126.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในทัศนะของครูโรงเรียนไม่ได้นำร่อง 2 ; โครงสร้างเวลาเรียน ความต่างของเรื่องเดียวกัน


ผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด

การบันทึกนี้เกิดจากความเข้าใจส่วนตัวของผู้เขียน

ที่ได้ศึกษาหาความรู้จากโลกออนไลน์ใบนี้

รวมทั้งจากหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ

ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณให้ถี่ถ้วนมิเช่นนั้น

อาจเป็นภัยแก่ตัวท่านเองได้ อิอิ

เป็นธรรมดาของความไม่รู้ของฉันเองเอง

ที่ต้องดิ้นรนหาโอกาสเติมเต็มให้กับตัวเองถูกผิดก็เชิญท่านผู้รู้ทั้งหลายได้

กรุณาทำให้มัน Full และ delete มันออกไปได้หากมันไม่ถูกต้องนะคะ

 การถอดบทเรียนนี้

เกิดจากการเอาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

มาเปรียบเทียบกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

พบข้อแตกต่างดังนี้ (อิอิ เลียนแบบวิธีการนำเสนอของผู้รู้เขาใช้กันค่ะ)

 

1.อันดับแรกดูที่โครงสร้างก่อน

1.1 ในโครงสร้างเดิม

 มี 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1-4 แต่ละช่วงชั้นมี 3 ชั้นเรียนไล่กันไปตั้งแต่ป1-ม6

1.2 ส่วนโครงสร้างใหม่มี 3 ระดับ

(เห็นว่าใช้คำพูดต่างกันแล้ว จากช่วงชั้นมาเป็นระดับ)

คือ ระดับชั้นประถมศึกษา ป1 ถึง ป6 ,ม.1-ม.3,ม.4-ม6

...............................................................

ต่อมาลองศึกษาดูที่กำหนดเวลา

2.2 โครงสร้างเดิม

กำหนดเวลาเรียนทั้ง 8 สาระการเรียนรู้แบบกว้างๆ

เช่น ช่วงชั้นที่1(ป1-ป3) ทั้ง8กลุ่มสาระ ปีละ 800-1000 ชั่วโมง

โดยสถานศึกษาสามารถกำหนดเองตามใจเธอ

ว่าจะให้แต่ละสาระมีเวลาเท่าไหร่

ตามที่เห็นว่าดีที่สุด

สำหรับความต้องการของสถานศึกษาชั้นอื่นๆ

ใครสนใจไปหาดูเอาเอง นะคะ

 

2.2 โครงสร้างใหม่

กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำ ของ 8 กลุ่มสาระ

แต่ละชั้นปีกำหนดกรอบแต่ละกลุ่มสาระ

แต่ละชั้นปีมาให้แล้ว

แต่รวมทั้งหมดพบว่าระดับชั้นป1-ป6

 มีเวลาเรียนพื้นฐานแต่ละชั้นปี 800 ชั่วโมง 

 และได้จัดสัดส่วนชั่วโมงเรียนแต่ละสาระมาให้แล้ว เช่น

-ภาษาไทย ป1 -ป3 200ชั่วโมง/ปี แต่ป3-ป6 เหลือ 160 ชั่วโมง 

-คณิตศาสตร์ เหมือนกับภาษาไทยทุกชั้นปี  

-วิทยาศาสตร์ , สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ,สุขศึกษา พลศึกษา, ศิลปะ

 ตั้งแต่ป1-ป6 เรียน 80 ชั่วโมงเท่ากัน ในแต่ละชั้นปี

-การงานอาชีพและเทคโนโลยี่ , ภาษาต่างประเทศ, 

 ตั้งแต่ ป 1 - ป 3 เรียน 40 ชั่วโมง

และป4-ป6 เรียน 80 ชั่วโมง  

รวมเวลาเรียนพื้นฐาน ของชั้นป1 -ป6 ชั้นละ 800 ชั่วโมง / ปี

(อิอิ  ของม.ต้นเยอะกว่าประถมคือ 840 ชั่วโมง /ปี คิดเป็นหน่วยกิตรวม ได้ 21 หน่วยกิต )

 

 

ทั้งนี้ไม่รวมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อีก 120 ชั่วโมง

และรายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น

ปีละไม่เกิน 80 ชั่วโมง 

รวมทั้งหมดไม่เกิน 1000 ชั่วโมง/ ปี

 

 

และกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม

สถานศึกษาสามารถดำเนินการ โดย

ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน

ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ตามเหมาะสม

แต่ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน

และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด

 

สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม

หลักสูตรให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม

จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร

เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3      

 สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐาน

ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้เหมือนกันตั้งแต่ ชั้น ป.1 - ม.3 ปีละ 120 ชั่วโมง

เป็นเวลาสำหรับจัดกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน 

 และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณะประโยชน์

ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผูเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้

ระดับ ป.1 - ป .6 รวมทั้ง   6  ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

(ตรงนี้ไงที่ฉันคิดว่าเราไม่ควรลอกหลักสูตร หรือแผนการสอนใคร

เพราะสุดท้ายครูผู้สอนเองนั่นแหละจะปวดเฮด เมื่อมีการประเมินเกิดขึ้น

และพบว่ามันไม่สอดคล้องทั้งกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิสัยทัศน์

จุดมุ่งหมายหลักสูตรสถานศึกษา ของเราเอง )

 สำหรับชั้น ม1-ม3

มีเรื่องหน่วยกิตกำหนดชัดเจนที่ใครสอนต้องศึกษาเองจากหลักสูตรแกนนำดังกล่าว

และไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่ได้สอนระดับมัธยมศึกษา อิอิ

.........................................................................................................

เอกสารอ้างอิง

1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน พุทธศักราช 2551 ,กระทรวงศึกษาธิการ(23-24).

2.http://lms.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/courses/coursetree3.asp?cid=1021205&uid2=wanchai  วิชา1021205 ชื่อวิชาหลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องหลักสูตรวถานศึกษา (เข้าถึงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 พฤษภาคม 2552)

หมายเลขบันทึก: 259982เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2009 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เยี่ยมมากครับ วิเคราะห์ได้ถูกต้องทุกแง่มุมเลยครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาดูโรงเรียน (ไม่) นำร่อง
  • แต่..ไม่ตกร่อง..ใช่ไหมคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะพี่...
  • ฝากภาพฝีมือฝึกหัด..ค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูต้อย

การลอกจะทำให้ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง

โชคดี มีสุขค่ะ

มันสำปะหลังบางพันธุ์ที่ มหา ปลูก กินไม่ได้เขาเอาไปทำแป้งมัน มหา เคยเอาให้หมูป่ากินหมูตาย

มันสำปะหลังพันธุ์ 5 นาที กินได้ และเกษตรกรไม่นิยมปลูกเพราะตลาดรับซื้อเอาไปทำขนม แต่ถ้านำไปขายลานมันที่เขาวัดแป้งลานมันไม่ซื้อ เพราะแป้งไม่มีปริมาณพอ

  • สวัสดีค่ะ เข้ามา update ความรู้ เพราะสนใจเรื่องการศึกษา
  • ดิฉันคุ้นเคยแต่หลักสูตร 2544 อ่านที่คุณครูเล่าก็ยังไม่เข้าใจความแตกต่างนัก แต่จะพยายามติดตามให้เข้าใจ
  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน พุทธศักราช 2551 แปลว่า  โรงเรียนสามารถทำหลักสูตรท้องถิ่นเสริมด้วยใช่มั๊ยคะ  และ
  • กระทรวงได้กำหนด "มาตรฐานการเรียนรู้" ของแต่ละระดับด้วยหรือเปล่า
  • ดิฉันเห็นว่า การแบ่งช่วงชั้น เดิมแบ่งโดยอิงอายุและพัฒนาการของผู้เรียน  แล้ววัดผลปลายช่วงชั้นก็สมเหตุสมผลอยู่แล้วนะคะ  คุณครูพอจะบอกได้มั๊ยคะว่ากระทรวงเปลี่ยนแปลงเพราะอะไร
  • จะเข้ามาตามหาความรู้ต่อนะคะ ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • มีความสุขนะคะ

hello

P

ขอบคุณค่ะ ท่านผอ. เขต ท่านประสิทธิ์

ขอบคุณน้องครูคิมP ทับทิมท่าจะหวานอร่อยนะคะ

ขอบคุณน้องP ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม 

น้องเหรียญชัย ความรู้สมเป็นปราชญ์ชาวบ้านเลยค่ะP ขอบคุณค่ะ

Pน้องnui
ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความสนใจ ดีใจจริงๆค่ะ ที่มีบุคลากรจากหน่วยงานอื่นให้ความสนใจ ครูต้อยมอง 2 ประเด็นนะคะ

ประเด็นแรกเป็นคุณแม่ที่เป็นห่วงลูก หลานค่ะ

ประเด็นที่มีงานเกี่ยวกับการให้การศึกษา อิอิ

อย่างไรครูต้อยก็ตอบค่ะ แต่ขอตอบในบันทึกหน้าด้วยความยินดียิ่ง

เอาเป็นว่าพี่ขอแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆกับเพื่อนๆในgotoknow แล้วกันนะคะ เพราะพี่เองก็ยังใหม่เหมือนกัน และเพียงเป็นผู้ใช้ ผู้ร่วมทำหลักสูตร สถานศึกษาปี 2544  ของโรงเรียนมาเท่านั้นเอง หลักสูตรใหม่นั้นก็ไม่ได้นำร่อง จึงได้ศึกษาจาก มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ค่อนข้างจริงจัง เพื่อจักได้นำพาทำสิ่งดีงามให้เด็กน้อยค่ะ เจอกันบันทึกหน้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P ขอบคุณค่ะ

สบายดีนะคะ

โรงเรียนเปิดแล้วยัง

ของพี่ยังไม่เปิดเลย

แถมการบ้านที่เรียนในม.ไซเบอร์ก็ยังไม่เสร็จ มึนๆ

ก็เลยแวะเข้า ออกบ้านตัวเองนี่แหละค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

อืมเข้าท่าดีครับโลกแห่งความหลากหลาย บนโลกอินเตอร์เนต

ไม่มีรูป

  • แม้ไม่แสดงตน ครูต้อยก็ขอขอบคุณค่ะ
  • และต้องขอโทษที่ตอบช้ามาก
  • ขอโทษจริงๆค่ะ
  • ยินดีแลกเปลี่ยนนะคะ
  • เพื่อการศึกษาของบ้านเรา
  • เพื่อเด็กน้อย และเพื่อลดอาการมึนงง
  • กับการที่ต้องวิ่งตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของวงการค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ที่เข้ามาเม้นท์

สวัสดีครับพี่ต้อย  แวะมาเยี่ยม พอให้ หาย"นึง"สบายดีน่ะครับ

P

  • หวัดดีค่ะน้องบาว
  • พี่ไม่ค่อยสบาย แต่ตอนนี้ค่อยยังชั่วแล้ว
  • ป่วยเป็นไข้หวัดนานตั้งแต่พฤหัสที่แล้ว
  • ทั้งจามทั้งน้ำมูลไหลทั้งวันรวมทั้งไข้สูงปรี๊ด
  • แต่ตอนนี้ไม่มีไข้สูงแล้ว แค่ร้อนๆ หนาวๆเท่านั้น 
  • ชนพรุ่งนี้จะหายขาดหรือเปล่ายังไม่รู้
  • ไอซะเจ็บซี่โครง ระบบไปทั้งตัว
  • หมอบอกว่าเป็นหลอดลมอักเสบ
  • และไอมาก แต่ไม่บอกว่าเป็นหวัด
  • เอาแค่บรรจง อิอิ
  • และหมอให้หยุดโรงเรียนสามวัน
  • ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา
  • พรุ่งนี้จะไปโรงเรียน ไปไถนาต่อค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ...

ครูพิษณุโลก [IP: 113.53.30.22]

ขอบคุณค่ะ

ปีหน้าคงได้มีโอกาสใช้ได้ถูกต้องตามบัญชาค่ะ

ปีนี้เรียนรู้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแบบสบายๆ

ในปีการศึกษาหน้า

แต่ในทางปฏิบัติครูต้อยก็แอบใช้แล้ว

เพราะอยากจะรู้ว่า

ในความเหมือนนั้นเหมือนจริงตามอักษรหรือไม่ และที่ต่างนั้น

ต่างกันตรงไหน อย่างไร และแค่ไหน

สวัสดีค่ะพี่krutoi

ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหลักสูตรเลยค่ะ

รู้แต่ว่า เปลี่ยนทีไร คุณครูและสถานศึกษาก็เหนื่อยหนักทุกทีไป...

การเปลี่ยนแปลง คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้...

พี่ต้อยสบายดีหรือเปล่าคะ

ระลึกถึงค่ะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท