ต้องทั้ง process และ output oriented


ต้องจัดการให้เส้นอุปสรรคถูกขจัดออกไปเสีย ซึ่งก็ใช้วิธีง่าย ๆ คือการทำความเข้าใจร่วมกัน ปรับฐานคิดให้เข้าใจกันและกันเท่านั้น

     จากบันทึกของอาจารย์หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เรื่อง “การเข็นครกขึ้นภูเขาในการทำงาน KM กับนักวิชาการ” ผมได้เข้าไป ลปรร.จนอาจารย์ต่อยอดให้ และนำกันไปออกการทำงานแบบ output-oriented กับ process-oriented จากนั้นผมชักชวนอาจารย์ให้ไปอ่านเรื่อง “เราทำเพื่องานหรือเพื่อตัวชี้วัดกันแน่” ที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้า จนในที่สุดอาจารย์ก็เติมเต็มอีกครั้งด้วยบันทึกเรื่อง “การทำงาน และการบริหารงาน แบบ process-oriented” บันทึกนี้ผมจึงเขียนขึ้นด้วยเหตุผลแรกคือ ปลาบปลื้มกับความมหัศจรรย์ของ GotoKnow.org ที่ก่อให้เกิดการ ลปรร.และต่อยอดความรู้อย่างไม่น่าเชื่อ เหตุผลที่สอง คือ ผมชักสนใจว่าหากจะทำงานหรือดำเนินชีวิตโดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ จะต้องมีทั้ง process และ output oriented ไปพร้อม ๆ กัน จึงจะได้ทั้งประโยชน์ อย่างมีความสุข และได้เรียนรู้ไปด้วย ตามที่อาจารย์นำเสนอไว้ ผมลองนำมาสร้างภาพ (หลาย ๆ คนชอบ) ตามที่ผมเข้าใจ ลองดูนะครับดังนี้

     จากภาพจะเห็นได้ว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติน่าจะมีฐานคิดและความมุ่งหวังในการทำงานโดยเฉพาะในลักษณะงานตามระบบราชการ ซึ่งจะหาความสำเร็จเชิงรูปธรรมได้ยาก ใคร ๆ มักจะเรียกว่า “งานที่ทำไม่เสร็จ” แตกต่างกัน ผมเลยจำลองเส้นอุปสรรคที่ควรจะขจัดออกไปเสีย ซึ่งก็ใช้วิธีง่าย ๆ คือการทำความเข้าใจร่วมกัน ปรับฐานคิดให้เข้าใจกันและกันเท่านั้น แต่จะว่าไปแล้วก็จะยากอยู่ตรงนี้แหละครับ

หมายเลขบันทึก: 26104เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 02:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอสนับสนุนและขอแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมครับ

  • หากคิดและพิจารณารวมทั้งคาดหวังเรื่องความยั่งยืน ที่ความรู้ติดตัวที่ได้มาจากเรียนรู้ ผมว่าเราแนวทางที่เน้น Process น่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้องที่สุด แต่
  • จากการทำงานที่ผ่านๆมาของเรา คาดการทำทบทวนตนเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างจริงจัง ที่นั่นก็คือการทำ AAR นั่นเอง หรือบางระบบเรียกว่า Past performance analysis และที่สำคัญ
  • เราไม่มีการทำและตกผลึกสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่องจนเกิดทักษะ
  • สิ่งที่พูดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย แต่เพียงเรา ก็ถูกสร้างและหล่อหลอม จะเรียกว่าติดนิสัย ชอบกินบะหมี่สำเร็จรูป เน้นที่Product ก็ว่าได้ครับ ผมจึงเห็นว่า KM ที่เน้นทั้ง Process และ Product อย่างพี่ชายขอบว่า จะแข็งแรงขึ้นจะต้องเน้นให้สามารถสร้างทักษะของกระบวนการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนครับ

ข้อความจากหนังสือ Toyota way บทที่ 14 (แม้แต่ญี่ปุ่นเองก็ยังมาพูดเรื่องนี้)

 

  • Resulted oriented tends to fail (want to see bottom line too soon) 
  • Process Oriented: More patient. Believe investing in people-process leads to desired result.
  •  Without Hansei,.. impossible for real kaizen (PDCA)
  •  Hansei: Responsibility, Self Reflection, and Organization Learning

ซึ่งน่าแปลกใจและสำนึกพิลึกชอบกล ตอนได้เห็นข้อความนี้ครั้งแรก เหมือนกับเราชอบเอาระบบชาวบ้านมาใช้แบบที่ฐานความรู้และทักษะในเชิงกระบวนการของคน ไม่เหมือนเขา ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยปรับเปลี่ยน กรอบความคิด(Paradigm) ก่อน นั่นน่าจะเป็นการอย่างใช้อย่างมีปัญญา แต่ท้ายสุดเราควรสร้างองค์ความรู้ หรือระบบของเราเอง โดยใช้ฐานความรู้ของเราที่มีอยู่จะนำความรู้ที่รับจากภายนอกมาประยุกต์เข้าเพื่อสร้างของเราเองครับ

 

คนดอย(ปูนแก่งคอย)

     ขอบคุณมากนะครับที่เข้ามาสนับสนุนและเติมเต็มให้อีกครั้ง

     ผมเห็นด้วยมากครับที่บอกว่าหากจะใช้ KM ต้องเน้นที่การสร้างทักษะของกระบวนการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือจะพูดว่าจะได้ทำอย่างใส่ใจ ไม่สุกเอาเผากิน ใช่ไหมครับ

     ผมมองอย่างนี้ครับว่า เวลาเราไปรับอะไรมา เราก็ชอบที่จะลอกมาใช้เลย มักจะได้ผลอยู่ระยะหนึ่งเสมอ ในตอนเริ่มต้น เพราะพลังเงียบโดยกดไว้ แต่พอนาน ๆ ไป ฝ่ายบริหารก็เริ่มชาชิน ผู้ปฏิบัติก็เริ่มเบื่อ ๆ ไหลกลับไปตามธรรมชาติที่เขาเป็น ที่เป็นวิถีเขา แล้วเราก็ไม่ค่อยได้พบเห็นความยั่งยืน หากแต่เราได้นำตัวกรอบคิดมา จากนั้นก็ปรับให้เขากับความเป็นธรรมชาติของ Process ที่เราเป็นอยู่แล้วให้มากที่สุด โดยสมดุลเพื่อการพัฒนา อย่างนี้ครับผมว่าจะยั่งยืน

     ดูอย่างเมื่อเกิดกระแส KM องค์กรต่าง ๆ (หลายองค์กร แต่ไม่ใช่ที่ใดที่หนึ่ง หรือทั้งหมด) ก็สร้างตัวชี้วัดขึ้น เช่น ต้องมีคณะทำงาน KM, ต้องมีคำว่า LO ในแผนกลยุทธ์, ต้องมีการทำ KM workshop เป็นต้น อย่างนี้ครับที่ผมว่ามีไปทำไมเมื่อยังไม่ทราบเลยว่า KM คืออะไร ทำไม อย่างไร ไม่มีไม่ทำได้ไหม

     ผมจึงนำเสนอไว้ที่บันทึก คุณอำนวย (KF) สไตล์ “ชายขอบ” ว่า ต้องเนียนเข้าไปในเนื้อชีวิต ซึ่งจริง ๆ นะมีอยู่ก่อนแล้ว ตอนนี้เลยขอเพียงให้รู้ตัวเท่านั้น ในประโยคที่บอกว่า... ผมเป็นคุณอำนวยของชีวิตตนเอง โดยการใช้ KM Movement เป็น Life Movement ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน ที่ทำงาน หรือเพื่อนบ้าน "ให้เนียนเข้าไปในเนื้อชีวิต อย่าให้ผิดปกติอะไร" เพราะในแท้ที่จริง การจัดการความรู้ หรือ KM ก็คือส่วนหนึ่งของชีวิตอยู่แล้วโดยธรรม(ชาติ) อยู่แล้ว

    Output Oriented ผู้บริหารประเภทหนึ่งชอบมาก  เร่งให้ออกมาทันโชว์เขาได้ทันเวลา หรือก่อนใครๆได้ จะถือว่ายอด  Process เป็นเรื่องเล็ก ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้มีสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่นถ่ายรูปได้  ออกข่าวทีวีได้ก็แล้วกัน...
     ทำกับมนุษย์  ไม่ว่าเรื่อง การศึกษา หรือ สาธารณสุข มันมิใช่ระบบการผลิตสินค้าในโรงงานที่จะกำหนดให้ชิ้นไหน  ก้อนไหน  ออกมาเวลาใดได้  ถ้าทำได้ก็น่าจะเป็น ของปลอม ที่เป็นเพียง Output ที่พยายามเค้นออกมาเพื่อสนองกิเลสใครบางคนเท่านั้นกระมัง  หาผลกระทบที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ มั่นคง และ ยั่งยืน น่าจะยาก
      สุดท้าย ถ้าเพื่องานจริงๆ  คงหนีไม่พ้น การเอาผลลัพธ์ และผลกระทบที่คาดหวังเป็นตัวตั้ง  จัดการกับความรู้ อย่างเหมาะสม  ทำไป เรียนรู้ไป เก็บเกี่ยว Process ทั้งหลายไว้เป็นทุนเพื่อทำอะไรให้ก้าวหน้าต่อๆไป

อาจารย์ Handy

     เพราะทำกับมนุษย์นะสิครับ ไม่ใช่สินค้าเป็นชิ้น ๆ แต่การให้อิสระว่าจะเลือกเดินกระบวนการอย่างไรตามวิถีของเขา เขาจะเรียนรู้และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเอง หากจะช่วยก็น่าจะช่วยตรงการสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ดีกว่า ทั้งนี้เป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ก็ยังคงมีแต่น่าจะเน้นกันที่การมีตัวชี้วัดกระบวนการดีกว่า เชื่อครับว่าเราจะถึงเป้าหมายแบบไม่หลงทิศ ยกตัวอย่างนะครับสัก 1 เรื่อง
     เป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ: ประชาชนมีความปลอดภัยจากการเดินทางบนท้องถนนในช่วงเทศกาลวันหยุด
     ตัวชี้วัด: ช่วง 10 วันอันตราย เทศกาลสงกรานต์ ต้องไม่มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจร
     การควบคุมตัวชี้วัด: รายงานการวันต่อวัน คืนต่อคืนถึงตัวเลขเหล่านี้ นานไปอีก 10 วันหลังช่วง 10 วันอันตราย
     ผลการดำเนินงาน: ในแต่ละจังหวัดมีรายงานผู้ประสลอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตน้องลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ
     การแปลผล: สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ดำเนินการให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการเดินทางบนท้องถนนในช่วงเทศกาลวันหยุด
     ข้อสังเกต: แต่ไม่ทราบว่าที่ไหนได้ดำเนินการอะไร อย่างไร น่าจะเอาอย่างที่ดี ๆ ได้บ้างไหม รวมถึงไม่แน่ใจว่าหลังครบ 20 วันไปแล้ว ยอดจะพุ่งเพราะกระอักตัวเลขไว้ไหม แล้วตกลงว่า(ร้ายมาก) ประชาชนมีความปลอดภัยจากการเดินทางบนท้องถนนในช่วงเทศกาลวันหยุดมากขึ้นจริงหรือ

ผมเพิ่งได้ยินครั้งแรกครับ อยากติดตามตอนต่อไปอีก

คุณ 2T

     ตอนต่อไปน่าจะมีนะครับ ผมและ Dr.Ka-poom ได้หารือกันและกำลังรวบรวมเพื่อเขียนต่อครับ (จริง ๆ แล้วเพื่อตอบสนอง need ตัวเองนะครับ คืออยากรู้)

แวะตามมาจาก quote from "CAR" ค่ะ

ชอบโมเดลค่ะ ความยากอยู่ตรงการตัดเส้นนั้นแหล่ะค่ะ เพราะเมื่อยืนคนละตำแหน่ง เส้นก็อยู่ต่างองศา ...

ถ้าจะข้ามเส้น(ไม่ใช่ตัดเส้นนะคะ) แล้วทำให้เส้นมันเบลอๆ ต่างผ่ายก็คงจะมองเห็นกันและกันง่ายขึ้น

กระมังคะ

เรียน อาจารย์จันทรรัตน์ ครับ

     ผมชอบไอเดียที่อาจารย์เพิ่มเติมให้จังเลยครับ มาช่วยกันทำเส้นทะแยงนี้ให้เบลอ ๆ ดีกว่า และน่าจะมีวิธีการที่หลากหลายนะครับ สำคัญคงต้องช่วยกันทั้งสองด้านนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท