เมื่อผู้บริหาร...ไม่รู้จัก KM จะทำอย่างไร


KM คืออะไร จะมาช่วยอะไร HA ได้

       จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้และรับรู้ และลงลึก"ศึกษา" เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในแง่เชิงวิชาการ ดิฉันได้รับโอกาสจากท่าน ผศ.ดร.บุญใจ ศรีสถิตย์นรากรูและคณาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ทำวิจัยในส่วนของ "วิทยานิพนธ์" สมัยเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยที่ทำมีคำถามของการวิจัยในประเด็นที่ว่า "ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการ ในโรงพยาบาลที่ผ่าน HA นั้นมีอะไรบ้าง" โดยกระบวนการวิจัยที่ใช้ในการศึกษานั้น คือ path analysis โดยนำเสนอภายใต้ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อคุณภาพบริการการพยาบาล โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ (AN ANALYSIS OF A CAUSAL  RELATIONSHIP MODEL ON NURSING SERVICE QUALITY, ACCREDITED HOSPITALS)งานชิ้นนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาเรื่อง "คุณภาพ" อย่างเอาจริงเอาจังที่นอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตร สิ่งที่ได้จากการทำวิจัยในครั้งนั้น ก่อให้เกิดคำถามและการแสวงหาคำตอบในตนเองมากมาย เกี่ยวกับเรื่อง "คุณภาพ" และการได้มาซึ่งคุณภาพ

       สิ่งหนึ่งที่ดิฉัน get อย่างมาก คือ คุณภาพบริการที่เกิดขึ้นได้นั้น เป็น"คุณภาพ" ที่เกิดจากการเทียบเคียงภายในตนเองก่อนในเงื่อนของเวลา ก่อนที่จะไปเทียบเคียงกับคนอื่น นั่นหมายถึง คุณภาพที่ว่านั้นเราต้องมองภายใต้บริบทของตัวเราเอง   เราต้องวิเคราะห์ตัวเราเองก่อนว่า ตัวเรานั้นเป็นอย่างไร มีจุดเด่น จุดด้อย อะไร อย่างไร และอะไรคือโอกาสในการพัฒนาที่เรามีอยู่ และเราควรจะมีทิศทาง หรือแนวทางการดำเนินตนเองอย่างไรเพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า คุณภาพ และที่สำคัญ "คุณภาพ" ดังกล่าวนั้นเราทำไปเพื่ออะไร และเพื่อใคร สิ่งเหล่านี้หากเราตอบได้ในเบื้องต้น น่าจะเป็นการดีอย่างมาก ที่จะทำให้ตนเองชัดเจนขึ้นได้บ้าง มากกว่าการคลำช้าง...ทั้งตัว แล้วไม่สามารถรู้หรือสรุปได้เลยว่า ช้างตัวดังกล่าวมีลักษณะอะไรอย่างไร

       เมื่อมีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาการทำพัฒนาคุณภาพต่างๆ ตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตรพาไปนั้น ดิฉันสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า โรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์ อะไรคือความสำเร็จที่เขาได้รับ ทั้งที่ setting ของแต่ละโรงพยาบาลไม่เหมือนกัน แต่ทำไมได้ผ่านการรับรองคุณภาพเหมือนกัน  เมื่อเสาะแสวงหาคำตอบผ่านกระบวนการวิธีหลายรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ ก็ถึงบางอ้อ! นั่นคือเขาสามารถตอบตนเองได้ว่าเขาคือใคร กำลังทำอะไร ทำไปทำไม ทำไปเพื่อใคร และทำอย่างไร และที่สำคัญคือช่วยกันทำ เมื่อทำได้ลุล่วงมาได้สักระยะหนึ่งจนเป็นที่พึงพอใจ ก็ค่อยเริ่มมองคนข้างๆ บ้างว่าเขาทำอย่างไร เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้มองตนเองอีกครั้ง

       และสิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้มารับรู้เรียนรู้เพิ่มเติม เมื่อกาลเวลาผ่านมา นั่นคือ กระแสเรื่อง KM และเกิดอาการ Think แว๊บ! อย่างแรง เนียนๆ ..มองเห็นเรามีอยู่แล้วในตัวเราเอง แต่จะจัดกระบวนท่าอย่างไรให้เนียนยิ่งขึ้นเข้าไปในเนื้อในชีวิต(สำนวนคุณชายขอบ-ยืมมาใช้คะ) ที่จะมาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนและหมุนเกลียวให้เกิด "คุณภาพ"...กลยุทธ์หนึ่งที่ได้จากการเรียนรู้ดังกล่าว และมองเห็นการปรับเปลี่ยนและก่อเกิดวัฒนธรรมการทำงานในแนวใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมีคุณค่าในการทำงาน ที่นำไปสู่การก่อเกิด "คุณภาพ" นั่นคือ R2R ดิฉันเริ่มศึกษาอย่างจริงจังและศึกษาจาก Role Model ต่างๆ จากโรงพยาบาลและองค์กรต่างๆ ที่ได้เริ่มนำมาใช้ในกระบวนการทำงาน จากนั้นคิดว่าเป็นไปได้แน่ เรียนให้ผู้บริหารทราบ ท่านเปิดไฟเขียว ให้นำเสนอ Porject แต่เมื่อทุกอย่างก้าวมาสู่จุดที่เริ่มจะชัดขึ้นได้"ใจ"ของคนที่อยากทำมากมาย แต่กลับต้องพบกับคำถามจากผู้บริหารท่านเดิมว่า R2R ทำไปทำไม ซ้ำซ้อน วิจัยใครๆ ก็ทำได้ ยิ่งคนที่จบปริญญาโทเยอะแยะในองค์กร...ให้เขาทำก็ได้ ทำไมต้องให้ระดับปฏิบัติการมาทำ เดี๋ยวจะยิ่งก่อให้เกิดความสับสน เพราะตอนนี้ องค์กรเรากำลังขับเคลื่อนคุณภาพไปสู่การผ่าน HA ...และที่สำคัญที่ทำให้ดิฉันมึนตึ๊บยิ่งขึ้นนั่นคือ คำถามที่ว่า KM คืออะไร จะมาช่วยอะไร HA ได้...ผมไม่สนใจหรอก ให้คุณกลับไปทบทวนใหม่...และแล้ว R2R ก็พับไป...และดิฉันก็เกิดอาการ "นิ่ง" อีกครั้ง...

       แต่ตอนนี้...อาการที่"นิ่ง" นั้นไม่ใช่นิ่งสนิท...ดิฉันยังมุ่งมั่นที่อยากจะทำ เพียงแต่รอจังหวะและโอกาส และแล้ววันนี้โอกาสนั้นกำลังก้าวเข้ามาให้เราได้เดินตามหวังที่ "คนทำงาน" อยากทำงานอย่างจริง...มากกว่าการทำในเอกสารแล้วส่งให้ผู้ประเมินมาตรวจประเมิน...ซึ่งโอกาสที่ว่านั้นเริ่มมองเห็นแสงสว่างเมื่อเริ่มมีการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในองค์กร และมี"พี่"ที่นับถือและเป็นคนจริงจังและจริงใจ ทุ่มเทในการทำงานมาก มาชักชวนและบอกเล่าให้ช่วยกันทำอีกครั้ง...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 26007เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
     ขอแซว! เป็นบันทึกความเรียงของ Dr.Ka-poom ที่ยาวมากบันทึกหนึ่ง และต้องอ่านแบบนิ่ง ๆ (คงโดนแซวกลับแน่ว่าบันทึก "ชายขอบ" มีที่สั้น ๆ ด้วยเหรอ)
     หากมองการทำงานแบบแยกส่วนไม่ว่าเรื่องอะไร ก็พยายามทำความเข้าใจแบบแยกส่วน แม้จะผ่านการรับรอง HA ก็จะเป็น H และ A ที่แยก ๆ อยู่ดี ครับ ย้อนกลับมาที่เดิมที่ผมเคยถามบ่อย ๆ ได้การรับรอง HA แล้ว "ประชาชนได้อะไร"
     R2R, KM, HA หรือจะอะไรก็แล้วแต่สุดแท้จะนำมาใช้ มองเป็นแค่เครื่องมือในการพัฒนาองค์กรเพื่อประชาชนได้รับบริการที่ดีและปลอดภัย ผู้ให้มีความสุขสบายใจ อย่างคิดอะไรไปมากว่านี้เลยครับ
     สำหรับผู้บริหารท่านที่ว่า ผมมองว่าหากระดับกระทรวงเลือกให้รางวัลเป็นโอกาสดี ๆ แก่คนที่คิดและแสดงออกในลักษณะเช่นนี้ ผมก็คงนึกตำหนิกระทรวงนั้นล๊ะครับว่า "บ่มีกึ่น" คงไม่นึกอะไรถึงท่านโดยตรง เพราะอะไรเหรอเพราะท่านคงมีอายุมากพอที่เราน่าจะปล่อยให้เป็นไปตามกรรมได้มั้ง
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะ การที่ผู้บริหารไม่รู้จักและไม่สนับสนุน เป็นเรื่องที่เกือบทุกคนประสบมาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ เพราะมันเป็นธรรมชาติของคนที่ต้องต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แม้จะยังไม่รู้ว่ามันดีหรือไม่ดี สำหรับ
Dr.Ka-Poom
ก็นิ่งและรอ จนกระทั่งวันนี้มาถึง แต่มีหลายคนนะยังไม่มีโอกาสเหมือนคุณ ยังคงรอ รอ................. สำหรับผมกำลังติดหล่มตรงที่ ผู้บริหารบอกว่าเข้าใจ KM ดี  แรกๆให้ผมดำเนินการตามกระบวนการไปเรื่อยๆ ก็ดีใจที่ผู้บริหารเข้าใจและสนับสนุนอย่างดี แต่พอทำไประยะหนึ่ง ไม่รู้ท่านมีเหตุผลหรืออะไรไม่ทราบ ท่านก็สรุปว่าให้สรุปและผมนำเสนอผู้บริหารขั้นสูงขึ้นไปอีกขั้น ผมงงมากๆ กระบวนการเพิ่งเริ่มต้นแต่ท่านสรุปว่าจบแล้ว จบอย่างได้เป็นนวตกรรมใหม่ที่เยี่ยมมาก ต้องนำเสนอให้ผู้บริหารขั้นสูงขึ้นไปได้เห็น สิ่งที่ผมลำบากใจคือแล้วจะทำอย่างไร พยายามอธิบายท่านก็บอกผมรู้ ผมเข้าใจ ยังยืนยันว่านี่มันจบแล้ว ถ้าให้นำเสนอมีหวังโดนเบรกหัวคะมำ เพราะผู้บริหารท่านนั้นท่านจับเรื่อง KM มานานแล้ว ผมก็รู้ว่ามันไม่ใช่ แล้วท่านจะไม่รู้ได้อย่างไร นี่คือความทุกข์อีกแบบของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีผู้บริหารที่คิดว่าตนเองเข้าใจ KM มากกว่าใครในองค์กร

ผู้บริหารไม่ทราบ หรือยังไม่เห็นรายละเอียด...คือความท้าทายของผู้ทำงานที่จะนำเสนอ

ผู้ทำงานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้ ..คือความสามารถของผู้บริหารที่จะสร้างวิสัยทัศน์

ไม่มีใครรู้ทุกเรื่องที่เข้ามาในช่วงเวลาหนึ่ง และไม่ใช่ทุกเรื่องที่ต้องรู้ในช่วงเวลาหนึ่งเช่นกัน

โครงสร้างขององค์กรเอื้อการเรียนรู้ ก็ขึ้นอยู่กับความเปิดใจเผื่อแผ่ความรู้ของคนในองค์กรด้วย

ไร้นามเขียนยาวไป...ไหม

 

พี่Dr.Ka-poom นอนดึกเหมือนกันนะครับ
รักษาสุขภาพนะครับพี่ ผมว่าควรนอนพักให้เพียงพอนะครับ เมื่อก่อนผมจะนอนประมาณเที่ยงคืนไปแล้ว ตื่นประมาณ 6-7โมงเช้า ตอนนี้นอนประมาณไม่เกิน 5 ทุ่ม รู้สึกว่าร่างกายดีขึ้นนะครับ

  เหนื่อย ก็ พัก อย่า ห้ก อย่า โหม

                  ช่วยจรรโลง สังคมไทย

                     ค่อยๆไป พัฒนา องค์กร

  • คุณ"ชายชอบ"

มีแซวนะคะ...รีบชิงออกตัวก่อนเลยนะคะ..นานทีเขียนอะไรยาวๆ ก็ทึ่ง"ตน"ได้เหมือนกันว่าเขียนไปได้อย่างไร..แต่จริงก็เขียนได้แต่เมื่อยมือคะ..ชอบสั้นๆ กระชับ..และเข้าใจมากกว่าคะ
สำหรับประเด็นที่ว่า..มอง+ทำ แยกส่วน..มันก็ยังแยกๆ...เหมือนการดำรงชีวิตเรานี่แหละคะ...หากเมื่อใดได้หลอมรวมเราก็คงไปถึงฝั่งฝันได้ง่ายเข้าเหมือนกันนะคะ

  • คุณ"คุณอา"

"มนุษย์เรามักกลัวการเปลี่ยนแปลง...หากจะเปลี่ยนหรือแปลงอะไรแล้ว...ก็อย่าได้ติดหล่มนานเลยนะคะ...เราพยายาม"ลุก"...และช่วย"ตน"เดิน...เพราะเมื่อตนเดินได้...รอบด้านเราก็จะเดินไปด้วยได้...ไม่มากก็น้อยล่ะคะ

  • คุณ"ไร้นาม"

"ผู้บริหารไม่ทราบ หรือยังไม่เห็นรายละเอียด"...หรือ"ผู้ทำงานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้ .."
ไม่ใช่เรื่องของใคร หากแต่เป็นเรื่องของคนคนนั้น ที่ต้องดำเนินตามหน้าที่ "ตน" ในสิ่งที่แสวงหาในสิ่งที่ตนยังไม่รู้และไม่เข้าใจ...หากเราคนไทยสามารถปลูกฝังความเข้าใจในตนได้ว่า อะไรคือตนรู้ อะไรคือตนไม่รู้...ก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาใน"ตน"ได้อย่างดียิ่งนะคะ (ตอบยาวไปมั๊ยคะ)

  • คุณ"ปฏิภาคย์"

ขอบคุณมากๆ นะคะ...ที่ห่วงใย คุณหมอก็ดูแลตัวเองด้วยเช่นกันนะคะ (ยิ้มๆๆ)

  • ท่าน"JJ"

ยิ้มและ"ขำ" อารมณ์ดีมากเลยคะเมื่อมาเจอรูปการ์ตูน...
หน้าดิฉันคงไม่เหนื่อยขนาด...นั้นหรอกนะคะ(ขำๆๆ)
แม้เหนื่อยก็จะพัก...พัก..เพื่อเดินต่อ...
ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค...ใดใด

 

ไม่คิดว่า การที่บุคคลไม่รู้ ต้องทำหน้าที่ให้รู้ด้วยตนเองเท่านั้นถึงจะพัฒนาตนเอง เพราะการเรียนรู้สามารถร่วมมือกันได้ถ้าอยู่ในสังคมที่เปิดใจคุยกันจริงๆจังในเชิงวิชาการ

ไร้นามไม่รู้อะไรๆ เยอะมาก เลยยังไม่พัฒนาเสียที ...ตอบยาวอีกล่ะซิ

 

คุณ"ไร้นาม"

ไร้นามไม่รู้อะไรๆ เยอะมาก

แค่"คุณ"รู้ว่า..ตนเอง "ไม่รู้"...ก็เริ่มก่อเกิดอะไรบางอย่างได้บ้างนะคะ...ดีกว่าไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้...หรือว่าไม่รู้แต่บอกว่ารู้...และจะยิ่งดียิ่งขึ้นหากเมื่อรู้ว่าตัวเองรู้...เพราะจะได้ต่อยอด...ได้อีก

ทุกสิ่งควรก่อเกิด..ที่"ตน"...

แล้วค่อยมอง..วนออกไปรอบด้าน

หากมัววน...มองนอกตนมากไป

ไม่รู้ตน...ก็ยังคง...อยู่อย่างนั้น

เฉกเช่นเดิม...

รู้ว่าตัวเองไม่รู้...แต่ไม่ทำอะไร

ก็จะไม่รู้อยู่เช่นดั่งเดิม

ไม่รู้ และบางเรื่องที่ไม่รู้ก็ไม่อยากรู้ เพราะการไม่รู้บางเรื่องเป็นการรู้ตัวว่าไม่ต้องรู้และยินดีที่จะไม่รู้เช่นดังเดิม

เมื่อมองที่ตัวตนเป็นที่ตั้งก็ต้องไม่ไปว่าใครเขาว่าเขาไม่รู้ แต่ต้องมองที่ตัวเองว่าทำไมไม่รู้ว่าจะทำให้เขารู้สิ่งที่เรารู้ได้อย่างไร

อธิบายตามหลักการตัวตนของ Dr .Ka-Poom

บางครั้งสิ่งที่ไม่อยากรู้...กลับต้องรู้

และต้องตัดออกไป..จาก"ใจ"..เพราะไม่อยากรู้

ผู้บริหาร  ( บริ=รอบ) (หาร=นำไป) คือ ต้องนำคน หน่วยงาน ให้ไปรอบ ...ก้าวหน้า  ผู้บริหารมีหลายแบบ

ไม่รู้ไม่ชี้ (ไม่รับผิดชอบ)

ไม่รู้แล้วชี้ (อวดดี หลงตน)

ไม่รู้ แล้วไม่ชี้ ( ชื่อตรงประมาณตน)

รู้แล้วแต่ไม่ชี้(เห็นแก่ตัว)

ชี้แล้วไม่รู้(ไม่รู้จริง)

รู้แล้วชี้(เป็นบัณฑิต)

...สิ่งที่นำมา ลปรร นี้พระท่านให้มาอีกทีค่ะ...

 

 

สาธุ...คะ ขอบคุณนะคะ คุณ"น้อง" ที่นำสิ่งดีดี มา ลปรร.

ใจของตัวผมเองก็กลัวการเปลี่ยนแปลง (ในทางลบ) แต่คำว่าลบนั้นมันคือเกณฑ์ที่ตัวเองกำหนด แล้วสิ่งที่องค์กรควรกำหนดนั้นน่าจะช่วยให้องค์กรเราก้าวพ้นหล่มได้ นั้นคือสิ่งที่หวัง.......และกำลังใช้วิธีการต่างๆ การ ลปรร.ก็เป็นการหาพลังในการก้าวไปสู่จุดนั้นอีกทางหนึ่ง.........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท