รายงานสด..การประชุมการวิจัย RAR พืชปลอดภัยที่กำแพงเพชร (ภาคบ่าย)


บรรยากาศในภาคบ่าย

        อ่านรายงานในภาคเช้า

  • เริ่มภาคบ่าย เวลา13.00 น. ด้วยการชมวีซีดีบ่มเพาะนวัตกรรม "คนล่าฝัน" ของ อ.ศักดา ทวิชศรี เพื่อสร้างพลังใจในการทำงาน ..... สู้ ๆๆ...

                                      

          หลังจากนั้นเป็นการเล่าแนวทางและประสบการในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  โดย อ.ศักดา  ทวิชศรี สรุปว่าในการทำงาน PAR มีประเด็นต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมนักวิจัย เช่น

  • เริ่มที่การปรับเปลี่ยนแนวคิดของชาวบ้านว่างานนี้เป็นของชาวบ้าน
  • ชุมชนจะต้องมีการปฏิบัติ
  • สร้างกระบวนการเรียนรู้-วิธีคิดให้แก่ชาวบ้าน (ไม่รอรับอย่างเดียว)
  • เปลี่ยนจากปัญหาเป็นโจทย์วิจัย
  • เติมความรู้บางเรื่องให้กับชาวบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับความรู้เดิมที่มีอยู่
  • ชาวบ้านต้องทำเอง เพราะเป็นเรื่องของเขา เป็นการสร้างปัญญา
  • สร้างความเข้าใจ  และชาวบ้านต้องเริ่มต้น ถ่ายโอนการวิเคราะห์ข้อมูลไปให้ชาวบ้าน

         อ.เกษม  ศรีโยทิน

  • ต้องกำหนดขอบเขตภายใต้ระบบการผลิต
  • ต้องสร้างจิตสำนึกในความปลอดภัยให้กับทุกฝ่าย

                                       

          สรุปประสบการณ์และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการวิจัยฯ โดย อ.ศักดา ทวิชศรี

  • ถ้าจะหานักวิจัยชุมชน จะมีวิธีการอย่างไร
  • ใครจะมาเป็นนักวิจัยชุมชน                                          
  • หน้าที่ของนักส่งเสริมฯ คือ สร้างให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัย
  • โจทย์...ปัญหา...คือปลอดภัย 
  • การบ้านเราคือว่า เมื่อทำความใจแล้ว  ก็เข้าสู่ชมชนตีโจทย์ และกระตุ้นให้ชาวบ้านเข้าใจ
  • กระบวนการวิจัย เป็นการเรียนรู้ขั้นสูงสุด  ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืน
  • ต้องเลือกนักวิจัย  เพราะเป็นผู้หาความรู้ให้ชุมชน
  • สร้างความเข้าใจให้ชาวบ้านทราบว่า  ปัญหาของเขาคืออะไร
  • วิธีที่จะนำเสนอจะใช้วิธีการอย่างไร  ต้องออกแบบอย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจ...
  • ทำการออกแบบวิจัย...................
  • ทีมงานนักวิจัยของสำนักงานเกษตรจังหวัด ต้องเตรียมแผนการสนับสนุนด้านวิชาการ/เทคนิคการวิจัยให้กับนักวิจัยในพื้นที่
     

                                  

          14.45 น.  เป็นการเล่าประสบการณ์ของชาวบ้านที่ทำการวิจัยของตนเอง โดยคุณเสนาะ  ยิ้มสบาย  ซึ่งมีปัญหา "ดินไม่ปลอดภัย" และได้ออกแบบการปฏิบัติ คือ 1) การใช้น้ำหมัก 2) การไถกลบหมัก และ 3) ปลูกพืชหมุนเวียน หลังจากนั้นก็ดำเนินการ หลังจากผ่านไปพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย และพืชที่ปลูกมีความสมบูรณ์มาก

          สรุปโดยคุณศิริวรรณ  หวังดี

  • ทุกคนต้องลงพื้นที่เพื่อประเมินสถานการณ์พื้นที่ของตนเอง
  • ประเด็นของการวิจัย ประเด็นที่จะทำคือเรื่องอะไร
  • บาทบาทของทุกคน ทั้งส่วนกลาง  และภูมิภาคล้วนมีบทบาท ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของนักส่งเสริม
  • องค์ความรู้ที่ตนเอง(นักส่งเสริมฯ) ค้นพบ....?
  • เครื่องมือในการใช้ในการเรียนรู้ในวันนี้(กระบวนการวิจัย/การสร้างนักวิจัย) ใช้กรณีศึกษา ทั้งที่เป็นบทเรียนจากวีซีดี และการเล่าเรื่องของนักส่งเสริมฯ

          ขอเสนอจากคุณสายัณห์   ปิกวงค์

  • ต้องมีพื้นที่เป้าหมาย  คน  ข้อมูล
  • ค้นหาปัญหา  จนท. ก็ต้องหาโจทย์ ของตนเอง
  • นักวิจัยชุมชน ต้องมีการบ่มเพาะ (แกนนำ)
  • นอกจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวเกษตรกรแล้ว  ก็มีการเติมความรู้จากภายนอก
  • นักส่งเสริมฯ ต้องหาคนเรียนรู้ (เห็นจุ่มพุ่มแล้ว) ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย  การใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • เก็บข้อมูล  ข้อค้นพบคืออะไร  และการเขียนรายงานการวิจัย

          สรุปว่าหลังจากวันนี้เราจะกลับไปทำอะไร

                              

          AAR โดยทีมอำเภอคลองลาน โดยคุณอรวรรณ เก่งสนาม และคุณสวัลย์ ขาวทอง

                                       

         เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเย็นมากแล้ว ทีมของอำเภอคลองลาน จึงขอทำ AAR เพียงประเด็นเดียว คือ ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นในการจัดกระบวนการในครั้งต่อไป ผลสรุปเป็นดังนี้ครับ

  • ทบทวนข้อมูลในการทำ และการนำเสนอ (ให้ให้แต่ละคนนำเสนอในครั้งต่อไป)
  • ข้อมูลบางส่วนยังล่าช้า และไม่ครบถ้วน (ต้องดำเนินการต่อ)
  • ในการเข้าร่วม  พบว่าในบางเรื่องนักวิจัยยังไม่เข้าใจ (กระบวนการวิจัย : นักส่งเสริมมือใหม่)
  • การปฏิบัติงานในพื้นที่ยังมีบ้างที่สับสนในเรื่องของการดำเนินงาน
  • การปฏิบัติงานต้องมีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปแก้ไข
  • ต้องนำข้อมูลไปทบทวนในพื้นที่  (ผลการวิเคราะห์)

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 25772เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน ท่านสิงห์ป่าสัก

 รบกวนถามท่านครับ อ.ศักดา ทวิชศรี ท่านเป็นเพื่อนกับ ท่านอภิชัย จบจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน รุ่นเดียวกับ JJ ใช่หรือไม่ครับ

 

     ถูกต้องแล้วครับ  ผมเรียนถามอาจารย์ศักดาแล้ว เป็นเพื่อนกับอาจารย์หมอ JJ ด้วยครับ
ทำได้งัย...คงเหนื่อยน่าดู
   ทำไปปรับไปครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท