ข้อมูลเพื่อการศึกษา


การบริหารการศึกษา

         "...การศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด  ความประพฤติและคุณธรรมของบุคคล  สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนพอเหมาะกันทุกๆด้าน  สังคมและบ้านเมืองนั้นจะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ..."  พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ครูและนักเรียน  ณ ศาลาดุสิตดาลัย.  28  กรกฎาคม  2504

        "...การให้การศึกษาแก่คนนี้  เป็นปัญหาของคนทุกคนไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ  ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย  ระหว่างผู้มีความรู้  ผู้มีเจตนาดีต่อสังคมและผู้มีทุนทรัพย์..."   พระบรมราโชวาท   5  มกราคม  2531

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26095เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นฐานข้อมูลอันทรงคุณค่าอีกแหล่งหนึ่งที่ผู้ต้องการความรู้ต้องการข้อมูลทางการศึกษาควรเข้ามาเป็นสมาชิกเป็นอย่างยิ่ง

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

การบริหารการเรียนการสอน

1. การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 240) กล่าวว่า ในการจัดทำหลักสูตรนั้นมิใช่ว่าเมื่อกำหนด จุดประสงค์และเนื้อหาวิชาแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นอันเสร็จสิ้น นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องดำเนินการต่อไปจนแน่ใจว่าสิ่งที่กำหนดขึ้นไว้แล้วนั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้ นั่นคือสามารถนำหลักสูตรไปใช้สอนได้ เมื่อเป็นดังนี้จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าการที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ ถ้าสังเกตดูก็จะเห็นว่าทุกครั้งที่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีการกระทำอะไรบางอย่างเสมอ การกระทำนี้เราเรียกว่ากิจกรรม (Activities) หน้าที่ของผู้สอนก็คือจัดให้ผู้เรียนได้กระทำกิจกรรมที่เหมาะสมโดยยึดจุดประสงค์เป็นเป้าหมาย การที่ผู้เรียนจะเรียนรู้สิ่งใดก็ต้องดูว่าพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนไปอย่างถาวรตามจุดประสงค์ก็แสดงว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องดูทุกด้านไม่ว่าด้านร่างกาย เจตคติ ทักษะและความรู้ความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เราถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งสิ้น

ขออธิบายเพิ่มเติมว่าการเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน เราไม่อาจมองเห็นได้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเวลาที่มีการสอนบทเรียนบทหนึ่ง เมื่อสอนจบลงผู้สอนก็พูดได้เพียงว่าได้สอนจบแล้ว แต่ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งในขณะนั้น ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่า ผู้เรียนหรือถ้ามีก็ไม่ทราบว่าได้เรียนรู้มากน้อยเท่าใด ถ้าต้องการทราบก็จะต้องทดสอบ และจากการกระทำของผู้เรียนในการทดสอบ ผู้สอนจึงจะสามารถประเมินได้ว่าผู้เรียนได้เรียนสิ่งที่ต้องการให้มากน้อยเพียงใด

อย่างไรก็ตามปัญหาที่ควรทราบก็คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและประสบการณ์ (Experiences) โดยเฉพาะประสบการณ์ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการเรียนรู้มา เพราะประสบการณ์เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้น เมื่อได้เลือกเนื้อหาแล้วก็จำเป็นต้องพิจารณาด้วยว่าจะจัดประสบการณ์อะไรและอย่างไรให้กับผู้เรียน จึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ตั้ง จุดประสงค์ไว้

1.1 ความหมายของประสบการณ์

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 241-243) กล่าวว่า ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้จะต้องกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อน ดังนั้น สิ่งแรกที่เราควรศึกษาก็คือ ต้องรู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) คืออะไร แตกต่างกับประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experiences) อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนหรือทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมทั้งผู้เรียนและผู้สอน ตัวอย่างเช่น การถาม การอธิบาย การใช้สื่อ การสอน การนำผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่ การแสดงภาพหุ่นจำลอง การใช้แผนภูมิ ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมของผู้เรียน ถือว่าเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ ในทำนองเดียวกัน การฟัง การพูด การคิด การสังเกต การวาด ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมของผู้เรียนก็ถือว่าเป็น กิจกรรมการเรียนรู้

คราวนี้มาพิจารณาเรื่องประสบการณ์ดูบ้าง เมื่อพูดถึงประสบการณ์เราไม่ได้มองในแง่ของกิจกรรม แต่มองในแง่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมนั้นๆ เมื่อเกิดปฏิสัมพันธ์ขึ้น พฤติกรรมของผู้เรียนจะเปลี่ยนไปและเกิดการเรียนรู้ขึ้นพึงสังเกตว่าในเวลาที่ผู้เรียนร่วมในกิจกรรมต่างๆ นอกจาก ผู้เรียนจะเกิดความรู้ความเข้าใจแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วย เช่น เกิดความสำนึก รู้สึก มีความยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ สมมุติว่าผู้สอนบอกให้ผู้เรียนชี้ที่ตั้งของจังหวัดนครสวรรค์ในแผนที่ผู้เรียนจะอ่านแผนที่แล้วชี้ที่ตั้งของจังหวัดดังกล่าวการกระทำของผู้เรียนถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการที่สามารถชี้ที่ตั้งได้ ผู้เรียนอาจเกิดความรู้สึกอย่างอื่นๆ ตามมา เป็นต้นว่า เกิดความตระหนักว่านครสวรรค์ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำ 4 สายมารวมกัน เป็นจึงหวัดที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของประเทศ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผลกระทบจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมที่ทำได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้หลายอย่าง นอกเหนือจากที่ตั้ง จุดประสงค์ไว้ ผลที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้เราเรียกว่าประสบการณ์การเรียนรู้

ประสบการณ์การเรียนรู้จะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ผู้สอนจัดถ้าจัดได้เหมาะสมและใช้วิธีการที่ดี ประสบการณ์การเรียนรู้ย่อมจะมีคุณค่าถ้าจัดไม่ดีไม่เหมาะสมคุณค่าของประสบการณ์ ก็ย่อมจะลดลง ขอย้ำเพื่อความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งว่า ในการเรียนการสอนนั้น เราจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ก็จริงอยู่ แต่เราจะต้องมองลึกลงไปว่ากิจกรรมนั้นจะมีผลอะไรที่จะเป็นประสบการณ์แก่ผู้เรียน ดังนั้น การเลือกกิจกรรมจะต้องเลือกจากประสบการณ์อันเป็นผลของกิจกรรมนั้น

1.2 ประเภทของประสบการณ์

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 243-244) กล่าวว่า ประสบการณ์การเรียนรู้แบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ

1. ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) หมายถึง ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับโดยตรงจากการสัมผัสวัตถุ สิ่งของ หรือสิ่งที่ใช้เป็นตัวแทนเครื่องหมายใด ๆ แต่ทั้งนี้พึงเข้าใจว่า เมื่อพูดถึงประสบการณ์ตรง เราไม่ได้หมายความเพียงการได้สัมผัสเท่านั้น แต่จะต้องมองลึกไปถึงความรู้สึกนึกคิดด้วย เช่น การชิมรส การดมกลิ่น การจับต้อง การมองเห็น ฯลฯ จะช่วยให้เกิดความรู้สึกหวาน ขม เหม็น แข็ง นิ่ม สีเขียว สีแดง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเวลาที่พูดถึงประสบการณ์ตรงเราจะใช้กิจกรรมในการสื่อความหมายและถือว่าเป็นการจัดประสบการณ์ตรงให้เห็นดังต่อไปนี้

การเขียนภาพ การระบายสี การตั้งเครื่องมือเพื่อทดลองปฏิบัติการ การจัดทำรายการข้อสนเทศ การเสนอรายงานด้วยปากเปล่า หรือด้วยการเขียนรายงาน การจัดทำต้นแบบ แผ่นภาพและแผนภูมิ การแสดงละคร การย่อความ ฯลฯ

2. ประสบการณ์รอง (Indirect Experiences) หมายถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนไม่ได้สัมผัสโดยตรงเกิดจากการบอกเล่าของผู้อื่นบ้าง จากการอ่านหนังสือและเอกสารบ้าง ตัวอย่างเช่น เพื่อนที่ไปเที่ยวพัทยามา ได้มาเล่าให้ฟังถึงความสวยงามของชายหาด ทำให้เรารู้สึกสนใจและเพลิดเพลินไปกับความสวยงามนั้นด้วย ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ไปเห็นมา ประสบการณ์ทำนองนี้เราเรียกว่าประสบการณ์รอง ในการเรียนการสอนประสบการณ์รองเป็นสิ่งจำเป็นเหมือนกัน เพราะบางสิ่งบางอย่างเราไม่สามารถจัดของจริงให้สัมผัสได้ เช่น เรื่อง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องจัดประสบการณ์รองให้ โดยให้ผู้เรียนอ่าน ดูรูปภาพ ฟังคำบรรยายและอภิปราย ดูการแสดงสาธิตด้วยหุ่นจำลอง ฯลฯ

ในการเรียนการสอน การแยกประสบการณ์ตรงและประสบการณ์รองออกจากกัน เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำ ประสบการณ์ทั้งสองประเภทล้วนมีประโยชน์ ควรจัดให้ตามความเหมาะสม

1.3 ลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 244) กล่าวว่า เนื่องจากผู้สอนมีหน้าที่จัดกิจกรรมหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงและประสบการณ์รอง ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทราบว่า ลักษณะของประสบการณ์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้มีผู้ทำการศึกษาไว้พอสรุปได้ ดังนี้

1. ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน

2. ต้องสนองความต้องการของผู้เรียน

3. ต้องมีความหมายต่อผู้เรียน

4. ต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน

5. ต้องสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของผู้เรียน

6. ต้องส่งเสริมหรือผลักดันให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้

7. ต้องสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้แล้ว

8. ต้องมีความหลากกลาย มีเนื้อหาสาระมาก และทันสมัย

9. ต้องเป็นประสบการณ์ที่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้ เมื่อพิจารณาในแง่ความพร้อมในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเวลา

10. ต้องเป็นประสบการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

1.4 หลักในการจัดประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 244-245) กล่าวว่า การเลือกประสบการณ์ที่มีลักษณะดี ตามที่กล่าวมาแล้ว ไม่ได้ประกันว่า การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดว่าทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วหรือไม่ถ้าผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับประสบการณ์นั้นมาก่อนเลย การเรียนรู้ย่อมต้องใช้เวลานาน และในบางกรณีอาจเรียนรู้ไม่ได้ก็เป็นได้มีหลักที่นักการศึกษาได้ทำการศึกษาได้และเสนอแนะไว้พอสรุปได้ดังนี้

1. ต้องมีความต่อเนื่อง (Continuity) หลักนี้หมายความว่าประสบการณ์ที่จัดให้นั้นต้องต่อเนื่องกับประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียน เช่น ถ้าต้องการให้บวกเลขหลักร้อย ผู้เรียนก็ควรมีประสบการณ์ในการบวกเลขหลักสิบมาก่อน เป็นต้น ในเรื่องอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนจะต้องตรวจสอบดูเสียก่อนว่าผู้เรียนได้เรียนอะไรมาแล้วมากน้อยเพียงใด ในแง่ของความต่อเนื่องนี้ หลักสูตรรายวิชามักจะทำได้ดี เพราะการนำเอาเนื้อหาวิชามาเรียงลำดับกันได้แล้วจัดให้มีการเรียนการสอนเรียงลำดับกันไปย่อมทำได้ง่าย

2. ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น (Sequence) ความหมายของหลักนี้คือ การที่จะต้องจัดประสบการณ์โดยเริ่มต้นจากที่ง่ายๆไปสู่ที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้หมายความทั้งในแง่ของการใช้ความคิด การใช้เหตุผล การจำ ตลอดจนการใช้ทักษะต่าง ๆ มีตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายหลายเรื่อง เช่น การหัดฟ้อนรำผู้สอนจะให้หัดรำท่าง่าย ๆ ก่อน ต่อมาจึงให้รำท่าที่ยากขึ้น ๆ ตามลำดับ ในการท่องจำบทกลอน ก็เช่นเดียวกัน จะเริ่มด้วยกลอนที่สั้นและง่ายแก่การจำก่อน แล้วจึงหัดจำกลอนที่ยากและยากขึ้น

3. ต้องให้มีลักษณะเป็นบูรณาการ (Integration) ตามหลักนี้อาจมองได้เป็น 2 แง่กล่าวคือให้ประสบการณ์นั้นสร้างบูรณาการในตัวผู้เรียนคือ เป็นประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ ที่สมบูรณ์สมดุลภายในตัว ประการหนึ่ง และให้ประสบการณ์นั้นสร้างบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ อันจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่เรียน เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในหลักสูตรบูรณาการ

4. ต้องส่งเสริมและไม่บั่นทอนพัฒนาการเดิม (Promotion) การเรียนรู้อาจลด ประสิทธิภาพลงได้ ถ้าประสบการณ์ใหม่ที่จัดให้บั่นทอนสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม เช่น ทำให้มโนทัศน์หรือแนวคิดเดิมที่ดีอยู่แล้วต้องสั่นคลอน หรือทำให้ทักษะเดิมได้รับความกระทบกระเทือน

1.5 การวางแผนการจัดประสบการณ์

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 245-246) กล่าวว่า สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการจัดประสบการณ์คือจะต้องจัดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน เพื่อให้สัมฤทธิผลดังกล่าว มีคำแนะนำบางประการที่นักพัฒนาหลักสูตรพึงยึดถือ คือ

1. ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า กล่าวคือ ในการเลือกประสบการณ์ผู้สอนจะต้องมองและคิดให้ตลอดทั้งวิชา ไม่ใช่มองเฉพาะหัวข้อหนึ่งหัวข้อใด หรือหน่วยการเรียนหน่วยใดเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าประสบการณ์ที่จะจัดให้ทั้งวิชานั้น มีดุลยภาพ ไม่ซ้ำซ้อน ไม่ขาด ไม่เกิน มีขั้นตอนที่เหมาะสม การที่จะทำเช่นนี้ได้จำเป็นต้องทราบด้วยว่าวิชาที่ผู้เรียนได้เรียนมาแล้ว และที่จะเรียนต่อไปในสาขาวิชาเดียวกันนี้เป็นอย่างไร

2. ต้องมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยพิจารณาทั้งสื่อที่จำเป็นสำหรับผู้สอนและที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ควรเลือกสื่อหลายๆ อย่าง และให้เหมาะสมกับวัยวุฒิภาวะประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และสภาวะของโรงเรียนและสังคมโดยส่วนรวม

3. ต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เรื่องนี้อาจทำในระหว่างที่ ผู้สอนวางแผนการสอน หรือในระหว่างดำเนินการสอนก็ได้ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การเรียนการสอนสนองความต้องการของผู้เรียนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

4. ต้องใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นแกนนำในกระบวนการเรียนการสอน วิธีการดังกล่าวนี้ จะช่วยให้ประสบการณ์มีความหมายมากขึ้น เพราะผู้เรียนจะต้องคิด ต้องนำเอาประสบการณ์และความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้ และจะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้

2. การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 247) กล่าวไว้ว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เลือกไว้แล้วนั้น มิใช้ว่าจะหยิบยื่นให้แก่ผู้เรียนได้ตามใจชอบจำเป็นต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสม ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากกิจกรรมที่จะจัดเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต้องการมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบย่อมเหมาะสมกับ ผู้เรียนที่มีสภาพอย่างหนึ่งเลือกว่าจะใช้วิธีการเรียนการสอนอย่างไร

การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน หมายถึง การเลือกวิธีการที่เหมาะสม โดยมีหลักเกณฑ์ ที่มีเหตุผลเชื่อถือได้

สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลเท่าที่ควร ก็เนื่องจากความผิดพลาดในด้านยุทธศาสตร์การเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ดีจะช่วยลดข้อบกพร่องลงไปได้มาก เป็นต้นว่า ลดการเรียนแบบท่องจำลดการออกข้อสอบประเภทที่อาศัยการท่องจำในการตอบและลดการเรียนการสอนที่มีผู้สอนเป็นศูนย์กลางหรือเป็นคนสำคัญแต่ผู้เดียว

นักพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกวิธีการเรียนการสอน ในเวลาที่นำหลักสูตรต้นแบบไปทดสอบหรือทดลองเพื่อให้ได้หลักสูตรแม่บท ดังนั้นจึงต้องมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้

ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนนอกจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการเรียนแล้ว ยังไม่เกี่ยวข้องกับสื่อและอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเรียนการสอนด้วย การกำหนดล่วงหน้าว่าจะใช้วิธีสอนอย่างไร นอกจากจะช่วยในการเตรียมและจัดหาสื่อและสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วยังสร้างความแน่ใจว่าจะใช้วิธีการที่กำหนดไว้สอนได้ โดยเฉพาะนักพัฒนาหลักสูตรย่อมทราบดีว่า ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นมีสภาพเป็นอย่างไรทั้งในด้านประมาณและคุณภาพและควรเลือกยุทธศาสตร์การเรียนการสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่

2.1 หลักเกณฑ์และการกำหนดยุทธศาสตร์

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 248 - 250) กล่าวไว้ว่า หลักเกณฑ์และการกำหนดยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

1. ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน จุดประสงค์การเรียนการสอนที่มุ่งในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ฯลฯ ย่อมต้องการวิธีเรียนวิธีสอนต่างกัน ตัวอย่างเช่น วิธีการที่ดีในการพัฒนาทักษะก็คือ การเลียนแบบ การฝึกทำซ้ำ และการลงมือปฏิบัติจริง ในการพัฒนาเจตคติเทคนิคที่ควรใช้ คือ เทคนิคในการปรุงแต่งพฤติกรรม (Behavior Modification) การถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนเราอาจต้องใช้วิธีการหยิบยื่นความรู้ให้โดยตรง หรือด้วยวิธีการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง การสร้างความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ควรใช้เทคนิคการเรียนแบบค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Method) หรือการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application of Knowledge) ในทำนองเดียวกันการพัฒนาพฤติกรรมและนิสัยบางอย่าง อาจต้องใช้วิธีกำหนดเงื่อนไขขึ้น ดังนี้เป็นต้น

2. ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ตามปกติเนื้อหาวิชาย่อมต้องสัมพันธ์กับจุดประสงค์อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่ายุทธศาสตร์การเรียนการสอนจะต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาด้วยจะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์บางอย่างจะเหมาะกับวิชาบางวิชาเท่านั้น อย่างเช่นการเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์การเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ก็ไม่ควรเหมือนกับของวิชาวิทยาศาสตร์ และ สังคมศึกษา ที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการเรียนวิทยาศาสตร์จะต้องเน้นเทคนิคการค้นพบ การคิดแบบอนุมาน (Inductive) และการทดลอง

ตัวอย่างข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนการสอนจะต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา มีตัวอย่างเป็นอันมากที่หลักเกณฑ์นี้ถูกละเลย ทำให้ผลที่ได้รับไม่ตรงจุดประสงค์ ความพยายามลำบากในการกำหนดยุทธศาสตร์จะมีมากขึ้น ถ้าเนื้อหาวิชาผสมผสานกันอยู่ในลักษณะบูรณาการ แต่ถ้าสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้ถูกต้องก็จะทุ่นเวลาการเรียนการสอนไปมาก

3. ต้องเหมาะกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียน สภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนมากเด็กที่มีฐานะยากจนควรได้รับการอบรม เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ในโรงเรียนและให้สามารถอยู่ร่วมพวกกับเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี จากการที่เด็กมาจากสิ่งแวดล้อมต่างกันและมีปัญหา และความต้องการต่างกัน การที่จะสนองความต้องการได้ก็จำต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน

4. มองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ความแตกต่างข้อนี้มุ่งในด้านความสามารถทางกายและทางปัญญา ตัวอย่างเช่น เทคนิคการสอนแบบค้นพบจะใช้ได้ดีในหมู่ผู้เรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป การเรียนการสอนโดยวิธีบอกเล่าโดยตรงจะใช้ได้ดีกับผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาอยู่ในระดับปทัสถานหรือต่ำกว่า ในทำนองเดียวกันผู้เรียนที่มีความพิการ หรือด้อยโอกาส (Handicapped) ก็ต้องการเทคนิคการสอนที่เหมาะสม

5. ต้องเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เนื่องจากการเรียนการสอนจะต้องอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ อย่างน้อยที่สุดกระดานดำก็เป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้การเรียนการสอนบางเรื่องถ้าจะให้เกิดผลดี ยังจะต้องใช้โสตทัศนอุปกรณ์ ห้องทดลองพร้อมเครื่องมือโรงฝึกงาน ฯลฯ และสถานศึกษาที่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์จะต้องอาศัยสิ่งที่มีอยู่ และจะต้องปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับสภาวะของตน

6. ต้องเหมาะกับพฤติกรรมแรกเริ่มของผู้เรียน พฤติกรรมแรกเริ่มหมายถึงพฤติกรรมก่อนการเรียนการสอน ผู้เรียนบางคนอาจมีพฤติกรรมใกล้เคียงจุดประสงค์ แต่บางคนอาจจะยังห่างไกลอยู่ ดังนั้น การที่ทราบว่าพฤติกรรมแรกเริ่ม ซึ่งหมายถึงความรู้เดิมทักษะเดิม เจตคติเดิมความรู้สึกนึกคิดเดิม สภาพของร่างกายและจิตใจที่เป็นอยู่ก่อนการเรียนการสอน ฯลฯ ย่อมช่วยให้สามารถกำหนดได้ว่า ควรจัดการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะเกิดผลดีแก่ผู้เรียนสูงสุด

7. ต้องเหมาะสมกับบรรยากาศการบริหารงานของโรงเรียน เรื่องนี้เกี่ยวกับความเข้มงวดกวดขันและความยืดหยุ่นในการบริหาร บางโรงเรียนหรือสถานศึกษาเข้มงวดกวดขันในการปฏิบัติตามตารางสอนโดยถือระเบียบเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สามารถนำเอาวิธีสอนที่ต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องเวลามาใช้ได้ เช่น การสอนแบบสืบสวนสอบสวน การสอนแบบปฏิบัติการในสนาม การสอนแบบการศึกษานอกสถานที่ การสอนแบบร่วมในโครงการชุมชน ฯลฯ พึงเข้าใจว่าบรรยากาศการบริหารเปรียบเสมือนภาพวาดที่แสดงบุคลิกภาพของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการเรียนการสอนด้วยโรงเรียนที่ยึดมั่นในประเพณีเก่า ๆ ย่อมไม่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่ให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนมาก ๆ ขอบเขตของการเรียนการสอนจึงอยู่ภายในห้องเรียนเกือบทั้งหมดยุทธศาสตร์การเรียนการสอนจึงถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ

8. ต้องเหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน ย่อมเป็นที่เข้าใจกันดีแล้วว่าพฤติกรรมของผู้เรียนหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความต้องการทางร่างกายและจิตใจที่พัฒนาขึ้นมาตามอายุของผู้เรียน ความสนใจและพัฒนาการทางปัญญาก็เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงสิ่งดังกล่าวให้มากการใช้เทคนิคการเรียนการสอนหลายรูปแบบ รวมทั้งการจัดกิจกรรมร่วมหรือเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้การเรียนสนุกสนาน มีชีวิตชีวาและจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ นับได้ว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยได้มาก

9. ต้องใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่ดี จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การกระทำดังกล่าว จะทำให้ ผู้เรียนเกิดความสนใจ สนุกสนานในการเรียน ขณะเดียวกันจะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนด้วย

2.2 ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนแบบต่าง ๆ

ธำรง บัวศรี (2545, หน้า 250-253) กล่าวว่า ในการกำหนดหน่วยการเรียน จำเป็นต้องกำหนดลงไปด้วยว่าจะใช้วิธีสอนแบบใดหลักเกณฑ์ในการกำหนดยุทธศาสตร์ช่วยให้เราสามารถบอกได้ว่าวิธีสอนแบบใดบ้างที่อยู่ในข่ายที่ควรเลือกมาสอนได้ เนื่องจากวิธีสอนมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบจะนำไปสู่จุดประสงค์อย่างหนึ่ง ๆ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะต้องทราบ เพื่อจะได้เลือกมาใช้ได้เหมาะสม ในที่นี้จะขอนำเอารูปแบบการสอนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาอธิบายให้ทราบพอสังเขป ดังต่อไปนี้

1. การถ่ายทอดข้อมูลหรือเนื้อหาวิชาโดยตรง(Expository Teaching)ได้แก่การบรรยายและการให้อ่านจากหนังสือหรือตำรา วิธีการสองแบบนี้มักใช้สลับกันไป เป็นวิธีการที่ดีในแง่เศรษฐกิจเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และการเรียนการสอนก็ทำให้ง่ายไปไม่ยุ่งยากแต่มีข้อเสียตรงที่ส่วนใหญ่ผู้เรียนจะเป็นฝ่ายรับและไม่ค่อยมีโอกาสแสดงออกเป็นการไม่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม

อย่างไรก็ตามในระยะหลัง ๆ นี้ได้มีการปรับปรุงการสอนวิธีนี้ โดยสอดแทรกการอภิปรายและการซักถามเข้าไป หลังจากที่การบรรยายเสร็จสิ้นลงแล้ว วิธีนี้ช่วยให้การเรียนการสอนน่าสนใจขึ้น ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่ม ความกล้าพูดต่อหน้าผู้อื่น ความสามารถในการใช้ปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบและสรุปความคิดสิ่งที่พึงระวังในการนำเอาวิธีอภิปรายซักถาม มาใช้คือ การที่ผู้สอนจะพูดอภิปรายจนผู้เรียนไม่มีโอกาสพูด หรือผู้เรียนบางคนควบคุมการอภิปรายจนเพื่อนร่วมชั้นไม่มีโอกาสแสดงบทบาทของตน

2. การให้ค้นคว้าและแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Inquiry Method) วิธีนี้บางทีเรียกว่าวิธี แก้ปัญหา (Problem Solving) หรือวิธีการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Method) หลักการมีว่า ผู้เรียนไม่ควรเป็นเพียงผู้รับข้อมูลหรือความรู้จากผู้สอนแต่เพียงฝ่ายเดียว ในทางที่ถูกที่ควร ผู้เรียนควรเป็นผู้รวบรวมข้อมูลหรือความรู้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ รูปแบบง่าย ๆ ของการเรียนการสอนแบบนี้ คือการที่ผู้สอนบอกให้ผู้เรียนทราบปัญหาและบอกวิธีแก้ปัญหาให้ ผู้เรียนมีหน้าที่ลงมือแก้ปัญหาเอง ในระดับที่สูงขึ้นมาผู้เรียนจะได้รับทราบปัญหา แต่ต้องไปค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาและลงมือแก้ปัญหาเอง สำหรับระดับสูงสุดผู้เรียนต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกขั้นตอน คือตั้งแต่การกำหนดปัญหาไปจนถึงชั้นแก้ปัญหา

สิ่งสำคัญที่ควรระมัดระวัง ก็คือ อย่าให้บทบาทของผู้สอนเป็นไปในลักษณะที่แนะนำ ผู้เรียนตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าจะต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เรื่อย ๆ คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่าการที่จะเข้าใจอะไรนั้น ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นด้วยตัวเองไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่งทำแทน ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนพึงกระทำก็คือการให้การสนับสนุนความพยายามค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งที่จะค้นคว้าและประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อการค้นคว้าหาความรู้

มีข้อพึงสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้เหมาะที่จะให้ผู้เรียนกระทำเป็นรายบุคคลหรือในกลุ่มเล็ก ๆ เพราะถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ผู้ที่ได้รับประโยชน์และเกิดทักษะในการค้นคว้าจริง ๆ อาจมีเพียงไม่กี่คน ที่เหลืออาจเป็นประเภทดูเพื่อนหรือตามเพื่อน ซึ่งนอกจากจะไม่ส่งเสริมทักษะที่ต้องการแล้ว ยังเพราะนิสัยการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย อนึ่งในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะแปรรูปไป ผู้สอนที่ไม่เข้าใจบทบาทใหม่ของตนอาจมีความรู้สึกว่าตัวเองห่างเหินกับผู้เรียน แต่แท้ที่จริงแล้ว บทบาทในการกระตุ้นส่งเสริม แนะนำและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กลับจะทำให้ความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีกซ้ำไป

3. การทดลองปฏิบัติการ (Laboratory Method) วิธีนี้ผู้เรียนค้นคว้าแก้ปัญหาด้วยตัวเองแต่แตกต่างกับวิธีที่ 2 ตรงที่วิธีที่ 2 ไม่ประกันว่าจะมีการทดลองกันอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้เรียน อาจค้นคว้าหาความรู้โดยวิธีอื่นได้ แต่วิธีนี้จะดำเนินไปตามวิธีการวิทยาศาสตร์ คือ การตั้งปัญหา รวบรวมข้อมูล ตั้งสมมุติฐาน ทดลอง และสรุปผล นับเป็นวิธีการที่ช่วยพัฒนาปัญญา ความรู้ เจตคติและค่านิยมได้เป็นอย่างดีแต่มีข้อคิดอยู่ว่าค่าใช้จ่ายในการทดลองสูงและการทดลองบางอย่างต้องใช้เวลานาน

4. การแบ่งกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ (Group – Learning) ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนแบบนี้ประกอบด้วยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยให้แต่ละกลุ่มทำงานเป็นอิสระผู้สอน ไม่ได้ทำหน้าที่สอนโดยตรง แต่เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนกระทำและช่วยแนะนำในการค้นคว้าหา ข้อมูลและประมวลข้อมูลเข้าด้วยกัน การเรียนโดยวิธีแบ่งกลุ่มผู้สอนอาจให้ทุกกลุ่มทำงานเหมือนกันหมด หรือแตกต่างกันก็ได้ ผู้เรียนมีโอกาสทราบงานของกลุ่มอื่น ๆ จากการประชุมเสนอรายงานและจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ส่วนดีของวิธีการแบบนี้ก็คือการที่ผู้เรียนได้แสดงอย่างเต็มที่ในกลุ่มเล็ก ๆ ของตนแต่ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ครบครันสำหรับแต่ละกลุ่ม และจะต้องให้แต่ละกลุ่มรู้จักวิธีวางแผน เตรียมงาน ตลอดจนการดำเนินงานตามแผนรวมทั้งการประเมินผลงานด้วย

5. การให้เรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individulized Learning) วิธีนี้ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางเชาวน์ปัญญา และแบบฉบับการเรียนรู้ (Learning Style) สามารถเรียนรู้ด้วยความสบายใจและก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน สิ่งสำคัญก็คือผู้สอนจะต้องกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ให้เหมาะกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจใช้วิธีให้ผู้เรียน มีอิสระเสรีเต็มที่ ซึ่งเหมาะกับผู้เรียนที่เฉลียวฉลาดหรือใช้วิธีกำหนดขั้นตอนและวิธีการซึ่งโดยทั่วไปเราใช้กับผู้เรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญากลางก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน

6. การให้เรียนรู้จริงเป็นเรื่อง ๆ (Learning for Mastery) วิธีการนี้เป็นเทคนิคในการกำกับการเรียนที่จัดว่าได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง ยุทธศาสตร์อยู่กับสมมุติฐานที่ว่าผู้เรียนส่วนใหญ่จะสามารถเรียนรู้สิ่งที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์ของหลักสูตรแต่อาจใช้เวลาต่างกันการเรียนการสอนคงใช้วิธีการปกติโดยให้ผู้เรียนเรียนไปเรื่อย ๆ ตามตารางเวลาที่ผู้สอนกำหนด และเมื่อเรียนจบแต่ละหัวข้อหรือหน่วยการเรียนแล้ว ให้ทำการทดสอบดูว่าผู้เรียนได้เรียนรู้หรือไม่ ผลการทดสอบจะชี้ว่ามีอะไรบ้างที่ผู้เรียนควรเรียนเพิ่มเติมหรือซ่อมเสริมผู้เรียนแต่ละคนที่ต้องเรียนซ่อมเสริมจะได้รับโอกาสให้เรียนเพิ่มเติมและได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสอนเป็นรายบุคคลและการทำแบบฝึกหัดซ้ำอีก เป็นต้น หลังจากนั้นก็จะมีการทดสอบอีกจนแน่ใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้แล้ว

7. การจัดการเรียนการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) วิธีนี้ แบ่งสิ่งที่ต้องเรียนออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนมีงานให้ผู้เรียนทำ เช่น ให้เขียนภาพ ตอบคำถามเติมคำในช่องว่าง ฯลฯ สิ่งสำคัญในการทำโปรแกรมก็คือต้องไม่ให้ผู้เรียนเห็นคำตอบก่อนตอบคำถามซึ่งอาจทำได้โดยใช้เครื่องกลการสอน (Teaching Machine) และเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) ช่วย

ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนแบบนี้มีประโยชน์หลายประการ ประการแรก เรื่องที่ ผู้เรียนต้องให้ความสนใจแต่ละครั้งเป็นเรื่องจำกัดและชัดเจน ประการที่สอง ผู้เรียนต้องตอบคำถามทันที ทำให้ต้องคิดตลอดเวลา จะหยุดนิ่งไม่ได้ ประการที่สาม การทราบผลอย่างรวดเร็วว่า คำตอบถูกหรือผิดทำให้ผู้เรียนแก้ความผิดได้อย่างรวดเร็ว และเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน และประการสุดท้ายช่วยให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนได้ตามความสามารถของตน แต่ก็เรียนรู้ได้เช่นเดียวกับ ผู้เรียนคนอื่น ๆ

8. การให้แสดงบทบาทในสถานการณ์จำลอง (Simulation Technique) วิธีนี้ใช้การจัดฉากหรือสถานการณ์ขึ้นให้คล้ายกับของจริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานการณ์นั้น เช่น กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานบัญชี พ

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

งานวิจัยของพระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

เรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของสำนักศาสนศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์ ใครต้องการข้อมูล ให้พิมพ์ชื่อ พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว บน Google จะมีเว็บ ARCIT,Thepsatri Rajaphat University เปิดดูก็จะมีงานวิจัยของ  นักศึกษาของสถาบันทั้งหมด ขอให้ผู้ตั้งใจศึกษาทุกท่านโชคดี.

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

การบริหารจัดการ

(Management Meaning)

ความหมายของการบริหารจัดการ

ธุรกิจหรือองค์กร แสดงให้เห็นจากกลุ่มของบุคคลที่มาร่วมกันทำงานด้วยโครงสร้างและการประสานงานเป็นหลักการชัดเจนแน่ชัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ (Ricky W. Griffin, 1999, p.6) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัตถุดิบ (Material) เครื่องจักร (Machine) วิธีการ (Method) และการบริหาร (Management) หรือที่นิยมเรียกกันว่า 6M’s

ความหมายของการบริหารจัดการนั้น สามารถจำกัดออกมาตามความเข้าใจได้ โดย คำว่า “Management” อาจแปลว่า การจัดการหรือการบริหารหรือการบริหารจัดการก็ได้ซึ่งในหนังสือองค์การและการจัดการฉบับสมบูรณ์ โดย

รศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2545, หน้า18-19) ได้รวบรวม ความหมายของคำว่า “การบริหารจัดการ” และ “การจัดการ” ได้ดังนี้

1. คำว่า “การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ และคำว่า “ผู้บริหาร” (Administrator) จะหมาถึง ผู้บริหารที่ทำงานอยู่ในองค์กรของรัฐ หรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร (Schermerhorn, 1999, p.G-2)

การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การนำหรือการสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

2. คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management) ส่วนคำว่า “ผู้จัดการ” (Manager) จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร การบริหารจัดการ (Management) หมายถึงชุดของหน้าที่ต่างๆ (A set of functions) ที่กำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาดและคุ้มค่า (Cost-effective) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) นั้นหมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง (Right decision) และมีการปฏิบัติการสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผลสำเร็จของการบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กัน (Griffin, 1997, p.4)

ในอีกแนวหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการ หมายถึง กระบวนการของการมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรจากการทำงานร่วมกัน โดยใช้บุคคลและทรัพยากรอื่นๆ (Certo, 2000, p.555) หรือเป็นกระบวนการออกแบบและรักษาสภาพแวดล้อมที่บุคคลทำงานร่วมกันในกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพคำว่า “การบริหาร” (Administration) และ “การจัดการ” (Management) มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย โดยการบริหารจะสนใจและสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายไปลงมือปฏิบัติ นักวิชาการบางท่านไห้ความเห็นว่าการบริหารใช้ในภาครัฐ ส่วนการจัดการใช้ในภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ในตำราหรือหนังสือส่วนใหญ่ทั้ง 2 คำนี้มีความหมายไม่แตกต่างกัน สามารถใช้แทนกันได้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (สุรัสวดี ราชกุลชัย, 2543, หน้า 3)

จากความหมายต่างๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ประเด็นสำคัญของการบริการจัดการ (Management) มีดังนี้

1) การบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้

2) เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือ การสร้างกำไร

3) การบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต (Productivity) โดยมุ่งสู่ประสิทธิภาพ (Efficiency) (วิธีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดที่สุด) และประสิทธิผล (Effectiveness) (บรรลุเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุด)

4) การบริหารจัดการสามารถนำมาใช้สำหรับผู้บริหารในทุกระดับชั้นขององค์กร

กระบวนการการบริหารจัดการ (Management Process) หมายถึง กระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งกระบวนการการบริหารจัดการนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างมี ปฏิสัมพันธ์สอดคล้องและต่อเนื่องดังแสดงให้เห็นดังภาพที่ 1.2

ทั้งนี้หน้าที่ของการบริหารประกอบด้วยกิจกรรมพื้นฐาน 4 ประการหรืออาจแบ่งในลักษณะที่เป็นขั้นตอนดังนี้

1) การวางแผน (Planning) เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การวางแผนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคตซึ่งทำได้โดยการให้บรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ การวางแผนจึงต้องอาศัยการกำหนดกลยุทธ์ที่ประสิทธิภาพ แม้ว่าพื้นฐานของการจัดการโดยทั่วไปเป็นงานของผู้บริหารการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติตามกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จและการประเมินกลยุทธ์ เพราะว่า การจัดการองค์กร การจูงใจ การจัดบุคคลเข้าทำงาน และกิจกรรมควบคุม ขึ้นกับการวางแผน กระบวนการวางแผนจะต้องประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร

การวางแผนจะช่วยให้องค์กรกำหนดข้อดีจากโอกาสภายนอกและทำให้เกิดผลกระทบจากอุปสรรคภายนอกต่ำสุด โดยต้องมองเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขั้นในอนาคต การวางแผน ประกอบด้วย การพัฒนาภารกิจ (Mission) การคาดคะเนเหตุการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์อนาคต และแนวโน้ม การกำหนดวัตถุประสงค์ และการเลือกกลยุทธ์ที่ใช้การวางแผนจะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดและสามารถกำหนดเป้าหมายได้ การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นต้องการให้องค์กรติดตามในลักษณะเชิงรุก (Proactive) มากกว่าที่จะเป็นเชิงรับ (Reactive) องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะต้องควบคุมอนาคตขององค์กรมากกว่าที่จะรอรับผลจากอิทธิพลสภาพแวดล้อมภายนอกและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจ (Decision Making) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของตลาด เศรษฐกิจ และคู่แข่งขันทั่วโลก จุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ดีของธุรกิจคือการวางแผนที่เหมาะสม เห็นผลได้จริง ยืดหยุ่น มีประสิทธิผล และทรงประสิทธิภาพ

2) การจัดการองค์กร (Organizing) จุดมุ่งหมายของการจัดการองค์กรคือ การใช้ความพยายามทุกกรณีโดยการกำหนดงานและความสำคัญของอำนาจหน้าที่ การจัดการองค์กร หมายถึง การพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการทำและผู้ที่จะทำรายงานมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดี สามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันและสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดีสามารถจูงใจผู้บริหารและพนักงานให้มองเห็นความสำคัญของความสำเร็จขององค์กร

การกำหนดลักษณะเฉพาะของงาน (Work Specialization) โดยการแบ่งงานประกอบด้วยงานที่กำหนดออกมาเป็นแผนก การจัดแผนก และการมอบอำนาจหน้าที่ (Delegating Authority) การแยกงานออกเป็นงานย่อยตามการพัฒนารายละเอียดของงาน (Job Description) และคุณสมบัติของงาน (Job Specification) เครื่องมือเหล่านี้มีความชัดเจนสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งต้องการทราบลักษณะของงาน

การกำหนดแผนกในโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure) ขนาดของการควบคุม (Span of Control) และสายการบังคับบัญชา (Chain of Command) การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ต้องการการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง เพราะตำแหน่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นหรือลดลงหรือรวมกัน โครงสร้างองค์กรจะต้องระบุถึงวิธีการใช้ทรัพยากรและวิธีการซึ่งวัตถุประสงค์มีการกำหนดขึ้นในธุรกิจ การสนับสนุนทรัพยากรและกำหนดวัตถุประสงค์ตามสภาพทางภูมิศาสตร์จะแตกต่างจากโครงสร้างด้านผลิตภัณฑ์หรือลูกค้า

รูปแบบทั่วไปของการจัดแผนก คือ

- ตามหน้าที่ (Functional)

- ตามฝ่าย (Divisional)

- ตามหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic business unit) และ

- ด้านแมททริกซ์ (Matrix)

3) การนำหรือการสั่งการ (Leading/Directing) เป็นการใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ระบุไว้ หรือเป็นกระบวนการจัดการให้สมาชิกในองค์กรทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเข้าใจถ่องแท้ได้ยาก การนำหรือการสั่งการจึงต้องใช้ความสามารถหลายเรื่องควบคู่กันไป อาทิ ภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร การจูงใจ การติดต่อสื่อสารในองค์กร และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น หน้าที่ในการนำหรือสั่งการนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหน้าที่อื่น เพราะผู้บริหารต้องแสดงบทบาทของผู้สั่งการอย่างมีคุณภาพ ถ้าไม่เช่นนั้น แผนงานที่วางไว้ตลอดจนทรัพยากรที่จัดเตรียมไว้อาจไม่เกิดประสิทธิผล ถ้าผู้บริหารดำเนินกิจกรรมด้านการสั่งการไม่ดีพอ ดังนั้น การสั่งการจึงเป็นเรื่องของความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ และความสามารถที่จะชักจูงให้พนักงานร่วมกันปฏิบัติงานไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้องค์กรประสบความสำเร็จตามต้องการ

4) การควบคุม (Controlling) การใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ถือว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบ หรือติดตามผลและประเมินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน เพื่อรักษาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางสู่เป้าหมายอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ในเวลาที่กำหนดไว้ องค์กรหรือธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากการขาดการควบคุม หรือมีการควบคุมที่ไร้ประสิทธิภาพ และหลายแห่งเกิดจากความไม่ใส่ใจในเรื่องของการควบคุม ละเลยเพิกเฉย หรือในทางกลับกันคือมีการควบคุมมากจนเกิดความผิดพลาดขององค์กรเอง การควบคุมจึงเป็นหน้าที่หลักทางการบริหารที่มีความสำคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการทางการบริหาร

การควบคุมเป็นการตรวจตราและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายและดำเนินการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่า จะบรรลุผลลัพธ์ตามต้องการ นอกจากนี้การควบคุมยังเป็นกระบวนการรวบรวมและแสดถึงข้อมูลย้อนกลับเรื่องของผลการดำเนินงานในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอีกด้วย (John R. Schermerhorn, op. cit. p.327) อาจกล่าวถึงบทบาทสำคัญของการควบคุมได้ว่า อยู่ที่คำ 4 คำ ได้แก่ มาตรฐาน (Standard) การวัดผล (Measurement) การเปรียบเทียบ (Comparison) และการปฏิบัติ (Take Action) โดยการควบคุมจะครอบคลุมดูแลพื้นที่ 4 พื้นที่ใหญ่ๆ ของการบริหาร (Stephen P. Robbins, Managing Today, 1997, p.391) กล่าวคือ พฤติกรรมบุคคลในองค์กร การเงิน การปฏิบัติการ และ ข้อมูลข่าวสาร

ทรัพยากรประกอบด้วย มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ตลอดจนทรัพยากรข้อมูลขององค์กร ดังแสดงในภาพที่ 1.3 ซึ่งผู้บริหารจะเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรโดยอาศัยหน้าที่ทั้ง 4 ประการนี้

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

หลักและกระบวนการบริหาร การบริหารและการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีเพื่อการบริหารงาน จากเอกสาร การบริหารงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้อบรมหัวหน้าฝ่ายทั่วประเทศได้นำเสนอ เรื่อง การบริการไว้ดังนี้ คำจำกัดความ การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon) การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni) การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard) การบริหารเป็นกระบวนการทางสังคม ที่สามารถมองเห็นได้ 3 ทางคือ 1. ทางโครงสร้าง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้นตอนของสาย การบังคับบัญชา 2. ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จเป้าหมาย 3. ทางปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่บุคคลและบุคคลต้องการร่วมทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน (Getzals & Guba) ลักษณะเด่นที่เป็นสากลของการบริหาร ลักษณะเด่นที่เป็นสากลของการบริหาร คือ การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ต้องอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญ - ต้องใช้ทรัพยากรบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน - ต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม - ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไป - ต้องอาศัยร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์ - เป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล - มีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ - การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ - การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การบริหาร เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) ปัจจัยการบริหาร ปัจจัยพื้นฐานทางการบริหาร มี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่ 1. คน (Man) 2. เงิน (Money) 3. วัสดุสิ่งของ (Materials) 4. การจัดการ (Management) ข้อจำกัดทางการบริหาร สถานภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ประชากร 2. ทรัพยากร 3. ลักษณะนิสัย และความสามารถของคนในชาติ 4. ความเชื่อถือและความศรัทธา 5. ขนบธรรมเนียมและประเพณี 6. ค่านิยมและอุดมการณ์ทางสังคม 7. ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหาร ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎี เป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการ ให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย ประโยชน์ของทฤษฎี ทำให้เกิดความรู้ ความคิดใหม่ ๆ เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือถ้ามีทฤษฎีก็มีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อทดสอบหรือพิสูจน์ทฤษฎีอื่น สามารถใช้ประกอบการทำนายเหตุการณ์ พฤติกรรม และใช้แก้ไขปัญหาได้ ทฤษฎีจะช่วยขยายประสิทธิภาพของการทำงาน กล่าวคือ ผู้บริหารที่รู้ทฤษฎีจะมีทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมได้ ทฤษฎีเป็นหลักยึดในการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ที่ทำงานแนวคิดหรือทฤษฎีก็จะเกิดความมั่นใจในการทำงานมากกว่าทำไป อย่างเลื่อนลอย ทฤษฎีจะช่วยชี้แนะนำการปฏิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ในการบริหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบ สำหรับผู้ปฏิบัติ และเป็นตัวกำหนดความรู้เพื่อช่วยให้การตัดสินใจกระทำไปอย่างมีเหตุผลและสามารถปฏิบัติได้จริงก็ตาม การปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการได้ไตร่ตรองแล้วเท่านั้นจึงจะเป็น การปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีและวิจัยไม่ใช่เป็นการปฏิบัติที่เกิดจากการหยั่งรู้อคติ ความศรัทธาหรืออำนาจหน้าที่ นักทฤษฎีและนักวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดกว่านักปฏิบัติ เพื่อความมีเหตุผล ส่วนนักปฏิบัติ จะถูกบังคับโดยตำแหน่ง ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ครบทุกขั้นตอน แต่ก็ยังถูกบังคับให้ปรับรับวิธีการให้เหมาะสม โดยมี การยืดหยุ่นได้มากขึ้น ทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับการวิจัย และการชี้แนะที่มีเหตุผลต่อ การปฏิบัติ ทฤษฎีจะถูกทดสอบขัดเกลาโดยการวิจัย เมื่อทฤษฎีผ่านการวิจัยแล้ว จึงนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติ ไม่มีการปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ในเมื่อทฤษฎี อยู่บนพื้นฐานของตรรกวิทยามีเหตุผลแม่นยำถูกต้องแล้ว การปฏิบัติก็จะมีเหตุผลและถูกต้องเช่นเดียวกัน การปฏิบัติจึงสร้างมาให้เห็น ทฤษฎีเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องศึกษาทฤษฎี การศึกษาทฤษฎีก็เพราะจะให้การปฏิบัติได้ผลจริง การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือ ทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory ) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ แนวความคิด เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่ การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุกๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์ เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ หลักการของการบริหารโดยสถานการณ์ ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น - ความแตกต่างระหว่างบุคคล - ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น - ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร - ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E. Fiedler (1967) ทฤษฎีระบบ การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหา ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ความหมาย ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและ มีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่ - ปัจจัยการนำเข้า Input - กระบวนการ Process - ผลผลิต Output - ผลกระทบ Impact วิธีการระบบเป็นวิธีการที่ใช้หลักตรรกศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล และ มีความสัมพันธ์กันไปตามขั้นตอนช่วยให้กระบวนการทั้งหลายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยให้การบริหารบรรลุวัตถุประสงค์ไปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและ ไม่ลำเอียง ทฤษฎีบริหารของ McGreger ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมมติฐานที่ว่า - คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ - คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง - คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ - คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง - คนมักโง่ และหลอกง่าย ทฤษฎีThe integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมมติฐานที่ว่า - คนจะไม่ให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน - คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้ - คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง - คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองมากขึ้น วิธีการบริหารตามแนวนี้ จะเป็นการรวบรวมบุคคลและเป้าหมายโครงการเข้าไว้ด้วยกัน การจูงใจต้องใช้วิธีการจูงใจในระดับสูง ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchl) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (Iof California t Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ ทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ - การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ - การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ - การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา - การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ คือ - คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน - คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน - คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง หลักการบริหารที่มีประสิทธิภาพ (Edgar L Morphet ) - การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์การ (Division Of Labor) - มีการกำหนดมาตรฐานทำงานที่ชัดเจน (Standardization) - มีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) - มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Delegation of Authority and Responsibility) - มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานให้เฉพาะเจาะจงขึ้น (Division of Labor) - มีการกำหนดมาตรฐานการทำงาน ที่ชัดเจน (Span of control) - มีการมอบหมายการควบคุมดูแลที่เหมาะสม (Stability) - เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในองค์การได้ (Flexibility) - สามารถทำให้คนในองค์การเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย (Security) - มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ (Personnel Policy) - มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์การ (Evaluation) บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหาร (Spepgen J . Knezevich แห่ง USC. 1984 ) เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction Setter ) เช่น รู้เทคนิคต่าง ๆ ของการบริหาร PPBS .MBO QCC เป็นต้น - มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader Catalyst) - ต้องเป็นนักวางแผน (Planner) - ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Maker) - ต้องมีความสามารถในการจัดองค์การ (Organizer) - ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change Manager) - ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator) - ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี(Communicator) - ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์การได้ (Conflict Manager) - ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ ได้(Problem Manager) - ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Manager) - ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional Manager) - ต้องมีความสามรถในการบริหารบุคคล (Personnel Manager) - ต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากร (Resource Manager) - ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser) - ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public Relater) - ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial Head) การบริหารแบบมีส่วนร่วม ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วย ความเต็มใจ แนวความคิดพื้นฐาน (Basic Assumption) จากทฤษฎี การจูงใจ ของ Motivation Theory เชื่อว่า มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบขีดจำกัด จากทฤษฎีการจูงใจ ของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ - ความสำเร็จ - การยกย่อง - ความก้าวหน้า - ลักษณะงาน - ความรับผิดชอบ - ความเจริญเติบโต จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมีบุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ องค์การต้องใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน และแตกต่างกันอย่างรวดเร็ว เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม - การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee) - กรรมการให้คำแนะนำ - การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linking Pin) - การติดต่อสื่อสารแบบประตู - การระดมความคิด - การฝึกอบรมแบต่าง ๆ - การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO) วิธีการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่ 1. ระดับบุคคล เป็นวิธีการพิจารณาและปรับปรุงบุคคลให้ได้ดีขึ้น 3 แบบ คือ 1.1 การฝึกอบรมให้มีความรู้สึกไว (Sensitivity Training ) เพื่อ ให้เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ ให้รู้จักยอมรับ และพัฒนาตนเอง ได้เข้าใจและยอมรับผู้อื่นให้มากขึ้น ให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้น เพื่อให้มีความสุข มีขวัญ และกำลังใจดีขึ้น เพื่อให้มีการงานดีขึ้น 1.2 การวิเคราะห์การติดต่อ (Transactional Analysis )เป็นวิธีการติดต่อที่แลกเปลี่ยนด้วยภาษาและไม่ใช่ภาษาระหว่างบุคคล Erio Berne ชี้ให้เห็นว่า การติดต่อระหว่างบุคคลมี3 แบบ คือ แบบพ่อแม่ (Parent ) ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ (Adult) เด็ก (Child) 1.3 การนั่งสมาธิแบบควบคุมจิต (Trancendental Meditation) คือ การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด และเพื่อความคิดสร้างสรรค์ 2. ระดับกลุ่ม การรวมกลุ่มแบบครอบครัว (Family Grouping) การฝึกอบรมเพียงในนาม (Norminal Group Training ) หมายถึง บุคคลถูกรวมเข้าเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้สื่อสารด้วยวาจา จะเป็นการประชุมพร้อมกันที่โต๊ะเพื่อแก้ปัญหา ต้องการใช้คำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกจะใช้เวลาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยไม่พูดจากัน เทคนิค เดลไพ (SDelphi Technique) เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดกลุ่มที่ปรึกษาและกลุ่มผู้ตอบ แล้วสร้างแบบสอบถามส่งไปรษณีย์ ผู้ตอบมายังทีมที่ปรึกษา แล้วเอามาสรุปการตอบสอบถาม ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม - ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ - ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด - ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ - ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน - ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น - ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร - สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ - ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม - ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ - เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลดน้อยลง และทำให้ผลงานดีขึ้น สาเหตุที่ทำให้บริหารล้มเหลว ผู้บริหารบางคนประสบความล้มเหลวในการบริหาร ในการบริหาร หรือ หากไมล้มเหลวก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ความล้มเหลวย่อมต้องมีสาเหตุ ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้ 1. ความล้มเหลวทางด้านความรู้ (Knowledge Failurds) ความล้มเหลวในเรื่องต่าง ๆทั้งทางด้านนโยบายและวิธีการปฏิบัติ ความรู้ทางเนื้อหาวิชาที่จำเป็นต้องศึกษาไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาตลอดจนขาดความรู้ทางด้านกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ 2. ความล้มเหลวทางด้านส่วนบุคคล (Personality Faliures) ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพส่วนบุคคลมีความสำคัญพอ ๆ กับความล้มเหลวทางด้านความรู้ ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพมีสาเหตุมาจากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ เพราะเกิดความกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด ผู้บริหารบางคนขาดความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่กระจายความรับผิดชอบให้กับผู้ร่วมงานและไม่สามารถวิเคราะห์และประเมินผู้ร่วมงานได้ ปัญหาของผู้บริหาร ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในองค์การไม่เพียงแต่จะเป็นผลต่อบุคคลข้างเคียงแล้ว และชุมชนด้วยปัญหาเหล่านี้ได้แก่ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างของบุคลในองค์การ (Typical Problem) 2. ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานในองค์การ (The Problem of interrelationship) 3. ปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเอกสารและคำพูดของบุคคลในองค์การ (The Problem of communication) ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (The Problem of Change) การสร้างทีมงาน (Team - Building) ความนำ (Introduction) การนำงานเป็นทีมมักจะพบเห็นกันอยู่ทั่วไปที่เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวหรือหน่วยงานของเอกชน รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นการสร้างทีม จึงจำเป็นสิ่งที่สมาชิกในทีมจะต้องเรียนรู้ถึงว่า ทำอย่างไรจะทำงานร่วมกันได้อย่างดีนั้น รวมทั้งนักบริการสามารถสร้างความพร้อมของ การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นหน่วยงานได้อย่างไร ซึ่งย่อมจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ความหมายและความสำคัญในการสร้างทีม ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน A team may be simply definde as any group of people who mast significant by relte with each other the order to accomplish shared ofjectives ในเรื่องทีม Hall ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องกลุ่มว่า กลุ่มนั้นมีส่วนประกอบ 2 ทาง กลุ่มได้ช่วยเหลือสมาชิกกันเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ สมาชิกเองก็ช่วยเหลือกันและกัน ในการสร้างและรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างขององค์การ Edgar Schrin ให้ความหมายของกลุ่มหรือกลุ่มไว้ว่า จำนวนใด ๆ ของคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น มีความตระหนักทางด้านจิตใจ ถึงบุคคลอื่น รับรู้เกี่ยวกับพวกเขาว่าเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่ง อาจกล่าวโดยสรุป ทีม คือ กลุ่มของบุคคลทีมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอน การสร้างทีมงานในหน่วยงาน หมายถึง การปรับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ความสำคัญในการสร้างทีมมีดังนี้ 1. มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่สมาชิกของทีม คนเราจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นเมื่อมีการเปิดเผยและจริงใจต่อกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคที่จะต้องแก้ไขร่วมกัน 2. การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสมาชิกได้ช่วยกันเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญให้เพิ่มพูนมากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในทีมอย่างเต็มที่ 3. ประสิทธิภาพของการทำงานจะลดต่ำลง และความตึงเครียดจะเพิ่มสูงขึ้น หากหลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลย้อนกลับ และวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นการแสดงความคิดเห็นในลักษณะข้อมูลป้อนกลับจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทีมงาน สนับสนุนการเรียนรู้ ที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสารของผู้อื่นอย่างตั้งใจ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน - เป็นการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาร่วมกัน - เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล เนื่องจากสมาชิกทีมได้เรียนรู้ถึงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้นมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันมากขึ้น ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกทีม แนวความคิดและทักษะในการสร้างทีม (Skills and approach of the competent teambuilding) ทีมงานที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลในหน่วยงานดังนั้น การเตรียมบุคคล จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความพร้อมในการสร้างทีม ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ทักษะและแสดงออกถึงความสามารถของทีม 1. ความรู้ทักษะในการสร้างทีม (The Knowledge and skills of the team building) 2. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างทีม (Background reading ingteam buildint theory) จึงมีประโยชน์ในเรื่องเทคนิคการสร้างทีม การเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเข้าใจถึงกระบวนการสร้างทีมมากขึ้น 3. ความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Theory of team )จะเป็นขั้นการพัฒนาทีมงาน ให้สามารถเตรียมการและการวางแผนการสร้างทีมได้ดีขึ้น 4. การอธิบายหรือสรุปสั้นๆ (Repertorie of lecturettes ) เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยในการสร้างทีมได้ด้วยการพูดคุยหรืออธิบายจุดที่สำคัญในการสร้างทีมจะช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการพูดคุยหรืออธิบายจุดที่สำคัญในการสร้างทีมจะช่วยทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 5. ประสบการณ์ที่มีความหมาย (Availabilitu of structured experiences) การทำให้ฝึกฝนทำโครงการ กิจกรรมอยู่บ่อย ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ สมาชิกในทีมที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วจะมีบทบาทมาก ในการช่วยเหลือกลุ่มเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น 6. ทักษะการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Skill in process feedback) เปรียบเสมือนกับกระจกที่คอยสะท้อนถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การสังเกตและเก็บข้อมูลอย่างระมัดระวังจะช่วยทำให้การเสนอข้อมูลต่อเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมา 7. การยอมรับสภาพของบุคคล (Personal acceptability ) จะช่วยทำให้การสร้างทีมสำเร็จ เป็นการนับถือความสามารถและยอมรับซึ่งกันและกันจะก่อให้เกิดการไว้วางใจในกลุ่มทำงานขึ้น 8. การให้ความช่วยเหลือ (Co - facilitating experience) ทักษะที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการฝึกฝน ทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทีมที่มีความสามารถจะนำเอาสิ่งที่แปลกใหม่เข้าไปแนะนำในทีม จะทำให้เกิดทักษะการทำงาน เพื่อเป็นการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพมากขึ้น 9. การเปิดเผย (Personal Openness) เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างทีมในบางครั้งสมาชิกในทีมจะต้องยอมรับข้อมูลย้อนกลับที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องมีการเผชิญหน้ากันระหว่างกันในสมาชิกทีมงาน เพื่อเป็นการพัฒนากลุ่มให้มีคุณภาพมากขึ้น 10. การแสดงออกถึงความสามารถของทีม (The Approach of the Competent teambuilding) ลักษณะของทีมจะดูได้จาก - การยอมรับของหน่วยงาน (Organizational acceptance)ซึ่งจะดูจากหน่วยงานให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการทำงานของทีม - การยืดหยุ่นและการยอมรับอย่างเปิดเผย (Adopt a flexible and open approach) ยอมรับข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทีม - เป้าหมายชัดเจน (Clarify goals carefully ) - มีเหตุผลความเป็นจริง (Be realistic) ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก - ได้รับอนุญาตให้ทำงาน (Get permission to work )ในการทำงานของผู้ผูกพัน มาจากความเข้าใจ สมาชิกไม่ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ไม่ถูกบังคับให้ต้องซื่อสัตย์สมาชิกยินดีทำด้วยความเต็มใจ - มองเห็นความสำคัญของงานประจำวัน (Make ralevant to everyday work) ตรวจสอบการแบ่งงานและการตัดสินใจ - การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับกลุ่มอื่น (Build good conduct with other teams) - ทบทวนความสามารถของกลุ่ม ( Regiar review you comptence) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ยอมรับเมื่อทำผิด ทักษะความสามารถของการสร้างทีมจะถูกนำมาเชื่อมโยงกันในแผนภูมิสรุปได้ดังนี้ - ลักษณะของทีมที่มีประสิทธิภาพ - ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามทัศนะของ เสนอแนวความคิดว่า การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องประกอบคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ ความกระจ่างชัดในวัตถุประสงค์ และเห็นด้วยกับเป้าหมาย (Clear Objectives and agreed goals) สมาชิกทุกคนของทีมจะต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายอย่างเด่นชัด และเต็มใจที่จะผูกพัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้ การเปิดเผยและการเผชิญหน้ากัน (Openess and confrontation) สมาชิกในทีมงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา กล้าเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาการทำงานร่วมกัน การสนับสนุนและการจริงใจต่อกัน (Support and trust) สมาชิกในทีมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างงานของตนกับเองของผู้อื่น และพร้อมที่จะรับและให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจ ความร่วมมือและความขัดแย้ง (Co-operation and conflict) สมาชิกในทีมงานอุทิศตนในการปฏิบัติงานให้เสร็จไปด้วยดี จะมีการประสานประโยชน์ในเรื่องของความรู้ความสามารถ ตลอดจนความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้ได้ผลร่วมกันอย่างสูงสุด และเป็นลักษณะที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการทำงาน ซึ่งอาจมีการขัดแย้งเกิดขึ้นภายในทีม ก็จะเป็นในทางสร้างสรรค์ การปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Sound procedure) สมาชิกในทีมจะอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลักและการตัดสินใจจากข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งมาจาการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน มีการพูด การเขียน และการทำงานในสิ่งที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาจะทำให้ทีมงานมีประสิทธิภาพได้ ภาวะที่เหมาะสม (Appropriate leadership) หัวหน้าทีมจะต้องมีบทบาทผู้นำที่ดี เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติทุกอย่าง ไม่ผูกขาดเป็นผู้นำคนเดียวของกลุ่ม แต่ภาวะผู้นำจะกระจายไปทั่วกลุ่ม ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ (Regular review) ทีมงานจะต้องใช้เวลาในการประเมินพฤติกรรม และเรียนรู้ถึงการผิดพลาดในการทำงาน ของกลุ่มซึ่งจะทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน อาจทบทวนระหว่างการทำงานหรือหลังจากทำงานเสร็จแล้ว การพัฒนาบุคคล (Individual development) สมาชิกในกลุ่มจะได้รับการพัฒนาอย่างที่แผนตามความชำนาญของแต่ละบุคคล ซึ่งจะให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ดี (Sound intergroup relations) นอกเหนือจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแล้วจะต้องให้กลุ่มอื่นเข้าใจและยอมรับ ตลอดจนยื่นมือเข้าช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ด้วยความเข้าใจ และปราศจาการแข่งขัน ลักษณะทีมงานที่มีประสิทธิภาพยังอาจจะมองเห็นได้จากลักษณะดังต่อไปนี้ - ได้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมาย - สามารถบริหารและจัดการเองได้ภายในทีม - มีการพัฒนาประสิทธิภาพของกลุ่มอยู่เสมอ - ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม ขั้นตอนการพัฒนาทีม (Stages of team development) การพัฒนาทีม คือ ความพยายามอย่างมีแผน เพื่อเปลี่ยนแปลงทีมงานให้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะปรับตัว (Ritual sniffing) - สมาชิกไม่ไว้วางใจตัวใครตัวมัน - การสื่อสารไม่ทั่วถึง - จุดประสงค์ในการทำงานไม่เด่นชัด - การบริหารอยู่ที่ส่วนกลาง - การปฏิบัติงานมีขั้นตอนมากมายยุ่งยาก - สมาชิกไม่มีโอกาสเรียนรู้ความผิดพลาดและปรับปรุงให้ดีขึ้น - ปฏิเสธหรือไม่สนใจความช่วยเหลือและวิทยาการใหม่ ๆ จากภายนอก 2. ระยะประลองกำลัง (Infighting) - หัวหน้าทีมรู้จักประเมินและหาทางพัฒนา - ทบทวนการทำงานของทีมและปรับปรุงพัฒนา - สนใจบรรยากาศในการทำงาน - เห็นความสำคัญซึ่งกันและกัน - มีการประชุมมากขึ้น คิดมากขึ้น พูดน้อยลง - ระยะนี้เกิดความไม่สบายขึ้นในหมู่สมาชิก 3. ระยะทดลอง - กฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะถูกทบทวน - เข้าใจวัตถุประสงค์ของงานอย่างกระจ่าง - ภาคภูมิใจในความเป็นทีม - ห่วงใยความเป็นอยู่ของสมาชิก - การทำงานคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ 4. ระยะแสดงผลงาน - กฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะถูกทบทวน - เข้าใจวัตถุประสงค์ของงานอย่างกระจ่าง - ภาคภูมิใจในความเป็นทีม - ห่วงใยความเป็นอยู่ของสมาชิก - การทำงานคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ 5. ระยะสมบูรณ์ (Maturity) - ความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกดีเยี่ยม - เปิดเผยจริงใจซึ่งกันและกัน - รูปแบบของกลุ่มเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ - แต่สมาชิกนับถือความสามารถของกลุ่ม - ให้ขวัญและกำลังใจ - มีความสัมพันธ์ที่ในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม - มีความยืดหยุ่นเป็นกันเอง - ภาวะผู้นำเป็นไปตามสถานการณ์ - ภูมิใจและพึงพอใจในการทำงาน 6. สรุป กระบวนการที่จำเป็นของการทำงานเป็นทีม คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การป้อนข้อมูลย้อนกลับ ตลอดจนสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลในการตัดสินใจร่วมกันเป็นผลดีในการสร้างความสามัคคี และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผูกพันและอนาคตของหน่วยงาน ซึ่งผลที่ได้รับจะเป็นผลสำเร็จและความภูมิใจของแต่ละคน ซึ่งจะนำไปถึงการบรรลุผลส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท