เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว


เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว

ครูกานท์

...

ได้เคยพูดเรื่องนี้มาหลายครั้ง ทั้งได้สัญจรเป็นวิทยากรให้การเรียนรู้แก่ครูและผู้บริหารการศึกษาในภาครัฐและเอกชนมาเป็นเวลา ๔ ปี อย่างต่อเนื่อง อีกทราบว่ายังมีนักวิชาการท่านอื่นๆ ที่ได้ให้ความใส่ใจร่วมด้วยช่วยครูแก้ปัญหา สพท.ต่างๆ และ สพฐ.ก็มิได้นิ่งนอนใจ แต่ปัญหานี้ก็ยังคงดำรงอยู่เป็นอันมาก

สภาพปัญหาที่ยังคงดำรงอยู่มีทั้งที่แจ้งชัดและซ่อนเร้น ที่แจ้งชัดคือครูผู้สอนสามารถบอกได้จากสภาพการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนคนหนึ่งคนใดได้โดยทันที แต่ที่ซ่อนเร้นคือนักเรียนที่ดูเหมือนอ่านได้บ้างแต่เขียนไม่ได้จริงแท้ ต้องทดสอบด้วยการให้ “เขียนตามคำบอก” จึงจะรู้แน่ชัดว่าเขียนได้หรือไม่ได้ในระดับใด

ทุ่งสักอาศรม ได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อการ “เขียนตามคำบอก” ขึ้น สำหรับให้ครูใช้ทดสอบเขียนตามคำบอกแก่นักเรียนตั้งแต่ ป.๒ ถึง ม.๖ มีจำนวนคำทดสอบรวม ๕๐ คำ เนื้อหาอยู่ในมาตรฐานที่นักเรียนซึ่งผ่านการเรียนจากชั้น ป.๑ อย่างมีคุณภาพจะต้องเขียนได้ไม่น้อยกว่า ๒๕ คำ (หรือ ๕๐%) นั่นหมายความว่า ถ้านักเรียนชั้น ป.๒ ถึง ม.๖ คนใดได้คะแนนน้อยกว่า ๒๕ ให้ถือว่า “ไม่ผ่าน” จำเป็นต้องดำเนินการสอนแก้ปัญหาต่อไป ข้อทดสอบทั้ง ๕๐ คำมีความครอบคลุมสาระสำคัญต่อไปนี้ 

          ๑.ครอบคลุมพยัญชนะต้นทั้ง ๓ หมู่ (กลาง-ต่ำ-สูง)

          ๒.ครอบคลุมมาตราสะกด แม่ ก กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กด และ แม่กบ (เฉพาะคำสะกดตรงมาตราเท่านั้น)

          ๓.ครอบคลุมคำควบกล้ำและอักษรนำ

          ๔.ครอบคลุมการผันเสียงวรรณยุกต์ เอก โท ตรี และ จัตวา 

ข้อทดสอบมีดังนี้

คำทดสอบ

          ให้ครูที่ออกเสียงอักขระภาษาไทยชัดเจนเป็นผู้อ่านคำต่อไปนี้ให้นักเรียนฟังคำละ ๒ ครั้ง แล้วให้นักเรียน เขียนตามคำบอก ลงในกระดาษทดสอบ  

          คำที่มีพยางค์มากกว่าหนึ่งซึ่งนักเรียนเขียนถูกไม่ครบ เช่นเขียน ทุ่งแล้ง เป็น ทุ่งแล่ง ถือว่าเขียนถูกครึ่งคำผิดครึ่งคำ อย่างนี้ให้ ครึ่งคะแนน  แต่ถ้าคำใดเขียนถูกเสียงแต่ผิดรูปให้ครูให้คะแนนเต็มไปก่อน เช่นเขียน ข้างล่าง เป็น ค่างล่าง ก็ให้ถือว่าเขียนถูกตามเสียงที่ครูเปล่ง  เรื่องนี้ครูค่อยๆ ฝึกนักเรียนสังเกตจดจำรูปคำที่กำหนดใช้แท้จริงในภายหลัง

          กาแฟ            ทอผ้า           มะลิลา        สึนามิ         อายิโนะ

          เตาะแตะ        ฉอเลาะ         เล้าไก่         เข้าถ้ำ           ขยำขยี้

          ปิงปอง          โผงผาง         ข้างล่าง      ทุ่งแล้ง          อึ่งอ่าง

          ไอโอดีน        ปิ่นโต            เส้นด้าย      เล่นโขน         ฟ้อนรำ

          ซุ่มซ่าม         ยิ้มแย้ม          อ่อนน้อม    รอยเท้า         กุ้งฝอย

          ผิวขาว          แน่วแน่          ของฝาก      ปึกแผ่น          กุ๊กกิ๊ก

          ชอกช้ำ         เจียระไน        เผื่อแผ่         ด้ามมีด           ฮึดสู้

      โหดร้าย         หุบเหว           ตะเกียบ      บ่ายเบี่ยง       เลื่อนเวลา

          ทะเล่อทะล่า   จดบันทึก       ส้วมซึม       กวยจั๊บ          พริกเผ็ด

          รื่นเริง        ปลาบปลื้ม     เคลื่อนคล้อย   หยิ่งผยอง      สลักเสลา

... 

วิธีสอนแก้ปัญหาตามหนังสือ เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว ของ ศิวกานท์ ปทุมสูติ ได้กำหนดระยะเวลาในการสอนแก้ปัญหานักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.๒ ถึง ม.๖ ที่ไม่ผ่านการทดสอบ ให้ฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับ ครูอาสาแก้ปัญหา วันละ ๑ ชั่วโมง ต่อเนื่องไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๘๕ ชั่วโมง หรือ ๔ เดือน ซึ่งจากการวิจัยและปฏิบัติการในหลายโรงเรียน หลายจังหวัด ได้ผลสัมฤทธิ์ยืนยันว่า หลังจากการดำเนินการสอนตามแบบฝึกที่กำหนด (ในหนังสือ) ครบเต็มเวลาและวิธีการ นักเรียนจะ “อ่านออกเขียนได้” ผ่านเกณฑ์ทดสอบทุกคน ยกเว้นนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาเท่านั้น  (ดูรายละเอียดต่างๆ ในโพสก่อนหน้านี้...) 

สาระสำคัญของเนื้อหาและขั้นตอนในการฝึกนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ตามหนังสือเล่มนี้คือ

เดือนแรก อ่านเขียนแจกลูก แม่ ก กา และผันเสียง ๒๐ ชั่วโมง

เดือนที่สอง อ่านเขียนแจกลูกสะกดคำ แม่กง กน กม เกย เกอว และผันเสียง ๒๕ ชั่วโมง

เดือนที่สาม อ่านเขียนแจกลูกสะกดคำ แม่กก กด กบ ผันเสียง และคำที่สระเปลี่ยนรูป-ลดรูป ๒๐ ชั่วโมง

เดือนที่สี่ อ่านเขียนแจกลูกคำควบกล้ำ คำอักษรนำ ผันเสียง และคำที่มีลักษณะพิเศษต่างๆ ๒๐ ชั่วโมง

ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำกระบวนการ แจกลูก สะกดคำ และ ผันเสียง เป็นสำคัญ 

...

ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำกระบวนการ แจกลูก สะกดคำ และ ผันเสียง เป็นสำคัญ  เช่น  ตะปู  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า "ต-อะ-ตะ / ป-อู-ปู...ตะปู"  หรือ  แม่  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า  "ม-แอ-แม / แม่-เอก-แม่"  หรือ  บ้าน  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า  "บ-อา-บา / บา-น-บาน / บาน-โท-บ้าน"  เป็นต้น  

 

ทักษะการฝึกให้เน้นน้ำหนักเวลาใน ๑ ชั่วโมง ดังนี้

๑.ฝึกเปล่งเสียงอ่านแจกลูก  ๓๐ นาที

๒.ฝึกเขียนคำ  ๑๐  นาที

๓.ฝึกคัดลายมือ  ๑๐ นาที

๔.ฝึกเขียนตามคำบอก  ๑๐ นาที

...

โรงเรียนใด หรือ สพท.ใด หรือหน่วยงานการศึกษาใด ที่ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง หรือดำเนินการแล้วแต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลแท้จริง  สามารถปรึกษาหารือกับผู้เขียนหรือ ทุ่งสักอาศรม ได้ตลอดเวลา โทร. 081-9956016 หรือ Email : [email protected] อาจจัดกิจกรรมอบรมครูผู้สอนหรือผู้บริหาร เพื่อจะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างจริงแท้ต่อไป...

ปัญหาและอุปสรรคนอกจากที่กล่าวแล้วก็คือ
๑.ครูสอนไม่ครบเต็มเวลาที่กำหนด มักมีเหตุแทรกซ้อนเช่น โรงเรียนมักมัวแต่เสียเวลาไปกับการแข่งขันกีฬาเกินจำเป็นบ้าง วุ่นวนกับกิจกรรมตามคำสั่งนอกภาระการสอนบ้าง และรวมทั้งครูเอาแต่ก้มหน้าก้มตาทำผลงานทางวิชาการก็ล้วนเป็นเหตุขัดขวางการกระทำเพื่อเด็กๆ อย่างแท้จริง (รู้ๆ กันอยู่ เหมือนน้ำท่วมปาก)
๒.ผู้บริหารโรงเรียนมักไม่ให้ "ไฟเขียว" เรื่องเวลาปฏิบัติและการมาฝึกอ่านเขียนของนักเรียนกับ "ครูอาสา" อย่างจริงจัง โดยอาจให้สอนซ่อนเสริมกันตามอัธยาศัย ช่วงพักเล็กพักน้อย หรือพักกลางวัน หรือก่อนนักเรียนกลับบ้านตอนเย็น รวมๆ แล้วก็คือสอนไม่ต่อเนื่อง ไม่ครบเต็มเวลา และไม่ครบทักษะ (ทั้งหมดที่ให้ไว้ในแบบฝึกของหนังสือ "เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว")
๓.ปัญหาในทิศทางความเชื่อของ "วิถีปฏิบัติ" ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการวิ่งตามกระแสทฤษฎีและแนวคิดจากต่างประเทศ จนลืมรากเหง้าภาษาไทย
 

หมายเลขบันทึก: 260406เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

กราบสวัสดีค่ะครู

        เด็กๆอ่านหนังสือไม่ออก  อ่านหนังสือไม่คล่อง  เป็นปัญหาหนักอกของคนเป็นครูจริงๆค่ะ  แต่ไม่ท้อนะคะ ^_^

        พรุ่งโรงเรียนเปิดวันแรก  ความรู้และประสบการณ์จากค่ายครูรากแก้วการอ่านรุ่นที่4 ที่แก้วรั่วๆอย่างหนูยังพอเก็บได้อยู่บ้างจะได้เริ่มนำไปใช้ในวันพรุ่งนี้แล้วค่ะ  ตื่นเต้นๆๆๆๆๆ

       

       เล่มนี้หนูมีไว้เป็นต้นทุนความรู้สำหรับวันพรุ่งนี้แล้วค่ะ

       ครูรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

                          ด้วยความเคารพ..ครูตุ๊กแกค่ะ ^_^

       

บุญรักษา "ครูตุ๊กแก"

อายุบวร

...

เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาไทยมาก สำหรับครูที่เพิ่งจะสอนภาษาไทยในภาคเรียนนี้ ขอบคุณ ครูกานท์

บางทีก็จริงนะคะ น้ำท่วมปาก :)

แวะมาอ่านและทักทายค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ขอบคุณข้อคิดดีๆนะคะ

ครูกานท์ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทความนี้เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้ครับ...

ทั้งนี้ ต้องเน้นย้ำกระบวนการ แจกลูก สะกดคำ และ ผันเสียง เป็นสำคัญ  เช่น  ตะปู  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า "ต-อะ-ตะ / ป-อู-ปู...ตะปู"  หรือ  แม่  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า  "ม-แอ-แม / แม่-เอก-แม่"  หรือ  บ้าน  ให้เปล่งเสียงอ่านแจกลูกว่า  "บ-อา-บา / บา-น-บาน / บาน-โท-บ้าน"  เป็นต้น  

 

ทักษะการฝึกให้เน้นน้ำหนักเวลาใน ๑ ชั่วโมง ดังนี้

๑.ฝึกเปล่งเสียงอ่านแจกลูก  ๓๐ นาที

๒.ฝึกเขียนคำ  ๑๐  นาที

๓.ฝึกคัดลายมือ  ๑๐ นาที

๔.ฝึกเขียนตามคำบอก  ๑๐ นาที

...

สวัสดีค่ะอาจารย์

* ปัญหาอาจหนักอก  แต่ถ้าหมั่นขยับและพยายามยกออกจากอก...ก็ไม่พ้นความพยายามนะคะ  ที่สำคัญผู้สอนและผู้เรียนต้องปรารถนาตรงกันค่ะ

* ปัญหาที่อาจารย์เสนอไว้ในตอนท้ายเป็นสภาพจริงของโรงงานตุ๊กตาเลยค่ะ

* ขอให้อาจารย์สุขกายสุขใจนะคะ

ช่วยได้มากเลยค่ะ

ยินดีด้วยครับ "ครูปิย่า"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท