การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ภาคสรุป ฉบับย่อ


การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

หมายถึงการเกิดใหม่ หรือการรื้อฟื้นศิลปะจากกรีกและโรมันไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางความคิด คิดค้นและประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ  เริ่มตั่งแต่ ศตวรรษที่ 14 - 17 ถือเป็นการเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ยุคกลางและยุคใหม่ อิตาลีถือเป็นประเทศแรกของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และได้กระจายไปยังในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการแบ่งได้เป็น 4 ยุคคือ

      ระยะที่ 1 ระยะคลาสสิก ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของโรม

      ระยะที่ 2 ระยะมนุษยนิยม ย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของกรีกและเอเธน

      ระยะที่ 3 ระยะศาสนา การย้อนกลับไปสู่ยุคเยรูซาเล็ม

      ระยะที่ 4 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการทางเหนือ เป็นลักษณะพิเศษแบบเยอรมนี

ที่มาของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

1.      การสิ้นสุดสงครามครูเสด การเสื่อมของระบบฟิวดัล และการล่มสลายของอาณาจักรบิเซนทีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรป

2.      มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

3.      มีการพัฒนาทางด้านการเดินเรือ นำไปสู่การค้นพบดินแดนใหม่

4.      การพัฒนาทางด้านอาวุธ ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมศิลปวิทยาการ

5.      คนมีความกระตือรือร้นทางด้านความคิดเกี่ยวกับสังคมและธรรมชาติ  ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์อำนวยความสุขของมนุษย์

6.      ชนชั้นกลางที่ร่ำรวยเรียนแบบชีวิตของชนชั้นสูง จึงอุปถัมภ์ศิลปิน เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตนเอง

สาเหตุที่อิตาลีเป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

1.      เป็นทายาทโดยตรงของอารยะธรรมโรมัน ต้องการฟื้นฟูอารยะธรรมของตน เพื่อลบล้างอารยะธรรมเยอรมนี

2.      พระสันตะปาปาและศาสนจักรที่โรมต้องการฟื้นฟูอำนาจทางโลกและทางธรรม

3.      มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและมีภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม พ่อค้าที่รำรวยนิยมสนับสนุนผลงานของศิลปิน

4.      ชาวอิตาลีมีลักษณะเป็นนักมนุษยนิยม (Humanism) และปัจเจกนิยม (Individualism) เน้นคุณค่าของมนุษย์ ชอบอุดหนุนศิลปิน

บุคคลสำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

นักคิด : นิโคโล มาเคียวเวลลี่ ผลงานสำคัญคือ The Prince “การทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมซึ่งได้กลายเป็นคู่มือของนักปกครองในยุโรปสมัยต่อมา

นักสำรวจ : คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปสู้อินเดียเพื่อพิสูจน์ว่าโลกกลม ในปี ค.ศ.1492 เขาพบอเมริกา แต่คิดว่าเป็นอินเดียจึงเรียกชื่อชาวพื้นเมืองว่าอินเดียนการเดินทางสำรวจในครั้งนี้ ทำให้ชาวยุโรปตื่นตัวในการเดินทางค้นหาดินแดนใหม่

นักประดิษฐ์ : จอห์น กูเตนเบร์ก ชาวเยอรมนี ประดิษฐ์แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่ได้ในปี ค.ศ. 1450 ผลสืบเนื่องคือ

-  เกิดการผลิตหนังสือและเอกสาร ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้และคิดค้นทางวิชาการมากมาย

-  ช่วยให้รัฐเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลไปสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

-  มีการพิมพ์คำภีร์ไบเบิลในภาษาต่าง ๆ ประชาชนเกิดความรู้คำสอนศาสนาได้ด้วยตนเอง จนก่อให้เกิดกาปฏิรูปศาสนาในเยอรมนี

จิตกร : เลโอนาโด ดาวินชี เป็นผู้ที่ มีความสามารถรอบตัว ผลงานสำคัญได้แก่

-  The Last Supper  ภาพงานเลี้ยงอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูและเหล่าสาวก 12 คน ประดับอยู่ที่มหาวิหารเซนต้ามาเรีย

-  Mona Lisa ภาพหญิงสาวที่มีความเสมือนจริง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟฟ์

ปฏิมากร : โดนัทเทลโล ผลงานที่สำคัญคือ Ersmo De Narini ที่เมืองปาดัง แสดงสัดส่วนของคนและม้าได้อย่างชัดเจน

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 258627เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  ชาวอิตาลีมีลักษณะเป็นนักมนุษยนิยม (Humanism) และปัจเจกนิยม (Individualism) เน้นคุณค่าของมนุษย์ ชอบอุดหนุนศิลปิน..
เดี๋ยวนี้ ก็ยังเป็นอยู่ เป็นลักษณะประจำชาติเลยค่ะ

วิลเลียม เชกสเปียร์ เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของวงการวรรณกรรมอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ “Bard of Avon” งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 ล้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท