในการพัฒนาท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีบทบาทของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด" ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ดูจากชื่อยังตอบยากนะครับต้องดูวัตถุประสงค์. หรือคำถามวิจัยด้วย ว่าผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท