ปลาตะเพียนว่ายฝ่าน้ำเหนือ


พัฒนาส่วนหางสอดคล้องกับทิศทางและความแรงของกระแสน้ำ

โมเดลปลาตะเพียนแหวกว่ายสู่เป้าหมาย
นโยบายและกฏหมายคือส่วนหนึ่งของกระแสน้ำ  ถ้ากระแสน้ำไหลบ่าท่วมท้นเช่นน้ำเหนือที่สุโขทัยโดยที่ปลาตะเพียนยังมีหางที่ไม่แข็งแรงพอ ก็จะถูกสายน้ำพัดพาไปไร้ทิศทางด้วยความบอบช้ำ  แต่ถ้ามีหางที่แข็งแรงและมีทิศทางชัดเจนก็อาจใช้กระแสน้ำเป็นพลังให้เลื่อนไหลไปสู่เป้าหมายโดยไม่ต้องออกแรงมากนัก
เช่นเดียวกับนโยบายที่ลงสู่ชุมชน กองทุนหมู่บ้านและโครงการSMLเป็นตัวอย่างที่ดี
ผมพบว่า ในหลายๆเรื่องนโยบายส่งผลกระทบมากกว่ากฏหมาย เช่นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นกฏหมายเช่นเดียวกับพรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม แต่มีผลไม่มากนัก ขณะที่กองทุนหมู่บ้านเริ่มจากนโยบายและพัฒนาเป็นกฏหมาย ส่งผลกระทบต่อชุมชนค่อนข้างมาก
ที่จริงกฏหมายน่าจะแสดงความมั่นคงยั่งยืนเพราะมีโครงสร้างและกลไกปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลตามกฏหมายชัดเจน แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น

คุณอำนวยจำเป็นต้องรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะจะได้ช่วยให้ปลาตะเพียนพัฒนาส่วนหางของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับทิศทางและความแรงของกระแสน้ำ

คำสำคัญ (Tags): #วงคุณอำนวย
หมายเลขบันทึก: 2574เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2005 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท