AAR การสัมมนานักส่งเสริมฯ เดือนเมษายน ( สาย 1 )


นักส่งเสริมฯ ได้สะท้อนบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น

          การประชุม-สัมมนาเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมการเกษตร (DW) ประจำเดือนเมษายน 2549 สายที่ 1 ที่ตำบลหนองแม่แตง  อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร (ลิงค์อ่าน) ได้มีการทำ AAR โดยทีมงานของอำเภอไทรงาม โดยผมได้โยนกระบวนการและแนวทางการทำ AAR ให้กับคุณรังสรรค์  เลิศสูงเนิน นักส่งเสริมของอำเภอไทรงาม  และได้มอบให้มือใหม่ 2 ท่าน คือคุณนิตยา  บังคมเนตร ของอำเภอไทรงาม และคุณนิพิจ  พินิจผล จากอำเภอลานกระบือช่วยบันทึกร่วมกับคุณนิตยา (จะได้กล้ายืนหน้าเวทีและช่วยกันจับประเด็น)

                                  ทีมทำ AAR

      ลองมาดูผลการทำ AAR ของสายที่ 1 ในวันนี้นะครับว่าได้อะไรบ้าง

         1.  ประเด็นที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

  • ตัวอย่างการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการโครงการ ต้องกำหนดเป้าหมายให้ถูกต้อง
  • การเปลี่ยนแปลงอาชีพ และเรียนรู้ถึงทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงอาชีพ
  • ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เรียนรู้วิธีการสร้างเครือข่าย  การขยายเครือข่าย และการสร้างแกนนำเกษตรกร
  • การใช้ประโยชน์จากจุดเรียนรู้ เพื่อนำไปปรับใช้ในชุมชนของตนเอง
  • ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์  วิธีการดำเนินโครงการให้ต่อเนื่อง  แนวทางการปฏิบัติ และตัวอย่างของผลสำเร็จของจุดเรียนรู้
  • บทบาทของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะท่านเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ในการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ เพราะเกษตรกรต้องการผู้นำ
  • บทบาทขององค์กรภายนอกและภายใน ที่มีส่วนในการบริหารงานและมีส่วนร่วม เช่น ธกส. , อปท เป็นต้น
  • ความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง  ความรู้มีอยู่ในทุกที่

                                 บรรยากาศการทำ AAR

         2. ประเด็นใดบ้างที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานของท่าน

  • บทบาทของผู้นำการสร้างผู้นำ   ทั้งผู้นำการพัฒนาและผู้นำกลุ่มอาชีพ
  • ข้อมูลที่ได้ และแผนการดำเนินงานที่ได้ร่วมกันระดมความคิดในกลุ่มในการ ลปรร.
  • ได้แนวคิดว่าการถ่ายทอดของเรานั้น  บุคคลเป้าหมายต้องได้ความรู้เพื่อนำความรู้ไปสร้างรายได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
  • สอดแทรกความรู้/แนวทางให้บุคคลเป้าหมายใด้มากขึ้น

        3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

  • จุดเรียนรู้ทุกที่ ควรมีเอกสารแนะนำ (ข้อมูล/กิจกรรม)
  • ควรมีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการเดินทางของเจ้าหน้าที่
  • การจัดการ ลปรร. จากเดือนละ 1 ครั้ง เป็น  2 เดือนครั้ง
  • ในการจัดการ ลปรร. ครั้งต่อไป ให้จัดที่แปลงเรียนรู้หรือบริเวณใกล้ๆ กับแปลงเรียนรู้(ศึกษาดูงาน

          บทสรุปของกระบวนการทั้งวันนั้น  สรุปได้ว่านักส่งเสริมการเกษตรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆ ประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานในพื้นที่   และค่อยๆ ซึมซับกระบวนการที่ทีมงานได้นำการจัดการความรู้เข้ามาสนับสนุนระบบส่งเสริมการเกษตร  กระบวนการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ลสมผสานเป็นเรื่องปกติ/เป็นส่วนหนึ่งของงานที่เรา-ทุกคนทำอยู่ สังเกตได้จาก

  1. การดำเนินกระบวนการในการแบ่งกลุ่มเพื่อ ลปรร. ทำได้รวดเร็วและมีประเด็นที่หลากหลายมากขึ้น
  2. การทำ AAR นักส่งเสริมฯ ได้สะท้อนบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น
  3. รักษาเวลาในการดำเนินกระบวนการและ การทำ AAR ได้ดีขึ้น

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 25671เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท