ความรู้ที่ใช้สร้างความสุข


เมื่อวันที่ 10 เมษายน 49  ที่ผ่านมา    ผมปิ๊งคำพูดของ ศ.สุมน  อมรวิวัฒน์   ซึ่งกล่าววลีที่ทำให้ผมเกิดความคิดว่า   การที่จะพบความสุขจริงๆนั้น  มันต้องมีความรู้อะไรบางอย่าง   เป็นความรู้ที่เข้าใจยากหากอ่านจากตำราเพียงอย่างเดียว    เป็นความรู้ที่ต้องปฏิบัติ   ต้องฝึกจนเกิดเป็นทักษะออกมา    ทำให้ผมนึกไปถึง   คนที่อดทน-อดกลั้นได้ดีนั้น  แสดงว่าเขาต้องมีความรู้ว่าด้วยการบังคับใจตน     คนที่ทำได้ดีเขาต้องฝึกมาระยะหนึ่ง  เพราะใหม่ๆนี่มันหงุดหงิดแน่นอน

ดูเหมือนว่า   ในสังคมวันนี้ใครมีเงิน  มีทรัพย์สินเยอะ  แล้วมันจะมีความสุข  ความสบาย     

แต่ดูอีกที    คนที่ร่ำรวยมากๆเขาก็ยังมีทุกข์  มีเรื่องกังวลใจไม่น้อยเหมือนกัน  แต่เป็นเรื่องคนละแบบอย่างที่คนไม่มีเงินเขามีกัน

สรุป (เอาเอง)  ว่ามี หรือ ไม่มีเงิน  ก็สามารถพบได้ทั้ง  ทุกข์  และสุขเหมือนกัน     ขนาดของทุกข์และสุข  ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมันด้วยเช่นกัน

เมื่อปิ๊ง !   มันก็เก็บมาคิดปะติดปะต่อว่าถ้าจะเอาไอเดียนี้มาลองทำให้เป็นการปฏิบัติจะทำได้อย่างไร?   

ทำให้ผมนึกถึง   People Mapping  ถ้าหากลองเอามาปรับเข้ากับเครื่องมือตัวนี้น่าจะใช้ได้    คือต้องออกไปหาคนที่เขามีความสุขแบบของแท้ (สุขข้างใน  ที่ไม่พันเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง)   แล้วไปคุยกับเขาเหล่านั้น  ค้นหาว่าความสุขของเขาอยู่ตรงไหน  เกิดได้อย่างไร  เขาฝึกตัวเองอย่างไรบ้างถึงจะมองเห็นสุขเหล่านั้น   และคำถามอื่นๆอีกมากมายที่จะช่วยดึงเรื่องราวออกมา  ทั้งนี้เพื่อเก็บเรื่องเหล่านั้นเอาไว้เป็น "คลังความสุข"    คือต้องมีหลายๆกรณีที่แตกต่างบริบทกันไป  ยิ่งมากยิ่งดี

แต่หากเก็บเอาไว้เฉยๆเพียงเท่านี้คงไม่มีประโยชน์อะไรแน่     มันน่าจะดีขึ้นไปอีกหากได้เอาคลังความสุขเหล่านั้น    มาเป็นเครื่องมือให้คนได้พูดคุยเสวนา   วิเคราะห์ว่าเนื้อในเรื่องราวเหล่านั้นมีความรู้อะไรอยู่บ้างที่ซ่อนอยู่ลึกๆ     ขั้นตอนการพูดคุยตรงนี้หากทำให้ดีแบบประณีต  ชวนพูด  ชวนคุยให้เป็นไปตามธรรมชาติ    มันอาจจะ (ไม่แน่ใจ เป็นสมมติฐานของผมเอง)  ช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของคนให้หลุดออกจากวังวนโลภะ  วังวนกระแสโลกที่ยั่วยวนในทุกวินาที   มองเห็นทางสร้างสุขให้กับตัวเองได้บ้าง

สักวันหนึ่งจะเอาไปทดลองใช้ที่บ้านผมครับ

คำสำคัญ (Tags): #ความสุข
หมายเลขบันทึก: 25806เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อ่านข้อความเห็นของคุณธวัชแล้ว ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นค่ะ ปัจจุบันลาภยศ เงินทอง มันไม่ได้เป็นสิ่งแสดงถึงความสุขที่เจ้าตัวพึงจะมี มีมากก็ทุกข์ว่าจะทำยังไงให้มีมากกว่าเดิม ทำยังไงที่จะไม่ให้มีน้อยกว่านี้ ทุกข์จริงๆ    ในระดับชั้นคนพอมีพอกิจยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงแล้ว สุขกาย สบายใจ รถยนต์ออกใหม่ ก็ไม่สน มอเตอร์ไซต์ออกใหม่ ก็ไม่สน โทรศัพท์ออกรุ่นใหม่ ถ่ายรูปได้ ฟังเพลงได้ ต่อให้กวาดบ้าน ถูบ้านให้ได้ด้วยก็ไม่สน รถคันเก่าๆ แก่ๆของเราก็ยังวิ่งได้ ไม่เห็นเป็นไร (ดีกว่าเดิน หรือบางทีเดินดีกว่า)
ได้มีโอกาสอ่านประวัติของคุณธวัช จึงได้ทราบว่าเป็นศิษย์สถาบันเดียวกัน (ประมงติณฯ) ไม่ทราบจบปี พ.ศ. ได้รำลึกความหลังถูก ชื่นชมกับแนวทางชีวิตของคุณนะ ไม่คิดว่าจะมีคนที่ดำเนินแนวทางเบนสายจากประมงมาอยู่สายสาธารณสุขเหมือนกัน เท่าที่ดูชื่อ blog เป็นของ สคร.9  ตอนนี้แมลงมันจูเนียร์อยู่ สคร.8 (ศตม.ตาก) ไม่ไกลกันเลย ยังไงฝากเนื้อฝากตัวเกี่ยวกับการทำงานด้านสาธารณสุขด้วยละกันค่ะ ถ้าอยากเห็นหน้าค่าตา ว่าเคยรู้จักหรือเปล่า (บ้านอยู่พัทลุง)  เข้า Blog http://gotoknow.org/km-insect  ที่ ชุมชนคนแมลงมัน นะค่ะ

ขอบคุณครับ

ชีวิตไม่มีอะไรแน่  อะไรนอนอย่างที่เห็นนี่หละครับ

ผมไม่ได้อยู่สายสาธารณสุขครับ    เป็นงานส่งเสริมการจัดการความรู้   ซึ่ง  KM  ใช้ได้กับทุกสายครับ

ยินดีที่พบเพื่อนสถาบันเดียวกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท