ชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ)


Head Heart Hand

เมื่อคืนได้อ่าน "การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ" โดย ดร.ประพนธ์ มีคำหนึ่งที่ตรงกับของญี่ปุ่นใช้คำว่า ประชาคมความรู้ และของไทยคือชุมชนนักปฏิบัติซึ่งความหมายก็คือการประสานการทำงานและการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ก็ขอเขียนต่อจากเมื่อวานนะคะ องค์กรแม้จะมีฐานข้อมูลที่ดี แต่ไม่มี คนเข้าไปใช้ประโยชน์ก็เปรียบเสมือนมีห้องสมุดที่ดีแต่ไม่มีคนเข้ามาอ่านและใช้ประโยชน์ก็จะไม่เกิดคุณค่าใด ๆ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น องค์กรจึงควรมีการพัฒนารูปแบบขององค์กรอย่างต่อเนื่องจากรูปแบบเดิม ๆ ที่แบ่งงานตามฟังก์ชัน ไปสู่องค์กรที่เน้นที่ลูกค้าและกระบวนการที่เน้นการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า นำมาสู่องค์กรที่เน้นการทำงานเป็นทีม โดยแต่ละเทีมเชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง เช่น ทีม QC  

      ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ปัญหาจะมีซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องมีความรู้หลากหลาย ในแต่ละทีมงานจำเป็นต้องมีความหลากหลาย จึงก้าวสู่ยุคของการทำงานเป็นเครือข่าย และมีสมาชิกที่หลากหลาย ที่อยู่ในเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ไม่ได้เกิดจากการจัด(Organization Chart)แต่เกิดจากการไหล (Flow) ของการทำงาน (Working Network)หรือ Flow ของการปันความรู้ ซึ่งความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างเป็นไปอย่างอิสระจากโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่

หัวใจหลักในการก้าวสู่การประสานการทำงานและการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเป็นธรรมชาติ คือชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice, COP) ที่สมาชิกแต่ละคนในชุมชนมีความสนใจและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันผ่านทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในปัจจุบัน ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ COP เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการองค์ความรู้และการพัฒนา มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยน การสร้าง และการจัดเก็บความรู้ขององค์กรได้ เป็นแหล่งรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ดำเนินกิจกรรมร่วมกันจะเสริมสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกัน ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งองค์ประกอบหลักของ COP ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ

1. Head  เป็นเรื่องของความรู้ประสบการณ์ ความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน (Domain)

2. Heart คือ ความรู้สึกมีส่วนร่วมในชุมชน (Community) และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

3. Hand คือเป็นกิจกรรมหรือการกระทำ (Practice)ที่สมาชิกใน COP ลงมีปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

   ด้วยเนื้อหาทั้งหมดคงจะช่วยผู้ที่ต้องการจัดการความรู้ในองค์กรได้นะคะไม่มากก็น้อยหากมีหัวข้อที่น่าสนในเกี่ยวกันการจัดการความรู้จะมาแบ่งปันกันในคราวต่อไปนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2602เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2005 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท