โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยง


PRECEPTORSHIP TRAINING PROGRAM

โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยง

ต่อความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง : กรณีศึกษา

โรงพยาบาลบ้านหมี่

PRECEPTORSHIP TRAINING PROGRAM FOR STAFF NURSES: A CASE STUDY OF BANMI HOSPITAL 

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลบ้านหมี่ ก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อม ในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการ จำนวน 16 คน ซึ่งคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จากห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบประเมินคุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลพี่เลี้ยง 2) หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลประจำการ 3) คู่มือการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาล  พี่เลี้ยง และ 4) แบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ซึ่งสร้างโดยผู้ดำเนินโครงการ      เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาความเที่ยง ข้อมูลนำมาวิเคราะห์โดยหา        ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการศึกษาพบว่า

ค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ของพยาบาลประจำการ  

โรงพยาบาลบ้านหมี่หลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยงสูงกว่าก่อนฝึกอบรม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this project was to compare readiness in practicing nurse preceptor roles of staff nurses in Banmi Hospital before and after participating in Preceptorship training Program for staff nurses. Subjects were 16 staff nurses, working in emergency room, intensive care unit, delivery room, and pediatrics unit, selected by purposive sampling technique. Instruments were 1) Preceptor specific attributes form,                    2) Preceptorship training Program for staff nurses, 3) Preceptor roles work instruction, and 4) Nurse preceptor roles  readiness scale, which were developed by the project director. The instruments were tested for content validity and reliability. Data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test.

The major result of study was as follow:

The mean score of readiness for practicing nurse preceptor roles of staff

nurses in Banmi Hospital after participating in Preceptorship training Program for staff nurses was significantly higher than that before participating in the Program at the  .05 level.

หลักการและเหตุผล    

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพประกอบด้วยหน้าที่หลัก 3 ประการคือ บทบาทการเป็นผู้ให้บริการการพยาบาลแก่ผู้รับบริการ บทบาทการเป็นผู้บริหารงานการพยาบาล และบทบาท  การเป็นนักวิชาการ ซึ่งบทบาทสุดท้ายประกอบด้วย การทำหน้าที่ของผู้สอน หรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีสู่สมาชิกใหม่ที่เข้าสู่วิชาชีพการพยาบาล เพื่อถ่ายทอดคุณลักษณะ เฉพาะแบบทางการพยาบาลคือคุณลักษณะของพยาบาลในการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพดังกล่าว โดยถ่ายทอดสู่สมาชิกใหม่ให้สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้สอดคล้องตาม   มาตรฐานเฉพาะแบบทางการพยาบาล หรือมาตรฐานของวิชาชีพการพยาบาลนั่นเอง

ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง เป็นการสอนงานแบบตัวต่อตัวระหว่างพยาบาลประจำการที่มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกสูงกับพยาบาลใหม่ พี่เลี้ยง (Preceptor) จะเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการปฏิบัติการพยาบาลข้างเตียงที่ดี รวมทั้งมีบทบาท  หน้าที่ในการสอนแนะนำงาน เป็นผู้ให้คำปรึกษาและเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมที่จะช่วยเหลือพัฒนาทักษะของพยาบาลใหม่ให้ก้าวหน้าตามจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นทางการขึ้นในเวลาที่จำกัดแน่นอน ระบบพยาบาลพี่เลี้ยงมีผลดีอย่างยิ่งต่อวิชาชีพ    การพยาบาลโดยส่วนรวมเพราะเป้าหมายสำคัญมุ่งที่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและสร้าง   ผู้ชำนาญในการปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลพี่เลี้ยงจึงมีความสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพ   การทำงานของพยาบาล ในการดำเนินงานระบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่สำคัญก็คือ การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง (Preparing preceptor) เพื่อทำให้พยาบาลพี่เลี้ยงปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์

โรงพยาบาลบ้านหมี่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเป็นทางการให้แก่พยาบาลวิชาชีพที่จะปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงให้แก่พยาบาลใหม่ ซึ่งจะทำให้พยาบาลประจำการมีความพร้อมในการปฏิบัติงานมากขึ้น ในการเตรียมความพร้อมของพยาบาลประจำการให้เข้ารับบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง นอกจากจะทำการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามความเหมาะสมแล้ว การจัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมแก่พยาบาลประจำการให้รับรู้บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง เพื่อให้ปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์และสอดคล้องต่อความต้องการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ต่อความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงจึงเป็นโครงการที่เสนอขึ้นโดยคาดหวังว่าพยาบาลประจำการที่ได้รับการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงจะมีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง   มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดคุณภาพในการบริการพยาบาล

 

วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อพัฒนาพยาบาลประจำการด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยง โดยเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ ก่อนและหลังการ อบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

 

ขอบเขตการดำเนินงาน

การจัดทำโครงการนี้เป็นการพัฒนาพยาบาลประจำการด้วยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงของ  โรงพยาบาลบ้านหมี่ โดยใช้กรอบแนวคิดของ Mitchell and Larson, 1987

 

กลุ่มเป้าหมาย

พยาบาลประจำการ ของโรงพยาบาลบ้านหมี่ จำนวน 16 คน ซึ่งคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงที่จะเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงจากห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม

 

ระยะเวลาดำเนินการ

ตั้งแต่ตุลาคม 2544 - เมษายน 2545

 

กลุ่มตัวอย่าง คือ

1. พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 16 คน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มี

ประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี หรือพยาบาลระดับปริญญาโท ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง        ที่จะเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงจากห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และหอผู้ป่วย           กุมารเวชกรรม หน่วยงานละ 4 คน

2. พยาบาลใหม่ จำนวน 4 คน คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่มีวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า     ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง และผ่านการปฐมนิเทศการเป็นพยาบาลใหม่ของหน่วยงานมาแล้ว มีประสบการณ์การปฏิบัติงานไม่เกิน 1 ปี ที่ปฏิบัติงานห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม หน่วยงานละ 1 คน เลือกมาเพื่อให้พยาบาลพี่เลี้ยงสับเปลี่ยนกันปฏิบัติงานคู่ แสดงบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงใน            4 สัปดาห์ ตามคู่มือการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการ

โรงพยาบาลบ้านหมี่

2. เป็นการส่งเสริมให้พยาบาลประจำการในโรงพยาบาลบ้านหมี่ได้มีการพัฒนาตนเอง

ในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

3. พยาบาลพี่เลี้ยงมีความพร้อมที่จะแสดงบทบาทที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่

4. พยาบาลพี่เลี้ยงมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

สามารถนำไปใช้ในการทำงานและสอนงานแก่พยาบาลใหม่

ขั้นตอนการดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ เพื่อทำหน้าที่ คัดเลือก ประเมินคุณสมบัติเฉพาะ

ของพยาบาลพี่เลี้ยง และพิจารณาหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ประกอบด้วย หัวหน้าพยาบาล ผู้ตรวจการ หัวหน้าหน่วยงานที่มีพยาบาลใหม่ โดยขอความเห็นชอบจาก หัวหน้าพยาบาลในการพิจารณาแต่งตั้ง จำนวน 15 คน

2. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินโครงการแก่คณะกรรมการดำเนินโครงการ

ประชาสัมพันธ์พยาบาลประจำการใน 4 หน่วยงานที่มีพยาบาลใหม่ปฏิบัติงานอยู่ คือห้องผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม เพื่อให้เกิดความ    เข้าใจและยินดีสมัครใจเข้าร่วมโครงการ

3. คัดเลือกพยาบาลพี่เลี้ยงจำนวน 16 คน จากพยาบาลประจำการทั้งหมด 57 คน

(ตารางที่ 1) ตามเกณฑ์คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะที่กำหนดดังนี้

เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการพิจารณา คุณสมบัติทั่วไปก่อน โดยมีการพิจารณาร่วมกัน ระหว่างหัวหน้าพยาบาล  ผู้ตรวจการ และหัวหน้างาน ดังนี้ 1) เป็นพยาบาลประจำการที่มี     ประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี 2) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 3) มีความสามารถในการพยาบาลในหอผู้ป่วย 4) มีบุคลิกดี มีมนุษย์สัมพันธ์ดี 5) มีความมั่นคงในอารมณ์    6) รักการสอนและ 7) มีความสมัครใจ แล้วทำการประเมินคุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลพี่เลี้ยง โดยหัวหน้างานแต่ละหน่วยงานพิจารณา พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงาน ๆ ละ 4 คน รวม 16 คน   ที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลพี่เลี้ยง ซึ่งประกอบด้วยข้อความ 10 ข้อความ     ได้แก่ บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ตัดสินใจแก้ปัญหาทางคลินิกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นที่ยอมรับ มีความคล่องแคล่วชำนาญในการปฏิบัติการพยาบาล มีทักษะการสอนอย่างมี     ประสิทธิภาพ ใส่ใจและสนใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ มีความสามารถในการชี้นำตัวเอง สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหา       เหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ สามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาลและองค์กร และสนใจในการทำงานร่วมกับพยาบาลใหม่ แบบประเมินนี้เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คะแนนเต็ม 50 คะแนน บุคคลที่จะเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงได้ต้องมีคะแนนประเมินรวมจากทุก ๆ ข้อ       อย่างน้อย 35 คะแนนขึ้นไปและจะต้องได้คะแนนในหัวข้อที่ 10 คือสนใจในการทำงานร่วมกับพยาบาลใหม่ในระดับ 5 หรือ 4 จึงจะผ่านเกณฑ์ประเมิน เกณฑ์นี้มาจากแนวความคิดของเดวิสและบาร์แฮม (Davis and Barham, 1989) จึงจะเข้ารับการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง หลังจากนั้นผู้ดำเนินโครงการและหัวหน้างานแต่ละหน่วยงานร่วมกันจัดตารางเวรให้พยาบาลพี่เลี้ยงสับเปลี่ยนกันขึ้นปฏิบัติงานคู่กับพยาบาลใหม่โดยการปฏิบัติงาน    เช้า  3 เวร   บ่าย 2 เวร และดึก 2 เวร เป็นอย่างน้อย ภายในหอผู้ป่วยนั้น ๆเป็นเวลา 4 สัปดาห์

ตารางที่ 1  จำนวนพยาบาลประจำการ พยาบาลพี่เลี้ยง และพยาบาลใหม่ในแต่ละ หน่วยงาน

หน่วยงาน                                                          จำนวน (คน)

                                   

                                     พยาบาลประจำการ        พยาบาลพี่เลี้ยง        พยาบาลใหม่

ห้องผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน                  11                           4                            1        

ห้องผู้ป่วยหนัก                                     12                            4                            1

ห้องคลอด                                            7                            4                            1

หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม                           11                            4                            1

 

รวม                                                     41                         16                            4

4. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ มี 4 ชุด คือ

4.1 แบบประเมินคุณสมบัติเฉพาะของพยาบาลพี่เลี้ยง เป็นแบบประเมินผู้ดำเนินโครงการ

ใช้แบบประเมินคุณสมบัติเฉพาะพยาบาลพี่เลี้ยงของ บุญเฉลา สุริยวรรณ (2533) ตามแนวคิดของ       เดวิสและบาร์แฮม (Davis and Barham, 1989) ประกอบด้วยข้อความที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของพยาบาลพี่เลี้ยง 10 ข้อความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งแต่ละข้อความผู้ประเมินจะรับรู้เชิง              ความสามารถของผู้ถูกประเมินออกมา 5 ระดับ (Rating Scale) โดยผ่านการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน คือ 1) อาจารย์ ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา 2) รองศาสตราจารย์ พินิจ ปรีชานนท์ 3) พ.ต.อ.หญิง สกุลพร สังวรกาญจน์ 4) พ.ต.ท.หญิง กาญจนา ปัญญานนท์วาทและ         5) ร.ต.อ.หญิง ทวีวัฒนา เชื้อมอญ

4.2 หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ผู้ดำเนินโครงการปรับจาก

หลักสูตรที่ได้จัดอบรมเกี่ยวกับระบบพี่เลี้ยงของ บุญเฉลา สุริยวรรณ (2533) และหลักสูตรที่ได้จัดอบรมเกี่ยวกับระบบพี่เลี้ยงของ พินิจ ปรีชานนท์ (2531) โดยผ่านการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่านที่มีประสบการณ์หรือผลงานทางวิชาการเรื่องระบบพยาบาล       พี่เลี้ยง แล้วจึงนำเสนอให้คณะกรรมการดำเนินโครงการพิจารณาปรับให้เหมาะสมกับโรงพยาบาลบ้านหมี่ สรุปเป็นเนื้อหาสำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง 10 หัวข้อ คือ            1) ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง 2) บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยง 3) หลักการเรียน การสอนผู้ใหญ่  4) วิธีการสอนงาน (Coaching) 5) เทคนิคการให้คำปรึกษา 6) การนำกระบวน การพยาบาลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย 7) การประชุมปรึกษาหารือ (Conference) 8) การติดต่อสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน 9) การประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับและ 10) วิเคราะห์บทบาทสมมติในบทบาทหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยง ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาดังนี้ ระบบพยาบาลพี่เลี้ยง บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยง เทคนิคการให้คำปรึกษา การประชุมปรึกษาหารือ (Conference) การติดต่อสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานและวิเคราะห์บทบาทสมมติในบทบาทหน้าที่ของพยาบาลพี่เลี้ยง แก่อาจารย์ดวงจันทร์          ทิพย์ปรีชา หลักการเรียนการสอนผู้ใหญ่ และวิธีการสอนงาน (Coaching) แก่ ดร. กระจ่าง พันธุมนาวิน การนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย และการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับ  แก่อาจารย์ปราณี กาญจนวรวงศ์ มาเป็นวิทยากรให้

4.3 คู่มือการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ผู้ดำเนินโครงการสร้างขึ้นจากการ

ศึกษาตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  5 ท่าน

4.4 แบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ผู้ดำเนินโครงการสร้าง

ขึ้นโดยปรับปรุงจากแบบประเมินความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการห้องคลอด ของวิชญาพร สุวรรณเทน (2541) โดยผ่านการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจาก        ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน นำมาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นจึงนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริงที่โรงพยาบาลบ้านหมี่ จำนวน 30 คน แล้ววิเคราะห์ความเที่ยงของแบบประเมิน โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Alpha Cronbach's Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเท่ากับ .97           

ขั้นดำเนินการ

1. ส่งหนังสือเชิญวิทยากรตามความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตร

2. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการและทดสอบความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาล

พี่เลี้ยง โดยใช้แบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงก่อนฝึกอบรม      (Pre-test)

3. จัดฝึกอบรม หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ระยะเวลา 2 วัน

ในวันที่ 18 - 19 ก.พ. 2545 ณ ห้องประชุม 1 อาคารสิรินธร ชั้น 4 โรงพยาบาลบ้านหมี่

4. ดำเนินการให้พยาบาลพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมได้ปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงตาม

คู่มือการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง โดยจัดให้ขึ้นปฏิบัติงานคู่กับพยาบาลใหม่ภายในหอผู้ป่วยนั้น ๆ โดยการปฏิบัติงานเวรเช้า 3 เวร บ่าย 2 เวร และดึก 2 เวร เป็นอย่างน้อย เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ (20 ก.พ. - 19 มี.ค. 2545) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ กำหนดให้พยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลใหม่อยู่เวรเข้าคู่กันและทำกิจกรรมร่วมกันภายในหอผู้ป่วย ตลอด 4 สัปดาห์ เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ อธิบาย สอนงานอย่างใกล้ชิดและใช้เวลาพูดคุยให้คำปรึกษาในช่วงเวลาครึ่งชั่วโมงหลังลงเวรเพื่อประเมินให้ข้อมูลย้อนกลับ นอกจากนี้ได้จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่างพยาบาล   พี่เลี้ยงทุกคนในทุกสัปดาห์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของพี่เลี้ยงในแต่ละหอผู้ป่วย เพื่อปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่พยาบาลพี่เลี้ยงได้ประสบอยู่และต้องการคำตอบที่ชัดเจน เพื่อนำไปปรับปรุงวิธีการสอนงานให้พยาบาลใหม่ได้อย่างเหมาะสม

ขั้นประเมินผล

ประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงการประเมินผลการดำเนิน   โครงการ คือ เปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงก่อนและหลังการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง โดยใช้เครื่องมือชุดที่ 4 วัดผลก่อนการ    อบรมและในวันแรกหลังการปฏิบัติงานคู่กันของพยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลใหม่อย่างน้อย คนละ 7 เวร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ผลเป็นดังนี้

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาล     พี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลบ้านหมี่ ก่อนและหลังการฝึกอบรม หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

ความพร้อมในบทบาท                  ก่อนการฝึกอบรม             หลังการฝึกอบรม                                                                                                                                                                                                                                                

พยาบาลพี่เลี้ยง                               X          SD                    X          SD             t

 

1) ตัวแบบ                                      4.14     0.39                 4.22     0.35           1.32

2) ผู้สอนและผู้นิเทศ                         3.64     0.49                 4.15     0.36           3.82T

3) ผู้อำนวยความ                             3.46     0.54                 4.04     0.34           4.12T

    สะดวกในการเรียนรู้

4) ผู้ปฐมนิเทศ                                3.71     0.53                 4.19     0.36           3.86T

5) ที่ปรึกษาและเพื่อน                       3.82     0.39                 4.32     0.42           4.86T

6) ผู้ประเมิน                                   3.66     0.49                 4.17     0.30           3.53T

รวม                                              3.74     0.41                 4.18     0.31           4.36T

 

T p < .05

จากตารางที่ 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงโดยรวม

ทุกด้านของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียม        ความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง เปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

            พิจารณาค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงแยกตามรายด้าน ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่าบทบาทผู้สอนและผู้นิเทศ  บทบาท   ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ บทบาทผู้ปฐมนิเทศ บทบาทที่ปรึกษาและเพื่อน และบทบาท  ผู้ประเมิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงทั้ง 5 ด้าน สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ส่วนบทบาทตัวแบบไม่มีความแตกต่างกัน

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

                ผู้ดำเนินโครงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 9

1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงเป็นจำนวนร้อยละ

2. สอบถามความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง หลังการฝึกอบรมหลักสูตร

เตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง โดยคะแนนเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงรวมทุกบทบาทและในแต่ละบทบาทของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ก่อนและหลังการ        ฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ด้วยสถิติการทดสอบที (Paired        t-test)

 

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงรวมทุกด้าน ของพยาบาล

ประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง เปรียบเทียบกับก่อนการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง   (ตารางที่ 2) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานในการศึกษา ที่ว่าพยาบาลประจำการภายหลังการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงจะมีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาล        พี่เลี้ยง สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง

อภิปรายผลการดำเนินโครงการ

            จากผลการดำเนินโครงการสามารถอภิปรายได้ดังนี้

พยาบาลประจำการที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาล       พี่เลี้ยงมีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเพิ่มขึ้น คือสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม   หลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงสามารถอธิบายโดยแนวคิดการเกิด   บทบาท 4 ขั้นตอน ของ Mitchell and Larson (1987: 262-263) ดังนี้ 1) กลุ่มมีความคาดหวังต่อบทบาทนั้น ๆ ผู้ศึกษาได้สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง โดยนำเนื้อหาเกี่ยวกับระบบพยาบาลพี่เลี้ยง บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงและ        การปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ซึ่งสร้างจากสิ่งที่คาดหวังของพยาบาลใหม่ต่อบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง 2) ความคาดหวังที่ได้จากพยาบาลใหม่นั้นมีการสื่อสารต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งพยาบาลพี่เลี้ยงนั้น ซึ่งเป็นพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลบ้านหมี่ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรม ในโครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง 3) บุคคลที่ดำรงตำแหน่งพยาบาลพี่เลี้ยงนั้นได้รับรู้บทบาทที่คาดหวัง และผ่านการฝึกอบรมให้เกิดการเรียนรู้ 4) บุคคลนั้นจะแสดงพฤติกรรมออกมาตามการรับรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนของการปฏิบัติ ได้มีโอกาสปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยมีคู่มือที่ผู้ดำเนินโครงการสร้างขึ้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง แล้วจึงวัดโดยแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงที่สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ที่มีความพร้อมมากจะปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงได้ดี

ค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงแยกตามรายด้าน ของพยาบาล

ประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง พบว่าบทบาทตัวแบบไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบว่าค่าเฉลี่ยภายหลังการอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงสามารถอธิบายได้ว่าพยาบาลพี่เลี้ยงถึงแม้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกมาอย่างดีและผ่านการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงแล้ว แต่ระยะเวลาการฝึกอบรมที่จำกัดอาจไม่สามารถทำให้พยาบาลพี่เลี้ยงมีเวลาที่จะพัฒนาตัวเองด้านความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตัวแบบ ซึ่งบทบาทตัวแบบเป็นการรับรู้บทบาทในวิชาชีพของพยาบาลประจำการ คือจะครอบคลุมทั้งด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านบริหารการพยาบาล และด้านวิชาการ การแสดงบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลประจำการ   มีปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังที่พจนา ปิยะปกรณ์ชัย (2538) กล่าวว่า ทัศนคติ เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้พยาบาลประจำการมีลักษณะเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงที่ดี ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต้องใช้เวลา เพราะต้องเปลี่ยนองค์ประกอบทางด้านความรู้ที่มีอยู่เดิมก่อน องค์ประกอบอื่น ๆ จึงจะเปลี่ยนตาม ดังนั้นการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมความพร้อมของพยาบาลประจำการให้มีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงมากขึ้น หากเวลาผ่านพ้นไป พยาบาลพี่เลี้ยงสามารถปรับตัวได้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติบทบาท ก็อาจทำให้ทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรวัดผลความพร้อมในบทบาทหลังจากทดลองต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจทำให้ระบุถึงความแตกต่างได้ ซึ่ง Clayton et al.(1989) ได้ทำการวัดผลต่อเนื่องในระยะเวลาอีก 6 เดือน พบว่ามีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ทัศนคติในบทบาทจะเปลี่ยนแปลงได้ยังขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ บุคคล สถานการณ์ และกลุ่มสังคมที่มากระตุ้นให้เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงบทบาท   ตัวแบบ

ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงสรุปว่า หลักสูตรเตรียมความพร้อมในบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิผล คือ ทำให้พยาบาลประจำการโรงพยาบาลบ้านหมี่ มีความพร้อมใน        การปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเพิ่มขึ้น

ในช่วงเวลาดำเนินโครงการ 4 สัปดาห์ พยาบาลพี่เลี้ยงทั้ง 4 หน่วยงานได้สับเปลี่ยนกันปฏิบัติงานคู่กับพยาบาลใหม่ เวรเช้า 3 เวร เวรบ่าย 2 เวร เวร

หมายเลขบันทึก: 258442เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท