สิ่งที่ get จากการประชุมเรื่องการนำโปรแกรม Hospital Os มาใช้ในการบริการ


การปรับตัวเข้าหาโปรแกรมเป็นเรื่องยาก แต่จะให้โปรแกรมปรับเข้ากับระบบที่มีอยู่ก็ยากเช่นกัน
          จริงๆแล้วประชุมไปเมื่อ 3 วันก่อน แต่ก็ยังไม่ลืมที่จะนำสิ่งที่ได้มาบันทึก
         
          โรงพยาบาลไพศาลีมีโครงการที่จะนำโปรแกรมมาช่วยในการบริการผู้ป่วยและช่วยในการเก็บเป็นฐานข้อมูล เพื่อที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์เป็นสารสนเทศ และนำไปพัฒนาต่อไป มานานแล้วเหมือนกัน คงจะซักประมาณเกือบ 3 ปีได้ ผ่านผู้รับผิดชอบโครงการมาแล้ว 2 คน ลงทุนไปแล้วน่าจะประมาณเกือบ 5- 6 แสนบาท
          สุดท้ายโรงพยาบาลเราเลือกโปรแกรม Hospital Os (สาเหตุที่เลือกมีหลายปัจจัย เช่น เป็นโปรแกรมเปิด หลายโรงพยาบาลใช้ มีทีมที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำงานบนระบบลีนุกซ์ เป็นต้น) ในส่วนนี้ทางทีมงานเริ่มดำเนินการมาได้ประมาณ เกือบ 1 ปี เคยเชิญทีมที่เป็นทีมงานของโปรแกรมโดยตรงมาช่วยในการติดตั้งระบบ แต่น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมของเราเอง จึงไม่สามารถติดตั้งระบบได้ในตอนนั้น(ค่าใช้จ่ายประมาณ 40000 บาท/5วัน) ต่อมาเริ่มนำร่องมาใช้ในการบริการผู้ป่วยในช่วง opd นอกเวลาราชการ ได้ระยะหนึ่งก็เลิกไป
          ในที่สุดถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถติดตั้งและเดินระบบได้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำโปรแกรมาใช้ก็คือ  การปรับตัวเข้าหาโปรแกรมเป็นเรื่องยาก แต่จะให้โปรแกรมปรับเข้ากับระบบที่มีอยู่ก็ยากเช่นกัน (การปรับระบบ/ขั้นตอนการบริการ ที่เรียกว่าเกือบจะต้องปรับทุกหน่วย เพื่อให้เข้าได้กับระบบของโปรแกรม ต้องเพิ่มจุด หรือเพิ่มคนในบางหน่วยบริการ การใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่าคนไข้ของแพทย์หรือพยาบาล เป็นสาเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นตอนทดลองทำงาน)
          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการทำงานครั้งนี้หากต้องใช้โปรแกรมของเกือบทุกจุดบริการ แน่นอนย่อมมีเสียงต่อต้านที่ค่อนข้างมากและกว้างขวาง
          สิ่งที่เราพูดคุยกันวันที่ประชุมในครั้งนี้คือ เราต้องการอะไรจากโปรแกรมบ้าง(คุณประโยชน์ของมันที่จะช่วยเราที่จะทำให้เราทำงานให้ง่ายขึ้น ดีขึ้นมีอะไรบ้าง) ผลเสียของการนำโปรแกรมมาใช้มีอะไรบ้าง แล้วเราจะใช้หรือไม่ มีโรงพยาบาลอะไรบ้างที่ run ระบบแบบเต็ม(ทราบจากทีมว่าเป็น โรงพยาบาลบ้านตาก ซึงหากโอกาสก็อยาก ลปรร.เรื่องนี้กับทางโรงพยาบาลบ้านตากเหมือนกัน) แล้วผลลัพธ์ด้านการบริการเป็นอย่างไร ( เช่นความรวดเร็ว เป็นต้น)
          แต่สรุปแล้วว่าโรงพยาบาลของเราน่าจะทดลอง run ระบบอีกครั้ง แต่แบบครบทุกหน่วยบริการเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยจัดสรรคน(เพิ่มให้บางจุด รวมค่า OT ประมาณ 3 - หมื่นบาท) เครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อม(ซื้อprinter 1 ตัว) สถานที่ ระบบหรือขั้นตอนการบริการ/การไหลของผู้ป่วยที่ชัดเจน และศูนย์การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างทันท่วงที ซึ่งผมได้เสนอประเด็นในเรื่อง การให้กำลังใจผู้ปฏิบัติว่า ในฐานะของหัวหน้างาน ต้องห้ามพูดอะไรที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีหรือท้อแท้ที่จะใช้ระบบใหม่เด็ดขาด เพราะหากหัวหน้างานไม่อยากได้ ลูกน้องก็จะไม่อยากได้ตาม
         
คำสำคัญ (Tags): #hospital#os#สิ่งที่get
หมายเลขบันทึก: 25989เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     การเปลี่ยนแปลง ย่อมมี แรงต้าน
     แรงต้าน นำไปสู่ การพัฒนา (ที่สมบูรณ์)
     การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาย่อมมีแรงต้าน เป็นเรื่องธรรมดา หากได้จัดการดี ๆ ก็จะเกิดเป็นตัวเร่ง (catalyses) ในการพัฒนาได้ครับ

     โจทย์วิจัยเล็ก ๆ แบบ R2R ที่พอมองเห็นจากบันทึกนี้ "อะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกต้าน ต่อการนำโปรแกรม Hospital Os มาใช้ใน รพ.ไพศาลี, แล้วจะต้องจัดการเพื่อเปลี่ยนเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไปได้อย่างไร"

พี่ชายขอบ
          ขอบคุณมากครับที่พี่แนะนำเพิ่มเติม
          แรงต้านน่าจะมาจาก ความไม่มั่นใจระบบในการช่วยการให้บริการของโปรแกรมให้ดีขึ้นได้อย่างไร เพราะตัวผู้ปฏิบัติงานและหัวหน้างานพบเจอตอนทดลองระบบ และจากการดูงานที่โรงพยาบาลอื่น พบว่าช้ากว่าระบบเดิม
          ความรู้สึกที่ไม่ดีเลยเริ่มฝังอยู่ในจิตของผู้ใช้บางกลุ่มและกระจายไปกลุ่มที่ยังไม่ได้ลอง
          ผมเคยแนะนำทีมใดๆก็ตามที่พยายามลงระบบการทำงานใหม่ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่เดิมๆ ต้องพยายามให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นมองเห็นถึงประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการทำงาน และค่อยไปที่ผู้ป่วย(ซึ่งหากพูดแบบนี้อาจจะไม่ใช่วัฒนธรรม Custommer focus) น่าจะทำให้การต่อต้านน้อยลง

เป็นกำลังใจให้ครับ ในการสร้างสรรค์แนะนำสิ่งดๆ มาสู่สังคม  เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สุดท้ายแล้วตอนนี้ได้ใช้ แล้วมีปัญหามากน้อยเพียงใดค่ะ user ปรับตัวกันได้หรือยัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท