ความรู้เบื่องต้น ความแตกต่างระหว่างวิชาประวัติศาสตร์และวิชาโบราณคดี


 

วิชาโบราณคดีคือ ศาสตร์แห่งการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และทางศิลปะอย่างเป็นระบบมาศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง โดยการวิธีการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อ คืนภาพของวิถีชีวิต จัดลำดับพัฒนาการ และอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต  โบราณคดีมีฐานะเป็นสหวิทยาการ

การใช้หลักฐานของโบราณคดี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. โบราณวัตถุ (Artefacts) คือสิ่งที่มนุษย์ดัดแปลงจากธรรมชาติ เคลื่อนย้ายแล้วไม่เปลี่ยนรูปร่าง เช่นลูกปัด ภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ฯลฯ

  2. นิเวศวัตถุ (Ecofacts) คือสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้ประดิษฐ์ แต่ได้มาหรือนำมาจากธรรมชาติ ไม่ได้นำมาเปลี่ยนรูป เช่นเมล็ดพืช กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ฯลฯ สามารถบ่งบอกสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในสมัยอดีต

  3. ร่องรอยกิจกรรมหรือร่องรอยที่มนุษย์ทำขึ้น (Features) คือ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา เมื่อเคลื่อนย้ายแล้วเสียลักษณะเดิม เช่น กองไฟ หลุมเสาบ้าน หลุมซากอาหาร ฯลฯ

 

วิชาประวัติศาสตร์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ อธิบายว่า คือการศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ชาติ หรือสังคมมนุษย์สังคมใดสังคมหนึ่งตั่งแต่อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method) หรือการศึกษาเพื่ออธิบายอดีต หรือเพื่อเข้าใจอดีตของสังคมมนุษย์ในมิติเวลา

          ข้อแตกต่างของวิชาโบราณคดีและวิชาประวัติศาสตร์ คือการใช้หลักฐานในการค้นคว้าที่ต่างกัน

การใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถแบ่ง 2 ประเภทดังต่อไปคือ

1. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  หลักฐานประเภทนี้ สามารถบอกถึงการดำเนินชีวิต การเข้ามาตั่งถิ่นฐานอยู่ก่อนอยู่หลัง ลักษณะการกิน-อยู่  โรคภัยไข้เจ็บและสาเหตุการเสียชีวิต ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เศรษฐกิจ ความเชื่อ ประเพณี การแต่งกาย การแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน การแบ่งชนชั้น ของสังคมมนุษย์ในอดีตตั่งแต่เกิดจนตาย  เช่น

           -      สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งถิ่นฐาน เช่นที่ราบ ภูเขา แม่น้ำ เพิงผาที่ถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัย เนินดินที่ใช้ในการฝังศพ ฯลฯ

           -      ซากของสิ่งมีชีวิต เช่น โครงกระดูกคนและสัตว์ เมล็ดพืช ฯลฯ

           -      โบรานสถานและอนุสรณ์สถาน บ้านเรือน เตาเผาเครื่องปั้นดินเผาโบราณ รวมถึงงานสถาปัตยกรรม ที่สร้างในศาสนา เช่น สถูป เจดีย์  ฯลฯ

           -      โบราณวัตถุ  เครื่องประดับเช่น กำไรสำริด ลูกปัดที่ทำจากกระดูกสัตว์ หิน แก้ว,  เครื่องมือเครื่องใช้เช่น เครื่องมือหิน  เครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์   อาวุธที่ทำจากเหล็ก ภาชนะดินเผา ภาชนะสำริด, ประกอบพิธีกรรม เช่น เครื่องดนตรี หอยสังข์ เครื่องประดับคานหามสำริด

           -      งานศิลปกรรม  งานปฏิมากรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ธรรมจักร ตู้พระธรรม, งานจิตกรรมเช่น ภาพวาดเขียนสีตามเพิงผาหรือผนังถ้ำ ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา  งานจิตกรรมฝาผนังตามผนังโบสถ์ วิหาร และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

          -      หลักฐานประเภทสื่อโทรทัศน์  พบเฉพาะในสมัยประวัติศาสตร์ เมื่อสังคมมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มากแล้ว เช่น ภาพถ่าย แผนที่ ภาพยนตร์ ระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ต ฯลฯ

          -      หลักฐานประเภทบุคคล ได้แก่บุคคลที่มีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ข้อมูลหลักฐานประเภทนี้ได้มาจากคำสัมภาษณ์ หรือคำบอกเล่า

2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

          2.1 หลักฐานชั้นต้น คือ เอกสารที่เขียนขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ  เช่น จารึก จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์

          2.2 หลักฐานชั้นรอง คือ เอกสารที่ไม่ได้เขียนขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ ผู้บันทึกไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ให้ค่าน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหลักฐานชั้นต้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำขึ้นมาภายหลัง เช่น ตำนาน พงศาวดาร วรรณกรรมต่างๆ ฯลฯ

 

วิชาโบราณคดีและวิชาประวัติศาสตร์ต่างกันตรงที่  (กล่าวโดยย่อ)

          1. การใช้หลักฐาน วิชาประวัติศาสตร์จะให้ความสำคัญต่อหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉาะเอกสารชั้นต้นในการศึกษา แต่วิชาโบราณคดีจะใช้หลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เป็นวัตถุ รวมถึงหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร

          2. ขอบเขตของการศึกษา วิชาประวัติศาสตร์ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มมีการจดบันทึก ที่เรียกว่าสมัยประวัติศาสตร์ วิชาโบราณคดี ศึกษาเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรม

          3.  กลุ่มคนที่ทำการศึกษา วิชาประวัติศาสตร์จะศึกษาเรื่องราวของชนชั้นปกครองและชนสูง เพราะเอกสารที่พบมักเป็นเรื่องราวของชนชั้นเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ จะไม่มีเรื่องราวของชาวบ้านมากนัก แต่วิชาโบราณดคีสามารถศึกษาเรื่องราวของผู้คนได้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่การเกิด ดำรงชีวิต อาชีพ และคติความเชื่อของการตาย

หมายเลขบันทึก: 258635เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีคะ

อ่านเเล้วรุ้เรื่อง

ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท