ความหมายการตลาด


ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีความพึงพอใจด้วยกันทั้ง2ฝ่าย จึงจะเกิดการชื้อขายขึ้นได้

ความหมายของการตลาด

สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดของคำว่า"Marketing"ไว้ดังนี้

          การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่างๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้นๆ ให้ได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ

         องค์ประกอบของการตลาด

         1.มีสิ่งที่จะโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ คือ สินค้าหรือบริการ

         2.มีตลาด คือ ผู้ชื้อที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ

         3.มีผู้ขายสินค้าหรือบริการ

         4.มีการแลกเปลี่ยน

ตลาดตามความหมายของบุคคลทั่วไป

          ตลาด หมายถึง สถานที่ ที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ผู้ซื้อผู้ขายจะไปตกลงซื้อขายสินค้ากัน

ตลาดตามความหมายของนักธุรกิจหรือนักการตลาด

          ตลาด คือ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีความคิดที่จะซื้อสินค้า มีอำนาจซื้อ และมีความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

 ความสำคัญของการตลาด

                   การตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในสังคม ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบในสังคมมนุษย์แต่ละคน สามารถประกอบ อาชีพที่ ตนเองถนัดและได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลได้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ และการตลาดมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อความเจริญเติบโต และพัฒนาการทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากการตลาดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาหาสิ่งแปลกใหม่ มาสนองความ ต้องการของตลาดและสังคม ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้หลายทางและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ  สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค จึงมีผลทำให้เกิด การจ้างงาน เกิดรายได้กับแรงงาน และธุรกิจ ทำให้ประชาชน  มีกำลังการซื้อ และสามารถสนอง ความต้องการในการบริโภค ซึ่งทำให้ มาตรฐาน การครองชีพของบุคคล ในสังคมมีระดับสูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ความสำคัญ ของการตลาดอาจกล่าวได้ดังนี้

                   1.  การตลาดเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน  การดำเนินการตลาดของธุรกิจจะทำให้ผู้ผลิตกับผู้บริโภคเข้ามาใกล้กัน และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค จนทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนในระดับผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความพึงพอใจ การตลาดยังไม่ได้เป็นเพียง เครื่องมือทำให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความซื่อสัตย์ภักดีต่อผลิตภัณฑ์   ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ หรือซื่อซ้ำเมื่อมี ความต้องการ

                   2.  การตลาดเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค การดำเนินการทางการตลาดทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองและสร้างความ พึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ สถานภาพ ของผู้บริโภคด้วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปริมาณ ในเวลา ในสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ในราคา ที่ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อ และโอนความเป็นเจ้าของได้ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค    นอกจากจะดำเนินการในหน้าทางการตลาด ให้เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในเรื่องดังกล่าว สิ่งที่สำคัญจะต้องกระทำอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในกิจกรรมดังกล่าว  

                   3.  การตลาดเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์     ด้วยแนวคิด ของการตลาด  ในการมุ่งสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสังคม ผลักดันให้ผลิตต้องพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ์ให้ตรงต่อความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค  ตลอดจนจูงใจผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และการตลาดระบบการตลาดเสรี ซึ่งมีการแข่งขันกันมากในการสร้าง ความพึงพอใจ และจูงใจผู้บริโภค จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน ในตลาดเสรี

                   4.  การตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ   ด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับ
ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ คือเกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการบริโภค และเกิดการใช้แรงงาน ซึ่งจะมีการพึ่งพากันและเชื่อมโยงไหลเวียนตามลำดับอย่างเป็นระบบ ผลจะทำให้การดำรงชีวิต ของมนุษยชาติในสังคมอยู่ในระดับที่มีการกินดีอยู่ดี มีความเป็นอยู่ อย่างเป็นสุขโดยทั่วกัน

ความสำคัญของการตลาดอาจจำแนกให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นโดยพิจารณาจากการตลาดมีความสำคัญ   ต่อสังคมและบุคคลดังนี้

          1.ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมให้สูงขึ้น

         2.ทำให้พฤติกรรม อุปนิสัย ความเชื่อ ค่านิยมและลักษณะการดำรงชีพของบุคคล ในสังคมเปลี่ยนไป

         3.เกิดอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลในสังคมเพิ่มมากขึ้น

 นอกจากความสำคัญต่อบุคคลและสังคมแล้ว การตลาดยังมีความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจโดยตรงดังนี้

          1.ช่วยให้รายได้ประชากรสูงขึ้น

          2.ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต

         3.ช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ

        4.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเศรษฐกิจ

       5.ให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

 ประโยชน์ของกิจกรรมทางการตลาด 

(1)  อรรถประโยชน์ด้านรูปแบบ (Form Utility) จะเกิดขึ้นจากการผลิตโดยตรง และการ เข้ามาช่วยเสริมโดยการค้นหาถึงความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยให้ข้อมูลแก่ผลฝ่ายผลิต

(2) อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ (Place Utility) การตลาดช่วยอำนวย ความสะดวก ด้านสถานที่ เพราะเป็นกิจกรรมที่นำผลิตภัณฑ์ไปสู่สถานที่ที่ลูกค้าเป้าหมายอยู่

(3) อรรถประโยชน์ด้านเวลา (Time Utility) การตลาดช่วยสร้างอรรถประโยชน์ ด้านเวลาให้กับลูกค้า โดยมีสินค้าพร้อมในเวลาที่ลูกค้าต้องการ

(4) อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ (Possession Utility) การตลาดช่วยสร้างความ พึงพอใจจากการ ได้เป็นเจ้าของสินค้าต่าง ๆ   โดยทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส ได้ซื้อสินค้าและมี กรรมสิทธ์ในสินค้านั้น

(5) อรรถประโยชน์ในด้านภาพลักษณ์ (Image Utility) ตลาดช่วยสร้างคุณค่าหรือ ภาพลักษณ์  ของผลิตภัณฑ์ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

 ส่วนประสมการตลาด

         ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) คือ เครื่องมือหรือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย หรือเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความต้องการสินค้าและบริการของตน ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ประการ หรือ 4P’s คือ

1. ผลิตภัณฑ์(Product)

2. ราคา (Price)

3. สถานที่จำหน่าย (Place)

4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

กลยุทธ์ส่วนประกอบการตลาด    (Marketing mix strategv)

ส่วนประสมการตลาด หมายถึง กลุ่มเครื่องมือการตลาดซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรณลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดในตลาดเป้าหมายเครื่องมือการตลาด 4 ประการ ได่แก่

  1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์หมายถึง สิ่งที่นำเสนอกับการตลาดเพื่อความสนใจ (attcntion) ความอยากได้ (Acquistion) การใช้ (Using) หรือการบริโภค (Consumtion)

ที่สามารถตอบสนองความต้องการ นักการตลาดจึงกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆคือ

-         ขนาดรูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติอะไรบ้างที่ผลิตภัณฑ์ควรมี

-         ลักษณะการบริการที่สำคัญของผู้บริโภคคืออะไร

-         การรับประกันและโปรแกรมการให้บริการอะไรบ้างที่ควรจัดให้

-         ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบที่เกี่ยวข้องคืออะไร

      2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price strategy) ราคาหมายถึง สิ่งที่บุคคลจ่ายสำหลับสิ่งที่ได้มา ซึ่งแสดงถึงในรูปของเงิน นักการตลาดต้องตัดสินใจในราคา ลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค มูลค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าต้องมากกว่าต้นทุน (Cost) หรือราคา (Price)ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อ มูลค่ามากกว่าราคาสินค้า

    3. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place or distribution strategy) การจัดจำหน่าย หมายถึงการเลือกและการใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ประกอบด้วย คนกลาง บริษัทขนส่ง และบริษัทเก็บรักษาสินค้า ดังนี้โดยสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา สถานที่  ความเป็นเจ้าของ ที่เพื่อให้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ หรือจากองค์กรไปยังตลาด กาจัดจำหน่ายได้รับ อิทธิพลจากพฤติกรรมผู้บริโภคดังนี้

-       ความจำเป็นของบริษัทที่จะทำการควบคุมกิจกรรมต่าง

-      ลักษณะโครงสร้างการจัดจำหน่าย เพื่อการค้าปลีก อะไรบ้างที่ควรใช้ในการเสนอขาย   ผลิตภัณฑ์

4. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategy) การส่งเสริมการตลาดหมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ ได้แก่  

-     การโฆษณา

-     การประชาสัมพันธ์

-     การขายโดยพนักงานขาย

-     การส่งเสริมการขาย

-     การตลาดทางตรง

การโฆษณา (Advertising)

               คือ การเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้ เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว สื่อโฆษณาที่สําคัญประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ นิตยสารป้ายโฆษณา

ประเภทของการโฆษณ

1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้

     1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)

     1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)

2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)

     2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)

     2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)

     2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)

     2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)

3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium)

     3.1 ทางโทรทัศน์

     3.2 ทางวิทยุ

     3.3 ทางนิตยสาร

     3.4 โดยใช้จดหมายตรง

     3.5 นอกสถานที่

4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose)

     4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน 

     4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า

     4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้

 การประชาสัมพันธ์

หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้

1.       การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)

2.       การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)

3.       การให้ข่าว (News)

4.       การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches) 

 การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)

         หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ

1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion) 
     1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
     1.2 การลดราคา (Price Off)
     1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
     1.4 การคืนเงิน (Rabates)
     1.5 การให้ของแถม (Premiums)
     1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
    1.7 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion)
     2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
     2.2 ส่วนลด (Discount)
     2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
     2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
     2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
     2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest

3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion)
     3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
     3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
     3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
     3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
     3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

 การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal Selling)

เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ขายและลูกค้าที่คาดหวัง" การขายโดยใช้พนักงานขาย ถือเป็นการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication) โดยเน้นในการใช้ความสามารถเฉพาะตัวของพนักงานขายทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของกิจการได้

                เป็นการตลาดที่เน้นการสื่อสารทางตรงระหว่างผู้ขายกับลูกค้า เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าและกระตุ้นให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อ โดยปัจจุบันพนักงานขายจะต้องมีความสามารถรอบด้าน ทั้งในการจูงใจให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้กับลูกค้าได้

การตลาดทางตรง (Direct Marketing)

              เป็นการติดต่อสื่อสารส่วนตัว ระหว่าง นักการตลาด และกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การส่งจดหมายตรง โทรศัพท์ หรือวิธีการอื่นๆ ผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน โดยนักการตลาดสามารถวัดผลการตอบสนองจากผู้บริโภคได้

รูปแบบของสื่อที่ใช้ในการตลาดทางตรง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

                การใช้สื่อโดยตรง เพื่อติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือกแล้ว และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะต้องการสินค้าและบริการ โดยมากจะได้รับการตอบกลับสูงเช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์

                การใช้สื่อมวลชน เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก สร้างฐานข้อมูลลูกค้าให้มากขึ้น เช่น วิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์

หมายเลขบันทึก: 260167เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ขอบคุณครับหามานาน

เค เค เค เค เค เค สบายดีมั้ยยยยยยยยยยยยยยย

ความรู้ที่ให้มามีประโยชน์มาก

ขอบคุณค่ะ แต่อยากได้ตัวอย่างด้วยค่ะ

ขอบคุณครับ ผมอยากได้ตัวอย่างด้วยครับ

ขอบคุณครับ

ทำงานอะไรได้ครับ

น่าจะมีเนื้อหาสาระมากกว่านี้

ขอบคุนสำหรับข้อมูลนี้ ...

ก็ดีน้าแต่น่าจะมีข้อมูลเพิ่มมาอีกน้าาาาาาาาา 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้ค่ะ

ขอบคณผู้ที่มีส่วนในการจัดทำคะ




ผมอยากทราบว่าผู้ให้ความหมายนิยาม การตลาด บทนี้คือใครครับ ขอบคูณครับ

ขอบคุณครับ เขียนได้ดี เข้าใจง่าย

นางสาว ชลธิชา คล้ายพุก

ขอบคุนสำหรับข้อมูลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท