ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อครั้งที่ผ่านมา


ผลการติดเชื้อครั้งที่ผ่านมา มีอะไร เกิดอะไร ที่ตึกไหน เปิดเข้าไปดูกันได้

การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของสถานพยาบาล ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ป่วย ครอบครัว สถานพยาบาลและประเทศชาติ เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ ถึงแม้จะยังไม่มีมาตรการใดๆที่จะขจัดปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้หมดสิ้นไปได้ หากการป้องกันการติดเชื้อที่ดีก็สามารถลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ และการที่สถานพยาบาลจะสามารถค้นหาขนาดของปัญหาที่ดี จำเป็นต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังการติดเชื้อว่ามีความเที่ยงตรงเพียงไร และการสำรวจการเฝ้าระวังแบบเฉพาะกาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบดังกล่าว เป็นการตอบประสิทธิภาพของบุคลากรในเรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อว่ามีความเข้าใจในเรื่องการวินิจฉัยการติดเชื้อที่ถูกต้องและแม่นยำเพียงไร และยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ตอบดัชนีชี้วัดคุณภาพด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล จำนวนผู้ป่วยที่ทำการสำรวจ 130 รายซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยในที่รับพักไว้นอนในสถาบัน-บำราศนราดูรทั้งหมด พบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อในสถาบันฯขณะนั้นจำนวน 9 ราย และคิดเป็นการติดเชื้อในสถาบันฯ 9 ครั้ง 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถาบันฯขณะนั้น เป็นเพศชาย มากว่าเพศหญิง อายุน้อยที่สุด 1 วัน อายุมากที่สุด 85 ปี 2. ลักษณะการติดเชื้อในสถาบันฯจำแนกตามตึกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา พบการติดเชื้อในหอผู้ป่วย 5 ตึก โดยที่หอผู้ป่วย NICU มีการติดเชื้อมากที่สุดร้อยละ 25 รองลงมาคือหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยพิเศษ 3 ชั้น 4 ร้อยละ 20 หอผู้ป่วยศัลยกรรมมีการติดเชื้อรองลงมาคือร้อยละ13.33 และหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป มีการติดเชื้อน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 11.11และ ส่วนในแผนกสูติกรรม ,แผนกกุมารเวชกรรม และหอผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ไม่พบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในสถาบันฯในขณะที่ทำการสำรวจ อัตราความชุกของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล= 6.92 %นอกจากนั้นพบว่า ประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังของบุคลากรสถาบันบำราศ- นราดูร จากการสำรวจพบว่า สามารถตอบการติดเชื้อในหน่วยงานของตนเองได้ 66.67 % โดยพบว่าอัตราการติดเชื้อในระบบต่างๆ จะพบว่าการติดเชื้อใน 1 ระบบSkin and Soft Tissue Infection (SST) มีอัตราการติดเชื้อสูงสุดคือร้อยละ44.45 (จำแนกเป็นการติดเชื้อที่หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบร้อยละ 50 ของการเกิด SST ,การเกิดแผลกดทับ และการติดเชื้อที่ผิวหนังรอบแผลเจาะคอเป็นหนอง ร้อยละ 25 ของการเกิด SST) 2 อัตราอุบัติการณ์ความชุกการการเกิด Phlebitis (2x 1000 หารด้วย 51) เท่ากับ 3.92 ครั้งต่อ100ครั้ง การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 3 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างร้อยละ 22.22 -เป็นอัตราอุบัติการณ์ความชุกการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ (2 x 1000 หารด้วย10 )เท่ากับ 20 ครั้งต่อ 100 วันใส่ Catheter day -เป็นการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( 2 x 100 หารด้วย 6 ) เท่ากับ 33.33 ครั้งต่อ 100 วันใส่ Ventilator day 4 อันดับสุดท้ายคือการติดเชื้อที่ Endometritis ร้อยละ 11.11 เชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาล การสำรวจครั้งนี้ไม่พบเชื้อก่อโรค 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 55.56 โดยตัดสินจากคำจำกัดความของการติดเชื้อที่มีใช้ในสถาบันฯ และมีอย่างละ 1 ครั้งที่รอผลการยืนยันทางห้องปฏิบัติการในวันนั้นแต่อาการและอาการแสดงเข้าได้กับการติดเชื้อที่แผลกดทับ , พบเชื้อ Klebsiella pneumoniae ที่เสมหะ ,พบเชื้อ E.Coli และเชื้อ Enterobacter cloacae ที่ปัสสาวะร่วมกับมีอาการ อย่างละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 11.11 ท้ายสุดแต่ไม่สุดท้ายจะเห็นว่าประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังการติดเชื้อของบุคลากรลดลง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความเหนื่อยล้าจากสู้รบกับ HA แต่ขอบอกว่าอย่าเหนื่อยนานนักนะคะ .......แล้วโอกาสหน้าพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25931เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากให้ข้อมูลเป็นสรุปและเขียนห่างอีกนิดค่ะ     จะอ่านยากหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท