การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน มีนาคม 2551


สำรวจป่าสมุนไพร ต.จอมศรี อ.เพ็ญ

1.สำรวจป่าสมุนไพร ต.บ้านชัย อ.บ้านดุง  เมื่อวันที่  5  มีนาคม  2551  2551      สถานีอนามัยบ้านทุ่ง  ตำบลบ้านชัย  อำเภอบ้านดุง และป่าชุมชน ต.บ้านชัย  

                1.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กลุ่มหมอพื้นบ้านในเขตตำบลบ้านทุ่ง  จำนวน  26  คน เยาวชนพื้นที่ จำนวน  1  คน (พงษ์พันธ์) ,  อ.ดร.อัจฉรา  จิณวงศ์ , คุณปพิชญาณ์  ภักดีราช  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านทุ่ง ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ ในโครงการ  และผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  จำนวน   3   คน รวม  30 คน  

1.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

                -ทีมงานได้ลงพื้นที่ป่าบ้านชัย ในเขต อบต.บ้านชัย ซึ่งเป็นป่าเต็งรัง โดยมีตัวแทนจาก อบต.  (พี่ไร) ได้นำคณะลงพื้นที่สำรวจ ได้สมุนไพรที่มีประโยชน์ และพืชพิษท้องถิ่น (ต้นน้ำเกลี้ยง) จำนวน 78 ชนิด  บนพื้นที่ 3 ไร่ จากพื้นที่จริงประมาณ 1,000 กว่าไร่ โดยมีแบ่งการทำงานตามลำดับคือ ให้กลุ่มหมอพื้นบ้าน 2 3 คนที่รู้จักสมุนไพรชนิดนั้น ให้ข้อมูล ชื่อ  สรรพคุณ  ส่วนที่ใช้  แล้วทีมเก็บตัวอย่างจะลงถ่ายรูป  จับพิกัดต้นไม้ เขียนฉลากเพื่อตัดเก็บตัวอย่าง นำไปจัดทำ HERBARIUM  

2.อ.ดร.อัจฉรา  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปประเด็นจากการดำเนินการเบื้องต้น โดยมติที่ประชุมเสนอให้ประชุมคราวต่อไปเป็นเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถของคณะกรรมการกลุ่ม / ชมรม ในเรื่องการจัดการองค์กร บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.เตรียมการจัดทำ HERBARIUM สมุนไพรอัดแห้ง

2.จัดทำสมุดภาพสมุนไพร

3.ประสานการเตรียมการสรุป / นำเสนอความก้าวหน้ากิจกรรม ในวันที่ 25 มีนาคม 2551 ร่วมกับ กลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน

 

                2. ประชุมติดตามการดำเนินงานตามโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชมรมหมอพื้นบ้านอ.บ้านดุง (โครงการ สสส.) ที่ ศูนย์ห้วยแล้ง ต.นาม่วง  อ.บ้านดุง  วันที่  6  มีนาคม  2551

                2.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้าน จำนวน   10   คน , หมอพื้นบ้านของพื้นที่ตำบลบ้านม่วง จำนวน    26    คน   ตัวแทนจาก อบต.  / ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน / ผู้ใหญ่บ้าน  จำนวน   1   คน  ,  และผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  จำนวน   3   คน    รวม  40  คน    ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก เลขา อบต. ในการเปิดเวที ซึ่งได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการใช้งบประมาณของ อบต.ได้โดยพร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่  ทั้งนี้ มีเยาวชนจากโรงเรียนกมลศิลป์  ป.1 ป. 6  จำนวน  30  คน  

2.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

- คณะทำงานโครงการได้นำเสนอที่มาของโครงการ และแบ่งกลุ่มการดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านรวบรวม สังเคราะห์  เพื่อนำไปสู่การรวบรวมภูมิปัญญาที่สมบูรณ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของนักวิจัยท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ผ่านการอบรมนักนิเวศชุมชน ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์ที่พัฒนาจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ตามประเด็นที่สอบถาม มี 3 ประเด็นดังนี้ เกี่ยวกับตัวหมอ                เกี่ยวกับองค์ความรู้  เกี่ยวกับตัวคนไข้

-.คณะผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปเพื่อวางแผนในการนำข้อมูลที่ได้รวบรวม ไปประมวลวิเคราะห์ และนัดวันที่จะนำมาเสนอให้ อบตง , สอ. และ กลุ่มหมอพื้นบ้านในโครงการ 5 ตำบล ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง ในวันที่ 18 เมษายน 2551 โดยคณะทำงานของพื้นที่จะได้ประสานกับ เจ้าหน้าที่ สอ. และ อบต. อย่างชัดเจน

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.จัดทำสรปุเบื้อง ต้น ในภาพรวมตั้งแต่เริ่มโครงการ ส่งให้กลุ่มเป้าหมาย

2.เตรียมการประสานงานทำหนังสือแจ้ง เจ้าหน้าที่ สอ. และ อบต.

3.สรุปรายงานการประชุมโครงการ

4.สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการชมรม

 

                3.สำรวจป่าสมุนไพร ต.จอมศรี อ.เพ็ญ  เมื่อวันที่  6  มีนาคม  2551  2551      สถานีอนามัยจอมศรี  ตำบลจอมศรี  อำเภอเพ็ญ  และป่าชุมชน ต.จอมศรี  2 ป่า

                3.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กลุ่มหมอพื้นบ้านในเขตตำบลจอมศรี  จำนวน  24  คน ,  นักนิเวศชุมชนจาก อ.บ้านดุง  เป็นวิทยากร จำนวน 2 คน  ,อ.ดร.อัจฉรา  จิณวงศ์ , คุณวาสนา  ผิวเหลือง  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจอมศรี ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ ในโครงการ  และผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  จำนวน   2   คน รวม  30 คน  

3.2 เรื่องที่มีการหารือในที่ประชุมได้แก่

- ภก.สมชาย  ให้ความรู้เรื่องการจัดทำ HERBARIUM   แนะนำทีมงาน  และชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน  และ แบ่งงาน

                - ภาคเช้าทีมงานได้ลงพื้นที่ป่าบ้านทุ่ง  ในเขต ต.จอมศรี ซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณ และภาคบ่ายได้ลงพื้นที่สำรวจป่า  ซึ่งเป็นป่าเต็งรัง  ได้สมุนไพรที่มีประโยชน์  รวมจำนวนทั้งสิ้น 64 ชนิด   โดยแบ่งการทำงานตามลำดับคือ ให้กลุ่มหมอพื้นบ้าน 2 3 คนที่รู้จักสมุนไพรชนิดนั้น ให้ข้อมูล ชื่อ  สรรพคุณ  ส่วนที่ใช้  แล้วทีมเก็บตัวอย่างจะลงถ่ายรูป  จับพิกัดต้นไม้ เขียนฉลากเพื่อตัดเก็บตัวอย่าง นำไปจัดทำ HERBARIUM  

-อ.ดร.อัจฉรา  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สรุปประเด็นจากการดำเนินการเบื้องต้น และระดมความความคิดในเรื่องการจะไปต่อ

- พ่อบุญไทย  เสนอที่ประชุมเรื่อง รพ.เพ็ญจะรับซื้อไพลจากกลุ่มฯประมาณ 1 ตัน  ให้ช่วยกันคิดเรื่องวิธีการปลูก  และพื้นที่ปลูก 

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.สนับสนุนให้กลุ่มจัดทำ HERBARIUM สมุนไพรอัดแห้ง

2.จัดทำสมุดภาพสมุนไพร

3.ประสานการเตรียมการสรุป / นำเสนอความก้าวหน้ากิจกรรม ในงานมหกรรมแกนนำสุขภาพภาคประชาชน

 

                4.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  สมุนไพรและโปรแกรมการจดทะเบียนสิทธิภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของสำนักงานนายทะเบียน  ครั้งที่  2

ระหว่างวันที่  10-12  มีนาคม  2551     โรงแรมมารวยการ์เด้น  กรุงเทพมหานคร

1.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่  ผู้รับผิดชอบงานการแพทย์แผนไทย  และลูกจ้างชั่วคราวเงินกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยประจำสำนักงานนายทะเบียนจังหวัดทั้ง  76  จังหวัด

1.2 เรื่องที่มีการประชุมได้แก่

                -นโยบายด้านการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  โดย  ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย

                - ชี้แจงแบบฟอร์มการเก็บ  บันทึกและรายงานผลข้อมูลบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย  โดย  หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  ให้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นราย  6  เดือน  และรายปี  และให้สรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเป็นรายปี  โดยให้จัดทำเป็นรูปเล่ม  จำนวน  2  เล่ม  ส่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยภายในวันที่  17  ตุลาคม  2551

                - การใช้งานระบบฐานข้อมูลทะเบียนบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย  ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  สมุนไพร  และการจดทะเบียนสิทธิฯ  โดยผู้แทนบริษัทเด็พเฟิร์สท  จำกัด  ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเพื่อให้มีความถูกต้องและสะดวกต่อการใช้งาน

                - ประชุมกลุ่มย่อย  เรื่อง  การประชุม  4  ภาค  ให้มีการประชุมในระดับภาคเพื่อนำเสนอผลงาน  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะจัดขึ้นที่จังหวัดมุกดาหาร

                สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป

                1.เตรียมข้อมูล  เพื่อบันทึกและรายงานผลราย  6  เดือน /รายปี  และสรุปผลการดำเนินงาน

 

5. อบรมเภสัชกรรมแผนไทย คณะแพทย์ศาสตร์ มข. วันที่ 17-21 มีนาคม  2551  ณ คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ศึกษาเรื่องสมุนไพรสด และแห้ง   พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ  สรรพคุณเภสัช

หมายเลขบันทึก: 257938เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท