มูคูนา พืชตระกูลถั่วคลุมดินแสนอัศจรรย์


มูคูนา

A Cover Crop And Living Green Manure 

 

มูคูนา Mucuna pruriens เมื่อประมาณ 4 ถึง 5 ปีก่อน   รศ.ดร.กิตติ วงส์พิเชษฐ์ เดินทางกลับมาจากประเทศ ซิมบับเว  บอกกับผมว่า ได้ไปดูงานที ICRF (Internation  Center for Research in Agroforestry) พบว่า มีถั่วชนิดหนึ่งมีประโยชน์หลายอย่างมาก (เท่าที่วิยากรบรรยายให้ฟัง) นอกจากนี้ยังสามารถคลุมดิน ป้องกันวัชพืชและปลอดปล่อยธาตุอาหารลงดินได้ค่อนข้างสูง เท่าก็เลยลองเก็บมา 3 เมล็ด (ใส่กระเป๋าสตังค์มาทำให้รอดพ้นจากการตรวจ) กลับมาถึง ม.อุบลราชธานี ก็นำมาให้ผม บอกว่า ชื่อถั่วมูคูนา ท่านเห็นว่า คลุมดินได้ค่อยข้างดี ให้ผมลองเพาะดูเผื่อถ้างอก อาจจะมีประโยชน์ใช้เป็นพืชคุมดินในสวนยางพาราได้ในอนาคต ภายหลังจากปลูก ประมาณ 1 เดือน เจ้าหน้าที่เขาแจ้งให้ผมทราบว่า ถั่วมูคูนาที่ เคยให้ปลูก เหลือรอด 1 ต้น โดยได้ปลูกไว้ในกระบะปลูกพืช (กว้าง 1 เมตร ยาง 20 เมตร) ผมก็พยักหน้าในทำนอกว่ารับรู้ แล้วผมก็ลืมเรื่องนี้ไปประมาณ 4-5 ปี

วันที่ 23 เม.ย. 52 ตอนที่ผมเอาต้นถั่วมูคิวน่า จากบุรีรัมย์ ไปให้ลูกน้องผมอนุบาลไว้ แล้วค่อยนำไปขยายปลูกต่อในแปลง ซึ่งวันนั้นตอนที่ลูกน้องผมถามว่าต้นอีหยัง ถ้าผมพูดตามที่นักวิชาการเขาพูดกันคือ ถั่วมูคิวน่า ก็คงไม่เกิดเรื่อง แต่ผมเผลอพูดว่า "ต้นถั่วมูคูนา แล้วบอกเขาว่า มันหายากมากเลยนะ ถ้าท่านอดีต ผอ.สถาบันวิจัยยาง กับ ท่าน ผอ.กองทุนสวนยางจ.บุรีรัมย์ (ผอ.รุธรฯ) ไม่ขอให้คงไม่ได้มาหรอกฉะนั้นพวกเจ้าต้องรักษามันไว้สุดชีวิตอย่าให้มันตายเด้อเขาปลูกที่บุรีรัมย์ขยายพันธุ์ได้ยากมาก เมล็ดก็ไม่ค่อยติดเพราะว่าพุ่มมันใหญ่ออกดอกใต้ทรงพุ่มมันคลุมไปหมดทำให้เขาเก็บเมล็ดไม่ได้" แต่พอผมพูดอย่างนั้น ลูกน้องผมเขาก็ถามว่ามันใช่แบบเดียวกับที่ผมเคยเอามาให้เขาปลูกเมื่อ 4-5 ปีก่อนหรือเปล่า เขาพูดว่า ดูใบมันเหมือนกันเลยน่ะ ที่เคยปลูกดอกมันเป็นสีม่วงๆ คล้ายๆ ดอกตำแย เมล็ดสีขาวๆคล้ายเมล็ดถั่วพร้าแต่เล็กกว่า ผมก็บอกว่าไม่รู้เหมือนกันเพราะที่ผมไปดูมา ไม่เห็นดอก ไม่เห็นเมล็ดน่ะ ปัญหาเหมือนที่บอกน่ะแหละคือมันคลุมไปหมดทำให้ออกดอกไม่ได้ ซึ่งเมื่อพูดมาถึงตอนนี้ผมก็เริ่มเหงื่อแตกหน่อยๆแล้ว (คิดในใจว่าทำไมกูโง่ขนาดนี้วุ้ย อยู่กับตัวเองมา 4-5 ปีทำไมไม่คิด) จากนั้นนึกขึ้นได้ว่า ผมมีหนังสือเรื่องเกี่ยวกับถั่วมูคิวน่า ที่เขาให้มา (ตามรูปนี้แหละครับ) แต่ยังไม่ได้เปิดอ่านเลย ก็เลยกึ่งเดิน กึ่งวิ่งไปที่รถ แล้วหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เอ้า ตายห่า แค่บรรทัดแรกเขาเขียนว่า Mucuna bracteata เอ้ย มันก็มูคูนา นี่หว่า แล้วก็เปิดดูข้างใน เอ้า มีรูปดอกเป็นสีม่วง ดูรูปเมล็ด เอ้า สีออกขาวขุ่นๆ คล้ายเมล็ดถั่วพร้านี่หว่า... (ดีที่เป็นภาพสี) ก็เลยเอามาให้ลูกน้องผมดู ขนาดยังไม่ทันได้เปิดเลย พวกลูกน้องผมทั้ง 3 คนแค่เห็นรูปหน้าปกก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ""แม้นคักๆ แม้นอีหลีเลย ที่ปลูกไว้ในกะบะแม้นแบบนี้แหล่ว"" ทำให้ผมเหงื่อแตกมากยิ่งขึ้น จากนั้นพอเปิดรูปดอก รูปเมล็ดให้เขาพูด พวกเขายังย้ำคำเดิมว่า """แม้นๆๆๆๆๆๆๆๆๆ""" ผมก็ยิ่งเหงื่อแตก 5555 แล้วถามพวกเขากลับไปว่า แล้วมันอยู่ตรงไหนละของเรา คำตอบที่ทำให้ผมเกือบเป็นลมล้มทั้งยืนก็คือ ""ก็หัวหน้าบอกให้รื้อกะบะออกเพื่อไว้ปลูกตัวอย่างพืชการเรียนการสอน อีกอย่างก็เห็นหลายปีแล้วหัวหน้าไม่ว่ายังไง อีกอย่างนึงมันโตเร็วมาก คลุมพืชอื่นไปทั่วทำให้พืชอื่นขึ้นไม่ได้เลย พวกผมก็เลยตัดทิ้งเผาไฟหมดแล้วครับ"" ผมนิ่งไปสักพักแล้วพวกเขาก็พูดต่อว่า วันก่อนเห็นมันงอกขึ้นมาหน่อยนึงในกะบะยังไม่ได้ถอนออก กับลุงดร (ลูกน้องอีกคน) พูดว่า ได้เก็บเมล็ดไว้มีอยู่ประมาณ 5 กิโล ผมก็เลยไม่รอช้ารีบไปดูในกระบะที่พวกเขาบอกว่า มันงอกขึ้นมาอยู่เมื่อไปดูก็พบว่ามันงอกขึ้นมาจริงๆ ประมาณ 20 ต้น กับบอกลุงดรว่า ไปเอาเมล็ดที่เก็บมาดูซิ จากนั้นผมก็กลับมาที่พักของพวกเขาแล้วบอกกับทุกคนว่า ในกะบะช่วยดูแลต่อด้วยอย่าไปถอนไม่ออกน่ะ จากนั้นผมก็บอกให้พวกเขาไปเอาถังน้ำมา 3 ใบ แล้วผมก็ถักเมล็ดถั่วมูคูนา แบบถนอมขึ้นมาประมาณ 1 กิโล ใส่ในถัง กับบอกให้พวกเขาไปเอาเมล็ดถั่ว เพอร์ราเรีย กับ เมล็ดถั่วซีรูเลี่ยม มาใส่ในถังอีกสองใบ แล้วบอกพวกเขาว่า ผมจะทดลองเพาะถั่ว 3 ชนิด โดยทำเหมือนกันคือ แช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วผึ่งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นนำไปปลูกในกะบะ โดยปลูก ชนิดละกะบะ (กะบะปลูกของผม กว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร) ให้ปลูกวันเวลาเดียวกัน ทำทุกอย่างให้เหมือนกันแล้วผมจะศึกษาการเจริญเติบโตของมันดู (การศึกษาในกะบะปลูก) แล้วบอกพวกเขาต่อว่า ถ้ามันงอกก็หมายความว่า เมล็ดถั่วทั้ง 3 ชนิดที่พวกเราเก็บไว้ เปอร์เซ็นความงอกมันยังมี ก็วัน พฤหัส หน้า ( 30 เม.ย. 52 ให้นำเมล็ดทั้ง 3 ชนิด มาแช่เหมือนเดิมแต่เอามากๆหน่อย แล้ววันศุกร์ ( 1 พ.ค. 52) เจอกันที่แปลงยางแปลง 9 (ใน ม.อุบลผมปลูกยางพาราไว้ หลายแปลงแล้วครับ ตอนนี้มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด ประมาณ 170 ไร่แล้ว) ผมจะทดลองปลูกถั่ว 3 ชนิด คือ มูคูนา , เพอร์ราเรีย และซีรูเลี่ยม ลงในแปลง โดยปล่อยธรรมชาติเพื่อศึกษาต่อไป คู่ไปกับการศึกษาในกะบะปลูก ซึ่งควบคุมสถาพต่างๆได้ ให้มันสมกับที่โง่มาเสียหลายปี เหมือบกับที่เขาว่า ใกล้เกลือกินด่าง แล้วถ้าเกิดว่ามันงอกขึ้นมาใครสนใจก็เจอกันที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครับ

แต่ผมก็ยังเกิดความสงสัยอยู่ไม่คลาย เนื่องจาก Mucuna bractrata เมล็ดมันสีออกดำ แต่เมล็ดที่ผมมีอยู่ เมล็ดออกสีขาวขุ่น ค่อนข้างหม่นๆ แต่ก็ยังเก็บ ความสงสัยไว้ เนื่องจากไม่ทราบจะถามใคร

หมายเลขบันทึก: 257017เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

สวัสดีค่ะ

วันหน้า ถ้ามีเวลา ก็ส่งเมล็ดถั่วชื่อแปลกๆ มาให้เด็กเรียนรู้บ้างนะ

อ้อ...แล้วต้มจิ้มน้ำพริกได้หรือเปล่าคะ.......... (ของชอบ)

สวัสดีครับ คุณบิ๊กบุ๊ก อ่อมีครับ และด้วยความยินดีน่ะครับ ส่วนการต้มจิ้มไม่แน่ใจครับ เพราะว่ายังไม่ได้ลอง น่าหรอยน่ะครับ

สวัสดีครับ อ.แดง

จบรุ่นไหนครับ... ผมจบปวส รุ่น16

อยู่ที่นั้นสบายดีนะครับ

หลายปีก่อนไปเที่ยวอุบล ที่เที่ยวน่าเที่ยวมาก

ขอบคุณมากครับ

หวัดดีครับพี่ ผมจบ ปวส. รุ่น 21 มาเที่ยวอีกส่งข่าวด้วย จะได้มีโอกาสเลี้ยงดูปูเสื่อครับ

อยู่นี่ผมมีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่อยู่ กรมส่งเสริมหลายคนครับ จบไสใหญ่มาอยู่ที่นี่ก็หลายคนครับ

ขอบคุณมากครับพี่เกษตรฯ

สวัสดีครับคุณแดง

อยากปลูกพืชคลุมเหมือนกันครับจะหาชื้อเมล็ดพันธุ์ที่ไหนพันธุ์มูคิวน่า หรือเมล็ดพันธุ์อื่น แต่ก็ได้ซื้อไปปลูกที่สวนแล้วหนึ่งก.กไม่รู้ว่าพันธุ์ไหนได้จากวันงานเกษตรอิสานใต้ที่คณะเกษตรจัดอบรมชาวสวนยางพันธุ์ของเกษตรกรชาวสวนยางอ.บุญฑริก ให้คำแนะนำด้วยครับ 0862617538

สวัสสดีครับคุณสนั่น

เมล็ดพืชคลุมที่คุณสนั่นซื้อไปจากเกษตรกรในงานเกษตรอีสานใต้ที่ มหาวิทยาลัยอุบลฯ นั้นคือเพอราเรียครับ

เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides)ซึ่งเจ้าเพอราเรียลำต้นมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยมีขนมากปล้องยาวคลุมดินหนาทึบภายใน 5-6 เดือน ปีแรกเจริญเติบโตควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าคาโลโปโกเนียมและเซ็นโตรซีมาเป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ค่อนข้างดีกว่าพืชคลุมดินชนิดอื่น นอกจากนี้ยังอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตาลแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการปลูก และจากการทดลองปลูกพบว่าเพอราเรียมีศักยภาพในการแข่งขันกับวัชพืชสูงกว่าซีรูเลียม และเลื้อยคลุมดินได้ดีกว่าด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะพื้นที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ และเก็บความชื้นไม่ค่อยได้ ยังไงก็สามารถออกดอกติดเมล็ดได้เสมอ เพียงแต่ว่าต้องคอยรีบเก็บเมล็ดให้ดีไม่เช่นนั้นแล้วประมาณกลางเดือนมกราคม เมื่อแดดร้อนจัดฝักสีดำจะแตกดีดเมล็ดทิ้งจนเก็บเกี่ยวไม่ทัน และถ้าเก็บทันก็เหมือนกับที่คุณสนั่นได้ซื้อไปนั่นแหละครับ โลละ ตั้ง 300 บาท

วิธีปลูก นำเมล็ดแช่น้ำไว้สัก 1 คืน จากนั้นนำมาเกลี่ยๆไว้ในที่ร่ม 1 วัน จากนั้นนำไปปลูก โดยการปลูกอาจจะโรยเป็นแถวหรือปลูกเป็นหลุมครับ หลังจากปลูกแล้วก็ใส่ปุ๋ยให้เขาบ้าง ใช้หินฟอสเฟต 0-3-0 ก็ เหลือกินแล้วละ

ส่วนซีรูเลี่ยมนั้น ถึงแม้ว่ามีข้อดีอยู่หลายอย่างแต่หาเมล็ดค่อนข้างยาก

นอกจากนี้ก็มีมูคูนาที่โตเร็วมากๆ (อ่านได้จากในบล๊อก) แต่ยังมีปัญหาในการขยายพันธุ์ ตอนนี้ผมลองขยายดูอยู่ครับ ถ้าได้ผลเป็นอย่างไรก็คอยติดตามได้จากบล๊อกนี้ก็แล้วกันครับ

สวัสดีครับอาจารย์แดง

เมื่อวานแวะมาดูสวนยางในม.อุบลว่าจะมาดูพืชคลุมดินขับรถมอไซค์ไปรอบๆสวนไปดูทุกแปลงยังอยู่ในสภาพเดิมวัชพืชขึ้นรกมากๆคนที่ไม่เคยปลูกมาเห็นคงตกใจต้นยางไม่ค่อยโตเลยครับสภาพดินก็ดีอยู่นะครับผมว่า วัชพืชคงแย่งอาหารไปหมดก่อน สวนผมอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกันห่างจากหลังม.ไปประมาณ4ก.ม ปลูกปี49กับ50ปลูกในที่ลุ่มที่เคยเป็นทุ่งนาไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรอาจจะเป็นการปลูกเป็นงานวิจัยเหมือนอาจารย์(ปลูกตามกระแสเหมือนที่เขาเรียกกัน)แวะมาดูสวนในม.ก็ยังดีใจนึกเอาเองนะครับว่าของเรายังโตกว่า คำตอบคงยังจะรออีกหลายปี ขากลับมาดูสถานที่จัดงานวันเกษตรตรงสี่แยกทีปลูกต้นยางเอาไว้เห็นมีถั่วคลุมอยู่สองแถวขนาดดินขุดมาถมยังงามเลยคงจะเป็นเพอราเรียใช่มั้ยครับ ผมไม่ได้ปลูกตามคำแนะนำเปิดถุงได้ก็หว่านเลยแล้วก็ไถกลบเมื่อเช้าไปเดินดูที่สวนแถวที่หว่านเห็นมีเกิดถ้าน้ำไม่ท่วมตายก่อนคงจะพอมีเมล็ดพันธุ์เก็บไว้หว่านปีต่อไปใช้ถั่วเขียวถั่วดำคลุมก็ได้ปลูกทุกปีแต่ดีอย่างพอได้เก็บฝักเมล็ดมาทำของหวานกินแก้เหนื่อยได้บ้าง วันไหนว่างขออนุญาติมาเที่ยวชมอีกคงได้นะครับ

หวัดดีครับคุณสนั่น

ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ ส่วนยางที่ผมปลูก ปีนี้ใส่ปุ๋ย แปลงที่เปิดกรีด กับแปลงที่เพิ่งปลูกปี 50 กับ 51 ครับ ส่วนแปลงอื่นผมปล่อยธรรมชาติครับ

ใช่ครับ ถ้าคนที่ไม่เคยปลูกยางมาเห็นอาจจะตกใจ เพราะสมัยก่อนการปลูกยางพาราเขาไม่เรียกสวนยางครับ เขาเรียกป่ายาง ก็คือปลูกเสร็จแล้วปล่อยค่อยไม่ถางเอาเป็นร่องตอนที่จะเปิดกรีด แต่ที่ผมปลูก แปลงแรกที่เปิดกรีดอยู่ทำตามหลักวิชาการหมด ส่วนแปลงปี 47 ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง แต่ปี 47 แล้งค่อนข้างมาก ก็เลย ขึ้นไม่มากเท่าไหร่ ปี 48 ปลูกตามหลักอีก ส่วนปี 49 ปลูกในที่ลุ่มที่เคยทำนามาก่อน โดยที่ไม่ยกร่อง เพิ่งมายกร่องหลังจากปลูกแล้ว ปี 50 กับ 51 ถึง ดูแลอีก แต่ใน ม.เป็นการทดลองเกือบทุกเรืองที่เกษตรกรทำจริงๆ อยู่ในชีวิตจริงตอนนี้ครับ คือทั้ปล่อยทิ้ง ทั้งดูแล ทั้งใส่ปุ๋ย ทั้งไม่ใส่ปุ๋ย ทั้งฉีดยากำจัดวัชพืช ทั้งไถกำจัดวัชพืช เพื่อจะได้ตอบคำถามได้ว่า ดูแลอย่างไรจะได้ผลอย่างไรครับ เป็นแหล่งเรียนรู้จริงๆ ครับ ไม่อยากจะสร้างภาพให้ดูดี เพราะถ้าจะทำจริงๆ ของหลวงมีหมดครับ จะไถ จะใส่ปุ๋ยจะ ฯลฯ แต่เมื่อเกษตรกรมาดูแล้วจะพูดว่า อ๋อ ก็ของหลวงนี่มันถึงงาม แต่ข้อยเฮ็ดนำบ่ได้ดอก ผมก็เลยทำเลียนแบบในชีวิตจริงที่เกษตรกรประสพ แล้วส่วนหนึ่งไว้สอนนักศึกษา ส่วนหนึ่งถ้าคนภายนอกเข้ามาดูแล้วจะสามารถอธิบายได้ครับว่าทำไมทำอย่างนั้น และได้ผลอย่างนั้น เพราะที่ปลูกไม่ได้หวังผลในเชิงพานิชน์ แต่หวังผลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ครับ ถ้าเข้ามาอยากให้ได้แนวคิดแล้วแลกเปลี่ยนกันครับ ส่วนยางที่ปลูกตอนจัดงานนั้น ไม่ใช่ว่าขนาดดินขุดมาถมงามหรอกครับ แต่ภายใต้หลุมที่ปลูกนั้น ผมใช้รถขุดๆ หลุมครับ ลึกพอสมควร แล้วใช้ดินผสมใส่ลงไปเกือบเต็มหลุมก่อนปลูก แล้วใช้ยางค้างปี 3 ฉัตรปลูก แล้ววางระบบน้ำ รดน้ำใช่ช่วงฝนทิ้งช่วง ก็เลยทำให้ยางค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนพืชคลุมเพอร์ราเรียที่ปลูกลงไปนั้น เป็นแหล่งเรียนรู้ของ นักศึกษาครับ เพราะปลูกในแปลงช้าไปหน่อย แต่ผมต้องสอนเด็กตอนจะเปิดเทอมนี้ ก้เลยอยากให้เขาเห็นตัวอย่างพืชคลุมที่คลุมเต็มพื้นที่แล้วครับ เนื่องจากยางที่ปลูกผมให้น้ำอย่างที่บอก พืชคลุมก็เลยจะได้โตทันเปิดเทอม ส่วนวิธีการนั้นที่ผมบอกไป คือที่ผมทำครับ ไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูก แต่เท่าที่ได้ทดลองใน ม.มันได้ผลดีกว่าเปิดถุงแล้วปลูก หรือถ้าหากว่าเมื่อนำไปปลูกนอก ม. แค่ฉีกถึงแล้วปลูกมันดีกว่าผมก็จะได้ไปแนะนำเกษตรกรรายอื่นได้บ้างครับ ส่วนถั่วนั้น ผมปลูกหลายถั่วครับ ทั้งที่คนอยากกินทั้งที่คนไม่อยากกินครับ อย่าง่ไรก็ตามวันไหนว่างๆ เข้ามาชมได้ตลอดครับ

สวัสดีครับอ.แดง

ขอบคุณมากครับอ.แดงที่ให้ความกระจ่างถ้าไม่รู้แนวคิดก็คงมืดคิดเอาเองว่าทำยังไง เหมือนสวนหนึ่งเป็นคนสงขลาแกก็ปลูกไปอย่างนี้แหละเลยสวนผมไป3-4ก.ม มาใส่ปุ๋ยปีละสองครั้งจ้างคนดูแลก็แค่ไม่ให้สวนหายวัชพืชขึ้นเป็นป่าต้นยางโตมั้งไม่โตมั้งตายมั้งแกก็ปล่อยไปทั้งที่อาชีพก็ทำสวนยางมาตั้งแต่รุ่นพ่อหรือมากกว่านั้นไม่เหมือนคนที่เริ่มปลูกใหม่กลัวอะไรไปหมด วันนี้ไปดูสวนที่เขากำลังจะปลูกใหม่เดิมเป็นป่ายูคาลิปตัสใช้รถขุดตอออกอยู่ในเขตพื้นที่ อบต.เมืองศรีไค 70ไร่ต้นทุนการสร้างสวนคงแพงเหมือนกันเดิมจากที่นาเป็นป่ายูคาจากป่ายูคาจะทำสวนยางยังไม่เจอเจ้าของสวนได้รับรู้ว่าเขาเอาต้นยูคาออกแบบนี้ ดูงานวิจัยในม.นานแล้วละจนตัดสินใจปลูก ป่าตองหมองมีหญ้าขนตาช้างขึ้นปลูกยางได้ไม่ธรรมดาแล้วละคนต่างถิ่นเข้ามาหาซื้อที่ปลูกยางกันเราเอามั้งจะเป็นไรที่ไม่ได้ซื้อ คนอื่นหมดไปหลายล้านยังมีให้เห็น คงจะแวะไปดูสวนใหม่ให้กำลังใจคนที่เลือกอาชีพเดียวกันแนะนำวิธีการปัญหาที่เราเจอมา วันหลังมีอะไรดีดีจะมาเล่าสู่ฟังอีกครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมมีความสนใจเจ้าพืชตัวนี้เหมือนกันครับ(มูคูนา)มีความก้าวหน้าในแปลงที่ปลูกอย่างไรก็ช่วยอัพเดทรูปด้วยนะครับ

สวัสดีครับคุณพิทักษ์

เนื่องจากตอนนี้ผมไม่ค่อยได้อยู่ที่ทำงาน ต้องออกต่างจังหวัดตลอด ยังไงถ้าได้ถ่ายรูปจะนำมาลงให้ดูครับ

แต่ที่ผมนำท่อนพันธุ์มาจากบุรีรัมย์มาเพาะในกระบะเพาะนั้น ตอนนี้เริ่มติดบ้างแล้วครับ

ขอบคุณครับ...ยินดีรอครับ....อออ.....ไอ้ตัวนี้มันจะมีโอกาสเป็นวัชชพืชไหมครับ...มีความทนทานหรือตอบสนองกับสารเคมีกำจัดวัชชพืชไหมครับ..

สวัสดีครับอ.แดง

ไม่ได้แวะเข้ามาทักนานเลยมัวแต่ยุ่งกับงานกับสวนตอนนี้เพอราเรียกำลังออกดอก6-7เดือนถั่วเลื้อยเถาคลุมร่องยางเต็มพื้นที่เลยโดยใช้ปลูกแถวเดียวห่างต้นยาง50เชนติเมตรเสียดายที่ชื้อไปปลูก ก.ก เดียวเองปลูกได้ประมาณ2ไร่ปลูกแบบอย่างง่ายไถเปิดร่องแล้วเอาเมล็ดถั่วจากถุงที่ชื้อหยอดตามร่องไถแล้วไถกลบรอบต่อไปตอนนี้กำลังไถกลบหญ้าส่วนที่ยังไม่ได้ปลูกถั่วใส่ปุ๋ยไปด้วยหว่านถั่วดำไปด้วย พ.ค ปีนี้คงได้เมล็ดถั่วเพอราเรียหว่านเต็มพื้นที่ อยากได้ถั่วมูคิวน่าไปลองดูบ้างมีเมล็ดขายที่ไหนครับบอกด้วย

อาจารณ์แดงครับพอจะแบ่งมูคูนาให้ผมสักเม็ดสองเม็ดได้ไหมครับ ได้อ่านบทความจากหลายๆเวปแล้วรู้สึกว่ามีคุณประโยชน์มาก

บ้านผมอยู่ศรีสะเกษครับ แถวบ้านผมปลูกยางไม่มีพืชคลุมดินอัตราการตายของต้นยางมีสูงมาก ยิ่งตอนนี้ราคากล้ายางแพงหูดับ

ทั้งการปลูกและการบำรุงรักษาเห็นเขาทำตามมีตามเกิดเห็นแล้วสงสารครับ ผมจึงอยากนำความรู้ใหม่ๆไปเผยแพร่ ว่าจะเพาะมูคูน่าไปแจกจ่ายให้พี่น้องได้ใช้ประโยชน์กันแต่มองดูราคาโลละ4000คงไม่มีปัญญาซื่อแน่ จึงอยากขอความอนุเคราะห์จากอาจารณ์ให้ผมได้นำไปเผยแพร่สู่พี่น้องชาวบ้านต่อไป /อีเมลย์ผมครับ[email protected]

ถั่วไปถึงไหนแล้วครับ - -

ค่อนข้างไปได้ดีครับ แต่ตอนนี้ผมทดสอบการทนแล้ง เพราะรู้สึกว่าปีแรกไม่ค่อยทน พอดีปีนี้ทั้งแล้งจัดทั้งอากาศแปรปรวน ผมก็เลยได้โอกาสปล่อยข้ามแล้งโดยไม่มีการรดน้ำจะลองดูว่ามีโอกาสรอดตายได้แค่ไหน

เรียน อ.ประสิทธิ์ กาญจนา (ขอเรียกตามท่านอื่น ๆ ว่า อ.แดง) และทุก ๆ ท่านในณ.ที่นี้

ดิฉันบังเอินเข้ามาดูหัวข้อ ถั่วคลุมดิน เพอร์ราเรีย ทำให้ได้ความรู้เพื่มเติม เพื่อนดิฉันเธออยู่ จ.น่าน ปลูกยางพารามือใหม่ แต่ว่าเธอรู้เรื่อง ถั่วเพอร์ราเรียเป็นอย่างดี (สามีเธอ เป็นคนอังกฤษ แต่ไปอยู่ที่ แอฟริกาใต้) เธอได้ให้ความรู้กับดิฉัน ดิฉันสนใจที่จะปลูก ก็เลยขอซื้อเมล็ดพันธุ์จากเธอ แต่เธอให้มาฟรีกว่า ๑ กิโลกรัม ดิฉันได้ทดลองปลูกประมาณแค่ ๑ ช้อนกินข้าว (ช้อนสั้น) โดย เอาเมล็ดพันธุ์ใส่ในถ้วยเทน้ำกึ่งร้อนลงไปแล้วแช่ทั้งคืน(๔ เม.ย. ๕๔) พอตอนเช้ามาดูถั่วจะใหญ่ขึ้นเท่าตัว แต่ก็ยังไม่ได้ปลูก เพราะว่าดิฉันกำลังยุ่งกับการปลูกมัน และข้าวโพด ทิ้งไว้หลายวันพอดูว่าแห้งเมื่อไรก็เติมน้ำเป็นอย่างนี้เกือบ ๑๐ วัน ก็คิดว่าคงจะตายหรือเสีย แต่ก็ไม่ได้ทิ้ง ก็ขุดหลุมตื้น ๆ เอาเมล็ดไปฝังไว้ หลายหลุมแล้วตอกเสาไว้ให้ด้วย แล้วรดน้ำทุกวันเฉพาะตอนเย็น ผ่านไป ๔ วัน ต้นก็งอกขึ้นมาให้เห็น แต่จะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์หรือไม่ยังไม่ทราบค่ะ แล้วจะพยายามเข้ามารายงานให้ทราบอีกนะคะ

เพื่อนดิฉันขับรถจาก จ.น่านมาซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเพอร์ราเรีย ที่จังหวัด สุรินทร์ ดิฉันไม่ทราบว่า ร้านที่ขายเมล็ดพันธุ์ชื่ออะไร แต่รู้ว่าขาย กิโลกรัมละ ๑๖๐ บาท ดิฉันมาคิดดูว่าถ้าไม่ดีเพื่อนดิฉันคงไม่ขับรถมาไกลข้ามภาค เพื่อที่มาซื้อเมล็ดพันธุ์ ส่วนดิฉันอยู่ จ.สระแก้ว อ.วัฒนานคร

เรียน คุณหมาน้อย

จริงๆ แล้วการปลูกพืชคลุมเป็นสิ่งที่ดีมากๆ นอกจากช่วยควบคุมวัชพืชแล้ว ก็ยังสามารถลดการใช้ปุ๋ย และรักษาความชื้นในฤดูแล้ง แต่เนื่องจากขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังก็เลยเป็นอย่างที่เห็น ส่วนคนที่เขารู้คุณค่า อย่าว่าแต่เดินทางจาก จ.น่าน มา จ.สุรินทร์เลยครับ บางคนเดินทางจากภาคเหนือไปหาซื้อถึงภาคใต้

ราคา 160 บาท เป็นราคาที่ ถูกมากๆ ครับ ปกติประมาณ 300 บาท และช่วงที่หายากๆ ราคา ถึง 500 บาท ก็ยังมีคนต้องการครับ

สวัสดีครับ อ.แดง

ตอนนี้ผมกำลังสนใจมูคูนาอยู่เลยครับ ไม่ทราบว่าพอจะกรุณาแบ่งให้มาเพาะต่อได้หรือไม่ครับ สนใจมาก ๆ ครับ อยากจะทดลองขยายพันธุ์มูคูนาดูครับ ถ้าเป็น Mucuna bractrata จะดีมากเลยครับ เบอร์ติดต่อ 086-9058396 หรือหากไม่สะดวก กรุณาลงวิธีติดต่ออาจารย์ให้หน่อยครับ หรืออีเมล์ก็ได้ครับ ขอบคุณครับ

อ.แดงครับ ถั่วมูคูน่าของอาจารย์พันธ์ไหนออกเมล็ดครับ? ทำไงถึงได้เมล็ดครับ?

เห็นใครๆก็ว่ามันไม่ออกเมล็ดในไทยนี้ครับ ???

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบ ยืนยันอีกทีครับผม

ขอบคุณครับ

ดูเหมือนว่าพันธ์พรูริเอนส์ (Pruriens) ของอาจารย์แดงจะงอกเมล็ด แต่เป็นพืชล้มลุก ตายภายในปีเดียว ก็ต้องขยายพันธ์ทุกปีใช่ไหมครับ? แล้วควรใช้วิธีใดในการขยายพันธ์ครับ?

พันธ์แบรคทีเอทา (Bracteata) เป็นพืชคลุมดินอายุข้ามปี จึงไม่ต้องทำการขยายพันธ์ใช่ไหมครับ แล้วพันธ์แบรคทีเอทามีอายุอยู่ได้กี่ปีครับ? แต่จะไม่มีเมล็ดใช่ไหมครับ? ถ้าจะขยายพันธ์ต้องชำกิ่งใช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ

ที่คุณ cae ถามมา แล้วตอบด้วย เป็นแบบนั้นแหละครับ ถูกต้องแล้ว

คุณ lactic ครับ

1.พันธ์พรูริเอนส์ (Pruriens) ผมปลูกแล้วติดเมล็ดดีครับ แต่เป็นพืชล้มลุก ตายภายในปีเดียว ก็ต้องขยายพันธ์ทุกปี

2. พันธ์แบรคทีเอทา (Bracteata) ไม่คิดเมล็ด ผมใช้วิธีการปักชำครับ

เรียน อาจารย์ประสิทธิ

ขอเรียนเชิญอาจารย์ประสิทธิร่วมเป็นสมาชิก live-rubber เพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ อาจารย์ฯอาจจะนำเนื้อหาต่างๆมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมใน blog นี้ก็ได้ครับ

ในกระทู้ คลังความรู้เรื่อง### พืชคลุมดินในสวนยาง ###

http://www.live-rubber.com/rubberforum/viewtopic.php?f=2&t=900&start=120

มีเนื้อหาคุยกันเพิ่มว่า ถ้ามูคูน่าปลูกมากในไทยจะมีปัญหาสามารถควบคุมได้หรือไม่

ด้วยความนับถือ

lactic

เรียน คุณ lactic

จะลองเข้าไปดูครับ

ประสิทธิ์

เรียนอาจารย์ประสิทธ์

ดิฉันเป็นชาวสวนยาง อย่างย่อยค่ะคือปลูกยางไว้ สิบไร่ กำลังหาข้อมูลปลูกพืชคลุมดินเพราะไม่อยากใช้สารเคมีค่ะ ก็เลยได้มาอ่านข้อมูลของอาจารย์ได้ข้อมูลเยอะมาก ค่ะ และตอนนี้ก็ได้สั่งซื้อ เพอราเรีย ไป หนึ่งกิไล สี่ร้อยบาท กะว่าจะเพาะ และปลูก พค นี้ แน่นอน แต่อยากได้พันธุ์ มูคูน่า ที่ชาวสวนยางหลายท่านบอกว่า ดี มาทดลองปลูก อาจารย์พอจะมีหรือเปล่าค่ะ สัก สอง สาม ต้นก็ยังดีค่ะ ขอรบกวน ไปงานเกษตรอิสานใต้ทุกปีแต่ไม่เคยเดนไปถึงโซนปลูกยางเลย ไปแต่โซนกล้วยไม้ก็เลยไม่เจออาจารย์ ค่ะ

ถ้าได้รบกวนอาจารย์ตอบกลับด้วยนะคะ ดิฉัน เป็นคนอุบล ค่ะ อยู่เขตอำเภอศรีเมืองใหม่ มีชาวสวนยางเยอะมากปีนี้หลายคนเริ่มกรีดตั้งแต่อายุยางยังน้อย และต้นไม่โต เหตุผลเพราะว่ายางราคาดี ดิฉันคิดว่าน่าเสียดายค่ะ และแถวนี้สวนยางเขาฉีดยาฆ่าหญ้า ปีละ สองครั้ง จนดิฉันกลัวค่ะ กลัวระบบนิเวศจะหายไป

ขอเล่าเสริมนะค่ะ ดิฉันงดฉีดยาฆ่าหญ้าในสวนยางมาสองปีแล้วค่ะ ทำให้สวนเต็มไปด้วยหญ้าคา และหญ้าคอม สาเหตุที่ไม่ฉีด แรกๆ ก็เพราะบริเวณสวนยางดิฉันมีเห็ดป่าขึ้นเยอะค่ะ ทุกชนิดเลย ก็เลยอยากสงวนไว้จะได้ทานเห็ดป่าอยากปลอดภัยหน่อย แต่เก็บไม่ทันหรอกค่ะ ชาวบ้านแห่ไปหาเก็บตั้งแต่ ตีสี่ เจ้าของสวนยังไม่ตื่นเลย

สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ร.ท.ธงชัย อำนาจศิลป์เจริญ

ผมมีความสนใจพืชคลุมดินครับ ขอความกรุณา ขอคำแนะนำครับ ผมปลูกสวนยาง 50 ไร่

1. ใช้พันธุ์อะไร

2. ทนแล้ง และอยู่ได้นาน

ขอบคุณครับ

หาอ่านจากในบล๊อกผมนี่แหละครับ เขียนไว้ค่อนข้างจะครอบคลุมแล้ว

อ.ครับ คือผมกำลังสนใจจะนำมูคูนามาใช้ในสวนผลไม้ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เอาพืชสวนมาลง เลยจะเอามูคูนามาคลุมดินไว้ก่อน แต่มีข้อสงสัยว่าหลังจากมันคลุมดินหมดแล้ว ผมนำพืชสวนมาลงทีหลัง การเอามูคูนาออกมันยากไหมครับ และถ้าปลูกมันไว้ร่วมกับพืชสวนมันจะแย่งอาหารกับพืชหลักไหมครับ เพราะเห้นว่ามันมีรากที่ลึกครับ

ขอบคุณครับ

อาจารย์ เจ้าถั่วนี้ เอามาเตรียมดินดาน แข็งๆ จะช่วยให้ดินร่วนมั้ยครับ เพราะถ้าระบบรากลึก ก็น่าจะช่วยสร้างโพรงอากาศได้ อยากได้เมล็ดถั่วจังเลยครับ ขอได้ที่ไหนครับ อาจารย์ ขอบคุณครับ

นิพนธ์ พลเศรษฐเลิศ

อาจารย์ครับผมอยู่ที่ศรีสะเกษ ถ้าอยากได้พันธ์ถั่วมูคูนา มาลองปลูก พอหาได้ที่ไหนครับ ส่วนคนขายถั่วมูคูนา กิโลละ3500 มันโกงตังไปแล้ว 4เดือนว่าหลังจ่ายเงินกลับไม่ได้ของ ตอนนี้หวังอาจารย์เป็นที่พึ่งแล้วครับ

เมล็ดผมไม่มี ลองเช็คดูจากเวบครับ ส่วนเถาผมพอมีแบ่งให้ได้บ้าง แต่ต้องมาตัดเอาไปชำเองครับ

นิพนธ์ พลเศรษฐเลิศ

อาจารย์ครับ ถ้าผมจะไปขอตัดเถาถั่วคลุมไปขยายพันธ์เอง ต้องติดต่อที่ไหนครับ แล้วเสาร์อาทิตย์ มีเจ้าหน้าที่อยู่ไหมครับ คือผมมีอาชีพครู วันธรรมดาไม่อยากลางานไปน่ะครับ ตั้งใจเอามาทดลองลองปลูกในแปลงยางสาธิตที่โรงเรียน และไว้เป็นแม่พันธ์ให้เกษตรกรที่สนใจเอาไปใช้ในสวนยางของเขาครับ

เรียน คุณนิพนธ์ วันหยุดไม่มีใครอยู่ครับ ปกติผมก็จะออกพื้นที่ในวันหยุด ลองหาเวลาว่างวันธรรมดาดูน่ะครับ อีกอย่างครูเขาปิดเทอมให้ปีนึงตั้งหลายวันนี่ครับ มาช่วงปิดเทอมก็ได้ ลองหาเวลาดู

นิพนธ์ พลเศรษฐเลิศ

รบกวนอาจารย์อีกทีครับ ถ้าผมไปที่ ม.อุบล ในช่วงวันทำการ ให้ติดต่อได้ที่ตรงไหนครับ ขอรายละเอียดด้วยครับ ม.อุบลมันกว้างมากทีเดียว น้องเคยให้พาไปซื้อนมสดที่ฟาร์ม พอไปเองรอบสอง ปรากฎว่าหลงทาง อิอิ

สวัสดีครับ อ.แดง และทุกท่าน

       เรืองของเรืองมีอยู่ว่า ..ผมมีที่ดินประมาน3ไรกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยมานานกว่า1-2ปี กลับไปดูอีกที มีหญ้าขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด นึกในใจว่างานเข้าละ ต้องลงทุนตัดหญ้ากันยกใหญ่ ตัดได้ไปกว่าครึ่ง เพิ่งมารู้ว่าไอ้ที่เราตัดไปไม่ใช่หญ้า  แต่เค้าเรียกว่า มูคูน่า (แอบตกใจอย่างแรงถึงประโยชน์ของมัน) น่าจะใช่นะ เพราะผมไปตัดมันอยู่ประจำ จนตอนนี้ยังตัดไม่เส็จเลย เคยเห็นดอก เป็นสีม่วงคล้ำๆๆ  มั่นไส้มันมากเลยตัดมันทิ้งสะ ตอนนี้เพิ่งมารู้ประโยชน์ ของ มูคูน่า เดียววันหลังต้องรีบกลับไปดูที่สวนเพือให้แน่ใจ100เปอร์เซน

       จากลักษณะที่มันขึ้นมา ใช้ให้ปกคลุมดิน ดีจริงๆๆ ทำให้หน้าดินมีคนชื้นแต่จากการที่ไม่ได้ไปดูแลเลยเป็นปี ทำให้ มูคูน่า(ตอนนั้นคิดว่าหญ้า สุดแสนจะลำคานมันมากครับ) ไปพันเอาต้นกล้วยจนรกรุงรังไปสะหมด ทำไงละครับงานนี้ ก็งานเพิ่มอีกละสิครับ (ขอบ่นนิดนึงครับ อิอิ) ครั้งหน้าถ้าไปสวน เดียวผมจะกลับมารายงานให้ทราบอีกครั้งครับ



ดีครับคุณก้าว ที่ไม่ปล่อยพื้นดินทิ้งไว้เฉยๆ แต่อย่าปล่อยให้รกรุกรังแรงเดี่ยวมันอีพันลำ(ต้น)กล้วยหน้าเขียวครับ ฮ่าาาา

เรียน อาจารย์แดง

ผมอยากได้เถาว์ มูคูนา กับ ซีรูเลียม ไปทดลองปลูกขยายพันธ์ ในสวนยางพารา ที่ อ.ศรีเมืองใหม่

ตอนนี้ ที่ ม.อุบล ยังมีให้ตัด(เถาว์) ไหมครับ และจะติดต่อยังไง วันหยุดราชการ หรือวันทำการ ไปเอาได้วันไหนครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ยังไงก็ติดต่อผมมา ///แจ้งล่วงหน้าด้วยครับ

Mucuna pruriens seeds of two different colors มีสองสีนี่ครับ https://en.wikipedia.org/wiki/Mucuna_pruriens

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท